พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. เสสวดีวิมาน ว่าด้วยเสสวดีวิมาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 พ.ย. 2564
หมายเลข  40283
อ่าน  416

[เล่มที่ 48] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 294

๑. อิตถิวิมานวัตถุ

ปาริฉัตตกวรรคที่ ๓

๗. เสสวดีวิมาน

ว่าด้วยเสสวดีวิมาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 48]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 294

๗. เสสวดีวิมาน

ว่าด้วยเสสวดีวิมาน

เมื่อพระวังคีสเถระจะได้ถามถึงบุรพกรรมของนางเทพธิดานั้น จึงสรรเสริญวิมานของเธอเสียก่อนเป็นปฐม ด้วยคาถา ๗ คาถา ความว่า

[๓๕] ดูก่อนแม่เทพธิดา อาตมาได้เห็นวิมานของท่านนี้ อันมุงและบังด้วยข่ายแก้วผลึก ข่ายเงินและข่ายทองคำ มีพื้นที่เต็มไปด้วยต้นไม้มีผลวิจิตรนานา พรรณเป็นระเบียบเรียบร้อย น่ารื่นรมย์ เป็นวิมานซึ่งเกิดสำหรับผู้มีบุญ มีซุ้มประตูแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ ที่ลานวิมานเรี่ยรายไปด้วยทรายทองงดงามมาก มี

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 295

รัศมีส่องสว่างไปทั่วทุกทิศ เหมือนพระอาทิตย์มีรัศมีตั้งพัน ซึ่งกำจัดความมืดมนได้เป็นปกติในยามสรทกาล หรือเหมือนกับแสงเปลวเพลิงซึ่งกำลังลุกอยู่บนยอดเขาในเวลากลางคืน หรือคล้ายกับการลืมตาขึ้นขณะที่ฟ้าแลบในอากาศฉะนั้น วิมานนี้เป็นวิมานลอยอยู่ในอากาศ ก้องกังวานไปด้วยเสียงดนตรี คือ พิณเครื่องใหญ่ กลองและกังสดาลประโคมอยู่มิได้ขาดระยะ สุทัสนเทพนครอันเป็นเมืองพระอินทร์ ซึ่งมั่งคั่งไปด้วยสมบัติทิพย์ฉันใด วิมานของท่านนี้ก็ฉันนั้น วิมานของท่านนี้ฟุ้งไปด้วยกลิ่นหอมอย่างยอดเยี่ยมหลายอย่างต่างๆ กัน คือ กลิ่นดอก ปทุม ดอกโกมุท ดอกอุบล ดอกจงกลนี ดอกคัดเค้า ดอกพุดซ้อน ดอกกุหลาบ ดอกอังกาบ ดอกรัง ดอกอโศก แย้มกลีบส่งกลิ่นหอมระรื่น ทั้งตั้งอยู่ริมฝั่งสระโบกขรณี น่ารื่นรมย์ เรียงรายไปด้วยไม้หูกวาง ขนุนสำมะลอ และต้นไม้กลิ่นหอม มีทั้งไม้เลื้อยชูดอกออกช่อหอมระรื่น ห้อยย้อยเกาะก่ายลงมาจากปลายใบต้นตาล และมะพร้าว คล้ายกับข่ายแก้วมณี และแก้วประพาฬ จัดเป็นของทิพย์ มีขึ้นสำหรับท่านผู้เรืองยศ อนึ่ง ต้นไม้และดอกไม้ผลทั้งหลายซึ่งเป็นต้นไม้เกิดอยู่ในน้ำและบนบก ทั้งเป็นรุกขชาติมีอยู่ในเมืองมนุษย์ และไม่มีในเมืองมนุษย์ ตลอดจน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 296

พรรณไม้ทิพย์ประจำเมืองสวรรค์ ก็ได้มีพร้อมอยู่ใกล้วิมานของท่าน ท่านได้สมบัติทิพย์ทั้งนี้เป็นผลแห่งการประพฤติทางกาย วาจา ใจ และการฝึกฝนอินทรีย์อย่างไร เพราะผลกรรมอะไร ท่านจึงมาเกิดในวิมานนี้.

ดูก่อนนางเทพธิดา ผู้มีขนตางอนมาก ขอท่านจงตอบถึงผลกรรมเป็นเหตุได้วิมานที่ท่านได้แล้วนี้ ไปตามคำที่อาตมาถามท่านแล้วตามลำดับด้วยเถิด.

ลำดับนั้น นางเทพธิดาตอบว่า

ก็วิมานที่ดีฉันได้แล้วนี้ มีฝูงหงส์ นกกระเรียน ไก่ฟ้า นกกด และนกเขาไฟ เที่ยวร่อนร้องไปมา ทั้งเต็มไปด้วยหมู่นกนางนวล นกกระทุง และพญาหงส์ทอง ซึ่งเป็นนกทิพย์เที่ยวบินไปมาอยู่ตลอดลำน้ำ และอึงคะนึงไปด้วยฝูงนกประเภทอื่นๆ อีก คือ นกเป็ดน้ำ นกค้อนหอย นกดุเหว่าลาย นกดุเหว่าขาว มีทั้งต้นไม้ดอก ไม้ต้น ไม้ผล อันเกิดเองหลายอย่างต่างพรรณ คือ ต้นแคฝอย ต้นหว้า ต้นอโศก พระคุณเจ้าขา ดีฉันได้วิมานนี้ด้วยเหตุผลอันใด ดีฉันจะเล่าเหตุผลอันนั้นถวายพระคุณเจ้า นิมนต์ฟังเถิด คือ มีหมู่บ้านหมู่หนึ่งชื่อนาฬกคาม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระนครราชคฤห์ ดีฉันเป็นบุตรสะใภ้ประจำตระกูลของบ้านนั้นตั้งอยู่ภายในบุรี ชุมชน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 297

ในหมู่บ้านนั้นเรียกดิฉันว่า เสสวดี ดีฉันมีใจชื่นบาน ได้ก่อสร้างกุศลกรรมไว้ในชาตินั้น คือ ได้บูชาพระธาตุของพระธรรมเสนาบดี นามว่า อุปติสสะ ซึ่งเป็นที่บูชาของทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลายผู้มากไป วยคุณความดีมีศีลเป็นต้นหาประมาณมิได้ ซึ่งนิพพานไปแล้วด้วยเครื่องสักการะหลายอย่าง ล้วนแต่รัตนะและดอกคำ ก็แหละครั้นบูชาพระธาตุของพระผู้แสวงหาซึ่งคุณอย่างยอดยิ่ง ผู้ถึงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุแล้ว ซึ่งในที่สุดยังเหลืออยู่แด่พระธาตุเท่านั้น ครั้นดิฉันละกายมนุษย์นั้นแล้ว จึงได้มาเถิดในดาวดึงส์ชั้นไตรทศ อยู่ประจำวิมานในเทวโลก.

จบเสสวดีวิมาน

อรรถกถาเสสวดีวิมาน

เสสวดีวิมาน มีคาถาว่า ผลิกรชตเหมชาลจฺฉนฺนํ ดังนี้เป็นต้น. เสสวดีวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันพาวิหาร ใกล้กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น ได้มีลูกสะใภ้ของตระกูลชื่อ เสสวดี ในตระกูลคหบดีมหาศาลตระกูลหนึ่ง ณ นาลกคาม ในแคว้นมคธ.

ได้ยินว่า นางเสสวดีนั้น เมื่อเขากำลังสร้างสถูปทองประมาณ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 298

โยชน์หนึ่ง ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสป เป็นเด็กหญิงได้ไปยังฐานเจดีย์กับมารดา ได้ถามมารดาว่า แม่จ๋า คนเหล่านี้ทำอะไรกันจ๊ะ มารดาตอบว่า เขาทำอิฐทองคำเพื่อสร้างเจดีย์ ลูก. เด็กหญิงได้ฟังดังนั้นมีใจเลื่อมใส บอกกะมารดาว่า แม่จ๋า ที่คอของลูกมีเครื่องประดับเล็กๆ ทำด้วยทองคำ ลูกจะให้เครื่องประดับนี้เพื่อสร้างเจดีย์นะแม่ มารดาพูดว่า ดีแล้วลูก ให้ไปเถิด แล้วก็ปลดเครื่องประดับนั้นจากคอมอบให้แก่ช่างทอง กล่าวว่า เด็กหญิงคนนี้บริจาคเครื่องประดับนี้ ท่านจงใส่เครื่องประดับนี้ลงไปแล้วทำอิฐเถิด. ช่างทองได้ทำตาม. ครั้นต่อมาเด็กหญิงนั้น ได้ถึงแก่กรรม ด้วยบุญนั้นเองได้ไปบังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลก ครั้นถึงศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ได้มาเกิดในนาลกคามจนอายุได้ ๑๒ ขวบตามลำดับ.

วันหนึ่ง เด็กหญิงนั้นได้รับเงินที่มารดาส่งไปให้ จึงไปตลาดแห่งหนึ่งเพื่อซื้อน้ำมัน. ก็ที่ตลาดนั้นบุตรกุฎุมพีคนหนึ่งเป็นพ่อค้า กำลังขุดเพื่อจะเอาเงินทองแก้วมุกดาแก้วมณีเป็นอันมากที่บิดาฝังเก็บไว้ ด้วยกำลังกรรมจึงเห็นสมบัติที่ขุดขึ้นมานั้นเป็นกระเบื้อง หิน และกรวดไปหมด แต่นั้นจึงเอารวมเป็นกองไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อทดสอบว่าเงินและทองเป็นต้น จักเป็นของผู้มีบุญบ้างกระมัง.

ลำดับนั้น เด็กหญิงเห็นพ่อค้าบุตรกุฎุมพีนั้นจึงถามว่า ทำไมจึงเอาแก้วมากองไว้ที่ตลาดอย่างนี้เล่า ควรจะเอาไปไว้เป็นอย่างดีมิใช่หรือ. พ่อค้าได้ฟังดังนั้นคิดว่า เด็กหญิงผู้นี้มีบุญมาก ของทั้งหมดนี้เป็นเงิน เป็นต้นขึ้นมาได้ด้วยอำนาจบุญของเด็กหญิงผู้นี้ เราทั้งสองจักเป็นผู้ครอบครองร่วมกัน เราจักสงเคราะห์เด็กหญิงนั้น จึงไปหามารดาของเด็กหญิง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 299

แล้วขอว่า ท่านจงให้เด็กหญิงนี้แก่ข้าพเจ้าเพื่อจะได้บุตรเถิด แล้วให้ทรัพย์เป็นอันมาก ทำพิธีอาวาหวิวาหมงคล นำเด็กหญิงนั้นมาสู่เรือนของตน.

ต่อมา พ่อค้าผู้สามีได้เห็นศีลาจารวัตรของเด็กหญิงผู้เป็นภรรยานั้น จึงเปิดห้องคลังแล้วถามว่า น้องเห็นอะไรในห้องคลังนี้บ้าง เมื่อภรรยาตอบว่า น้องเห็นเงิน ทองคำ แก้วมณีกองอยู่ จึงกล่าวต่อไปว่า ของเหล่านี้ได้หายไปด้วยกำลังกรรมของพี่ ด้วยบุญวิเศษของน้องจึงเป็นของวิเศษอย่างเดิม. เพราะฉะนั้นตั้งแต่นี้ไป น้องคนเดียวจงดูแลสมบัติทั้งหมดในเรือนนี้ พี่จักใช้เฉพาะส่วนที่น้องให้เท่านั้น ตั้งแต่นั้นมา ชนทั้งหลายจึงทั้งชื่อเด็กหญิงนั้นว่า เสสวดี.

ก็สมัยนั้น ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรรู้ว่าคนจะสิ้นอายุ จึงคิดว่า เราจักให้ค่าเลี้ยงดูแก่นางสารีพราหมณีผู้เป็นมารดาของเราแล้วจึงจักปรินิพพานแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขออนุญาตปรินิพพาน ได้แสดงปาฏิหาริย์ครั้งใหญ่ตามพระพุทธบูชา สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยบทสรรเสริญพันบท แล้วมุ่งหน้าไปจนพ้นทัศนวิสัย แต่ยังไม่หลีกไปกลับมาถวายบังคมอีก ห้อมล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ออกจากวิหาร ให้โอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ แล้วปลอบท่านพระอานนท์ ให้บริษัท ๔ กลับ ไปถึงนาลกคามโดยลำดับ ให้มารดาตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล รุ่งเช้าก็ปรินิพพานที่ห้องที่ท่านเกิดนั่นเอง. เมื่อพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว ทวยเทพแต่มนุษย์ทั้งหลายต่างทำสักการะศพ ล่วงไปถึง ๗ วัน พากันก่อเจดีย์สูงร้อยศอกด้วยกฤษณาและไม้จันทน์.

นางเสสวดีได้ทราบข่าวการปรินิพพานของพระเถระจึงคิดว่า เราจัก

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 300

ไปบูชาศพ หมายใจว่า จะให้คนรับใช้ถือผอบเต็มด้วยดอกไม้ทองคำและของหอมไป จึงไปลาพ่อผัว แม้พ่อผัวจะพูดว่าเจ้ามีข้าวของหนักๆ และจะถูกผู้คนในที่นั้นเหยียบเอา ส่งดอกไม้และของหอมไปก็พอแล้ว จงอยู่ในบ้านนี้แหละ นางมีศรัทธากล้าคิดว่า ถึงแม้เราจะตายลงไปในที่นั้น เราก็จักไปทำบูชาสักการะให้ได้ นางไม่ฟังคำพ่อผัว จึงพร้อมด้วยหญิงรับใช้พากันไป ณ ที่นั้น ยืนประณมมือบูชาด้วยของหอมและดอกไม้ เป็นต้น.

ขณะเมื่อข้าราชบริพารมาเพื่อบูชาพระเถระ ช้างตกมันเชือกหนึ่งได้เข้าไปยังที่นั้น. เมื่อผู้คนกลัวตายพากันหนีเพราะเห็นช้างนั้น หมู่ชนได้เหยียบนางเสสวดี ซึ่งล้มลงแล้วถูกคนเหยียบจนตาย. นางเสสวดีนั้นกระทำบูชาสักการะมีจิตถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสในพระเถระ ครั้นถึงแก่กรรมแล้วก็ไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์. นางได้มีนางอัปสรหนึ่งพันเป็นบริวาร.

ในทันทีนั่นเอง นางเทพธิดาแลดูทิพยสมบัติของตน ใคร่ครวญถึงเหตุแห่งทิพยสมบัตินั้นว่า เราได้สมบัตินี้ด้วยบุญเช่นไรหนอ ครั้นเห็นการบูชาสักการะที่ตนทำเฉพาะพระเถระ จึงมีจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัยยิ่งขึ้น นางประดับร่างกายด้วยเครื่องประดับบรรทุกเกวียนได้ ๖๐ เล่มเกวียน แวดล้อมด้วยนางอัปสรหนึ่งพันเพื่อถวายบังคมพระศาสดา ด้วยเทพฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ ยังสิบทิศให้สว่างไสวดุจพระจันทร์และดุจพระอาทิตย์ มาพร้อมกับวิมาน ลงจากวิมานยืนประคองอัญชลี ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า. ขณะนั้นท่านพระวังคีสะนั่งอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ปัญหาย่อมปรากฏ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 301

แก่ข้าพระองค์ เพื่อจะทูลถามถึงกรรมที่เทพธิดานี้กระทำไว้. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า วังคีสะ ปัญหาจงปรากฏแก่เธอเถิด ดังนี้. จึงท่านวังคีสะประสงค์จะถามถึงกรรมที่เทพธิดานั้นทำไว้ เมื่อจะสรรเสริญวิมานของเทพธิดานั้นเสียก่อนเป็นปฐม จึงกล่าวว่า

ดูก่อนเทพธิดา อาตมาได้เห็นวิมานของท่านนี้มุงด้วยแก้วผลึก ข่ายเงินและข่ายทองคำ มีพื้นวิจิตรหลายอย่าง น่ารื่นรมย์ เป็นภพที่น่าอยู่ เนรมิตไว้เป็นอย่างดี มีซุ้มประตูแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ ที่ลานวิมานเรี่ยรายไปด้วยทรายทอง งดงามมาก ส่องแสงไปทั่วสิบทิศ เหมือนพระอาทิตย์บนท้องฟ้า มีรัศมีตั้งพัน กำจัดความมืดได้ในสรทกาล วิมานของท่านนี้ย่อมส่องแสงเหมือนกับแสงเปลวไฟ ซึ่งกำลังลุกอยู่บนยอดภูเขาในเวลากลางคืน หรือคล้ายกับการลืมตาขึ้นขณะที่ฟ้าแลบในอากาศฉะนั้น วิมานนี้เป็นวิมานลอยอยู่บนอากาศ ก้องกังวานไปด้วยเสียงดนตรี คือ พิณ กลอง และกังสดาล ประโคมอยู่มิได้ขาดระยะ สุทัสนเทพนครอันเป็นเมืองพระอินทร์ ซึ่งมั่งคั่งไปด้วยสมบัติทิพย์ฉันใด วิมานของท่านนี้ก็ฉันนั้น วิมานของท่านนี้ฟุ้งไปด้วยกลิ่นหอมอย่างเยี่ยมหลายอย่างต่างๆ กัน คือกลิ่นดอกปทุม ดอกโกมุท ดอกอุบล ดอกจงกลนี ดอกคัดเค้า ดอกพุดซ้อน ดอกกุหลาบ ดอกอังกาบ ดอกรัง ดอกอโศก

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 302

แย้มกลีบส่งกลิ่นหอม ทั้งตั้งอยู่บนริมฝั่งสระโบกขรณี น่ารื่นรมย์ เรียงรายไปด้วยไม้หูกวาง ขนุนสำมะลอ และต้นไม้กลิ่นหอมมีทั้งไม้เลื้อย ชูดอกออกช่อ หอมระรื่น ห้อยย้อยเกาะก่ายลงมาจากใบต้นตาลและมะพร้าว คล้ายกับข่ายแก้วมณี และแก้วประพาฬอันเป็นของทิพย์ มีขึ้นสำหรับท่านผู้เรืองยศ อนึ่ง ต้นไม้และดอกไม้ผลไม้ซึ่งเกิดอยู่ในน้ำ และบนบก ทั้งเป็นรุกขชาติที่มีอยู่ในเมืองมนุษย์ และไม่มีในเมืองมนุษย์ ตลอดจนพรรณไม้ทิพย์ประจำเมืองสวรรค์ ก็ได้มีพร้อมอยู่ใกล้วิมานของท่าน ท่านได้สมบัติทิพย์ ทั้งนี้เป็นผลแห่งการประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ และการสำรวมการฝึกฝน อินทรีย์อย่างไร เพราะผลกรรมอะไร ท่านจึงมาเกิดในวิมานนี้.

ดูก่อนเทพธิดา ผู้มีขนตางอนงาม ขอท่านจงตอบถึงผลกรรมเป็นเหตุได้วิมานที่ท่านได้แล้วนี้ ตามคำที่อาตมาถามเถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ผลิกรชตเหมชาลจฺฉนฺนํ ได้แก่ เราได้เห็น คือเห็นวิมานมุงบังด้วยแก้วผลึก และด้วยข่ายเงินและข่ายทองคำ ทั้งข้างล่างข้างบนมุงบังโดยรอบด้วยฝาทำด้วยแก้วผลึก และด้วยข่ายทำด้วยเงินและทองคำ มีพื้นวิจิตรหลายอย่าง โดยพื้นมีสีต่างๆ และจัดไว้

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 303

อย่างสวยงาม. บทว่า สุรมฺมํ ได้แก่ น่ารื่นรมย์ด้วยดี. วิมานชื่อว่า พยมฺห เพราะเป็นที่ที่ผู้มีบุญอยู่ ได้แก่ ภพ. บทว่า โตรณูปปนฺนํ ได้แก่ ประกอบซุ้มประตูแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ วิจิตรไปด้วยดอกไม้ประดับหลายชนิด. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า โตรณํ เป็นชื่อของซุ้มประตูปราสาท. วิมานนั้นประกอบด้วยซุ้มประตูนั้น ซึ่งมีการตกแต่งอย่างวิจิตรหลายชั้น. บทว่า รุจกุปกิณฺณํ ได้แก่ วิมานมีลานเรี่ยรายไปด้วยทรายทอง. เพราะทรายมีสีเหมือนทอง เช่นเดียวกับทราย ทรายนั้นแหละ ท่านเรียกว่า รุจกะ. บทว่า สุภํ คือ งาม. หรือชื่อว่า สุภะ เพราะย่อมส่องแสงไปด้วยดี. บทว่า วิมานํ คือ เห็นสูงที่สุด ได้แก่ ใหญ่โดยประมาณ.

บทว่า ภาติ ได้แก่ ส่องแสง คือรุ่งเรือง. บทว่า นเภ ว สุริโย คือดุจดวงอาทิตย์ในอากาศ. บทว่า สรเท คือ ในสรทสมัย. บทว่า ตโมนุโท คือ กำจัดความมืด. บทว่า ตถา ตปติมิทํ คือ เหมือนดวงอาทิตย์มีรัศมีตั้งพันในสรทกาล. อนึ่ง วิมานของท่านนี้ส่องแสง คือ สว่างไสว. อักษรเป็นบทสนธิ (ม อาคม). บทว่า ชลมิว ธูมสิโข คือ ดุจไฟโพลงอยู่. จริงอยู่ ไฟท่านเรียกว่า ธูมสิขะและธูมเกตุ เพราะมีควันปรากฏบนยอดไฟนั้น. บทว่า นิเส คือ โปรย ได้แก่ ในกลางคืน. บทว่า นภคฺเค คือ ส่วนของฟ้า. ท่านอธิบายว่า ท้องที่บนอากาศ. ปาฐะ ว่า นคคฺเค ได้แก่ ยอดภูเขา. โยชนาแก้ว่า วิมานของท่านนี้.

บทว่า มุสตี ว นยนํ ความว่า ดุจลืมตามองดู กระทบเข้ากับแสงสว่างมากเกินไป ทำให้มองไม่เห็น. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าว สเตรตา วา อธิบายว่า ดุจสายฟ้าแลบ. บทว่า วีณามุรชสมฺมตาลฆุฏฺํ ได้แก่

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 304

กึกก้องกังวานไปด้วยเสียงพิณเครื่องใหญ่ กลอง ฉาบ และกังสดาล. บทว่า อิทฺธํ ได้แก่ มากไปด้วยเทพบุตรเทพธิดา และทิพยสมบัติ. บทว่า อินฺทปุรํ ยถา คือ ดุจสุทัสนนคร.

ดอกปทุม ดอกโกมุท ดอกอุบล ดอกจงกลนี ท่านกล่าวรวม กันว่า ปทุมกุมุทอุปฺปลกุวลยํ. พึงเพิ่มคำว่า อตฺถิ แปลว่า มีอยู่ลงไป. ในบทนั้น แม้บุณฑริกท่านก็ใช้ศัพท์ว่า ปทุม. ดอกโกมุททุกชนิดทั้ง ประเภทสีขาวและแดงท่านใช้ศัพท์ว่า กุมุท. ดอกอุบลสีแดง หรือ ดอกอุบลทุกชนิดท่านใช้ศัพท์ว่า อุปปละ พึงทราบว่า นีลุปละ (บัวขาบ) เท่านั้น ท่านใช้ศัพท์ว่า กุวลยะ จ ศัพท์ ในบทว่า โยธิกพนฺธุกโนชกา จ สนฺติ เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า มีดอกพุดซ้อน ดอกชบา ดอกอังกาบ. อาจารย์บางพวกกล่าวปาฐะว่า อโนชกาปิ สนฺติ มีดอกอังกาบ และกล่าวเป็นใจความว่า เป็นอันท่านกล่าวว่า อโนชกาปิ ดังนี้. บทว่า สาลกุสุมิตปุปฺผิตา อโสกา พึงประกอบว่า ดอกรัง ดอกอโศก แย้มบานดังนี้. บทว่า วิวิธทุมคฺคสุคนฺธเสวิตมิทํ ความว่า วิมานของท่านนี้อบอวลไปด้วยกลิ่นหอมระรื่นของรุกขชาติยอดเยี่ยมหลายอย่าง.

บทว่า สฬลลพุชภุชกสํยุตฺตา ได้แก่ เรียงรายไปด้วยต้นหูกวาง ขนุนสำมะลอ และต้นไม้มีกลิ่นหอมตั้งอยู่ริมฝั่ง. ต้นไม้มีกลิ่นหอมต้นหนึ่ง ชื่อภุชกะ มีอยู่ในเทวโลก และที่ภูเขาคันธมาทน์. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ไม่มีในที่อื่น.

บทว่า กุสกสุผุลฺลิตลตาวลมฺพินี โยชนาแก้ว่า ประกอบด้วยไม้เลื้อยห้อยย้อยลงมาจากใบตาลและใบมะพร้าว และเถาดอกไม้บานสะพรั่ง มีเถาวัลย์เป็นสายต่อกันลงมา. บทว่า มณิชาลสทิสา ได้แก่ รุ่งเรือง

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 305

เช่นกับข่ายแก้วมณี. บาลีว่า มณิชลสทิสา บ้าง แปลว่า คล้ายกับแสงแก้วมณี อธิบายว่า รุ่งเรืองเช่นกับแก้วมณี. บทว่า ยสสฺสินี เป็นคำ เรียกเทพธิดา. บทว่า อุปฏฺิตา เต ความว่า สระโบกขรณีน่ารื่นรมย์ มีคุณค่าตามที่กล่าวแล้วตั้งอยู่ใกล้วิมานของท่าน.

บทว่า อุทกรุหา พระวังคีสเถระกล่าวหมายถึงดอกปทุมเป็นต้น ดังที่กล่าวแล้ว. บทว่า เยตฺถิ ตัดบทเป็น เย อตฺถิ. บทว่า ถลชา ได้แก่ คัดเค้า. บทว่า เย จ สนฺติ ได้แก่ รุกขชาติเหล่าอื่น ที่มีดอกและมีผล มีอยู่ใกล้วิมานของท่าน.

บทว่า กิสฺส สํยมทมสฺสยํ วิปาโก ความว่า นี้เป็นผลของความสำรวมเช่นไร ในการสำรวมทางกายเป็นต้น และของการฝึกเช่นไรใ การฝึกอินทรีย์เป็นต้น. บทว่า เกนาสิ พระวังคีสเถระกล่าวว่า เพราะผลกรรมอะไร ท่านจึงเกิดในที่นี้ คือผลกรรมอื่นทำให้เกิดขึ้นเอง ผลกรรมอื่นทำให้เกิดอุปโภคสุข แล้วกล่าวต่อไปว่า ท่านได้วิมานนี้มาได้อย่างไร. ในบทเหล่านั้น บทว่า กมฺมผเลน เป็นบทเหลือมาจากคำว่า กมฺมผเลน วิปจฺจิตุํ อารทฺเธน มีผลกรรมเริ่มจะให้ผล. บทว่า กมฺมผเลน นี้ เป็น ตติยาวิภัตติลงในลักษณะอิตถัมภูต (มี, ด้วย, ทั้ง). บทว่า ตทนุปทํ อวจาสิ ความว่า ขอท่านจงตอบถึงกรรมนั้นตามลำดับ คือ ตามสมควรแก่เรื่องราวที่อาตมาถามเถิด. บทว่า อุฬารปมุเข ได้แก่ มีขนตางอนงาม. อธิบายว่า มีดวงตาเหมือนดวงตาลูกโค.

ลำดับนั้น เทพธิดาตอบว่า

ก็วิมานที่ดีฉันได้แล้วนี้ มีฝูงหงส์ นกกระเรียน

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 306

ไก่ฟ้า นกกด และนกเขาไฟ เที่ยวร่อนร้องไปมา ทั้งเต็มไปด้วยหมู่นกนางนวล นกกระทุง พญาหงส์ ซึ่งเป็นนกทิพย์ ซึ่งบินไปมาอยู่ตามลำน้ำ และอึงคะนึงไปด้วยฝูงนกประเภทอื่นๆ อีก คือนกเป็ดน้ำ นกค้อนหอย นกดุเหว่าลาย นกดุเหว่าขาว มีทั้งต้นไม้ดอก ไม้ต้นไม้ผล อันเกิดเองหลายอย่าง เช่นต้นแคฝอย ต้นหว้า ต้นอโศก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดีฉันได้วิมานนี้มาด้วยเหตุอันใด ดีฉันจะเล่าเหตุอันนั้นถวาย นิมนต์ฟังเถิด คือมีหมู่บ้านหมู่หนึ่ง ชื่อว่า นาลกคาม ตั้งอยู่ทางทิศเบื้องหน้าของแคว้นมคธ ดีฉันเป็นบุตรสะใภ้ประจำตระกูลของบ้านนั้น อันตั้งอยู่ภายในบุรี ประชาชนในหมู่บ้านนั้นเรียก ดีฉันว่าเสสวดี ดีฉันมีน้ำใจชื่นบาน ได้สร้างกุศลกรรมไว้ในชาตินั้น คือได้บูชาพระธาตุของพระธรรมเสนาบดี นามว่า อุปติสสะ ซึ่งเป็นที่บูชาของทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลายผู้มากไปด้วยคุณความดี มีศีลเป็นต้นหาประมาณมิได้ ซึ่งนิพพานไปแล้ว ด้วยเครื่องสักการะหลายอย่าง ล้วนแต่รัตนะและดอกดำ ครั้นบูชาพระธาตุของท่านผู้แสวงหาคุณอย่างยอดยิ่ง ผู้ถึงอนุปาทิเสสนิพพานแล้ว ซึ่งในที่สุดยังเหลือแต่พระธาตุเท่านั้น ครั้นดีฉันละกายมนุษย์นั้นแล้ว จึงได้มาเกิดในดาวดึงส์สวรรค์ชั้น

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 307

ไตรทศอยู่ประจำวิมานในเทวโลกนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โกญฺจมยุรจโกรสงฺฆจริตํ ได้แก่ หมู่นกกระเรียน ไก่ฟ้า นกกด นกเขาไฟและไก่ฟ้า เที่ยวไปมาในที่นั้นๆ. บทว่า ทิพฺยปิลวหํสราชจิณฺณํ ได้แก่ พญาหงส์ ซึ่งเป็นนกน้ำมีชื่อว่า ปิลวะ เพราะล่องลอยไปในน้ำ เที่ยวไปในที่นั้นๆ. บทว่า ทิชการณฺฑวโกกิลาภินาทิตํ ได้แก่ อึงคะนึงไปด้วยนกเป็ดน้ำ นกกระทุง นกดุเหว่า และนกอื่นๆ.

บทว่า นานาสนฺตานกปุปฺผรุกฺขวิวิธา ได้แก่ ไม้ดอกต่างๆ คือ ไม้ดอกเกิดเองหลายชนิด มีกิ่งใหญ่กิ่งเล็กหลายอย่างต่างพรรณ. จากไม้ดอกเหล่านั้น มีสีหลายอย่างลักษณะงดงาม ชื่อว่าไม้ดอกเกิดเองหลายชนิด. ควรจะกล่าวว่า วิวิธํ แต่ท่านกล่าวว่า วิวิธา. บทว่า สนฺตานกา ได้แก่ เถาวัลย์ที่เกิดเอง. อนึ่ง มีไม้ดอกหลายอย่างอยู่ในเถาวัลย์นั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า นานาสนฺตานกปุปฺผรุกฺขวิวิธา เพราะมีไม้ดอกเหล่านั้นหลายอย่าง ได้แก่ ไม้ดอกเกิดเองหลายชนิด. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปาฏลิชมฺพุอโสกรุกฺขวนฺตํ มีต้นแคฝอย ต้นหว้าและต้นอโศก. ควรนำบทว่า ปุปฺผรุกฺขา สนฺติ มีไม้ดอกมาเชื่อมกับบทนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปุปฺผรุกฺข ยังไม่ได้แจกวิภัตติ. ท่านจึงกล่าวว่า ปุปฺผรุกฺขํ.

บทว่า มคธวรปุรตฺถิเมน คือตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกในแคว้นมคธ เพราะทางทิศตะวันออกในแคว้นมคธนั้นเป็นที่ที่ตรัสรู้. บทว่า ตตฺถ อโหสิ ปุเร สุณิสา ความว่า เมื่อก่อนดีฉันได้เป็นลูกสะใภ้ในตระกูลคหบดีตระกูลหนึ่งในนาลกคามนั้น.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 308

บทว่า สา แปลว่า นี้. ชื่อว่า อัตถธัมมกุสล เพราะเป็นผู้ฉลาดในอรรถและในธรรม คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า. ชื่อว่า อปจิตตฺถธมฺมกุสโล เพราะมีความฉลาดในอรรถและธรรมสิ้นไปแล้ว คือ พระธรรมเสนาบดี. พระธรรมเสนาบดีนั้นสิ้นไปแล้ว จึงชื่อว่า อปจยะ (สิ้นไป) คือนิพพาน. ฉลาดในนิพพานนั้น และในอรรถและธรรมไม่มีเหลือ. อีกอย่างหนึ่ง ฉลาดในอรรถในธรรม คือ ในนิโรธและมรรคอันน่านับถือ คือน่าบูชา. ชื่อว่า มหนฺต (ใหญ่) เพราะประกอบด้วยศีลขันธ์เป็นต้นอันยิ่งใหญ่. บทว่า กุสุเมหิ ได้แก่ ด้วยดอกไม้ทำด้วยรัตนะและด้วยอย่างอื่น.

บทว่า ปรมคติคตํ ได้แก่ บรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน. บทว่า สมุสฺสยํ คือร่างกาย. บทว่า ติทสคตา ได้แก่ ไปสวรรค์ชั้นไตรทศ คือเข้าถึงหมู่เทพชั้นดาวดึงส์. บทว่า อิธ ได้แก่ ในเทวโลกนี้. บทว่า อวสามิ านํ คืออยู่ประจำวิมานนี้. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำกถามรรค ที่ท่านพระวังคีสะและเทพธิดากล่าวให้เป็นเรื่องเกิดขึ้น แล้วจึงทรงแสดงธรรมแก่บริษัทที่ประชุมกันโดยพิสดาร. เทศนาได้มีประโยชน์แก่มหาชน ด้วยประการฉะนี้

จบอรรถกถาเสสวดีวิมาน