พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ทาสีวิมาน ว่าด้วยทาสีวิมาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 พ.ย. 2564
หมายเลข  40264
อ่าน  422

[เล่มที่ 48] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑- หน้า 154

๑. อิตถิวิมานวัตถุ

จิตตลดาวรรคที่ ๒

๑. ทาสีวิมาน

ว่าด้วยทาสีวิมาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 48]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 154

จิตตลดาวรรคที่ ๒

๑. ทาสีวิมาน

ว่าด้วยทาสีวิมาน

[๑๘] ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามว่า

ท่านแวดล้อมด้วยหมู่นางเทพนารี เที่ยวชมไปโดยรอบในสวนจิตตดาวันอันน่ารื่นรมย์ ประดุจท้าวสักกเทวราชทำทิศทั้งปวงให้สว่างไสว เหมือนดาวประกายพรึก เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร อิฐผลนี้จึงย่อมสำเร็จแก่ท่าน และโภคสมบัติทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน.

ดูก่อนนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองเช่นนี้ และรัศมีของท่านจึง สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

เทพธิดานั้นถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว ดีใจ จึงพยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ดิฉันเป็นทาสีหญิงรับใช้ในตระกูลอื่น ดิฉันนั้นเป็นอุบาสิกาของพระโคดม ผู้มีพระจักษุและพระเกียรติยศ พากเพียรออกไปจากกิเลสในศาสนาของพระโคดมผู้ทรง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 155

พระคุณคงที่ เพราะมีมนสิการมั่นอยู่ในจิตว่า แม้ถึงร่างกายนี้จะแตกทำลายไปก็ตามที การที่จะหยุดความเพียรในการเจริญกรรมฐาน เป็นอันไม่มีเป็นอันขาด ทาง [มรรค] แห่งสิกขาบท ๕ [ศีล ๕] เป็นทางสวัสดี มีความเจริญู ไม่มีหนาม ไม่รก เป็นทางตรง อันสัตบุรุษทั้งหลายประกาศแล้ว โปรดดูผลแห่งความพากเพียรคือ ที่ดีฉันบรรลุอริยมรรคตามอุบายที่ต้องการเกิด ดีฉันถูกท้าวสักกเทวราชผู้มีอำนาจเชิญมา เหล่าอริยเทพหกหมื่นช่วยกันปลุกดีฉัน คือ เทพบุตรอันมีนามว่าอาลัมพะ คัคคมะ ภีมะ สาธุวาทิ ปสังสยะ โปกขระ และสุผัสสะ และเหล่าเทพธิดาน้อยๆ อันมีนามว่า วีณา โมกขา นันทา สุนันทา โสณทินนา สุจิมหิตา อาลัมพุสา มิสสเกสี และบุณฑริกา และนางเทพกัญญาอีกพวกหนึ่งเหล่านี้ คือ นางเอนิปัสสา นางสุปัสสา นางสุภัททา นางมุทุกาวที ผู้ประเสริฐกว่านางเทพอัปสรทั้งหลาย ก็ช่วยปลุก เทพอัปสรนั้นได้เข้ามาหาดีฉันตามกาลอันควร พากันพูดด้วยวาจาที่น่ายินดีว่า เอาเถิด พวกเราจักฟ้อนรำ ขับร้อง จักนำท่านให้รื่นรมย์ ดังนี้ นันทนวัน มหาวัน เป็นที่ไม่เศร้าโศก เป็นที่น่ารื่นรมย์ของทวยเทพชั้นไตรทศนี้ มิใช่สำหรับผู้ที่มิได้ทำบุญไว้ หากสำหรับผู้ที่ทำบุญไว้เท่านั้น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 156

ทั้งมิใช่ความสุขในโลกนี้และโลกหน้าสำหรับผู้ที่มิได้ทำบุญไว้ หากเป็นความสุขในโลกนี้และโลกหน้าสำหรับผู้ที่ทำบุญไว้เท่านั้น รวมกับทวยเทพชั้นไตรทศ เหล่านั้น ควรจะบำเพ็ญกุศลไว้ให้มาก เพราะว่าผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมเพรียบพร้อมด้วยโภคสมบัติ บันเทิงอยู่ในสวรรค์.

จบทาสีวิมาน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 157

จิตตลดาวรรคที่ ๒

๑. อรรถกถาทาสีวิมาน

วรรคที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ทาสีวิมานมีคาถาว่า อปิ สกฺโกว เทวินฺโท ดังนี้เป็นต้น. ทาสีวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร?

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อุบาสกคนหนึ่งชาวกรุงสาวัตถี ไปพระวิหารในเวลาเย็นกับอุบาสกเป็นอันมาก ฟังธรรมแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อบริษัทออกไปแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่วันนี้ไปข้าพระองค์จักถวายภัตตาหารประจำ ๔ สำรับแก่สงฆ์ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสธรรมกถาอันสมควรแก่เขา ทรงปล่อยเขากลับไป. อุบาสกนั้นเรียนพระภัตตุทเทสก์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจัดภัตตาหารประจำไว้ ๔ สำรับถวายสงฆ์ วันพรุ่งนี้ ขอพระเป็นเจ้าโปรดมาเรือนของข้าพเจ้าเถิดดังนี้แล้ว กลับไปเรือนของตนบอกเรื่องนั้นแก่ทาสีแล้ว สั่งสำทับว่าเจ้าไม่พึงลืมเรื่องนั้นตลอดเวลาเป็นนิตย์เชียวนะ ทาสีนั้นก็รับคำ ตามปกติ นางมีศรัทธาสมบูรณ์ อยากได้ทำบุญมีศีล เพราะฉะนั้น จึงตื่นเช้าทุกวันตระเตรียมข้าวและน้ำอันประณีต กวาดที่นั่งของพวกภิกษุ จัดเครื่องเรือนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปูอาสนะ นิมนต์ภิกษุผู้เข้าไปก่อนให้นั่งบน อาสนะเหล่านั้นแล้ว จึงไหว้บูชาด้วยของหอมดอกไม้ธูปและเทียน อังคาสโดยเคารพ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 158

ต่อมาวันหนึ่ง นางเข้าไปหาภิกษุผู้ฉันเสร็จไหว้แล้ว จึงถามอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าขา จะหลุดพ้นจากทุกข์มีชาติเป็นต้นนี้ ได้อย่างไรเจ้าคะ. ภิกษุทั้งหลายให้สรณะและศีล ๕ แก่นางแล้ว ประกาศให้รู้สภาพของร่างกาย ประกอบนางไว้ในปฏิกูลมนสิการใส่ใจว่าปฏิกูล ภิกษุอีกพวกหนึ่งกล่าวธรรมมีกถาที่เกี่ยวด้วยความไม่เที่ยง. นางรักษาศีลอยู่ ๑๖ ปี ทำโยนิโสมนสิการติดต่อกันมาตลอด วันหนึ่งได้ความสบายในการฟังธรรม และเจริญวิปัสสนาเพราะญาณแก่กล้า ก็ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. สมัยต่อมา นางทำกาละแล้วไปเกิดเป็นนางบำเรอสนิทเสน่หาของท้าวสักกเทวราช. นางอันดุริยเทพหกหมื่นบำเรออยู่ มีอุปสรแสนหนึ่งแวดล้อม เสวยทิพย์สมบัติใหญ่ ร่าเริงบันเทิงพร้อมด้วยบริวารเที่ยวไปในอุทยาน เป็นต้น. ท่านพระมหาโมคคัลลานะเห็นนางแล้ว ได้ถามโดยนัยที่กล่าวในหนหลังนั่นแหละว่า

ท่านแวดล้อมด้วยหมู่เทพนารี เที่ยวชมไปโดยรอบในสวนจิตตลดาวันอันน่ารื่นรมย์ ประดุจท้าวสักกเทวราช ส่องแสงสว่างไสวไปทุกทิศ เหมือนดาว ประกายพรึก เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร อิฐผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของท่านจึงสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 159

นางเทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้วดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ เทวดาตอบว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ดีฉันได้เป็นทาสีหญิงรับรู้ในตระกูลอื่น ดิฉันนั้นเป็นอุบาสิกาของพระโคดม ผู้มีพระจักษุและพระเกียรติยศ พากเพียรออกไปจากกิเลส ในศาสนาของพระโคดมผู้ทรงพระคุณคงที่ เพราะมีมนสิการมั่นอยู่ในจิตว่า แม้ถึงร่างกายนี้จะแตกทำลายไปก็ตามที การจะหยุดความเพียรในการเจริญกัมมัฏฐานนี้ไม่มีเป็นอันขาด ทาง [มรรค] แห่งสิกขาบท ๕ [ศีล ๕] เป็นทางสวัสดี มีความเจริญู ไม่มีหนาม ไม่รก เป็นทางตรง สัตบุรุษประกาศแล้ว ท่านโปรดดูผลแห่งความเพียร คือที่ดีฉันบรรลุอริยมรรคตามอุบายที่ต้องการเกิด ดีฉันถูกท้าวสักกเทวราชผู้มีอำนาจเชิญมา เหล่าดุริยเทพหกหมื่นช่วยกันปลุกดีฉัน คือ เทพบุตรนามว่า อาลัมพะ คัคคมะ ภีมะ สาธุวาทิ ปสังสยะ โปกขระ และสุผัสสะ และเหล่าเทพธิดาวัยรุ่นนามว่า วีณา โมกขา นันทา สุนันทา โสณทินนา สุจิมหิตา อาลัมพุสา มิสสเกสี บุณฑริกา และเทพกัญญาอีกพวกหนึ่งเหล่านี้คือ นางเอนิปัสสา

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 160

นางสุปัสสา นางสุภัททา นางมุทุกาวที ผู้ประเสริฐกว่าเทพอัปสรทั้งหลาย ก็ช่วยกันปลุก เทพอัปสรเหล่านั้นได้เข้ามาหาดีฉันตามกาลอันควร พากันพูดด้วย วาจาที่น่ายินดีว่า เอาเถิดพวกเราจักฟ้อนรำ ขับร้อง จักนำท่านให้รื่นรมย์ดังนี้ นันทนวัน มหาวัน เป็นที่ไม่เศร้าโศก เป็นที่น่ารื่นรมย์ของทวยเทพชั้น ไตรทศนี้ มิใช่สำหรับผู้ที่มิได้ทำบุญไว้ หากเป็นของสำหรับผู้ทำบุญไว้เท่านั้น มิใช่สุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า หากเป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า สำหรับผู้ทำบุญไว้เท่านั้น อันบุคคลผู้ปรารถนาร่วมกับทวยเทพชั้นไตรทศเหล่านั้น ควรจะบำเพ็ญกุศลไว้ให้มาก เพราะว่าผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมเพรียบพร้อมด้วยโภคสมบัติบันเทิงอยู่ในสวรรค์.

ในบทเหล่านั้นอปิศัพท์ ในบทว่า อปิ สกฺโกว เทวินฺโท นี้ ใช้ในสัมภาวนะความยกย่อง. อิวศัพท์ ท่านลบสระอิออกกล่าวความอุปมา. เพราะฉะนั้น จึงมีความว่าประดุจท้าวสักกะจอมทวยเทพ ท่านกล่าวยกย่องเทวดานั้นดุจท้าวสักกะ ก็เพื่อแสดงบริวารสมบัติของเทวดานั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อปิ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า จิตฺตลตาวเน ได้แก่ ที่บังเกิดด้วยอานุภาพแห่งบุญของนางเทพธิดาชื่อจิตตา. อนึ่ง เทวอุทยาน ได้นามว่าจิตตลดาวัน เพราะโดยมากในสวนนั้นมีเถาไม้อันเป็นทิพย์ชื่อ สันตานกะเป็นต้น อันวิจิตรคือประกอบด้วยความวิเศษแห่งดอกไม้และ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 161

ผลไม้เป็นต้นอันงดงาม.

บทว่า ปรเปสฺสิยา ได้แก่ หญิงรับใช้ในกิจนั้นๆ ในตระกูลแห่งชนเหล่าอื่น. อธิบายว่า ขวนขวายงานของคนเหล่าอื่น.

บทคาถาว่า ตสฺสา เม นิกฺกโม อาสิ สาสเน ตสฺส ตาทิโน ความว่า เมื่อดีฉันนั้นเป็นทาสีอยู่ เป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ ๕ รักษาศีลทำมนสิการกัมมัฏฐานอยู่ ๑๖ ปี ครั้นกัมมัฏฐานกล่าวคือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ เมื่อเกิดขึ้นแก่ดีฉันด้วยอานุภาพแห่งมนสิการ ความเพียรชอบซึ่งนับเข้าในสัตถุศาสน์นั้นได้ชื่อว่า นิกกมะ เพราะออกไปจากฝ่ายสังกิเลสธรรมได้มีได้เป็น คือ ในสัตถุศาสน์ของพระโคดมผู้ชื่อว่ามีพระคุณคงที่ เพราะถึงพร้อมด้วยสมบัติคือลักษณะของผู้คงที่ในโลกธรรมมีอิฏฐารมณ์เป็นต้น.

ก็เพื่อแสดงอาการที่เป็นไปส่วนเบื้องต้นของความเพียรนั้น. เทวดาจึงกล่าวว่า กามํ ภิชฺชตุยํ กาโย เนว อตฺเถตฺถ สนฺถนํ ดังนี้ คาถานั้นมีอธิบายว่า ดีฉันปลุกความเพียรว่า ถ้าว่าร่างกายของเราจะแตกทำลายไปก็ตามที ดีฉันไม่ทำความเยื่อใยแม้เพียงเล็กน้อยในกายนี้เสียไป เราจะไม่หยุดความเพียร คือทำความเพียรให้หย่อนในการเจริญกัมมัฏฐานนี้เป็นอันขาด แล้วขวนขวายวิปัสสนา.

บัดนี้ เทวดาเมื่อจะแสดงคุณที่ตนขวนขวายวิปัสสนานั้นอย่างนั้นได้มาแล้ว จึงกล่าวว่า

ทาง [มรรค] แห่งสิกขาบท ๕ เป็นทางสวัสดี มีความเจริญ ไม่มีหนาม ไม่รก เป็นทาง

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 162

ตรง สัตบุรุษประกาศแล้ว โปรดดูผลแห่งความพากเพียรออกจากกิเลส คือที่ดีฉันบรรลุอริยมรรคตามอุบายที่ต้องการ.

ในข้อนั้น มีเนื้อความสังเขปดังต่อไปนี้ มรรคใด ชื่อว่าต่อเนื่อง สิกขาบททั้ง ๕ เพราะได้มาโดยเป็นอุปนิสัยแห่งสิกขาบท คือส่วนแห่งสิกขาทั้ง ๕ ที่สมาทานเป็นนิจศีล และสิกขาบททั้ง ๕ นั้นบริบูรณ์เกิดขึ้นในสันดานใด มรรคนั้น ชื่อโสวัตถิกะคือสวัสดี เพราะทำสันดานนั้นให้สำเร็จผลเป็นความสวัสดี และมีประโยชน์ดีโดยอาการทุกอย่าง ชื่อว่า สิวะ เพราะไม่ถูกสังกิเลสธรรมเบียดเบียน และเพราะเหตุถึงความเกษม ชื่อว่าอกัณฏกะ เพราะไม่มีหนามคือราคะเป็นต้น ชื่อว่าอคหนะ เพราะ ตัดรกชัฏ คือกิเลส ทิฏฐิ และทุจริตได้เด็ดขาด ชื่อว่า อุชุ เพราะเป็น เหตุปราศจากคดงอโกงทุกอย่าง อริยมรรค ชื่อสัมภิปเวทิตะ เพราะสัปบุรุษมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ประกาศไว้แล้ว ดีฉันแม้มีปัญญาแค่สององคุลี ต้องการด้วยความพากเพียรออกจากกิเลสอันใดที่เป็นอุบาย บรรลุอริยมรรคนั้นโดยประการใด ขอโปรดดูผลนี้ของความพากเพียรออกจากกิเลส คือความเพียรตามที่กล่าวแล้วนั้นเถิด โดยประการนั้น. ท่านเรียกท้าวสักกะ ดังกล่าวมานี้.

เทวดากล่าวว่า ดีฉันถูกท้าวสักกเทวราชผู้มีอำนาจเชิญมา ก็เพราะตนเองอยู่ในอำนาจท้าวสักกะ. อีกนัยหนึ่ง ท้าวสักกะ ชื่อวสวัตตี เพราะใช้อำนาจความเป็นใหญ่ของตนในเทวโลกทั้งสอง [คือชั้นจาตุมมหาราชและชั้นดาวดึงส์]

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 163

ดีฉันถูกท้าวสักกเทวราชผู้มีอำนาจนั้นเชิญมา หรือท้าวเธอพึงเชื้อเชิญในเวลาเล่นกีฬาพลางสนทนาปราศรัยไปพลาง. ประกอบความว่า ท่านจงดูผลแห่งความเพียรเป็นเหตุก้าวไปสู่คุณเบื้องหน้า. ดนตรีมีองค์ ๕ มีประเภทอาตตะกลองหน้าเดียว และวิตตะกลองสองหน้าเป็นต้นบรรเลง พร้อมกันกับ ๑๒ มือ [๑๒x๕] จึงรวมเป็น ๖๐ ก็เทพธิดาหมายเอา ดนตรีเครื่อง ๕ เหล่านั้นประมาณพันหนึ่งปรากฏแล้ว ด้วยนั่งอยู่ใกล้ๆ จึงกล่าวว่า สฏฺิ ตุริยสหสฺสานิ ปฏิโพธํ กโรนฺติ เม ดังนี้. ในบท นั้น บทว่า ปฏิโพธํ ได้แก่ ปลุกปีติโสมนัส.

คำเป็นต้นว่า อาลมฺโพ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ระบุชื่อของเทพบุตรผู้ขับร้องประกอบเครื่องดนตรี โดยเอกเทศส่วนหนึ่ง แต่นั่นเป็นชื่อของเครื่องดนตรี. นางเทพธิดามีวีณาและโมกขาเป็นต้น. บทว่า สุจิมฺหิตา คือ สุทธมิหิตา อนึ่ง นั่นเป็นชื่อเหมือนกัน. บทว่า มุทุกาวที ได้แก่ การขับร้องนุ่มนวลยิ่งนัก หรือเป็นเพียงชื่อ. บทว่า เสยฺยาเส คือประเสริฐกว่า. บทว่า อจฺฉรานํ คือน่าสรรเสริญกว่าในการขับร้อง หมู่ในเหล่าเทพอัปสร. บทว่า ปโพธิกา คือทำการปลุกให้ตื่น.

บทว่า กาเลน คือตามกาลอันควร. บทว่า อภิภาสนฺติ ได้แก่ กล่าวต่อหน้า หรือน่ายินดียิ่ง เทพอัปสรกล่าวโดยประการใด เพื่อแสดงประการนั้น จึงกล่าวว่า หนฺท นจฺจาม คายาม หนฺท ตํ รมยามเส ดังนี้.

บทว่า อิทํ ความว่า สถานที่อันเราได้แล้วนี้ หาความโศกมิได้ เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าไม่มีความโศก เพราะมีพร้อมแห่งรูปเป็นต้นอันน่าใคร่ น่าปรารถนา น่ารักและน่าพอใจ ชื่อว่าน่าเพลิดเพลินเพราะเพิ่มพูน

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 164

ความยินดีตลอดกาลทุกเมื่อนั่นแล. บทว่า ติทสานํ มหาวนํ ได้แก่ อุทยานทั้งใหญ่ ทั้งน่าบูชาของทวยเทพชั้นดาวดึงส์.

นางกล่าวโดยนัยเจาะจงว่า ชื่อว่าทิพยสมบัติเห็นปานนี้ย่อมได้ด้วยอำนาจแห่งบุญกรรมเท่านั้น เมื่อแสดงโดยนัยไม่เจาะจงอีก ได้กล่าวคาถาว่า สุขํ อกตปุญฺานํ ดังนี้.

เมื่อกล่าวธรรมโดยทิพยสถานอันตนได้แล้วเป็นที่น่าใคร่ทั่วไปกับคนเหล่าอื่นอีก จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า เตสํ สหพฺยกามานํ ดังนี้. บทว่า เตสํ คือ ทวยเทพชั้นดาวดึงส์. บทว่า สหพฺยกามานํ คือ ปรารถนาอยู่ร่วมกัน. ก็คำนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในอรรถกัตตุ [ผู้นำ]. ชื่อว่า สหวะเพราะไปคือเป็นไปร่วมกัน. ภาวะแห่งผู้ไปร่วมกันนั้น ชื่อว่า สหพฺยํ เหมือนภาวะแห่งผู้กล้าหาญ ชื่อว่า วีริยํ. พระเถระแสดงธรรมแก่เทวดานั้นพร้อมกับบริวาร เมื่อเทวดาทำบุญกรรมของตนให้แจ่มแจ้งแล้วอย่างนี้ กลับมาจากเทวโลกแล้วก็กราบทูลเรื่องนั้น ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำเนื้อความนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทที่ประชุมกัน พระธรรมเทศนานั้นได้เป็นประโยชน์แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลกแล.

จบอรรถกถาทาสีวิมาน