๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน ว่าด้วยปติพนตาวิมาน ๒
[เล่มที่ 48] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 97
๑. อิตถิวิมานวัตถุ
ปีฐวรรคที่ ๑
๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน
ว่าด้วยปติพนตาวิมาน ๒
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 48]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 97
๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน
ว่าด้วยปติพนตาวิมาน ๒
[๑๒] พระโมคคัลลานะถามว่า
ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก ท่านขึ้นวิมานมีเสาอันแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์งดงาม มีรัศมีประกายงดงามมาก ท่านก็นั่งอยู่ในวิมานนั้น สำแดงฤทธิ์ได้ต่างๆ ทั้งสูงทั้งต่ำ เทพอัปสรเหล่านี้ก็ฟ้อนรำขับร้องให้ท่านร่าเริงอยู่รอบข้าง ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก ท่านก็บรรลุเทวฤทธิ์แล้ว ครั้งเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไร เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
เทวดาองค์นั้นถูกพระโมคคัลลานะซักถาม แล้วดีใจ ก็ได้พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า
ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ดีฉันได้เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 98
อุบาสิกาของพระผู้มีจักษุ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ ยินดีเฉพาะสามีของตน ไม่กล่าวคำเท็จ และไม่ดื่มน้ำเมา อนึ่ง ดีฉันมีใจเลื่อมใส เมื่อบริจาคข้าวและน้ำ ได้ถวายทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะอย่างนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน.
ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอกแก่ท่าน ครั้งเห็นมนุษย์อยู่ ดีฉันได้ทำบุญใดไว้ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
จบทุติยปติพพตาวิมาน
อรรถกถาทุติยปติพพตาวิมาน
ทุติยปติพพตาวิมาน มีคาถาว่า เวฬุริยถมฺภํ เป็นต้น. ทุติยปติพพตาวิมานนั้น เกิดขึ้นอย่างไร?
ดังได้สดับมา อุบาสิกาผู้หนึ่งในกรุงสาวัตถี เป็นผู้ชื่อตรงต่อสามี มีความเชื่อเลื่อมใส [ในพระรัตนตรัย] รักษาศีล ๕ ทำให้บริสุทธิ์ และได้ให้ทานตามสมควรแก่ทรัพย์สมบัติ ตายแล้วก็ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์. คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลังทั้งนั้น. ท่านพระโมคคัลลานะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 99
ถามว่า
ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก ท่านขึ้นวิมานมีเสาเป็นแก้วไพฑูรย์ น่ารื่นใจ มีรัศมีผ่องใส งดงามมาก ท่านก็นั่งอยู่ในวิมานนั้น สำแดงฤทธิ์ได้แปลกๆ ทั้งสูงและต่ำ เทพอัปสรเหล่านี้ก็ฟ้อนรำขับร้องและรื่นเริงรอบๆ ท่าน.
ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก ท่านก็บรรลุเทวฤทธิ์แล้ว ท่านครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญอะไร เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
เทวดาองค์นั้นดีใจ ถูกท่านพระโมคคัลลานะถาม ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ เทวดาองค์นั้นได้กล่าวตอบว่า
ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ดีฉันเป็นอุบาสิกาของพระผู้มีจักษุ [พระพุทธเจ้า] ได้งดเว้นการฆ่าสัตว์ งดเว้นการลักทรัพย์ ไม่ดื่มน้ำเมา ไม่พูด เท็จ ยินดีกับสามีของตน มีจิตเลื่อมใสแล้ว เมื่อบริจาคข้าวน้ำได้ถวายเป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ. เพราะเหตุนั้น วรรณะของดีฉันจึงเป็นเช่นนี้
เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน.
ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอบอก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 100
แก่ท่าน ดิฉันครั้งเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญใด เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวฬุริยถมฺภํ แปลว่า มีเสาเป็นแก้วไพฑูรย์. บทว่า รุจิรํ ได้แก่ น่ารื่นรมย์. บทว่า ปภสฺสรํ ได้แก่ ส่องสว่างอย่างยิ่ง. บทว่า อุจฺจาวจา แปลว่า สูงและต่ำ อธิบายว่า มีอย่างต่างๆ.
บทว่า อุปาสิกา ได้แก่ สตรีผู้ตั้งอยู่ในคุณลักษณะของอุบาสิกา ด้วยการถึงสรณะ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนเจ้ามหานาม โดยเหตุเท่าใดแล อริยสาวกย่อมถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรม เป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ ดูก่อนเจ้ามหานาม ด้วยเหตุเท่านั้นแล อริยสาวกชื่อว่าเป็นอุบาสก.
ด้วยบทว่า จกฺขุมโต เทวดาองค์นั้นครั้นแสดงอาสยสุทธิ [สรณะ ที่พึ่ง] ด้วยการระบุความที่ตนเป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้มีจักษุ โดยจักษุทั้ง ๕ อย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงประโยคสุทธิ [ข้อปฏิบัติ] จึงกล่าวว่า งดเว้นการฆ่าสัตว์เป็นต้น. นางกล่าวถึงเจตนางดเว้นการประพฤติผิด [ในกาม] ด้วยคำว่า สเกน สามินา อโหสึ ตุฏฺา ยินดีกับสามีของตน ในคาถาคำตอบนั้น คำที่เหลือก็เช่นเดียวกับคำที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง.
จบอรรถกถาทุติยปติพพตาวิมาน