พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. จัณฑาลิวิมาน ว่าด้วยจัณฑาลิวิมาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 พ.ย. 2564
หมายเลข  40269
อ่าน  478

[เล่มที่ 48] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 177

๑. อิตถิวิมานวัตถุ

จิตตลดาวรรคที่ ๒

๔. จัณฑาลิวิมาน

ว่าด้วยจัณฑาลิวิมาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 48]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 177

๔. จัณฑาลิวิมาน

ว่าด้วยจัณฑาลิวิมาน

[๒๑] พระมหาโมคคัลลานเถระได้กล่าวคาถาสองคาถาว่า

ดูก่อนนางจัณฑาลี ท่านจงถวายอภิวาทพระบาทยุคลของพระโคดมผู้มีพระเกียรติยศ พระผู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๗ ประทับยืนอยู่เพื่อทรงอนุเคราะห์ท่านคนเดียว ท่านจงทำใจให้เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ คงที่ แล้วจงประคองอัญชลีถวายอภิวาทโดยเร็วเถิด ชีวิตของท่านยังน้อยเต็มที.

เพื่อจะแสดงประวัติของนางจัณฑาลีนั้นโดยตลอด พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวคาถาสองคาถานี้ว่า

หญิงจัณฑาลีผู้นี้ อันพระมหาเถระผู้มีตนอันอบรมแล้ว ดำรงไว้ซึ่งสรีระอันที่สุด ตักเตือนแล้ว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 178

จึงถวายบังคมพระบาทยุคลของพระโคดมผู้มีพระเกียรติยศ แม่โคได้ขวิดนางในขณะที่กำลังยืนประคองอัญชลี นมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ส่องแสงสว่างในโลกมืด.

เพื่อประกาศเรื่องไปของตน เทพธิดาจึงกล่าวว่า

ข้าแต่ท่านวีรบุรุษผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันถึงแล้วซึ่งเทวฤทธิ์ เข้ามาหาท่านผู้สิ้นอาสวะปราศจากกิเลสธุลี เป็นผู้ไม่หวั่นไหว นั่งเร้นอยู่ผู้เดียวในป่า ขอไหว้ท่านผู้นั้นเจ้าค่ะ.

พระมหาโมคคัลลานเถระจึงกล่าวกะนางนั้นว่า

ดูก่อนเทพธิดาผู้สวยงาม ท่านเป็นใคร มีรัศมีดังทองงามรุ่งโรจน์ มีเกียรติยศมาก งามตระการมิใช่น้อย แวดล้อมด้วยหมู่อัปสรพากันลงมาจากวิมาน จึงไหว้อาตมา. เทพธิดานั้นถูกพระมหาเถระถามอย่างนี้ จึงกล่าวคาถา ๔ คาถาว่า

ท่านเจ้าขา ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก ดิฉันเป็นหญิงจัณฑาล ถูกท่านผู้เป็นวีรบุรุษส่งไปเพื่อถวายบังคมพระบาทของพระพุทธเจ้า ดีฉันได้ถวาย บังคมพระบาทยุคลของพระโคดมผู้เป็นพระอรหันต์ มีพระเกียรติยศอันงาม ครั้นได้ถวายบังคมพระบาทยุคลแล้ว จุติจากกำเนิดหญิงจัณฑาลก็เข้าถึงวิมาน อันจำเริญโดยประการทั้งปวง ในเทวอุทยานมีนามว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 179

นันทนวัน เทพอัปสรประมาณพันหนึ่งพากันมายืนห้อมล้อมดีฉัน ดีฉันเห็นผู้ประเสริฐเลิศกว่าเทพอัปสรนั้น โดยรัศมี เกียรติยศ และอายุ ดีฉันได้กระทำ กัลยาณธรรมไว้มาก มีสติสัมปชัญญะ ท่านเจ้าข้า ดีฉันมาในโลกครั้งนี้ ก็เพื่อถวายนมัสการท่านปราชญ์ ผู้ประกอบด้วยความกรุณาเจ้าค่ะ เทพธิดานั้น ครั้น กล่าวถ้อยคำนี้แล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยความกตัญญูกตเวที ไหว้เท้าทั้งสองของพระมหาโมคคัลลานเถระองค์อรหันต์แล้วก็อันตรธานไป ณ ที่นั้นนั่นเอง.

จบจัณฑาลิวิมาน

อรรถกถาจัณฑาลิวิมาน

จัณฑาลิวิมานมีคาถาว่า จณฺฑาลิ วนฺท ปาทานิ ดังนี้เป็นต้น. จัณฑาลิวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติ ที่พระพุทธเจ้าปฏิบัติกันมาแล้ว เมื่อทรงออกแล้วตรวจดูโลกอยู่ ได้ทรงเห็นหญิงจัณฑาลแก่คนหนึ่ง ซึ่งอยู่ในจัณฑาลิคาม ในนครนั้นนั่นเองสิ้นอายุ ก็กรรมของนางที่นำไปนรกปรากฏชัดแล้ว. พระองค์ทรงมีพระทัยอันพระมหากรุณาให้ขะมักเขม้นแล้ว ทรงดำริว่า เราให้นางทำกรรมอันนำไปสู่สวรรค์ จักห้ามการเกิดในนรกของนางด้วยกรรมนั้น ให้ดำรงอยู่บนสวรรค์ จึงเสด็จเข้าไป

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 180

บิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ ก็สมัยนั้น หญิงจัณฑาลีนั้น ถือไม้เท้าออกจากนคร พบพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จมาได้ยืน ประจันหน้ากันอยู่. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนตรงหน้า เหมือนห้ามมิให้นางไป. ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะรู้พระทัยของพระศาสดา และความหมดอายุของหญิงนั้นแล้ว เมื่อจะให้นางถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

ดูก่อนแม่จัณฑาล ท่านจงถวายบังคมพระบาทยุคลของพระโคดม ผู้มีพระเกียรติยศเถิด พระโคดมผู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๗ ประทับยืนเพื่ออนุเคราะห์ ท่านคนเดียว ท่านจงทำจิตให้เลื่อมใสยิ่งในพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้คงที่ แล้วจงรีบประคองอัญชลีถวายบังคมเถิด ชีวิตของท่านน้อยเต็มทีแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า จณฺฑาลิ พระเถระเรียกนางที่มีชื่อมาแต่กำเนิด. บทว่า วนฺท ได้แก่ จงถวายบังคม. บทว่า ปาทานิ ได้แก่ จรณะคือพระบาทอันเป็นสรณะของโลกพร้อมด้วยเทวโลก. บาทคาถาว่า ตเมว อนุกมฺปาย ได้แก่ เพื่ออนุเคราะห์ท่านเท่านั้น. อธิบายว่า เพื่อป้องกันการเกิดในอบายมาให้บังเกิดในสวรรค์. บทว่า อฏฺาสิ ได้แก่ ประทับยืนไม่เสด็จเข้าไปสู่พระนคร. บทว่า อิสิสตฺตโม ความว่า พระองค์เป็นผู้สูงสุด คือ อุกฤษฏ์ กว่าฤษีชาวโลก พระเสขะ พระอเสขะ พระปัจเจกพุทธเจ้า อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อิสิสตฺตโม เพราะบรรดาพุทธฤษีทั้งหลายมีพระวิปัสสีเป็นต้น เป็นฤษี [พระพุทธเจ้า] พระองค์ที่ ๗.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 181

บาทคาถาว่า อภิปฺปสาเทหิ มนํ ความว่า จงทำจิตของท่านให้เลื่อมใสว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ. บทว่า อรหนฺตมฺหิ ตาทิเน ความว่า ชื่อว่าพระอรหันต์ เพราะกิเลสทั้งหลายห่างไกล เพราะกำจัดกิเลสเหล่านั้นซึ่งเป็นข้าศึก เพราะกำจัดกำแห่งสังสารจักร เพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยทั้งหลาย และเพราะไม่มีความลับในการทำบาป ชื่อว่า ตาทิ เพราะถึงความคงที่ในโลกธรรมมีอิฏฐารมณ์ เป็นต้น. บาทคาถาว่า ขิปฺปํ ปญฺชลิกา วนฺท ความว่า ท่านจงประคองอัญชลีแล้วจงถวายบังคมเร็วๆ เถิด. หากถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะชีวิตของท่านน้อยเต็มที่เพราะชีวิตของท่านจะต้องแตกเป็นสภาพในที่นี้ จึงยังเหลือน้อย คือนิดหน่อย.

พระเถระเมื่อระบุพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถา ๒ คาถาอย่างนี้อยู่ในอานุภาพของตน ทำนางให้สลดใจด้วยการชี้ชัดว่า นางหมดอายุ ประกอบนางไว้ในการถวายบังคมพระศาสดา. ก็นางได้ฟังคำนั้นแล้ว เกิดสลดใจ มีใจเลื่อมใสในพระศาสดา ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ประคองอัญชลีนมัสการอยู่ ได้ยืนมีจิตเป็นสมาธิ ด้วยปีติอันซ่านไปในพระพุทธคุณ. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไป พระนครพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ด้วยทรงดำริว่า เท่านี้ก็พอจะให้นางเกิดในสวรรค์ได้ดังนี้. ต่อมา แม่โคลูกอ่อนตัวหนึ่งหันวิ่งตรงไปจากที่นั้น เอาเขาขวิดนางจนเสียชีวิต. ท่านพระสังคีติกาจารย์เพื่อแสดงเรื่องนั้นทั้งหมด ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

หญิงจัณฑาลผู้นี้ อันพระมหาเถระผู้มีตนอันอบรมแล้ว ธำรงไว้ซึ่งสรีระอันสุดท้าย ตักเตือนแล้ว

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 182

จึงถวายบังคมพระบาทยุคลของพระโคดมผู้มีพระเกียรติยศ แม่โคได้ขวิดนางในขณะที่กำลังยืนประคองอัญชลี นมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ส่องแสงสว่างในโลกมืดดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺชลึ ฐิตํ นมสฺสมานํ สมฺพุทฺธํ ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เสด็จไปแล้ว นางก็ยังมีจิตเป็นสมาธิด้วยปีติมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ ยืนประคองอัญชลีเหมือนอยู่เฉพาะพระพักตร์.

บทว่า อนฺธกาเร ได้แก่ ในโลกอันมืดด้วยความมืดคืออวิชชา และมืดด้วยกิเลสทั้งสิ้น. บทว่า ปภงฺกรํ คือ ผู้ทำแสงสว่างคือญาณ.

ก็นางจุติจากนั้นไปบังเกิดในภพดาวดึงส์. นางมีอัปสรแสนหนึ่งเป็นบริวาร. ก็แลในทันใดนั่นเอง นางมาพร้อมกับวิมาน ลงจากวิมานแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระมหาโมคัลลานะถวายนมัสการ. เพื่อแสดงความข้อนั้น นางเทพธิดาได้กล่าวว่า

ข้าแต่ท่านวีรบุรุษผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันบรรลุเทวฤทธิ์แล้ว เข้ามาหาท่านผู้สิ้นอาสวะปราศกิเลสธุลี เป็นผู้ไม่หวั่นไหว นั่งเร้นอยู่ผู้เดียวในป่า ขอไหว้ท่านเจ้าค่ะ.

พระเถระได้ถามเทพธิดานั้นว่า แน่ะเทพธิดาผู้สวยงาม ท่านเป็นใคร มีวรรณงามดั่งทอง งามรุ่งโรจน์ มียศมาก งามตระการมิใช่น้อย


* อรรถกถาว่า นางมีอัปสรแสนหนึ่ง บาลีว่า มีอัปสรพันหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 183

แวดล้อมด้วยหมู่เทพอัปสรพากันลงมาจากวิมาน จึงมาไหว้อาตมา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชลิตา ได้แก่ รุ่งโรจน์โชติช่วงด้วยรัศมีแห่งสรีระผ้าและอาภรณ์เป็นต้นของตน. บทว่า มหาสยา ได้แก่ มีบริวารมาก. บทว่า วิมานโมรุยฺห แปลว่า ลงจากวิมาน. บทว่า อเนกจิตฺตา ได้แก่ ประกอบด้วยความงามหลากหลาย. บทว่า สุเภ แปลว่า ผู้มีคุณอันงาม. บทว่า มมํ แปลว่า อาตมา.

เทพธิดานั้น ได้ถูกพระเถระถามอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวคาถา ๔ คาถาอีกว่า

ท่านเจ้าขา ดิฉันเป็นหญิงจัณฑาล ถูกท่านผู้เป็นวีรบุรุษส่งไปถวายบังคมพระบาทยุคลของพระโคดมผู้เป็นพระอรหันต์ มีพระเกียรติยศ ครั้นได้ถวายบังคมพระยุคลบาทแล้ว จุติจากกำเนิดหญิงจัณฑาลไปเข้าถึงวิมานอันเพรียบพร้อมด้วยสมบัติทั้งปวง ในอุทยานนันทนวัน เทพอัปสรพันหนึ่งพากันมายืนห้อมล้อม ดีฉันเป็นผู้ประเสริฐเลิศกว่าเทพอัปสรเหล่านั้น โดยวรรณะ เกียรติยศ และอายุ ดีฉันได้กระทำกรรมอันงามมากมาย มีสติสัมปชัญญะ ท่านเจ้าขา ดิฉันมามนุษยโลกครั้งนี้ ก็เพื่อถวายนมัสการพระมุนีผู้มีกรุณาเจ้าค่ะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เปสิตา ความว่า หญิงจัณฑาลถูก

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 184

ท่านผู้เป็นวีรบุรุษส่งไปเพื่อถวายนมัสการด้วยคำเป็นต้นว่า ดูก่อนแม่จัณฑาล ท่านจงถวายพระยุคลบาทเถิด. บุญที่สำเร็จด้วยการถวายบังคมนั้น ถึงจะน้อยโดยชั่วขณะประเดี๋ยวก็จริง ถึงกระนั้น ก็ชื่อว่ามากเกินที่จะเปรียบได้ เพราะมีเขต [เขตตสัมปทา] ใหญ่ และมีผลใหญ่ เพราะเหตุนั้น นางจึงได้กล่าวว่า ปหูตกตกลฺยาณา ดังนี้ อนึ่ง นางหมายถึงความบริสุทธิ์ของปัญญาและสติในขณะความเป็นไปแห่งปีติมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ จึงได้กล่าวว่า สมฺปชานา ปติสฺสตา ดังนี้. ท่านพระสังคีติกาจารย์ตั้งคาถาไว้อีกว่า

เทพธิดาจัณฑาลี ผู้กตัญญูกตเวที ครั้นกล่าวถ้อยคำนี้แล้ว ไหว้เท้าทั้งสองของท่านพระมหาโมคคัลลานเถระองค์พระอรหันต์แล้ว ก็อันตรธานไป ณ ที่นั้นนั่นเองแล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จณฺฑาลี ท่านกล่าวว่า เคยเป็นหญิงจัณฑาล. คำใด เป็นการกล่าวเรียกกันติดปากในมนุษยโลก คำนี้ก็ปฏิบัติติดมาในเทวโลกเช่นกัน. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้ว.

ส่วนท่านพระมหาโมคคัลลานเถระกราบทูลเรื่องถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำข้อความนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทที่ประชุมกัน พระธรรมเทศนานั้นได้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนแล.

จบอรรถกถาจัณฑาลิวิมาน