พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ภัททิตถิกาวิมาน ว่าด้วยภัททิตถิกาวิมาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 พ.ย. 2564
หมายเลข  40270
อ่าน  384

[เล่มที่ 48] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 185

๑. อิตถิวิมานวัตถุ

จิตตลดาวรรคที่ ๒

๕. ภัททิตถิกาวิมาน

ว่าด้วยภัททิตถิกาวิมาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 48]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 185

๕. ภัททิตถิกาวิมาน

ว่าด้วยภัททิตถิกาวิมาน

[๒๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามถึงบุรพกรรมที่ ภัททาเทพธิดา นั้นได้กระทำไว้ว่า

ดูก่อนเทพธิดาผู้มีปัญญาดี ท่านสวมไว้เหนือศีรษะซึ่งมาลัยดอกมณฑารพซึ่งมีสีต่างๆ คือ คำ แดงเข้ม และแดง แวดล้อมด้วยกลีบเกสรจากต้นไม้เหล่าใด ต้นไม้เหล่านี้ไม่มีในหมู่เทพเหล่าอื่น เพราะบุญอะไร ท่านผู้มียศจึงเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ดูก่อนเทพธิดา ท่านถูกเราถามแล้ว โปรดบอกสิว่านี้เป็นผลของบุญกรรมอะไร.

เทพธิดาถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามอย่างนี้แล้ว จึงทูลพยากรณ์ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ชนทั้งหลายรู้จักข้าพระองค์ว่า ภัตทิตถิกา ข้าพระองค์เป็นอุบาสิกาอยู่ในกิมพิลนคร เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาและศีล ยินดีในการจำแนกทานทุกเมื่อ มีจิตอันเลื่อมใสในพระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติตรง ได้ถวายผ้านุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะ และเครื่องประทีป ข้าพระองค์ได้เข้ารักษาอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการตลอดดิถีที่ ๑๔ - ๑๕ และดิถีที่ ๘ ของปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สำรวม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 186

แล้วด้วยดีในศีลทุกเมื่อ งดเว้นจากปาณาติบาต เป็นผู้เว้นจากการถือเอาสิ่งของของผู้อื่นด้วยไถยจิต จากการประพฤติผิดในกาม สำรวมจากมุสาวาท และจากการดื่มน้ำเมา เป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ และเป็นผู้ฉลาดในอริยสัจ มีปกติเป็นอยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอุบาสิกาของพระพุทธเจ้าผู้มีพระสมันตจักษุ ข้าพระองค์บำเพ็ญสุจริตกุศลธรรมสำเร็จ แล้วจุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว เป็นนางเทพธิดาผู้มีรัศมีในกายตัวเอง เที่ยวชมอยู่รอบๆ สวนนันทนวัน อนึ่ง ข้าพระองค์ได้เลี้ยงดูซึ่งท่านภิกษุผู้เป็นอัครสาวกทั้งสอง ผู้อนุเคราะห์ชาวโลกด้วยประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง เป็นมหาปราชญ์ และได้บำเพ็ญสุจริตกุศลธรรมไว้มาก ครั้นจุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว ได้บังเกิดเป็นเทพธิดา ผู้มีรัศมีในกายของตนเอง เที่ยว ชมอยู่รอบๆ สวนนันทนวัน ข้าพระองค์ได้เข้ารักษาอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ นำมาซึ่งความสุขอันกำหนดมิได้เนืองนิตย์ และได้สร้างสุจริตกุศลธรรมความชอบไว้บริบูรณ์แล้ว ครั้นจุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว ได้บังเกิดเป็นนางเทวดาผู้มีรัศมีในกายตัวเอง เที่ยวชมอยู่รอบๆ นันทนวัน.

จบภัททิตถิกาวิมาน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 187

อรรถกถาภัททิตถิกาวิมาน

ภัททิตถิกาวิมานมีคาถาว่า นีลา ปีตา จ กาฬา จ ดังนี้เป็นต้น. ภัททิตถิกาวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกะ กรุงสาวัตถี สมัยนั้น ในกิมิลนครมีคหบดีบุตรผู้หนึ่งชื่อ โรหกะ มีศรัทธาปสาทะ ถึงพร้อมด้วยศีลและอาจาระ ในนครนั้นแล มีทาริกาเด็กหญิงคนหนึ่งในตระกูลที่มีโภคทรัพย์มาก ทัดเทียมกับนายโรหกะนั้น เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส มีนามว่า ภัททา เพราะเจริญแม้ตามปกติ ครั้นต่อมา มารดาบิดาของโรหกะได้เลือกกุมารีนั้นนำนาง มาในเวลานั้น ได้ทำอาวาหวิวามงคลกัน. สองสามีภริยานั้นก็อยู่ร่วมกันด้วยสามัคคี ก็เพราะอาจารสมบัติของตน นางจึงได้เป็นคนเด่นรู้จักกันไปทั่วพระนครนั้นว่า ภัททิตถี แม่หญิงภัทรา.

ก็สมัยนั้น พระอัครสาวกทั้ง ๒ มีภิกษุเป็นบริวารรูปละ ๕๐๐ จาริกเที่ยวไปในชนบทถึงกิมิลนคร. นายโรหกะรู้ว่าพระอัครสาวกนั้นไปที่กิมิลนครนั้น เกิดโสมนัสเข้าไปหาพระเถระทั้งสองรูป ไหว้แล้วนิมนต์ ฉันในวันพรุ่งนี้ อังคาสท่านพร้อมด้วยบริวารให้อิ่มหนำสำราญด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีตในวันรุ่งขึ้น พร้อมด้วยบุตรและภรรยาได้ฟังพระธรรมเทศนาที่ท่านแสดงแล้ว ตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน รับสรณะ สมาทานเบญจศีล. ส่วนภรรยาของเขาก็เข้ารักษาอุโบสถศีลเป็นวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวันปาฏิหาริยปักษ์. เฉพาะอย่างยิ่งนางได้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลและอาจาระ และเทวดาทั้งหลายอนุเคราะห์แล้ว ก็ด้วย

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 188

ความอนุเคราะห์ของเทวดานั้นแล นางก็ปลดเปลื้องคำว่าร้ายผิดๆ ที่ตกมาเหนือตนหายไปได้ กลายเป็นผู้มีเกียรติยศแพร่ไปทั่วโลกอย่างยิ่ง เพราะนางมีศีลและอาจาระหมดจดด้วยดีแล.

ก็ภรรยานั้นอยู่ในกิมิลนครนั้นเอง ส่วนสามีของนางอยู่ค้าขายในตักกศิลานคร ในวันมหรสพรื่นเริงกัน เมื่อถูกพวกเพื่อนรบเร้าก็เกิดคิดอยากเล่นงานมหรสพตามเทศกาล เทวดาผู้ประจำเรือนก็ช่วยนำนางไปในตักกศิลานครนั้นด้วยอานุภาพทิพย์ของตนแล้ว ส่งไปร่วมกับสามี เพราะอยู่ร่วมกันนั่นแล ก็ตั้งครรภ์ เทวดาช่วยนำกลับกิมิลนคร เมื่อครรภ์ปรากฏชัดขึ้นโดยลำดับ ถูกแม่ผัวเป็นต้น รังเกียจว่านางประพฤตินอกใจสามี เมื่อกระแสน้ำในแม่น้ำคงคาถูกเทวดานั้นแล บันดาลให้เป็นเหมือนหลงมาท่วมกิมิลนคร ด้วยอานุภาพของตน ประสบความยุ่งยาก ซึ่งตกลงมาเหนือตนดังกระแสน้ำในแม่น้ำคงคาที่มีเกลียวคลื่นเกิดเพราะแรงลม ด้วยการสมถะมีสัจจาธิษฐานเป็นเบื้องต้น ซึ่งพิสูจน์ว่าตนเป็นหญิงจงรักสามี ถึงจะกลับมาอยู่ร่วมกับสามี สามีนั้นก็รังเกียจเหมือนแม่ผัวเป็นต้น รังเกียจมาก่อน และต้องอ้างสัญญาณเครื่องหมาย ซึ่งสามีนั้นประทับชื่อให้ไว้ในตักกศิลานคร จึงแก้ความรังเกียจนั้นได้ กลายเป็นผู้ที่ญาติฝ่ายสามีและมหาชนยกย่อง ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า สุวิสุทฺธสีลาจารตาย อติวิย โลเก ปตฺถฏยสา อโหสิ ได้เป็นผู้มีเกียรติยศแพร่ไปในโลกอย่างยิ่ง เพราะเป็นผู้มีศีลและอาจาระหมดจดดี.

สมัยต่อมา นางทำกาละตาย ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์ ครั้งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาจากกรุงสาวัตถีไปยังภพดาวดึงส์ ประทับนั่งบนบัณฑุกัมพลศิลา ณ โคนต้นปาริฉัตร และเมื่อเทพบริษัทเข้าไปเฝ้า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 189

พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้ภัททิตถีเทพธิดาก็ได้เข้าไปเฝ้าถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงถามบุญกรรมที่เทพธิดานั้นทำไว้ ณ ท่ามกลางเทวดาบริษัทและพระพรหมบริษัทที่ประชุมพร้อมกันในหมื่นโลกธาตุ ได้ตรัสว่า

ดูก่อนเทพธิดาผู้มีปัญญาดี ท่านทัดทรงไว้เหนือศีรษะซึ่งพวงมาลัยดอกมณฑารพ อันมีสีต่างๆ กัน คือ เขียว เหลือง ดำ แดงเข้ม และแดง ที่ห้อมล้อมด้วยกลีบเกสรจากต้นไม้เหล่าใด ต้นไม้เหล่านี้ไม่มีในเทพหมู่อื่น เพราะบุญอะไร ท่านผู้เลอยศจึงเข้าถึงหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ดูก่อนเทพธิดา ท่านถูกเราถามแล้ว จงบอกมาสิว่านี้เป็นผลของบุญอะไร.

ในคาถานั้น ศัพท์ในบาทคาถานี้ว่า นีลา ปีตา จ กาฬา จ มญฺชิฏฺา อถ โลหิตา เป็นการกล่าวควบบท จ ศัพท์นั้น พึงประกอบแต่ละบทโดยเป็นต้นว่า นีลา จ ปีตา จ. ศัพท์ว่า อถ เป็นนิบาตใช้ในอรรถอื่น. ด้วย อถ ศัพท์นั้น ท่านรวมวรรณะที่ไม่ได้กล่าวมีสีขาวเป็นต้นไว้ด้วย. พึงทราบว่าอิติศัพท์ท่านลบเสียแล้วแสดงไว้ [ไม่มีอิติศัพท์] อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ ควบข้อความที่ไม่ได้กล่าวไว้ อิติ ศัพท์ เป็น นิบาต. บทว่า อุจฺจาวจานํ. ในบาทคาถาว่า อุจฺจารจานํ วณฺณานํ นี้ พึงเห็นว่าไม่ลบวิภัตติ อธิบายว่า มีสีสูงและตำคือมีสีต่างๆ กัน. อนึ่ง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 190

บทว่า วณฺณานํ แปลว่า ซึ่งมีรัศมีคือสี. บาทคาถาว่า กิญฺชกฺขปริวาริตา ได้แก่ แวดล้อมด้วยกลีบเกสรดอกไม้. ที่จริงบทนั้นเป็นปฐมาวิภัตติแต่ใช้ในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ. มีคำอธิบายดังนี้ว่า ดูก่อนเทพธิดา ท่านทัดทรงประดับไว้เหนือเศียรซึ่งมาลัยดอกมณฑารพ คือพวงมาลัยที่ทำด้วยดอกมณฑารพเหล่านั้น เพราะดอกมณฑารพเหล่านั้นซึ่งสีสรรต่างๆ คือ เขียว เหลือง ดำ แดงเข้ม แดงและสีอื่นๆ มีสีขาวเป็นต้น อันห้อมล้อมด้วยกลีบเกสรคือละออง ตามที่เป็นอยู่มีสัณฐานทรวดทรงงามเป็นต้น หรือเพราะสีแห่งวรรณะตามที่กล่าวแล้วต่างๆ กันเกิดจากต้นมณฑารพ.

เพื่อแสดงว่าต้นไม้ที่มีดอกเหล่านั้นไม่ทั่วไปแก่สวรรค์ชั้นอื่น เพราะดอกไม้เหล่านั้นมีสีพิเศษแปลกออกไป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นยิเม อญฺเสุ กาเยสุ รุกฺขา สนฺติ สุเมธเส ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า อิเม ประกอบความว่า ต้นไม้มีดอกประกอบด้วยสีและสัณฐาน เป็นต้น ตามที่กล่าวแล้วไม่มี. บทว่า กาเยสุ แปลว่า ในหมู่เทพทั้งหลาย. บทว่า สุเมธเส แปลว่า ดูก่อนเทพธิดาผู้มีปัญญาดี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นีลา ได้แก่ มีสีเขียว โดยมณีรัตนะ มีอินทนิลและมหานิลเป็นต้น. บทว่า ปีตา ได้แก่ มีสีเหลือง โดยมณีรัตนะ มีบุษราคัมกักเกตนะและปุลกะเป็นต้น และทองสิงคี. ว่า กาฬา ได้แก่ มีสีดำ โดยมณีรัตนะมีแก้วหินอัสมกะ แก้วหินอุปลกะ เป็นต้น. บทว่า มญฺชิฏฺา ได้แก่ มีสีแดงเข้ม โดยมณีรัตนะมีแก้วโชติรส แก้วโคปุตตาและแก้วโคเมทกะเป็นต้น. บทว่า โลหิตา ได้แก่ มีสีแดง โดยมณีรัตนะมีแก้วทับทิม แก้วแดง แก้วประพาฬเป็นต้น ส่วนอาจารย์บางพวก เอาบทมีนีละ เป็นต้นกับบทนี้ว่า รุกฺขา ประกอบกันกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 191

นีลารุกฺขา เป็นต้น. ที่จริง แม้ต้นไม้ย่อมได้โวหารว่าเขียวเป็นต้น เพราะประกอบด้วยสีเขียวเป็นต้น เหตุปกคลุมด้วยดอกไม้มีสีเขียวเป็นต้น เพราะเหตุนั้น ด้วยบทเหล่านั้นว่า นีลา ปีตา จ กาฬา จฯปฯ นยิเม อญฺเสุ กาเยสุ รุกฺขา สนฺติ สุเมธเส ดังนี้ พึงประกอบความว่า ท่านทัดทรงพวงดอกมณฑารพ ซึ่งมีสีสรรต่างๆ ฯลฯ ห้อมล้อมด้วยกลีบเกสรจากต้นไม้ใด การแสดงต้นไม้ไว้แผนกหนึ่ง ด้วยการระบุดอกไม้อันประกอบด้วยสีแปลกออกไปตามที่เห็นแล้ว ด้วยการแสดงถึงภาวะที่ดอกไม้เหล่านั้นเป็นของไม่ทั่วไป จัดเป็นปฐมนัย. การแสดงดอกไม้ไว้แผนกหนึ่ง ด้วยการแสดงภาวะที่ต้นไม้เป็นของไม่ทั่วไป จัดเป็นทุติยนัย. สีเป็นต้น ในปฐมนัยท่านถือเอาโดยสภาพ. ในทุติยนัย ท่านถือเอาโดยมุข คือต้นไม้อันเป็นที่อาศัย [ของสี] ในข้อนั้นสีและต้นไม้เหล่านั้น แปลกกันดังกล่าวมานี้.

บทว่า เกน ประกอบความว่า เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงเข้าถึงหมู่เทพชั้นดาวดึงส์. บทว่า ปุจฺฉิตาจิกฺข ความว่า ท่านถูกเราถามแล้ว จงบอกจงกล่าวมาเถิด.

เทพธิดานั้นถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามอย่างนี้แล้ว จึงได้ทูลพยากรณ์ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ชนทั้งหลายรู้จักข้าพระองค์ว่า ภัททิตถิกา แม่หญิงภัทรา ข้าพระองค์เป็นอุบาสิกาอยู่ในกิมพิลนคร เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาและศีล ยินดีในการจำแนก ของเป็นทานทุกเมื่อ มีจิตผ่องใส ได้ถวายผ้านุ่งห่ม

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 192

อาหาร เสนาสนะ และเครื่องประทีป ในพระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติตรง ข้าพระองค์ได้เข้ารักษาอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดดิถีที่ ๑๔ - ๑๕ และดิถีที่ ๘ ของปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ ข้าพระองค์เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยดีในศีลทุกเมื่อ มีสัญญมะ และแจกทาน จึงครอบครองวิมาน. ดีฉันงดเว้นจากปาณาติบาต เป็นผู้เว้นจากการถือเอาสิ่งของของผู้อื่นด้วยไถยจิต จากการประพฤติผิดในกาม สำรวมจากมุสาวาท และจากการดื่มนำเมา เป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ และเป็นผู้ฉลาดในอริยสัจ เป็นอุบาสิกาของพระพุทธเจ้าผู้มีพระสมันตจักษุ มีปกติเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท.

ข้าพระองค์ได้โอกาสบำเพ็ญกุศลธรรม จุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว เป็นเทพธิดามีรัศมีของตนเอง เที่ยวชมสวนนันทนวันอยู่ อนึ่ง ข้าพระองค์ได้เลี้ยงดู ท่านภิกษุอัครสาวกทั้งสอง ผู้อนุเคราะห์ชาวโลกด้วยประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง เป็นมหาปราชญ์ และได้โอกาสบำเพ็ญกุศลธรรม ครั้นจุติจากมนุษยโลกนั้น แล้ว ได้บังเกิดเป็นเทพธิดาผู้มีรัศมีในตนเอง เที่ยวชมสวนนันทนวันอยู่ ข้าพระองค์ได้เข้ารักษาอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อันนำความสุขมาหาประมาณมิได้อยู่เนืองนิตย์ และได้โอกาสร้าง

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 193

กุศลธรรม ครั้นจุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว ได้บังเกิดเป็นนางเทพธิดา ผู้มีรัศมีในตนเอง เที่ยวชมสวนนันทนวันอยู่.

ในบทเหล่านั้น บาทคาถาว่า ภทฺทิตฺถิกาติ มํ อญฺึสุ กิมฺพิลายํ อุปาสิกา ความว่า หญิงนี้เจริญดี เกิดการตัดสินใจไว้ว่า เป็นผู้มีศีลไม่ขาด เพราะกลับกระแสน้ำใหญ่ที่กำลังเบียดเบียน ด้วยอาจารสมบัติ ด้วยการการทำสัจ เพราะฉะนั้น ชาวกิมพิลนครจึงรู้จักข้าพระองค์ว่า อุบาสิกาชื่อว่า ภัททิตถิกา. บาทคาถาเป็นต้นว่า สทฺธาสีเลน สมฺปนฺนา มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง.

อีกอย่างหนึ่ง เทพธิดาแสดงทรัพย์คือศรัทธาด้วยบทนี้ว่า สทฺธา. ทรัพย์คือจาคะด้วยบทนี้ว่า ข้าพระองค์ยินดีในการจำแนกของเป็นทาน มีจิตผ่องใส ได้ถวายผ้านุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะและเครื่องประทีปในพระอริยะผู้ปฏิบัติตรง. ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ และทรัพย์คือ โอตตัปปะด้วยบทนี้ว่า ข้าพระองค์สมบูรณ์ด้วยศีล ตลอดดิถี ๑๔ - ๑๕ ค่ำ ฯลฯ มีสิกขาบท ๕ ประการ แสดงทรัพย์คือสุตะ และทรัพย์คือปัญญา ด้วยบทนี้ว่า อริยสจฺจาน โกวิทา. เทพธิดานั้นแสดงการได้อริยทรัพย์ ๗ ประการของตนดังกล่าวมาฉะนี้. เทพธิดาชี้แจงอานิสงส์ของอริยทรัพย์ ๗ นั้น ทั้งที่เป็นปัจจุบัน ทั้งที่เป็นภายหน้า ด้วยบาทคาถานี้ว่า อุปาสิกา จกฺขุมโต ฯเปฯ อนุวิจรามิ นนฺทนํ. ในบทเหล่านั้น บทว่า กตาวาสา ได้แก่ ได้บำเพ็ญสุจริตกรรมเครื่องอยู่สำเร็จแล้ว. จริงอยู่ สุจริตกรรมเรียกว่าอาวาสที่อยู่แห่งสุขวิหารธรรม เพราะเหตุอยู่

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 194

เป็นสุขในปัจจุบันและอนาคต ด้วยเหตุนั้น เทพธิดาจึงกล่าวว่า กตกุสลา ดังนี้.

เทพธิดากล่าวบุญสำเร็จด้วยทานของตนอันเป็นเขตพิเศษที่มิได้แตะต้องมาก่อนแล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงความที่เขตพิเศษเป็นบ่อเกิดแห่งบุญนั้น จึงกล่าวคำว่า ภิกฺขู จ เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขู ชื่อว่าภิกษุเพราะเป็นผู้ทำลายกิเลสมิให้เหลือ. บทว่า ปรมหิตานุกมฺปเก ได้แก่ ผู้อนุเคราะห์ประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบันเป็นต้น เป็นอย่างยิ่งคือเหลือเกิน. บทว่า อโภชยึ ได้แก่ ข้าพระองค์ได้ให้ท่านฉันโภชนะอัน ประณีต. บทว่า ตปสฺสิยุคํ ความว่าคู่ [สองอัครสาวก] ผู้มีตบะ เพราะเผาผลาญตัดกิเลสมลทินทั้งหมดได้เด็ดขาดด้วยตบะอันสูงสุด. บทว่า มหามุนึ ความว่า เป็นผู้แสวงคุณใหญ่เพราะตบธรรมนั้นนั่นแล หรือชื่อว่ามหาปราชญ์เพราะรู้คือกำหนดวิสัยของตนได้ด้วยญาณอย่างใหญ่นั่นเทียว. คำนั้นทั้งหมด เทพธิดากล่าวหมายเอาพระอัครสาวกทั้งสอง.

บทว่า อปริมิตํ สุขาวหํ ท่านกล่าวมิได้ลบนิคหิต ได้แก่อันให้เกิดหิตสุขมีปริมาณเกินพระดำรัสแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ผู้บอกจะทำให้บรรลุตลอดถึงสุขบนสวรรค์ไม่ง่ายนัก หรือนำสุขมาหาประมาณมิได้ คือนำสุขมาด้วยอานุภาพของตน. บทว่า สตตํ แปลว่า ทุกเวลา. ประกอบความว่า ไม่ลดวันรักษาอุโบสถนั้นๆ หรือทำวันรักษาอุโบสถนั้นไม่ให้ขาด ทำให้บริบูรณ์นำความสุขมาให้เนืองนิตย์ หรือทุกเวลา. คำที่เหลือเหมือนนัยที่ กล่าวมาแล้วในหนหลัง.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 195

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอภิธรรมปิฎกตลอดสามเดือนโปรดหมู่เทวดาและพรหม ผู้อยู่ในหมื่นโลกธาตุ มีพระมารดาเทพบุตรเป็นประธาน เสด็จกลับมายังมนุษยโลกแล้ว ทรงแสดงภัททิตถิกาวิมานโปรดแก่ภิกษุทั้งหลาย. พระธรรมเทศนานั้นได้เป็นประโยชน์แก่บริษัทผู้ประชุมกันแล.

จบอรรถกถาภัททิตถิกาวิมาน