๙. ปีตวิมาน ว่าด้วยปีตวิมาน
[เล่มที่ 48] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 382
๑. อิตถิวิมานวัตถุ
มัญชิฏฐกวรรคที่ ๔
๙. ปีตวิมาน
ว่าด้วยปีตวิมาน
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 48]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 382
๙. ปีตวิมาน
ว่าด้วยปีตวิมาน
ท้าวสักกเทวราชตรัสถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า
[๔๗] ดูราเทพธิดาผู้เจริญ ผู้มีผ้าเหลือง มีธงเหลือง ประดับด้วยอลังการเหลือง มีกายลูบไล้ด้วยจันทน์เหลือง ทัดทรงดอกอุบลเหลือง มีปราสาทเหลือง มีที่นอนที่นั่งเหลือง มีภาชนะเหลือง มีฉัตรเหลือง มีรถเหลือง มีผ้าเหลือง มีพัดเหลือง ครั้งเกิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 383
เป็นมนุษย์ในชาติก่อน เจ้าได้ทำกรรมอะไรไว้ เจ้าถูกเราถามแล้ว ขอจงบอกทีเถิด นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร.
เทพธิดานั้นตอบว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระบาทได้น้อมนำดอกบวบขม ซึ่งมีรสขมไม่มีใครปรารถนา จำนวน ๔ ดอก บูชาพระสถูป ข้าพระบาทมีใจผ่องใส มุ่งเฉพาะพระบรมสารีริกธาตุของพระศาสดา ไม่ทันพิจารณาหนทางที่มาแห่งแม่โค มิได้นึกไปที่แม่โคนั้น ทันใดนั้นแม่โคได้ขวิดข้าพระบาท ผู้มีความปรารถนาแห่งใจยังไม่ถึงพระสถูป ถ้าข้าพระบาทพึงสั่งสมบุญนั้นยิ่งขึ้นไซร้ ทิพยสมบัติพึงมียิ่งกว่านี้เป็นแน่ ข้าแต่ท้าวนฆวานเทพกุญชรจอมเทพ เพราะบุญกรรมนั้น ข้าพระบาทละกายมนุษย์แล้ว จึงมาอยู่ร่วมกับพระองค์.
ท้าวมฆวานเทพกุญชรผู้เป็นอธิบดีในสวรรค์ชั้นไตรทศ ทรงสดับคำนี้แล้ว เมื่อจะยังเทวดาชั้นดาวดึงส์ให้เลื่อมใส จึงได้ตรัสคำนี้กะมาตลีเทพสารภีว่า ดูก่อนมาตลี ท่านจงดูผลแห่งกรรมอันวิจิตรน่าอัศจรรย์นี้ ไทยธรรมที่เทพธิดานี้กระทำแล้ว ถึงจะน้อย บุญก็มีผลมาก เมื่อจิตเลื่อมใสในพระตถาคตสัมพุทธเจ้า หรือในสาวกของพระองค์ก็ตาม ทักษิณา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 384
ไม่ชื่อว่าน้อยเลย มาเถิด มาตลี แม้ชาวเราทั้งหลายก็ควรจะพากันบูชาพระบรมธาตุของพระตถาคตให้ยิ่งยวดขึ้นไป เพราะการสั่งสมบุญนำสุขมาให้ เมื่อ พระตถาคตยังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม เสด็จปรินิพพานแล้วก็ตาม เมื่อจิตสม่ำเสมอ ผลบุญก็ย่อมสม่ำเสมอ เพราะเหตุที่ตั้งจิตไว้ชอบสัตว์ทั้งหลาย ย่อมไปสู่สุคติ ทายกทั้งหลายกระทำสักการะในพระตถาคตเหล่าใดแล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์ พระตถาคตเหล่านั้น ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมากหนอ.
จบปีตวิมาน
อรรถกถาปีตวิมาน
ปีตวิมาน มีคาถาว่า ปีตวตฺเถ ปีตธเช เป็นต้น. ปีตวิมานนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร?
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระเจ้าอชาตศัตรูนำพระบรมสารีริกธาตุที่พระองค์ได้รับส่วนแบ่ง มาสร้างพระสถูปและทำการฉลอง อุบาสิกาชาวราชคฤห์คนหนึ่งปฏิบัติกิจของร่างกายแต่เช้าตรู่ คิดจักบูชาพระศาสดาถือดอกบวบขม ๔ ดอกตามที่ได้มา มีศรัทธาเกิดฉันทะอุตสาหะขึ้นในใจอย่างฉับพลัน มิได้คำนึงถึงอันตรายในหนทาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 385
เดินมุ่งหน้าไปสู่ยังพระสถูป.
ขณะนั้น โคแม่ลูกอ่อนวิ่งสวนทางมาอย่างเร็ว ขวิดอุบาสิกานั้นให้สิ้นชีวิต. นางทำกาลกิริยาตายในขณะนั้นเอง บังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อท้าวสักกเทวราชเสด็จทรงกรีฑาในอุทยาน นางได้ปรากฏองค์พร้อมกับรถ ข่มเทพธิดาทั้งหมดด้วยรัศมีแห่งสรีระของตน ท่ามกลางเทพนาฏกะนักฟ้อนสองโกฏิครึ่งซึ่งเป็นบริวาร ท้าวสักกเทวราชทอดพระเนตรเห็นดังนั้น มีพระทัยพิศวง เกิดอัศจรรย์ไม่เคยเป็น ทรงดำริว่า ด้วยกรรมอันยิ่งใหญ่เช่นไรหนอ เทพธิดาผู้นี้จึงได้เทพฤทธิ์ที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ แล้วตรัสถามเทพธิดานั้นด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
ดูราเทพธิดาผู้เจริญ ผู้มีผ้าเหลือง มีธงเหลือง ประดับด้วยอลังการเหลือง มีกายลูบไล้ด้วยจันทน์เหลือง ทัดทรงดอกอุบลเหลือง มีปราสาทเหลือง มีที่นอนที่นั่งเหลือง มีภาชนะเหลือง มีฉัตรเหลือง มีรถเหลือง มีม้าเหลือง มีพัดเหลือง ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน เจ้าได้ทำกรรมอะไรไว้ เจ้าถูกเราถามแล้ว ขอจึงบอกทีเถิด นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร.
เทพธิดาแม้นั้นก็ได้พยากรณ์แก่ท้าวสักกะนั้นด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระบาทได้น้อมนำดอกบวมขม ซึ่งมีรสขมไม่มีใครปรารถนา จำนวน ๔ ดอก บูชาพระสถูป ข้าพระบาทมีใจผ่องใส มุ่งเฉพาะพระบรมสารีริกธาตุของพระศาสดา ไม่ทันพิจารณาหนทางที่มาแห่งแม่โคมิได้นึกไปที่แม่โคนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 386
ทันใดนั้นแม่โคได้ขวิดข้าพระบาทผู้มีความปรารถนาแห่งใจยังไม่ถึงพระสถูป ถ้าข้าพระบาทพึงสั่งสมบุญนั้นยิ่งขึ้นไซร้ ทิพยสมบัติพึงมียิ่งกว่านี้เป็นแน่ ข้าแต่ท้าวมฆวานเทพกุญชรจอมเทพ เพราะบุญกรรมนั้น ข้าพระบาทละกายมนุษย์แล้ว จึงมาอยู่ร่วมกับพระองค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปีตจฺทนลิตฺตงฺเค ได้แก่มีสรีระลูบไล้ด้วยจันทน์มีสีดังทอง. บทว่า ปีตปาสาพสยเน ได้แก่ ประกอบด้วยปราสาททองทั้งหมดและที่นอนขลิบทอง ด้วยปีตศัพท์ในที่ทุกแห่งทั้งข้างล่างข้างบน พึงทราบว่า ท่านหมายความถึงทองทั้งนั้นด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ลตตฺถิ ตัดบทเป็น ลตา อตฺถิ แปลว่า มีเครือเถา. เทพธิดาเรียกท้าวสักกเทวราชด้วยความเคารพ ว่า ภนฺเต. บทว่า อนภิจฺฉิตา แปลว่า ไม่มีใครปรารถนา.
บทว่า สรีรํ ได้แก่ พระธาตุที่เป็นพระสรีระ. อนึ่ง นี้เป็นโวหารเรียกรวมส่วนย่อย เหมือนข้อความว่า ผ้าไฟไหม้แล้ว ทะเลเขาเห็นแล้ว. บทว่า อสฺส ประกอบ โครูปสฺส แปลว่า ของโคนั้น. บทว่า มคฺคํ ได้แก่ ทางที่มา. บทว่า น อเวกฺขิสฺสํ ได้แก่ ไม่ทันตรวจดู. เพราะเหตุไร? เพราะใจไม่นึกถึงโคนั้น. บทว่า น ตคฺคมนสา สตี ความว่า มิได้มีใจไปจดจ่อที่แม่โคนั้น ที่แท้มีใจจดจ่อที่พระสถูปของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น. ปาฐะว่า ตทงฺคมานสาสตี ดังนี้ก็มี. ใจของเทพธิดานั้นมีในองค์นั้น คือในองค์แห่งพระธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เหตุนั้นเทพธิดานั้นจึงชื่อว่า ตทงฺคมนสา มีใจใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 387
องค์นั้น. เทพธิดาชี้แจงว่า คราวนั้น ข้าพระบาทเป็นอย่างนี้ ไม่ทันพิจารณาหนทางของแม่โคนั้น.
บทว่า ถูปํ อปตฺตมานสํ ได้แก่ มีอัธยาศัยยังไม่ถึงพระสถูป คือ พระเจดีย์. จริงอยู่ ชื่อว่า มานัส เพราะมีในใจ ได้แก่อัธยาศัย คือ มโนรถ. เทพธิดากล่าวอย่างนี้ เพราะมโนรถที่เกิดขึ้นว่า เราจักเข้าไปยังพระสถูปแล้วบูชาด้วยดอกไม้ทั้งหลาย ดังนี้ยังไม่สมบูรณ์. แต่จิตที่คิดบูชาพระสถูปเจดีย์ด้วยดอกไม้ทั้งหลายสำเร็จแล้วโดยแท้ จึงเป็นเหตุให้เทพธิดานั้นเกิดในเทวโลก.
บทว่า ตญฺจาหํ อภิสญฺเจยฺยํ ความว่า ถ้าข้าพระบาทพึงสั่งสม อธิบายว่า ถ้าข้าพระบาทพึงสั่งสม คือเข้าไปสั่งสมโดยชอบทีเดียวซึ่งบุญนั้น ด้วยการบูชาด้วยดอกไม้ คือด้วยการไปถึงพระสถูปแล้วบูชาตามความประสงค์. บทว่า ภิยฺโย นูน อิโต สิยา ความว่า สมบัติเห็นทีจะพึงมีโดยยิ่ง คือยิ่งๆ ขึ้นไปกว่านี้ คือกว่าสมบัติตามที่ได้อยู่แล้ว.
บทว่า มฆวา เทวกุญฺชร เป็นคำเรียกท้าวสักกะ. ในสองบทนั้น บทว่า เทวกุญฺชร ความว่า เช่นกับกุญชรในเทวโลก โดยคุณวิเศษมีความบากบั่นเพื่อผลทั้งปวงเป็นต้น. บทว่า สหพฺยํ ได้แก่ ความเป็นร่วมกัน.
ท้าวมฆวานเทพกุญชร ผู้เป็นอธิบดีในสรรรค์ชั้นไตรทศทรงสดับคำนี้แล้ว เมื่อจะยังเทวดาชั้นดาวดึงส์ให้เลื่อมใสจึงได้ตรัสคำนี้กะมาตลีเทพสารถี
นี้เป็นคำของพระธรรมสังคาหกาจารย์. ตั้งแต่นั้น ท้าวสักกะทรงแสดงธรรมแก่หมู่เทวดา ซึ่งมีพระมาตลี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 388
เทพสารถีเป็นประมุข ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
ดูก่อนมาตลี ท่านจงดูผลแห่งกรรมอันวิจิตรน่าอัศจรรย์นี้ ไทยธรรมที่เทพธิดานี้กระทำแล้ว ถึงจะน้อย บุญก็มีผลมาก เมื่อจิตเลื่อมใสในพระตถาคตสัมพุทธเจ้า หรือในสาวกของพระองค์ก็ตาม ทักษิณาไม่ชื่อว่าน้อยเลย มาเถิด มาตลี แม้ชาวเราทั้งหลาย ก็ควรจะพากันบูชาพระบรมธาตุของพระตถาคตให้ยิ่งยวดขึ้นไป เพราะการสั่งสมบุญนำสุขมาให้ เมื่อพระตถาคตยังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม เสด็จปรินิพพานแล้วก็ตาม เมื่อจิตสม่ำเสมอ ผลบุญก็ย่อมสม่ำเสมอ เพราะเหตุที่ตั้งจิตไว้ชอบ สัตว์ทั้งหลายย่อมไปสู่สุคติ ทายกทั้งหลายกระทำสักการะในพระตถาคตเหล่าใดแล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์ พระตถาคตเหล่านั้นย่อมอุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมากหนอ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสาเทนฺโต ได้แก่ กระทำให้เลื่อมใส. อธิบายว่า ให้เกิดศรัทธาในพระรัตนตรัย.
บทว่า จิตฺตํ ได้แก่ วิจิตร คือไม่ควรคิด. บทว่า กมฺมผลํ ประกอบความว่า ถึงไทยธรรมไม่ยิ่งใหญ่ ก็จงดูผลแห่งบุญกรรมซึ่งยิ่งใหญ่ เพราะถึงพร้อมด้วยเขต และถึงพร้อมด้วยเจตนา. ในประโยคว่า อปฺปกมฺปิ กตํ เทยฺยํ ปุญฺํ โหติ มหปฺผลํ นี้ บทว่า กตํ ได้แก่ ประกอบไว้ในอายตนะ โดยเป็นตัวเหตุ โดยเป็นตัวสักการะ. บทว่า เทยฺยํ ได้แก่ วัตถุที่ควรถวาย. บทว่า ปุญฺํ ได้แก่ บุญกรรมที่เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 389
ไปอย่างนั้น.
บัดนี้ ท้าวสักกเทวราชเมื่อจะแสดงข้อที่ทำบุญถึงจะน้อยแต่ก็มีผลมากนั้นให้ปรากฏ จึงตรัสคาถาว่า นตฺถิ จิตฺเต ปสนฺนมฺหิ เป็นต้น. ข้อนั้นเข้าใจง่าย.
บทว่า อมฺเหปิ ได้แก่ แม้ชาวเราทั้งหลาย. บทว่า มหามเส ได้แก่ ควรบูชา. บทว่า เจโตปณิธิเหตุ หิ ความว่า เพราะตั้งจิตของตนไว้ชอบทีเดียว อธิบายว่า เพราะตั้งตนไว้ชอบ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
มารดาบิดาก็ดี ญาติเหล่าอื่นก็ดี พึงทำผู้นั้นให้ประเสริฐไม่ได้ ส่วนจิตที่ตั้งไว้ชอบ พึงทำผู้นั้นให้ประเสริฐได้กว่านั้น.
ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะจอมทวยเทพได้สั่งระงับการเล่นกรีฑาในอุทยาน เสด็จกลับจากอุทยานนั้นแล้ว ทรงทำการบูชา ๗ วันที่พระจุฬามณีเจดีย์ ซึ่งเป็นสถานที่พระองค์ทรงบูชาเนืองๆ.
สมัยต่อมา ท้าวสักกเทวราชได้เล่าเรื่องนั้นถวายท่านพระนารทเถระผู้จาริกไปยังเทวโลก พระเถระได้บอกกล่าวแก่พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ท่านจงได้ยกเรื่องนั้นขึ้นสู่สังคายนาอย่างนั้นแล.
จบอรรถกถาปีตวิมาน