พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ตตินาวาวิมาน ว่าด้วยนาวาวิมานที่ ๓

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 พ.ย. 2564
หมายเลข  40254
อ่าน  420

[เล่มที่ 48] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 74

๑. อิตถิวิมานวัตถุ

ปีฐวรรคที่ ๑

๘. ตตินาวาวิมาน

ว่าด้วยนาวาวิมานที่ ๓


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 48]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 74

๘. ตตินาวาวิมาน

ว่าด้วยนาวาวิมาน ๓

[๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า

ดูก่อนเทพนารี ท่านขึ้นนั่งนาวาวิมานอันมุงบังด้วยทอง ลงเล่นสระโบกขรณี หักดอกปทุมด้วยมือ กูฏาคารนิเวศของท่านจัดไว้พิมพ์เดียวกัน ประหนึ่งเนรมิตเป็นส่วนสัด เมื่อส่องแสงก็สว่างไปโดยรอบทั้งสี่ทิศ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก ตถาคตขอถามท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดานั้นถูกพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถามแล้วดีใจ ครั้นแล้วก็ทูลตอบปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ในชาติก่อน ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ในมนุษยโลก ข้าพระองค์ได้เห็นภิกษุหลายรูปลำบากกาย กระหายน้ำ จึงขวนขวายถวายน้ำฉัน ผู้ใดแล ขวนขวายได้ถวายน้ำฉันแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ลำบากกาย กระหายน้ำมา แม่น้ำหลายสาย มีน้ำ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 75

เยือกเย็น มีสวนไม้มาก มีบุณฑริกบัวขาวมาก ย่อมเกิดแก่ผู้นั้น แม่น้ำหลายสาย ย่อมเรียงรายไหลล้อมรอบวิมานนั้นประจำ มีแม่น้ำทั้งหลายลาดด้วยทราย น้ำเย็นสนิท มีต้นมะม่วง ต้นสาละ ต้นหมากหอม ต้นชมพู่ ต้นราชพฤกษ์ และต้น แคฝอยที่ออกดอกสะพรั่ง คนทำบุญก็ย่อมได้วิมานดีเยี่ยมงาม ที่ประกอบด้วยภูมิภาคเช่นนั้น สง่างามนักหนา นี้เป็นวิบากแห่งกรรมนั้นทั้งนั้น คนทั้งหลายที่ทำบุญไว้แล้วย่อมได้ผลเช่นนี้ กูฏาคารนิเวศของข้าพระองค์ จัดไว้พิมพ์เดียวกัน ประหนึ่งเนรมิตเป็นสัดส่วน เมื่อส่องแสงก็สว่างโดยรอบทั้งสี่ทิศ เพราะบุญนั้น ข้าพระองค์จึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญูนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ข้าพระองค์ และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ข้าพระองค์ เพราะบุญนั้น ข้าพระองค์จึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของข้าพระองค์จึงสว่างไสวไปทุกทิศ นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้นของข้าพระองค์ เพราะพระพุทธเจ้าเสวยน้ำดื่ม เพื่อประโยชน์แก่ข้าพระองค์โดยแท้.

จบตติยนาวาวิมาน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 76

อรรถกถาตติยนาวาวิมาน

ตติยนาวาวิมาน มีคาถาว่า สุวณฺณจฺฉทฺนํ นาวํ เป็นต้น. ตติยนาวาวิมานนั้น เกิดขึ้นอย่างไร?

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในชนบท พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ เสด็จถึงตำบลบ้านพราหมณ์ ชื่อ ถูณะ แคว้นโกศล. พวกพราหมณ์คหบดีชาวถูณะ ได้ยินมาว่า เขาว่าพระสมณโคดมเสด็จถึงเขตบ้านของพวกเราแล้ว. ครั้งนั้น พราหมณคหบดีชาวถูณะที่ไม่เลื่อมใส เห็นผิด ตระหนี่เป็นปกติ คิดกันว่า ถ้าพระสมณโคดมเข้าบ้านนี้ประทับอยู่ ๒ - ๓ วัน ก็จะพึงทำชนนี้ทั้งหมดให้อยู่ในถ้อยคำของพระองค์ แต่นั้น พราหมณธรรม [ลัทธิ ธรรมเนียม ประเพณี] ก็จะไม่ได้ที่พึ่งพาอาศัย จึงพา กันขวนขวาย จะไม่ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในบ้านตำบลนั้น ช่วยกันนำเรือที่เขาพักไว้ที่ท่าน้ำออกไปเสีย [ไม่ให้ข้าม] ช่วยกันสร้างสะพานทางเดินและแพไว้ ทั้งสร้างโรงประปาเป็นต้นไว้ด้วย ในหมู่บ้านตำบลนั้น เว้นบ่อน้ำไว้บ่อเดียว บ่อน้ำนอกนี้ก็ช่วยกันเอาหญ้าเป็นต้น ถมให้เต็มแล้วปิดเสีย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในคัมภีร์อุทานว่า ครั้งนั้นแล พราหมณคหบดีชาวถูณะ พากันเอาหญ้าและฟางถมบ่อน้ำจนถึงปากบ่อ ด้วยประสงค์ว่า ขอสมณะโล้นเหล่านั้นอย่าได้ดื่มน้ำเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอาการวิปริตของคนเหล่านั้น ทรงเอ็นดูพวกเขา จึงพร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ข้ามแม่น้ำไปทางอากาศ เสด็จไปถึงถูณะพราหมณคาม ตามลำดับ ทรงแวะออกจากทางประทับนั่งเหนืออาสนะที่จัดไว้ ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง. สมัยนั้น หญิงทาสีเทินหม้อน้ำจำนวนมาก เดินผ่านไปไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า. ในหมู่บ้านตำบลนั้น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 77

เขาทำกติกานัดหมายกันไว้ว่า ถ้าพระสมณโคดมจักเสด็จมา ณ ที่นี้ ไม่พึงทำการต้อนรับพระองค์เป็นต้น. พระสมณโคดมและเหล่าสาวกมาถึงเรือน ก็ไม่พึงถวายแม้แต่อาหาร.

หญิงทาสีภริยาของพราหมณ์คนหนึ่ง ในหมู่บ้านตำบลนั้น เดินถือหม้อน้ำ พบพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งแวดล้อมด้วยหมู่ภิกษุ รู้ว่า หมู่ภิกษุลำบากกาย กระหายน้ำ เพราะเดินเหนื่อยมา มีจิตเลื่อมใส ประสงค์จะถวายน้ำดื่ม จึงตกลงใจว่า ถึงหากว่า ชาวบ้านของเราจะตั้งกติกากันไว้ว่า ไม่พึงถวายสิ่งไรๆ ไม่พึงทำสามีจิกรรมแก่พระสมณโคดม ดังนี้ แม้เมื่อเป็นดังนั้น ผิว่าเราได้พระทักขิไณยบุคคลซึ่งเป็นบุญเขตเช่นนี้แล้ว ไม่ทำที่พึ่งแก่ตน แม้ด้วยเพียงถวายน้ำดื่มไซร้ ครั้งไรเล่า เราจึงจักหลุดพ้นจากชีวิตลำเค็ญนี้ได้ นายของเรา ทั้งชาวบ้านเราทั้งหมดจะฆ่า จะจองจำเราก็ตามทีเถิด เราจักถวายปานียทาน น้ำดื่มในบุญเขตเช่นนี้ละ แม้จะถูกเหล่าทาสีที่เทินหม้อน้ำคนอื่นๆ จะห้ามปราม ก็ไม่อาลัยในชีวิต ลดหม้อน้ำลงจากศีรษะ ประคองด้วยมือทั้ง ๒ แล้ววางลง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง เกิดปีติโสมนัส เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ นิมนต์ให้เสวยน้ำดื่ม. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นจิตเลื่อมใสของนาง เมื่อจะทรงอนุเคราะห์นาง จึงทรงกรองน้ำล้างพระหัตถ์และพระบาทแล้วจึงเสวยน้ำดื่ม. น้ำในหม้อมิได้หมดสิ้นไปเลย. นางเห็นแล้วก็มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายแก่ภิกษุรูปหนึ่งอีก ได้ถวายแก่ภิกษุอื่นๆ จนครบทุกรูป. น้ำก็มิได้สิ้นเปลืองหมดไป. นางร่าเริงยินดี ยกหม้อที่เต็มน้ำอย่างเดิม เดินมุ่งหน้าไปยังเรือน. พราหมณ์สามีของนางรู้ว่า นางถวายน้ำดื่ม เข้าใจว่าหญิงคนนี้ทำลายธรรมเนียมบ้าน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 78

เสียแล้ว เราก็ต้องถูกครหาแน่ละ ก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ จึงตบตีทั้งต่อยทั้งเตะนางล้นกลิ้งไปที่พื้น เพราะความพยายามนั้น นางก็สิ้นชีวิต ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์. วิมานอย่างเดียวกับที่กล่าวไว้ในปฐมนาวาวิมานก็เกิดแก่นาง.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสสั่งว่า อานนท์ เธอจงนำน้ำจากบ่อมาให้เราทีเถิด. พระเถระทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ชาวถูณะถมบ่อน้ำเสียแล้ว ไม่อาจนำน้ำมาถวายได้ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงใช้ทั้งครั้งที่สอง ทั้งครั้งที่สาม. ในครั้งที่สาม พระเถระถือบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าเดินบ่ายหน้าไปยังบ่อน้ำ เมื่อพระเถระกำลังเดินไป น้ำในบ่อก็เต็มล้นไหล ไปโดยรอบ. หญ้าฟางทั้งหมดก็ลอยไหลออกไปเอง. น้ำที่ไหลนั้นก็เพิ่มสูงขึ้นๆ เต็มแหล่งน้ำแห่งอื่นๆ ล้อมหมู่บ้านตำบลนั้น ท่วมพื้นที่หมู่บ้านไว้. พวกพราหมณ์เห็นปาฏิหาริย์นั้นก็เกิดอัศจรรย์จิตไม่เคยมี จึงขอขมาพระผู้มีพระภาคเจ้า. น้ำหลากหลายก็หายวับไปทันที. พราหมณ์เหล่านั้นจัดแจงสถานที่อยู่สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้าและหมู่ภิกษุ นิมนต์เพื่อเสวยในวันพรุ่ง พอรุ่งขึ้น ก็จัดมหาทานเลี้ยงดูหมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยของเคี้ยวของกินอันประณีต. พราหมณ์คหบดีชาวถูณะทุกคนเข้าไปนั่งเฝ้าใกล้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเสวยเสร็จชักพระหัตถ์ ออกจากบาตรแล้ว. สมัยนั้น เทวดาองค์นั้นพิจารณาสมบัติของตน ทบทวนถึงเหตุแห่งสมบัตินั้น ก็รู้เหตุนั้นว่า ปานียทาน ถวายน้ำดื่ม เกิดปีติโสมนัสว่า เอาเถิด เราจักถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าเดี๋ยวนี้แหละ เกิดความอุตสาหะว่า จำเราจักการทำความที่สักการะแม้เล็กน้อย

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 79

ที่ทำให้ท่านผู้ปฏิบัติชอบ มีผลอันโอฬาร และปรากฏตัวในมนุษยโลก จึงมีอัปสรพันหนึ่งเป็นบริวารมาพร้อมกับวิมานที่ประกอบด้วยอุทยาน เป็นต้น ด้วยเทวฤทธิ์ ด้วยเทวานุภาพอันใหญ่ยิ่ง ทั้งที่หมู่มหาชนเห็นๆ อยู่นั้นแหละ ลงจากวิมานเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ยืนประคองอัญชลีอยู่. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธประสงค์จะประกาศผลกรรมให้ประจักษ์แก่บริษัทนั้น จึงตรัสถามเทวดาองค์นั้น ด้วย ๔ คาถาว่า

ดูก่อนเทพนารี เจ้าขึ้นนาวาวิมานปิดทอง เจ้าลงเล่นสระโบกขรณี หักดอกปทุมด้วยมือ ถูฏาคารนิเวศของเจ้าจัดไว้พิมพ์เดียวกัน ประหนึ่งเนรมิตเป็น สัดส่วน เมื่อส่องแสงก็ส่องแสงสว่างโดยรอบสี่ทิศ. เพราะบุญอะไร วรรณะของเจ้าจึงเป็นเช่นนี้

เพราะบุญอะไร ผลนี้จึงสำเร็จแก่เจ้า และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่เจ้า.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก ตถาคตขอถามเจ้า ครั้งเกิดเป็นมนุษย์เจ้าได้ทำบุญอะไร เพราะบุญอะไร เจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

พระสังคีติกาจารย์กล่าวว่า

เทวดาองค์นั้นดีใจ ถูกพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถาม ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้. คาถาที่เทวดากล่าวตอบมีว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ในชาติก่อน ในมนุษยโลก ข้าพระองค์พบภิกษุทั้งหลายลำบาก

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 80

กาย ระหายน้ำ จึงได้ขวนขวายถวายน้ำให้ท่านดื่ม ผู้ใดแลขวนขวายถวายน้ำ แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ลำบากกาย กระหายน้ำ ให้ท่านดื่ม. แม่น้ำหลายสายที่มีน้ำเย็น มีสวนไม้มาก มีบุณฑริกบัวขาวมาก ย่อมเกิดมีแก่ผู้นั้น. แม่น้ำหลายสาย ย่อมเรียงรายไหลล้อมวิมานนั้นเป็นประจำ มีแม่น้ำที่มีน้ำเย็นลาดด้วยทราย มีมะม่วง สาละ หมากหอม หว้า ราชพฤกษ์ และแคฝอยที่ออกดอกสะพรั่ง ผู้ทำบุญแล้วย่อมได้วิมานอันประเสริฐสุด ที่ประกอบด้วยภูมิภาคเช่นนั้น ซึ่งงดงามนักหนา นี้เป็นผลของกรรมนั้น ทั้งนั้นคนที่ทำบุญแล้วย่อมได้ผลเช่นนี้.

กูฏาคารนิเวศของข้าพระองค์จัดไว้พิมพ์เดียวกัน ประหนึ่งเนรมิตเป็นสัดส่วน เมื่อส่องแสงจึงสว่างไปรอบทั้งสี่ทิศ. เพราะบุญนั้น วรรณะของข้าพระองค์จึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ข้าพระองค์ และโภคะทุกอย่างที่น่ารัก จึงเกิดแก่ข้าพระองค์. เพราะบุญนั้น ข้าพระองค์จึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ วรรณะของข้าพระองค์จึงสว่างใสไปทุกทิศ. นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้นของข้าพระองค์ เพราะพระพุทธองค์เสวยน้ำดื่ม เพื่อประโยชน์แต่ข้าพระองค์โดยแท้.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 81

ในคาถานั้น ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม เทวดาองค์นั้นยังมิได้ขึ้นเรือนั้น ยังมิได้ลงเล่นสระโบกขรณี ทั้งยังมิได้หักดอกปทุมก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น เทวดาองค์นั้นถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนถึงอานุภาพของกรรม ก็ยังขวนขวายจะอยู่ในน้ำเสมอๆ จึงกระทำอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ท่านกล่าวไว้ก็โดยจะแสดงการตัดกิริยา [การการทำ] นั้นออกไปเสีย ก็ความข้อนี้ มิใช่จะพึงเห็นในตติยนาวาวิมานนี้แห่งเดียวเท่านั้น ที่แท้แม้ในวิมานหนหลังๆ ก็พึงเห็นอย่างนี้เหมือนกัน.

บทว่า กูฏาคารา ได้แก่ มีคฤหาสน์ติดช่อฟ้าอันทำด้วยทอง. บทว่า นิเวสา แปลว่า นิเวศน์. อธิบายว่า กูฏาคาร [ส่วนตัว] ทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วิภตฺตา ภาคโส มิตา. จริงอยู่ กูฏาคารเหล่านั้นเป็นศาลาสี่หลัง มีรูปจัดจำแนกประหนึ่งแบบพิมพ์ของกันและกัน ประหนึ่งกำหนดไว้เป็นส่วนสัด เพราะมีขนาดเท่ากัน. บทว่า ททฺทลฺลมานา แปลว่า เมื่อส่องแสง. บทว่า อาภนฺติ ได้แก่ ส่องแสงสว่าง ด้วยข่ายรัศมีทองแกมแก้วมณี. ด้วยบทว่า ภิกฺขู เทวดากล่าวหมายถึงหมู่ภิกษุ ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.

คำว่า มม นี้ เพ่งคำต้นและคำหลัง ประกอบความในคำนี้อย่างนี้ว่า แห่งกรรมของข้าพระองค์ เพื่อประโยชน์แก่ข้าพระองค์. คำว่า อุทกํ อปายิ เทวดากล่าวถึงอุทกทานถวายน้ำนี้ใด ทิพยสมบัติก็เป็นผลแห่งบุญกรรมนั้น เพราะพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงเป็นทักขิไณยบุคคลเลิศในโลก พร้อมทั้งเทวโลก ได้เสวยน้ำที่ข้าพระองค์ถวายแล้ว ก็เพื่อประโยชน์แก่ข้าพระองค์. คำที่เหลือก็มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงการทำพระธรรมเทศนาเป็น สามุกฺ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 82

กํสิกา [ยกขึ้นแสดงเอง] ก็ทรงประกาศสัจจะ ๔ แก่เทวดา ผู้มีใจเลื่อมใสแล้ว ด้วยประการฉะนี้ จบเทศนา เทวดาองค์นั้นก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. พระธรรมเทศนาได้เป็นประโยชน์แม้แก่บริษัทที่ประชุมกันด้วย.

จบอรรถกถาตติยนาวาวิมาน