พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. คุตติลวิมาน ว่าด้วยคุตติลวิมาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 พ.ย. 2564
หมายเลข  40281
อ่าน  443

[เล่มที่ 48] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 247

๑. อิตถิวิมานวัตถุ

ปาริฉัตตกวรรคที่ ๓

๕. คุตติลวิมาน

ว่าด้วยคุตติลวิมาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 48]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 247

๕. คุตติลวิมาน

ว่าด้วยคุตติลวิมาน

[๓๓] พระมหาสัตว์นามว่าคุตติลบัณฑิต อันสมเด็จอมรินทราธิราช ทรงจำแลงองค์เป็นพราหมณ์โกสิยโคตร เสด็จเข้าไปหาทรงซักถามแล้วได้ทูลตอบแสดงความเจ็บใจของตนให้ท้าวเธอทรงทราบด้วยคาถา ความว่า

ข้าแต่ท้าวโกสีย์ ข้าพระองค์ได้สอนวิชาดีดพิณ ๗ สาย อันมีเสียงไพเราะมาก น่ารื่นรมย์ ให้แก่มุสิละผู้เป็นศิษย์ เขาตั้งใจจะดีดพิณประชันกับข้า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 248

พระองค์บนกลางเวที ขอพระองค์ทรงเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์ด้วย.

สมเด็จอมรินทราธิราชทรงสดับคำปรับทุกข์นั้นแล้ว เมื่อจะทรงปลอบอาจารย์ จึงตรัสปลุกใจด้วยคาถาความว่า จะกลัวไปทำไมนะ ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าจะเป็น ที่พึ่งของท่านอาจารย์ เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้บูชาท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าผู้เป็นศิษย์จะไม่ปล่อยให้ท่านอาจารย์ปราชัย ท่านอาจารย์ต้องเป็นผู้ชนะนายมุสิละ ผู้เป็นศิษย์แน่นอน.

เมื่อสมเด็จอมรินทราธิราชตรัสปลอบใจเช่นนี้ คุตติลบัณฑิตก็โล่งใจคลายทุกข์ พอถึงวันนัดก็ไปประลองศิลป์กันบนเวทีหน้าพระโรง ในที่สุด คุตติลบัณฑิตผู้อาจารย์เป็นฝ่ายชนะ นายมุสิละผู้เป็นศิษย์เป็นฝ่ายแพ้ ถึงแก่ความตายกลางเวที เพราะอาชญาของปวงชน สมเด็จอมรินทราธิราชทรงกล่าววาจาแสดงความยินดีด้วยคุตติลบัณฑิตแล้ว เสด็จกลับเทวสถาน ครั้นกาลต่อมา สมเด็จอมรินทราธิราชตรัสใช้ให้พระมาตลีเทพสารถี นำเวชยันตราชรถลงมารับคุตติลบัณฑิตไปยังเทวโลกเพื่อให้ดีดพิณถวาย คุตติลบัณฑิตจึงกราบทูลท้าวโกสีย์ในท่ามกลางเทพบริษัท เพื่อไต่ถามถึงบุรพกรรมของเทพธิดาทั้งหลาย ณ ที่นั้น เป็นรางวัลแห่งการ ดีดพิณเสียก่อน เมื่อได้รับพระอนุญาตแล้ว จึงได้ถามถึงบุรพกรรมของเทพธิดาเหล่านั้นว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 249

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องแสงสว่างไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันคุตติลบัณฑิตถามเหมือนท่านพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีใจยินดี ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดีฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย ได้ถวายผ้าอย่างดีผืนหนึ่งแก่ภิกษุรูปหนึ่ง

ดีฉันได้ถวายผ้าอันน่ารักอย่างนี้ จึงมาได้ทิพยวิมาน อันน่าปลื้มใจถึงเช่นนี้ เชิญดูวิมานของดีฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย เชิญดูผลแห่งบุญ คือการถวายผ้าอย่างดีทั้งหลายนั้นเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะ งามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.

วิมานทั้ง ๔ ที่จะกล่าวต่อไปนี้ มีความพิสดารเหมือนวัตถทายิกวิมาน.

(๑) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 250

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนักฯ ลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า

ดีฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย ได้ถวายดอกมะลิอย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดีฉันได้ถวายดอกมะลิอันน่ารักอย่างนี้ จึงมาได้ทิพยวิมานน่าปลื้มใจถึงเช่นนี้ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดีฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญ คือการถวายดอกมะลิอย่างดีทั้งหลายนั้นเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.

(๒) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 251

นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า

ดีฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย ได้ถวายจุรณของหอมอย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดีฉันได้ถวายอุรณของหอมอันน่ารักอย่างนี้ จึงมาได้ทิพยวิมานอันน่าปลื้มใจเช่นนี้ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดีฉันนี้เถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญ คือ การถวายอุรณของหอมอย่างดีทั้งหลายนั้นเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีส่องสว่างไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.

(๓) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถาม

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 252

แล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่ง ผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า

ดีฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย ได้ถวายผลไม้อย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดีฉัน ได้ถวายผลไม้อันน่ารักอย่างนี้ จึงมาได้ทิพยวิมาน อันน่าปลื้มใจถึงเช่นนี้ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของ ดีฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่าง และผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้ง พันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญ คือ การถวายผลไม้อย่างดีทั้งหลายนั้นเถิด เพราะบุญ กรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมี รัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.

(๔) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มี รัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะงาม เช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ บุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถาม แล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่ง ผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 253

ดีฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย ได้ถวายอาหารมีรสอย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดีฉันได้ถวายอาหารอันน่ารักอย่างนี้ จึงมาได้ทิพยวิมานอันน่าปลื้มใจถึงเช่นนี้ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดีฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉันยังเป็นนางฟ้า ที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญ คือการถวายอาหารมีรสอย่างดีทั้งหลายนั้นเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า

ดีฉันได้นำของหอม ๕ อย่าง ไปประพรมที่

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 254

องค์พระสถูปทองคำ สำหรับบรรจุพระบรมธาตุของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดีฉันนี้เถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรทั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญคือการถวายของหอม ๕ อย่างนั้นเถิด เพราะบุญูกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และ มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.

วิมานทั้ง ๔ จะกล่าวต่อไปนี้ มีเนื้อความพิสดารเหมือนกับคันธปัญจังคลิกวิมาน

(๑) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มี รัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า

ดีฉันได้เห็นภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย พากันเดินทางไกล ได้ฟังธรรมเทศนาของท่านเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 255

ได้เข้ารักษาอุโบสถอยู่วันหนึ่งคืนหนึ่ง นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดีฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดิฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญทั้งหลายเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.

(๒) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามว่า

ดีฉันยืนอยู่ในน้ำ มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายน้ำใช้และน้ำฉันแก่ภิกษุรูปหนึ่ง นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดีฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดู

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 256

ผลแห่งบุญทั้งหลายเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.

(๓) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่ง ผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า

ดีฉันไม่คิดมุ่งร้าย ตั้งใจปฏิบัติเป็นอย่างดี ซึ่งแม่ผัวและพ่อผัวผู้ดุร้าย ผู้มักโกรธง่ายและหยาบคาย เป็นผู้ไม่ประมาทในการรักษาศีลของตน นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญทั้งหลายเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.

(๔) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 257

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า

ดีฉันเป็นหญิงรับใช้ รับจ้างทำกิจการงานของคนอื่น ไม่เกียจคร้าน ไม่เป็นคนโกรธง่าย ไม่ถือตัว ชอบแบ่งปันสิ่งของอันเป็นส่วนของตนที่ได้มาแก่ปวงชนที่ต้องการ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดีฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่าง และผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญทั้งหลายเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 258

งามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า

ดีฉันได้ถวายข้าวสุกคลุกนมวัวสดแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ นิมนต์พระคุณเจ้าจงดูวิมานของดิฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉันเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.

ในวิมานเหล่านั้น ๒๕ วิมานที่จะกล่าวต่อไปนี้ มีเนื้อความพิสดารเหมือนกับขีโรทนทายิกาวิมาน.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดีฉันได้ถวาย

๑. น้ำอ้อยงบ ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 259

๒. ผลมะพลับสุก ฯลฯ

๓. อ้อยท่อนหนึ่ง ฯลฯ

๔. แตงโมผลหนึ่ง ฯลฯ

๕. ฟักทองผลหนึ่ง ฯลฯ

๖. ยอดผักต้ม ฯลฯ

๗. ผลลิ้นจี่ ฯลฯ

๘. เชิงกราน ฯลฯ

๙. ผักดองกำหนึ่ง ฯลฯ

๑๐. ดอกไม้กำหนึ่ง ฯลฯ

๑๑. มัน ฯลฯ

๑๒. สะเดากำหนึ่ง ฯลฯ

๑๓. น้ำผักดอง ฯลฯ

๑๔. แป้งคลุกงาคั่ว ฯลฯ

๑๕. ประคดเอว ฯลฯ

๑๖. ผ้าอังสะ ฯลฯ

๑๗. พัด ฯลฯ

๑๘. พัดสี่เหลี่ยม ฯลฯ

๑๙. พัดใบตาล ฯลฯ

๒๐. หางนกยูงกำหนึ่ง ฯลฯ

๒๑. ร่ม

๒๒. รองเท้า ฯลฯ

๒๓. ขนม ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 260

๒๔. ขนมต้ม ฯลฯ

๒๕. น้ำตาลกรวด

แก่ภิกษุรูปหนึ่งผู้กำลังบิณฑบาตอยู่ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดีฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.

เมื่อนางเทพธิดาเหล่านั้น เฉลยผลกรรมที่ได้ทำมาเป็นอันดีอย่างนี้แล้ว คุตติลบัณฑิตร่าเริง บันเทิงใจ เมื่อจะแสดงความชื่นชมยินดีของตน จึงกล่าวว่า

ข้าพเจ้ามาถึงเมืองสวรรค์วันนี้ เป็นการดีแท้ เป็นฤกษ์งามยามดีที่ข้าพเจ้าได้เห็นนางเทพธิดาทั้งหลาย ที่เป็นนางฟ้ามีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่ ทั้งยังได้ฟังธรรมอันแนะนำทางบุญกุศลจากเธอเหล่านั้นด้วย แต่นี้ไปข้าพเจ้าจักการทำบุญกุศลให้มาก ด้วยการให้ทาน ด้วยการประพฤติธรรมสม่ำเสมอ ด้วยการรักษาศีลสังวร และด้วยการฝึกอินทรีย์ ข้าพเจ้าจักได้ไปสู่สถานที่ๆ ไปแล้วไม่เศร้าโศก.

จบคุตติลวิมาน

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 261

อรรถกถาคุตติลวิมาน

คุตติลวิมาน มีคาถาว่า สตฺตตนฺตึ สุมธุรํ ดังนี้เป็นต้น. คุตติลวิมาน นั้นเกิดขึ้นอย่างไร?

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ จาริกไปยังเทวโลก ตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล ครั้นไปถึงภพดาวดึงส์ เห็นเทพธิดา ๓๖ นาง แต่ละนางมีนางอัปสรเป็นบริวาร เสวยทิพยสมบัติใหญ่ใน ๓๖ วิมาน ซึ่งตั้งอยู่ ณ ภพดาวดึงส์นั้น จึงถามถึงกรรมที่เทพธิดาเหล่านั้นได้กระทำมาในกาลก่อนตามลำดับ ด้วยคาถาทั้งหลาย ๓ คาถา มีอาทิว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน มีวรรณงามยิ่งนัก ดังนี้. แม้เทพธิดาเหล่านั้นก็ได้ตอบตามลำดับคำถามของพระมหาโมคคัลลานเถระ โดยนัยมีอาทิว่า วตฺถุตฺตมทายิกา นารี ดีฉันเป็นนารีได้ถวาย ผ้าเนื้อดี ดังนี้.

ลำดับนั้น พระเถระจึงออกจากเทวโลกลงมาสู่มนุษยโลก ได้กราบทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นได้สดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสว่า โมคคัลลานะ เทพธิดาเหล่านั้นมิได้ตอบอย่างที่เธอถามในบัดนี้อย่างเดียวเท่านั้น เมื่อก่อนก็ได้ตอบอย่างที่เราถามเหมือนกัน. พระเถระกราบทูลขอร้องให้ตรัส พระองค์จึงได้ตรัสเล่าเรื่องของพระองค์ ครั้งเป็นคุตติละอาจารย์ในอดีตให้ฟังดังต่อไปนี้

ในครั้งอดีต เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติอยู่ในตระกูลคนธรรพ์ ได้เป็นอาจารย์ปรากฏชื่อเสียง เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในทุกทิศโดยชื่อว่า คุตติละ เช่นเดียวกับติมพรูนารทะ เพราะเป็นผู้มีศิลปะบริสุทธิ์ในศิลปะของคนธรรพ์. คุตติละนั้นเลี้ยงดูมารดา

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 262

บิดาผู้แก่เฒ่าตาบอด. คนธรรพ์ ชื่อมุสิละ ชาวอุชเชนี ได้ทราบถึงความสำเร็จทางศิลปะของอาจารย์คุตติละนั้น จึงเข้าไปหาทำความเคารพแล้วยืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่ออาจารย์คุตติการละถามว่า ท่านมีธุระอะไรหรือ จึงบอกว่าประสงค์จะเรียนศิลปะในสำนักของอาจารย์. อาจารย์คุตติละมองดูมุสิละคนธรรพ์นั้น เพราะเป็นผู้ฉลาดในการดูลักษณะ คิดว่า เจ้านี้มีอัธยาศัยไม่เรียบร้อยหยาบคาย จักเป็นคนไม่รู้จักคุณคน ไม่ควรสงเคราะห์ ดังนี้ จึงไม่ให้โอกาสที่จะเรียนศิลปะ มุสิละจึงเข้าไปหามารดาบิดาของอาจารย์คุตติละ ขอร้องให้มารดาบิดาช่วย. อาจารย์คุตติละ เมื่อถูกมารดาบิดาแค่นไค้ จึงคิดว่า ถ้อยคำของครูควรแก่ค่า ดังนี้ จึงเริ่มบอกศิลปะแก่มุสิละ เพราะอาจารย์คุตติละปราศจากความตระหนี่ และเพราะมีความกรุณาจึงไม่ทำอาจริยมุฏฐิ (หวงความรู้) ให้มุสิละศึกษาศิลปะโดยสิ้นเชิง.

แม้มุสิละนั้น เพราะเป็นคนฉลาด เพราะสะสมบุญมาก่อนและเพราะไม่เกียจคร้าน ไม่ช้าก็เรียนจบศิลปะจึงคิดว่า กรุงพาราณสีนี้เป็นนครเลิศในชมพูทวีป ถ้ากระไร เราควรแสดงศิลปะแก่บริษัทหน้าพระที่นั่งในนครนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็จักปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักยิ่งกว่าอาจารย์ในชมพูทวีป ดังนี้. มุสิละจึงบอกแก่อาจารย์ว่า กระผมประสงค์จะแสดงศิลปะหน้าพระที่นั่ง ขอท่านอาจารย์ได้โปรดนำกระผมเข้าเฝ้าด้วยเถิด. พระมหาสัตว์มีความกรุณาว่า มุสิละนี้เรียนศิลปะในสำนักของเราจงได้รับอุปถัมภ์ ดังนี้ จึงนำเขาเข้าเฝ้าพระราชา แล้วกราบทูลว่า ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาท ขอพระองค์ได้โปรดทอดพระเนตรดูความชำนิ ชำนาญในการดีดพิณของลูกศิษย์ของข้าพระพุทธเจ้าผู้นี้เถิด พระเจ้าข้า พระราชาตรัสสั่งว่า ดีแล้ว ทรงสดับการดีดพิณของมุสิละนั้น พอพระทัย

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 263

ยิ่งนัก ครั้นมุสิละกราบทูลลา ทรงห้ามแล้วตรัสว่า เจ้าจงอยู่รับราชการกับเราเถิด เราจักให้ครึ่งหนึ่งจากส่วนที่ให้แก่อาจารย์. มุสิละกราบทูลว่า ขอเดชะ. ข้าพระองค์จะไม่ขอรับต่ำกว่าอาจารย์ ขอพระองค์ได้โปรดพระราชทานเท่ากับอาจารย์เถิด พระเจ้าข้า เมื่อพระราชาตรัสว่า เจ้าอย่าพูดอย่างนั้นซิ ธรรมดาอาจารย์เป็นผู้ใหญ่ เราจักให้เจ้าครึ่งหนึ่งเท่านั้น มุสิละกราบทูลว่า ขอเดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้าฯ ขอพระองค์ได้โปรดทอดพระเนตรศิลปะของข้าพระองค์และอาจารย์เถิด พระเจ้าข้า แล้วก็ออกจากกรุงราชคฤห์ เที่ยวโฆษณาไปในที่นั้นๆ ว่า จากนี้ไป ๗ วัน จักมีการ แสดงศิลปะที่หน้าพระลานหลวงระหว่างข้าพเจ้าและอาจารย์คุตติละ ขอเชิญผู้ประสงค์จะชมศิลปะนั้นจงพากันมาชมเถิด.

พระมหาสัตว์สดับดังนั้นแล้วคิดว่า มุสิละนี้ยังหนุ่มมีกำลัง ส่วนเราแก่แล้วกำลังก็น้อย ถ้าเราแพ้ เราตายเสียดีกว่า เพราะฉะนั้น เราจะเข้าไปป่าผูกคอตายละ จึงไปป่า เกิดกลัวตายก็กลับ อยากตายอีกไปป่า กลัวตายอีกก็กลับ เมื่อพระมหาสัตว์ไปๆ มาๆ อยู่อย่างนี้ ที่นั้นเตียนโล่ง ไม่มีหญ้าเลย. ลำดับนั้น เทวราชเข้าไปหาพระมหาสัตว์ปรากฏรูปประดิษฐานอยู่บนอากาศ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอาจารย์ทำอะไร. พระมหาสัตว์ได้ทูลตอบแสดงความเจ็บใจของตนว่า

ข้าแต่ท้าวโกสีย์ ข้าพระองค์ได้สอนวิชาดีดพิณ ๗ สาย มีเสียงไพเราะมากน่ารื่นรมย์ แก่มุสิละผู้เป็นศิษย์ เขาตั้งใจจะดีดพิณประชันกับข้าพระองค์กลางเวที ขอพระองค์ได้โปรดเห็นที่พึ่งแก่ข้าพระองค์ด้วยเกิด.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 264

อธิบายความว่า ข้าแต่เทวราช ข้าพระองค์ได้สอนศิลปะของคนธรรพ์ มิให้เสียงขับร้อง ๔ อย่าง มีเสียงเหมือนนกยูงร้องเป็นต้น เสื่อมไปจากการจำแนกเสียงเป็นต้น อันได้แก่วิชาชื่อว่า พิณ ๗ สาย เพราะแสดงเสียง ๗ อย่าง มีเสียงเหมือนนกยูงร้องเป็นต้น เพราะมีสาย ๗ สาย ชื่อว่า มีเสียงไพเราะมาก เพราะทำเสียงนั้นไม่ให้เสื่อมไปจากชนิดของเสียง ๒๒ อย่าง ตามสมควร ดังนี้จึงชื่อ สุมธุระ ชื่อว่า น่ารื่นรมย์เพราะเสียง และพิณน่ารื่นรมย์อย่างยิ่งแก่ผู้ฟังโดยการเทียบกันและกัน เพราะเป็นผู้ฉลาดในการปรับเสียงครบ ๕๐ เสียง ตามที่เรียนมา เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์ได้สอนได้ให้เรียนได้ให้ศึกษาแก่ลูกศิษย์ชื่อว่า มุสิละ. มุสิละนั้นเป็นลูกศิษย์จะดีดพิณประชันกับข้าพระองค์ผู้เป็นอาจารย์ของตนบนเวที คือ ท้าทาย เพื่อแสดงความวิเศษของตนด้วยการแข่งดี เขาบอกกะข้าพระองค์ว่า อาจารย์จงมาแสดงศิลปะกันเถิด ดังนี้ ข้าแต่ท้าวโกสียเทวราช ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งอาศัยแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด.

ท้าวสักกเทวราชได้สดับดังนั้น เมื่อจะทรงปลอบว่า อาจารย์อย่ากลัวเลย ข้าพเจ้าเป็นที่พึ่ง ช่วยบรรเทาทุกข์ของอาจารย์ จึงตรัสว่า

ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าจะเป็นที่พึงของอาจารย์ ข้าพเจ้าเป็นผู้บูชาท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าผู้เป็นศิษย์จะไม่ปล่อยให้ท่านอาจารย์แพ้ ท่านอาจารย์จะต้องชนะนายมุสิละผู้เป็นศิษย์แน่นอน.

นัยว่า พระมหาสัตว์ได้เป็นอาจารย์ของท้าวสักกเทวราชในอัตภาพก่อน. ด้วยเหตุนั้น ท้าวสักกเทวราชจึงกล่าวว่า อหมาจริย ปูชโก

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 265

ข้าพเจ้าเป็นผู้บูชาท่านอาจารย์ ดังนี้ ไม่ใช่คู่แข่งขันเหมือนนายมุสิละ. เมื่อลูกศิษย์เช่นข้าพเจ้ายิ่งมีอยู่ อาจารย์เช่นท่านจะแพ้ได้อย่างไร. เพราะฉะนั้น ศิษย์จักไม่ชนะท่านอาจารย์ได้. ท่านอาจารย์นั่นแหละจักชนะนายมุสิละผู้เป็นศิษย์อย่างแน่นอน. อธิบายว่า นายมุสิละนั้นเมื่อแพ้แล้วจักถึงความพินาศ. ก็แลครั้นท้าวสักกเทวราชตรัสอย่างนี้ แล้วจึงปลอบว่า ในวันที่ ๗ ข้าพเจ้าจักมายังโรงแข่งขันกัน ขอให้ท่านอาจารย์วางใจ เล่นดนตรีไปเถิด แล้วก็เสด็จไป.

ครั้นถึงวันที่ ๗ พระราชาพร้อมด้วยข้าราชบริพารประทับนั่ง ณ ท้องพระโรง. อาจารย์คุตติละและนายมุสิละ เตรียมตัวเพื่อแสดงศิลปะ เข้าไปถวายบังคมพระราชา นั่งบนอาสนะที่ตนได้แล้วดีดพิณ ท้าวสักกะเสด็จยืนบนอากาศ. พระมหาสัตว์เห็นท้าวสักกะนั้น แต่คนนอกนั้นไม่เห็น. พวกบริษัทได้ตั้งใจฟังในการดีดพิณของทั้ง ๒ คณะ ท้าวสักกะตรัสกับอาจารย์คุตติละว่า ท่านอาจารย์จงดีดสายที่ ๑. เมื่อดีดสายที่ ๑ แล้ว พิณได้มีเสียงกังวานไพเราะ ท้าวสักกะตรัสต่อไปว่า ท่านอาจารย์จงดีดสาย ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๗. เมื่อดีดพิณเหล่านั้นแล้ว พิณก็ได้มีเสียงก้องกังวานไพเราะยิ่งขึ้น. นายมุสิละเห็นดังนั้น เห็นทีว่าตนแพ้แน่ถึงกับคอตก. พวกบริษัทต่างร่าเริงยินดี ยกผืนผ้าโบกไปมา ซ้องสาธุการแก่อาจารย์คุตติละ. พระราชาตรัสสั่งให้นำนายมุสิละออกจากท้องพระโรง. มหาชนเอาก้อนดินท่อนไม้เป็นต้นขว้างปา จนนายมุสิละถึงแก่ความตายในที่นั้นนั่นเอง.

ท้าวสักกเทวราชแสดงความชื่นชมยินดีกับพระมหาบุรุษ แล้วเสด็จกลับสู่เทวโลกทันที. ทวยเทพทูลถามท้าวสักกะว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 266

เสด็จไปไหนมา ครั้นได้ฟังเรื่องราวนั้นแล้ว จึงพากันกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พวกข้าพระองค์อยากเห็นพระอาจารย์คุตติละ ขอประทานโอกาส ขอพระองค์ทรงนำอาจารย์คุตติละมาแสดงแก่พวกข้าพระองค์ ณ ที่นี้เถิด ท้าวสักกะสดับคำของทวยเทพแล้ว มีเทวบัญชาให้มาตลีเอาเวชยันตรถไปรับอาจารย์คุตติละมาให้พวกเรา ทวยเทพอยากจะเห็นอาจารย์นั้น. มาตลีได้ทำตามเทวบัญชา. ท้าวสักกะทรงทำความชื่นชมยินดีกับพระมหาสัตว์ แล้วตรัสว่า ท่านอาจารย์โปรดดีดพิณ ทวยเทพอยากฟัง. อาจารย์คุตติละทูลว่า ข้าพระองค์เลี้ยงชีพด้วยศิลปะ เมื่อไม่มีค่าจ้างก็จะไม่แสดงศิลปะ. ท้าวสักกะตรัสถามว่า ก็อาจารย์ต้องการค่าจ้างเช่นไรเล่า. อาจารย์คุตติละทูลว่า ข้าพระองค์ไม่ต้องการค่าจ้างอย่างอื่น แต่ขอให้ทวยเทพเหล่านี้บอกถึงกุศลกรรมที่ตนทำมาแล้วในชาติก่อนนั่นแล เป็นค่าจ้างของข้าพระองค์ละ. ทวยเทพต่างรับว่าดีแล้ว.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะถามถึงความประพฤติชอบที่ทวยเทพเหล่านั้นกระทำแล้วในอัตภาพก่อน อันเป็นเหตุแห่งสมบัตินั้นโดยการประกาศถึงสมบัติที่ทวยเทพเหล่านั้นได้ในครั้งนั้นเฉพาะตน จึงถามด้วยคาถามีอาทิว่า ภิกฺกนฺเตน วณฺเณน ดังนี้ ดุจท่านมหาโมคคัลลานะถามฉะนั้น. แม้ทวยเทพเหล่านั้นก็ตอบแก่อาจารย์คุตติละ เหมือนอย่างที่ตอบแก่พระเถระ ด้วยบทมีอาทิว่า วตฺถุตฺตมทายิกา นารี ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ เทวดาเหล่านั้นมิได้ตอบอย่างเดียวกับที่เธอถามเท่านั้น เมื่อก่อนก็ได้ตอบเหมือนอย่างที่เราถามเหมือนกันดังนี้.

ได้ยินว่า หญิงเหล่านั้น ครั้งศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิด

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 267

เป็นมนุษย์ ได้กระทำบุญอย่างนั้นๆ. บรรดาหญิงเหล่านั้น คนหนึ่งได้ถวายผ้า คนหนึ่งได้ถวายพวงดอกมะลิหนึ่งพวง คนหนึ่งได้ถวายของหอม คนหนึ่งได้ถวายผลไม้อย่างดี คนหนึ่งได้ถวายอ้อย คนหนึ่งได้ถวายของหอม ๕ อย่างประพรมในเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า คนหนึ่งรักษาอุโบสถ คนหนึ่งได้ถวายน้ำแก่ภิกษุผู้ฉันที่เรือในเวลาเข้าไปใกล้ คนหนึ่งเมื่อแม่ผัวพ่อผัวโกรธก็ไม่โกรธตอบ ได้ทำการปรนนิบัติ คนหนึ่งเป็นทาสี ไม่เกียจคร้านมีมารยาทดี คนหนึ่งได้ถวายข้าวเจือด้วยน้ำนมแก่ภิกษุผู้ออกบิณฑบาต คนหนึ่งได้ถวายน้ำอ้อย คนหนึ่งได้ถวายท่อนอ้อย คนหนึ่งได้ถวายมะพลับ คนหนึ่งได้ถวายแตงกวา คนหนึ่งได้ถวายฟักเหลือง คนหนึ่งได้ถวายยอดผัก คนหนึ่งได้ถวายลิ้นจี่ คนหนึ่งได้ถวายเชิงกราน คนหนึ่งได้ถวายผักดองกำหนึ่ง คนหนึ่งได้ถวายดอกไม้กำหนึ่ง คนหนึ่งได้ถวายหัวมัน คนหนึ่งได้ถวายสะเดากำหนึ่ง คนหนึ่งได้ถวายผักดอง คนหนึ่งได้ถวายแป้งงา คนหนึ่งได้ถวายผ้ารัดเอว คนหนึ่งได้ถวายผ้าอังสะ คนหนึ่งได้ถวายพัด คนหนึ่งได้ถวายพัดสี่เหลี่ยม คนหนึ่งได้ถวายพัดใบตาล คนหนึ่งได้ถวายกำหางนกยูง คนหนึ่งได้ถวายร่ม คนหนึ่งได้ ถวายรองเท้า คนหนึ่งได้ถวายขนม คนหนึ่งได้ถวายขนมก้อน คนหนึ่งได้ถวายน้ำตาลกรวด. เทพธิดาเหล่านั้นองค์หนึ่งๆ มีนางอัปสรพันหนึ่ง เป็นบริวารรุ่งเรืองด้วยเทวฤทธิ์ใหญ่ บังเกิดเป็นบริจาริกาของท้าวสักกเทวราชในภพดาวดึงส์ ถูกอาจารย์คุตติละกาม จึงตอบถึงกุศลที่ตนทำตามลำดับ โดยนัยมีอาทิว่า วตฺถุตฺตมทายิกา นารี ดังนี้.

อาจารย์คุตติละได้ถามบุรพกรรมของเทพธิดาเหล่านั้นว่า

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพรึก

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 268

เพราะกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะงานเช่นนั้น เพราะกรรมอะไร จึงสำเร็จแก่ท่านในเทวโลกนี้ โภคะทั้งหลายไรๆ เห็นที่รั ย่อมเกิดแก่ท่าน เพราะกรรมอะไร.

ดูก่อนเทวี ผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอถามท่าน เมื่อครั้งท่านเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะกรรมอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของท่านรุ่งเรืองไปทั่วทิศ เพราะกรรมอะไร.

เทพธิดานั้น อันอาจารย์คุตติละถามเหมือนพระโมคคัลลานะถาม แล้วมีใจยินดี จึงตอบถึงผลกรรมนั้นว่า

ดีฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย ได้ถวายผ้าเนื้อดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดีฉันได้ถวายผ้าอันน่ารักอย่างนี้ จึงได้เข้าถึงฐานะอันเป็นทิพย์อย่างนี้ เชิญดูวิมานของดีฉันเถิด ดีฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีผิวพรรณน่ารัก ทั้งเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพัน เชิญดูผลแห่งบุญทั้งหลายเถิด เพราะผลแห่งบุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ความสำเร็จในที่นี้ของดีฉัน เพราะผลบุญนั้น โภคะทั้งหลายอันเป็นที่รักย่อมเกิดแก่ดีฉัน เพราะผลบุญนั้น.

ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอกท่านว่า เมื่อครั้งดีฉันเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 269

นั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนั้นและมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

วิมาน ๔ นอกนี้ มีความพิสดารเหมือนวัตถุตตมทายิกาวิมาน. พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไปทั่วทุกทิศ เพราะกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้นอันพระโมคคัลลานะถามแล้ว มีความปลื้มใจ ได้ตอบถึงผลแห่งกรรมนั้นว่า

ดีฉันเป็นสตรีประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย ได้ถวายดอกไม้อย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดีฉันได้ถวายดอกไม้น่ารักอย่างนี้ จึงได้เข้าถึงฐานะอันเป็นทิพย์ น่าปลื้มใจอย่างนี้ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดีฉันเถิด ดีฉันเป็นนางฟ้าที่มีผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพัน เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาโมคคัลลานะถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศเพราะบุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดาตอบว่า

ดีฉันเป็นนารีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้ง

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 270

หลาย ได้ถวายของหอมอย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯลฯ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

เทพธิดาตอบว่า

ดีฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย ได้ถวายผลไม้อย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก และ มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯลฯ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

เทพธิดาตอบว่า

ดีฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย ได้ถวายอาหารมีรสอย่างดีแก่ภิกษุหนึ่ง เพราะบุญ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 271

กรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯลฯ เพราะบุญกรรมอะไร.

เทพธิดาตอบว่า

ดีฉันได้ถวายของหอม ๕ อย่างประพรมที่พระสถูปบรรจุพระบรมธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสป เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

วิมาน ๔ นอกนี้ มีความพิสดารเหมือนคันธปัญจังคุลิกวิมาน. พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯลฯ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

เทพธิดาตอบว่า

ดีฉันได้เห็นภิกษุและภิกษุณีพากันเดินทางไกล ได้ฟังธรรมของท่านเหล่านั้น ได้เข้ารักษาอุโบสถอยู่วันหนึ่งคืนหนึ่ง เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 272

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯลฯ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

เทพธิดาตอบว่า

ดีฉันยืนอยู่ในน้ำมีจิตเลื่อมใส ได้ถวายน้ำแก่ภิกษุรูปหนึ่ง เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯลฯ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

เทพธิดาตอบว่า

ดีฉันไม่คิดร้ายตั้งใจปฏิบัติเป็นอย่างดีซึ่งแม่ผัวและพ่อผัวผู้ดุร้าย โกรธง่ายและหยาบคาย ดีฉันไม่ประมาทในการรักษาศีลของตน ฯลฯ เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ฯ ลฯ และ มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯลฯ เพราะบุญกรรม

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 273

อะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

เทพธิดาตอบว่า

ดีฉันเป็นหญิงรับใช้รับจ้างทำการงานของคนอื่น ไม่เกียจคร้าน ไม่โกรธง่าย ไม่ถือตัว ชอบแบ่งปันสิ่งของอันเป็นส่วนของตนให้แก่คนที่ต้องการ ฯลฯ เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯลฯ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

เทพธิดาตอบว่า

ดีฉันได้ถวายข้าวสุกคลุกน้ำมันสดแก่ภิกษุรูปหนึ่งกำลังออกบิณฑบาตอยู่ ฯลฯ เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ดีฉันทำกรรมดีจึงเข้าถึงสุคติบันเทิงเริงรมย์อยู่อย่างนี้.

ในวิมานเหล่านั้น วิมาน ๒๕ นอกนี้ มีความพิสดารเหมือนกับขีโรทนทายิกาวิมาน.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 274

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯลฯ เพราะบุญกรรมอะไร.

เทพธิดาตอบว่า

ดีฉันได้ถวาย

๑. น้ำอ้อย ฯลฯ

๒. ท่อนอ้อย ฯลฯ

๓. ผลมะพลับสุก ฯลฯ

๔. แตงกวา ฯลฯ

๕. ฟักทอง ฯลฯ

๖. ยอดผักต้ม ฯลฯ

๗. ผลลิ้นจี่ ฯลฯ

๘. เชิงกราน ฯลฯ

๙. ผักดองกำหนึ่ง ฯลฯ

๑๐. ดอกไม้กำหนึ่ง ฯลฯ

๑๑. มัน ฯลฯ

๑๒. สะเดากำหนึ่ง ฯลฯ

๑๓. น้ำผักดอง ฯลฯ

๑๔. แป้งคลุกงา ฯลฯ

๑๕. ประคดเอว ฯลฯ

๑๖. ผ้าอังสะ ฯลฯ

๑๗. พัด ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 275

๑๘. พัดสี่เหลี่ยม ฯลฯ

๑๙. พัดใบตาล ฯลฯ

๒๐. พัดหางนกยูง ฯลฯ

๒๐. ร่ม ฯลฯ

๒๒. รองเท้า ฯลฯ

๒๓. ขนม ฯลฯ

๒๔. ก้อนขนม ฯลฯ

๒๕. น้ำตาลกรวด ฯลฯ

แก่ภิกษุรูปหนึ่งผู้กำลังบิณฑบาตอยู่ ฯลฯ เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาสัตว์ เมื่อเทพธิดาเหล่านั้นตอบผลกรรมที่ตนทำมาเป็นอันดีอย่างนี้แล้ว ก็มีใจยินดี เมื่อจะแสดงความยินดีของตน และเมื่อจะประกาศความที่ตนขวนขวายในการประพฤติสุจริต และความที่ตนมีอัธยาศัยในนิพพาน จึงกล่าวว่า

วันนี้ข้าพเจ้ามาดีแล้ว เป็นฤกษ์งามยามดีที่ข้าพเจ้าได้เห็นเทพธิดาทั้งหลาย ที่เป็นนางฟ้ามีรูปร่างผิวพรรณน่ารักใคร่ ทั้งได้ฟังธรรมอันแนะนำทางบุญกุศล จากเทพธิดาเหล่านั้นด้วย ต่อไปนี้ ข้าพเจ้าทำบุญกุศลให้มากด้วยการให้ทาน ด้วยการประพฤติธรรมสม่ำเสมอ ด้วยการสำรวม ด้วยการฝึกฝน

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 276

ข้าพเจ้าจักได้ไปสู่สถานที่ที่ไปแล้วไม่เศร้าโศก.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วตฺถุตฺตมทายิกา ได้แก่ ผ้าสูงสุด คือ ประเสริฐสุดกว่าผ้าทั้งหลาย หรือผ้าดีเลิศประเสริฐชั้นยอดที่เก็บสะสมไว้ในจำนวนผ้าเป็นอันมาก ชื่อว่าผ้าชั้นเยี่ยม ถวายผ้าชั้นเยี่ยมนั้น. แม้ในบทมีอาทิว่า ปุปฺผุตฺตมทายิกา ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ปิยรูปทายิกา ได้แก่ ให้วัตถุมีสภาพน่ารักและมีกำเนิดน่ารัก. บทว่า มนาปํ แปลว่า เจริญใจ. บทว่า ทิพฺพํ ได้แก่ ชื่อว่าเป็นทิพย์ เพราะเป็นสมบัติทิพย์. บทว่า อุปจฺจ ได้แก่ เข้าถึงคือตั้งใจ อธิบายว่า ดำริแล้วว่า เราพึงได้สิ่งนี้ดังนี้. บทว่า านํ ได้แก่ ฐานะมีวิมานเป็นต้น หรือความอิสระ. ปาฐะว่า มนาปา ดังนี้บ้าง. อธิบายว่า เป็นที่เจริญใจของผู้อื่น.

บทว่า ปสฺส ปุญฺานํ วิปากํ ความว่า เทพธิดาภูมิใจสมบัติที่ตนได้ จึงกล่าวว่า เชิญดูผลแห่งการถวายผ้าอย่างดีเช่นนี้เถิด.

บทว่า ปุปฺผุตฺตมทายิกา ได้แก่ ถวายดอกไม้อย่างดีเพื่อบูชาพระรัตนตรัย. พึงเห็นบทว่า คนฺธุตฺตมทายิกา ก็เหมือนอย่างนั้น. ดอกไม้อย่างดีในบทว่า ปุปฺผุตฺตมทายิกา ได้แก่ ดอกมะลิเป็นต้น. ของหอมอย่างดี ได้แก่ จันทน์หอมเป็นต้น. ผลไม้อย่างดี ได้แก่ ผลขนุน เป็นต้น. พึงทราบว่าอาหารมีรสอย่างดี มีเนยใสคลุกด้วยนมโคสดเป็นต้น.

บทว่า คนฺธปญฺจงฺคุลิกํ ได้แก่ ถวายของหอม ๕ อย่าง สำหรับประพรม. บทว่า กสฺสปสฺส ภควโต ถูปมฺหิ ได้แก่ พระสถูปทองคำสูงโยชน์หนึ่ง บรรจุพระบรมธาตุของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า.

บทว่า ปนฺถปฏิปนฺเน ได้แก่ เดินไปตามทาง. บทว่า เอกูโปสถํ

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 277

ได้แก่ อยู่รักษาอุโบสถตลอดวันหนึ่ง.

บทว่า อุทกมทาสึ ได้แก่ ดีฉันได้ถวายน้ำใช้น้ำฉันสำหรับบ้วนปากและสำหรับดื่ม.

บทว่า จณฺฑิเก ได้แก่ ดุร้าย. บทว่า อนุสฺสุยฺยิกา ได้แก่ เว้นจากความริษยา. บทว่า ปรกฺกมฺมการี ได้แก่ รับจ้างทำการงานแก่ผู้อื่น. บทว่า อตฺเถน ได้แก่ กิจที่เป็นประโยชน์. บทว่า สํวิภาคินี สกสฺส ภาคสฺส ได้แก่ มีปกติแจกส่วนที่ตนได้แก่ผู้อื่น.

บทว่า ขีโรทกํ ได้แก่ ข้าวสุกเจือด้วยนมสด. หรือข้าวสุกกับนมสด. บทว่า ติมฺพรูสกํ ได้แก่ ผลมะพลับ. มะพลับเป็นไม้เถาชนิดหนึ่งคล้ายแตงโม. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ผลแตงโมนั้น คือ ติมพรุสกะ.

บทว่า กกฺการิกํ ได้แก่ ฟักทอง อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ได้แก่ แตงกวา. บทว่า หตฺถปฺปตาปกํ ได้แก่ เชิงกราน. บทว่า อมฺพกญฺชิกํ ได้แก่ น้ำผักดอง. บทว่า โทณินิมฺมชฺชนึ ได้แก่ แป้งคลุกงาคั่ว. บทว่า วิธูปนํ ได้แก่ พัดสี่เหลี่ยม. บทว่า ตาลปณฺณํ ได้แก่ พัดกลมทำด้วยใบตาล. บทว่า โมรหตฺถํ ได้แก่ พัดไล่ยุงทำด้วยหางนกยูง. บทว่า สฺวาคตํ วต เม ความว่า ข้าพเจ้ามาในที่นี้ดีแท้ ดีเหลือเกิน. บทว่า อชฺช สุปภาตํ สุหุฏฺิตํ ได้แก่ วันนี้ฤกษ์งามยานดีได้เกิดแก่ข้าพเจ้าในกลางคืน แม้ลุกจากที่นอนก็มีฤกษ์ดี คือลุกขึ้นด้วยดี. ถามว่า เพราะเหตุไรพระมหาสัตว์จึงกล่าวอย่างนั้น. ตอบว่า เพราะเหตุที่ได้เห็นเทพธิดาเหล่านั้น.

บทว่า ธมฺมํ สุตฺวา ความว่า ได้ฟังธรรมอันเป็นกุศลที่พวกท่านทำไว้ โดยเห็นประจักษ์ถึงผลกรรม. บทว่า กาหามิ แปลว่า จักกระทำ.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 278

บทว่า สมจริยาย ได้แก่ ด้วยการประพฤติสุจริตอันเป็นความประพฤติชอบทางกาย. บทว่า สญฺเมน ได้แก่ ศีลสังวร. บทว่า ทเมน ได้แก่ ด้วยการฝึกอินทรีย์มีใจเป็นที่หก. บัดนี้ พระมหาสัตว์เพื่อจะแสดงความที่กุศลนั้น และโลกของตนเป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะ (นิพพาน) จึงกล่าวว่า

สฺวาหํ ตตฺถ คมิสฺสามิ ยตฺถ คนฺตวา น โสจเร ความว่า ข้าพเจ้าจักไปในที่ที่ไปแล้วไม่เศร้าโศก ดังนี้.

ผิว่า เทศนานี้จัดเข้าในวิมาน ๓๖ มีวัตถุตตมทายิกาวิมานเป็นต้น เป็นไปแล้ว ด้วยการชี้แจงของอาจารย์คุตติละ ดุจของท่านพระมหาโมคคัลลานะไซร้ ก็จัดเข้าในคุตติลวิมานนั่นแล. แต่วิมานที่เกี่ยวกับหญิงจัดเข้าใน อิตถิวิมาน ทั้งนั้น.

อนึ่ง พึงทราบว่า หญิงเหล่านั้น เมื่อครั้งศาสนาของพระทศพลพระนามว่ากัสสป ได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกตลอดพุทธันดรหนึ่ง ตั้งแต่อัตภาพที่สองด้วยเจตนาอันเกิดสืบต่อกันมาในการประพฤติธรรม ดังได้กล่าวแล้ว ครั้นถึงศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย หญิงเหล่านั้นได้เกิดในภพดาวดึงส์นั้นเอง อันพระมหาโมคคัลลานะได้ถามปัญหา หญิงเหล่านั้นก็ได้ตอบปัญหา เหมือนอย่างในเวลาที่อาจารย์คุตติละถาม เพื่อให้เห็นผลกรรมคล้ายๆ กัน.

จบอรรถกถาคุตติลวิมาน