พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ปริฉัตตกวิมาน ว่าด้วยปาริฉัตตกวิมาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 พ.ย. 2564
หมายเลข  40286
อ่าน  394

[เล่มที่ 48] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 324

๑. อิตถิวิมานวัตถุ

ปาริฉัตตกวรรคที่ ๓

๑๐. ปริฉัตตกวิมาน

ว่าด้วยปาริฉัตตกวิมาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 48]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 324

๑๐. ปริฉัตตกวิมาน

ว่าด้วยปาริฉัตตกวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามนางเทพธิดาองค์หนึ่งว่า

[๓๘] ดูก่อนเทพธิดา ท่านมาเก็บดอกไม้สวรรค์ปาริฉัตตกะ หอมหวนน่ารื่นรมย์มาร้อยกรองเป็นพวงมาลัยทิพย์ ขับร้องสำเริงอยู่ เมื่อท่านกำลังฟ้อนรำอยู่ เสียงทิพย์น่าฟังวังเวงใจ เปล่งออกมาจากอวัยวะน้อยใหญ่พร้อมๆ กัน ทั้งกลิ่นทิพย์หอมหวนยวนใจ ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกๆ ส่วน เมื่อท่านไหวกายไปมา เสียงเครื่องประดับอันท่านประดับไว้ที่ช้องผมทุกๆ ส่วน ถูกลมพัดมาต้องเข้าก็เปล่งเสียงไพเราะคล้ายดนตรีเครื่อง ๕.

อนึ่ง เสียงมาลัยประดับเศียรที่ถูกลมพัดต้องเข้าแล้ว ก็กังวานไพเราะคล้ายกับเสียงดนตรีเครื่อง ๕ แม้กลิ่นดอกไม้ที่ท่านสอดแซมไว้บนผมก็มีกลิ่นหอมหวนน่าชื่นใจ ฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดุจไม้สวรรค์ฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 325

ท่านสูดดมกลิ่นอันหอมหวนนั้น ทั้งได้เห็นรูปทิพย์อันมิใช่ของมนุษย์.

ดูก่อนเทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอท่านจงบอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้นตอบว่า

ดีฉันได้น้อมนำเอาดอกอโศกซึ่งมีเกสรงามเลื่อมประภัสสร มีกลิ่นหอมฟุ้งไปบูชาพระพุทธเจ้า ครั้นดีฉันทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้วจึง ปราศจากความโศก ไม่มีโรค รื่นเริงบันเทิงอยู่เป็นนิตย์.

จบปาริฉัตตกวิมาน

อรรถกถาปาริฉัตตกวิมาน

ปาริฉัตตกวิมาน มีคาถาว่า ปาริจฺฉตฺตเก โกวิฬาเร ดังนี้เป็นต้น. ปาริฉัตตกวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ใกล้กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น อุบาสิกาคนหนึ่งอยู่ในกรุงสาวัตถี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า นิมนต์ฉันภัตทาหารในวันรุ่งขึ้น จึงจัดปะรำใหญ่ใกล้ประตูเรือนของตนวงม่านโดยรอบ ผูกเพดานเบื้องบน ยกธงชัยและธงแผ่นผ้า เป็นต้น แขวนผ้าสีสดสวยต่างๆ และพวงของหอม พวงดอกไม้ พวงมาลัย ปูลาดอาสนะ ณ สถานที่ราบเรียบแล้วกราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าตามกำหนดเวลา.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 326

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ในตอนเช้าทรงนุ่งสบงห่มจีวร ถือบาตร เสด็จเข้าไปยังปะรำที่ตกแต่งประดับประดาดุจเทพวิมาน ยังห้วงอรรณพให้สว่างไสวดุจมีรัศมีตั้งพันดวง ประทับนั่งเหนืออาสนะที่ปูไว้. อุบาสกได้บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยของหอมดอกไม้ธูปและประทีป.

สมัยนั้น หญิงหาฟืนคนหนึ่ง เห็นต้นอโศกมีดอกบานสะพรั่งในนันทนวัน จึงถือเอาดอกอโศกเป็นอันมากทำเป็นช่อพร้อมด้วยขั้วและก้าน เดินมาเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ ที่นั้น มีจิตเลื่อมใส จึงเอาดอกไม้เหล่านั้นปูลาดเป็นเครื่องลาดดอกไม้โดยรอบอาสนะ ทำการบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทำประทักษิณ ๓ รอบถวายนมัสการกลับไป. ครั้นต่อมา นางได้ถึงแก่กรรมไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนางอัปสรหนึ่งพันเป็นบริวาร โดยมากนางฟ้อนรำขับร้องอยู่ที่สวนนันทนวัน ร้อยกรองมาลัยดอกไม้ปาริฉัตตกะรื่นเริงบันเทิง เล่นกีฬา เสวยแต่ความสุข.

ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตามนัยที่กล่าวมาแล้ว ครั้นเห็นเทพธิดานั้น จึงถามถึงกรรมที่เทพธิดานั้นได้ทำมาด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมาเก็บดอกไม้สวรรค์ปาริฉัตตกะ หอมหวนน่ารื่นรมย์มาร้อยกรองเป็นมาลัยทิพย์ ขับร้องสำเริงอยู่ เมื่อท่านกำลังฟ้อนรำอยู่เสียงทิพย์น่าฟังวังเวงใจ เปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่พร้อมๆ กัน ทั้งกลิ่นทิพย์หอมหวนยวนใจ ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกๆ ส่วน เมื่อท่านไหว

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 327

กายไปมา เสียงเครื่องประดับอันท่านประดับไว้ที่ช้องผมทุกๆ ส่วน ถูกลมพัดมาต้องเข้าก็เปล่งเสียงไพเราะคล้ายดนตรีเครื่อง ๕.

อนึ่ง เสียงมาลัยประดับเศียรที่ถูกลมพัดต้องเข้าแล้วก็กังวานไพเราะคล้ายกับเสียงดนตรีเครื่อง ๕ แม้กลิ่นดอกไม้ที่ท่านสอดแซมไว้บนผมก็มีกลิ่นหอมหวนน่าชื่นใจ ฟุ้งไปทั่วทุกทิศดุจไม้สวรรค์ ฉะนั้น ท่านสูดดมกลิ่นอันหอมหวนนั้น ทั้งได้เห็นรูปทิพย์อันมิใช่ของมนุษย์.

ดูก่อนเทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอท่านจงบอกว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปาริจฺฉตฺตเก โกวิฬาเร โยชนาแก้ว่า เทพธิดาถือเอาดอกไม้สวรรค์อันมีชื่อว่าปาริฉัตตกะ ชาวโลกเรียกดอกไม้สวรรค์ว่า ปาริชาต แต่ในภาษามคธเรียกว่า ปาริฉัตตกะ ส่วน โกวิฬาโร เป็นกำเนิดของดอกไม้สวรรค์ ทั้งในมนุษยโลก ทั้งในเทวโลก เรียกว่า โกวิฬาร อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เป็นกำเนิดของดอกไม้สวรรค์นั้น.

ก็ในเวลาที่เทพธิคำนั้นฟ้อน เสียงไพเราะเพราะพริ้งเปล่งออกจากสรีระอันเป็นส่วนของอวัยวะ และจากเครื่องประดับ. แม้กลิ่นก็ซ่านออกไปทั่วทุกทิศ. ด้วยเหตุนั้นท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงกล่าวคำเป็นอาทิว่า ตสฺสา เต นจฺจมานาย เมื่อท่านกำลังฟ้อนรำอยู่.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สวนียา ได้แก่ ควรฟัง หรือเป็นประโยชน์

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 328

แก่การฟัง. อธิบายว่า สบายหู. บทว่า วิวตฺตมานา กาเยน ได้แก่ กาย คือ สรีระของท่านไหวไปมา. บทว่า วิวตฺตมานา กาเยน นี้เป็นตติยาวิภัตติลงในอิตถัมภูต (มี). บทว่า ยา เวณีสุ ปิลนฺธนา ได้แก่ เครื่องประดับที่ช้องผมของท่าน. พึงเห็นว่า ในบทนี้ ลบวิภัตติหรือเป็นลิงควิปลาส.

บทว่า วฏํสกา ได้แก่ พวงมาลัยคล้องเศียรเป็นช่อทำด้วยแก้ว. บทว่า วาตธุตา ได้แก่ ถูกลมอ่อนพัดมาต้องเข้า. บทว่า วาเตน สมฺปกมฺปิตา ได้แก่ ถูกลมพัดไปโดยรอบๆ โดยเฉพาะ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วฏํสกา วาตธุตา วาเตน สมฺปกมฺปิตา ได้แก่ พวกมาลัยคล้องเศียร ทั้งที่ไม่ถูกลม ทั้งที่ถูกลม ก็ยังไหวได้. ประกอบความว่า มาลัยประดับเศียรนั้น ฟังแล้วมีเสียงก้องกังวาน.

บทว่า วาติ คนฺโธ ทิสา สพฺพา ได้แก่ กลิ่นของมาลัยทิพย์บนเศียรของท่านนั้นฟุ้งไปทั่วทิศ. ถามว่า เหมือนอะไร. ตอบว่า เหมือนไม้สวรรค์ ความว่า เหมือนไม้สวรรค์มีดอกบานสะพรั่ง มีกลิ่นแผ่ซ่านไปหลายโยชน์ ฟุ้งไปทั่วทิศฉันใด กลิ่นของมาลัยเครื่องประดับเศียรของท่านก็ฉันนั้น. นัยว่า ต้นไม้นั้นขึ้นอยู่ท่ามกลางบริเวณที่ทำอุโบสถของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่เขาคันธมาทน์ มีดอกหอมทั้งในเทวโลก และมนุษยโลก ดอกไม้เหล่านั้นเกิดที่ปลายกิ่งของต้นไม้นั้น. ด้วยเหตุนั้น ไม้สวรรค์จึงมีกลิ่นหอมยิ่งนัก เหมือนกลิ่นของมาลัยที่เทพธิดานั้นประดับ. ฉะนั้น พระมหาโมคคัลลานะจึงกล่าวว่า รุกฺโข มญฺชุสโก ยถา เหมือนต้นไม้สวรรค์.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 329

ก็เพราะอารมณ์ทั้งหลายในที่นั้น แม้ทั้งหมดนั้นเป็นปิยรูปอย่างเดียว เพราะสวรรค์นั้นมีผัสสายตนะ ๖ ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงกล่าวว่า ฆายเส ตํ สุจิคนฺธํ รูปํ ปสฺสสิ อมานุสํ ความว่า ท่านสูดดมกลิ่นอันหอมหวนนั้น ทั้งได้เห็นรูปทิพย์อันมิใช่ของมนุษย์ เพราะคันธรูป (กลิ่น หอม) อันเป็นของวิเศษที่เทพธิดานั้นได้.

เทพธิดาจึงตอบด้วยคาถา ๒ คาถาว่า

ดีฉันได้น้อมนำเอาดอกอโศกซึ่งมีเกสรงามเลื่อมประภัสสร มีกลิ่นหอมฟุ้งไปบูชาพระพุทธเจ้า ครั้นดีฉันทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้ว จึง ปราศจากความโศก ไม่มีโรค รื่นเริงบันเทิงอยู่เป็นนิตย์.

เทพธิดากล่าวว่า ปภสฺสรํ อจฺจิมนฺตํ เกสรงามเลื่อมประภัสสร เป็นต้น หมายถึงดอกอโศกเป็นดอกไม้สูงสุดดุจข่ายรัศมีดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่ในครั้งนั้น เพราะมีเกสรดอกไม้เกิดขึ้น คล้ายก้อนแก้วประพาฬที่ขัดสีดีแล้ว. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาปาริฉัตตกวิมาน

จบปาริฉัตตกวรรควรรณนาที่ ๓ มีอยู่ ๑๐ เรื่อง ในวิมานวัตถุแห่งอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 330

รวมวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อุฬารวิมาน ๒. อัจฉุวิมาน ๓. ปัลลังกวิมาน ๔. ลตาวิมาน ๕. คุตติลวิมาน ๖. ทัททัลลวิมาน ๗. เสสวดีวิมาน ๘. มัลลิกาวิมาน ๙. วิสาลักขิวิมาน ๑๐. ปาริฉัตตกวิมาน และอรรถกถา.