๑๔. มหารถวิมาน ว่าด้วยมหารถวิมาน
[เล่มที่ 48] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 518
๒. ปุริสวิมานวัตถุ
มหารถวรรคที่ ๕
๑๔. มหารถวิมาน
ว่าด้วยมหารถวิมาน
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 48]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 518
๑๔. มหารถวิมาน
ว่าด้วยมหารถวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทวบุตรว่า
[๖๔] ท่านขึ้นรถม้างดงามมิใช่น้อยคันนี้ เทียมด้วยม้าพันหนึ่งเข้ามาใกล้พื้นที่อุทยาน รุ่งเรืองดังท้าววาสวะผู้ให้ทานในก่อน ผู้เป็นเจ้าแห่งเทวดา ทูบรถทั้งสองของท่านก็ล้วนแล้วด้วยทอง ประกอบด้วยแผ่นทองสองข้างสนิทดี มีลูกกรงจัดไว้ได้ระเบียบเรียบร้อย เหมือนนายช่างพากเพียรบรรจงจัด โชติช่วงดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญ รถคันนี้คลุมด้วยข่ายทอง วิจิตรด้วยรัตนะต่างๆ เป็นอันมาก เอิกอึงน่าเพลิดเพลินดี มีรัศมีรุ้งร่วง โชติช่วงด้วยหมู่เทพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 519
ผู้ถือพัดจามร อนึ่ง ดุมรถเหล่านี้ประดับตรงกลางระหว่างล้อรถ อันจิตจัดเนรมิต วิจิตรไปด้วยลายร้อยลาย พร่างพรายดังสายฟ้าแลบ รถคันนี้ดาดาษด้วยลวดลายวิจิตรมิใช่น้อย กงใหญ่มีรัศมีตั้งพัน เสียงของกงเหล่านั้นฟังไพเราะดุจดนตรีเครื่องห้าที่เขาประโคม ที่งอนรถงดงามตกแต่งด้วยดวงจันทร์ แก้วมณี วิจิตร บริสุทธิ์ ผุดผ่องทุกเมื่อ ประกอบด้วยลายทองเนียนสนิท โสภิตล้ำลายแก้วไพฑูรย์ ม้าเหล่านี้ผูกสอดแล้วด้วยดวงจันทร์แก้วมณีสูงใหญ่ ว่องไว อุปมาได้ดังผู้เติบใหญ่มีอำนาจมาก ร่างใหญ่ มีกำลัง เร็วมาก รู้ใจของท่าน วิ่งไปได้รวดเร็วดังใจนึก ม้าทั้งหมดนี้อดทน ก้าวไปด้วยเท้าทั้ง ๔ รู้ใจของท่าน วิ่งไปได้รวดเร็วดังใจนึก เป็นม้าอ่อนโอน ไม่ลำพอง วิ่งเรียบ ทำใจผู้ขับขี่ให้เบิกบาน เป็นยอด ของม้าทั้งหลาย ผูกสอดเครื่องประดับที่ทำดีแล้ว บางครั้งสะบัดขน บางครั้งก็วิ่งเหยาะย่างไปด้วยเท้า บางครั้งก็เหาะไป เสียงของม้าเหล่านั้นฟังไพเราะดุจดนตรีเครื่องห้าที่เขาประโคม เสียงรถ เสียงเครื่อง ประดับ เสียงกีบม้า เสียงร้องคำรน และเสียงเทพผู้บรรเลงฟังไพเราะดี ดุจดนตรีของคนธรรพ์ในสวน จิตรลดา.
เหล่าอัปสรที่ยืนอยู่บนรถ มีดวงตาอ่อนดัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 520
ลูกตาเนื้อทราย มีขนตาดก มีรอยยิ้มจากดวงหน้า พูดจาน่ารัก คลุมด้วยข่ายแก้วไพฑูรย์ มีผิวละเอียด อันคนธรรพ์และเทวดาผู้เลิศบูชาทุกเมื่อทีเดียว อัปสร เหล่านั้นนุ่งห่มผ้าแดงและผ้าเหลืองน่ายินดี มีเนตรไพศาล มีดวงตาอ่อนน่ารักยิ่ง เป็นผู้ดีมีสกุล มีองค์งาม สรวลเสียงใส อัปสรทั้งหลายยืนประนมมือเด่นอยู่บนรถ เธอเหล่านั้นสวมทองต้นแขน แต่งองค์ดี เอวส่วนกลางงาม มีขาและถันสมบูรณ์ นิ้วมือกลม หน้าสวยน่าชม อัปสรพวกอื่นๆ ที่ยินประนมมือเด่นอยู่บนรถ มีช้องผมงาม เป็นสาวรุ่นๆ มีผมสอดแซมด้วยแก้วทับทิมและดอกไม้ จัดลอนผม เรียบร้อยมีประกาย อัปสรเหล่านั้นมีกิริยาเรียบร้อย มีใจยินดีต่อท่าน เหล่าอัปสรที่ยืนประนมมือเด่นอยู่บนรถ มีดอกไม้กรองบนศีรษะ คลุมด้วยดอกปทุมและดอกอุบล ตกแต่งแล้ว ลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์ อัปสรเหล่านั้นมีกิริยาเรียบร้อย มีใจยินดีต่อท่าน เหล่าอัปสรที่ยืนประนมมือเด่นอยู่บนรถเหล่านั้น สวมพวงมาลัย คลุมด้วยดอกปทุมและดอกอุบล ตกแต่งแล้ว ลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์ อัปสรเหล่านั้นมีกิริยาเรียบร้อย มีใจยินดีต่อท่าน เหล่าอัปสรที่ยินประนมมือเด่นอยู่บนรถ ส่องแสงสว่างไปทั่วสิบทิศ ด้วยเครื่องประดับที่คอ ที่มือ ที่เท้า และที่ศีรษะ เหมือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 521
ดวงอาทิตย์ในสารทกาล กำลังอุทัยขึ้นมา ดอกไม้และเครื่องประดับที่แขนทั้งสอง ไหวพริ้วเพราะแรงลม ก็เปล่งเสียงกังวานไพเราะเพราะจับใจ อันวิญญูชนทุกคนพึงฟัง ดูราท่านจอมเทพ รถ ช้าง (ม้า) และดนตรีทั้งหลายที่อยู่สองข้างพื้นอุทยานส่งเสียง ทำให้ท่านบันเทิงใจ ดุจพิณทั้งหลายมีรางและคันถือที่ปรับไว้เรียบร้อย อันนักดีดพิณบรรเลงอยู่ ย่อมทำชนผู้ฟังให้บันเทิงฉะนั้น เมื่อพิณเป็นอันมากเหล่านี้มีเสียงไพเราะเจริญใจ อันอัปสรทั้งหลายบรรเลงอยู่ สนิทสนมกลมกลืนซาบซึ้งตรึงใจ เหล่าเทพกัญญาผู้ชำนาญศิลป์พากันฟ้อนรำขับร้องอยู่ในดอกปทุมทั้งหลาย เมื่อใดการขับร้องการประโคมและการฟ้อนรำเหล่านี้ ผสมผสานเป็นอันเดียวกัน เมื่อนั้นอัปสรพวกหนึ่งก็ฟ้อนรำอยู่ในรถของท่านนี้.
อีกพวกหนึ่งซึ่งเป็นเทพกัญญาชั้นสูง ก็ส่องรัศมีอยู่สองข้างในรถของท่านนั้น ท่านอันหมู่ดนตรีปลุกให้ตื่น บันเทิงใจ อันทวยเทพทั้งหลายบูชาอยู่ ดุจท้าวสักกะผู้ทรงวชิราวุธ เมื่อพิณเป็นอันมากเหล่านี้มีเสียงไพเราะเจริญใจ ซาบซึ้งตรึงใจ อันอัปสรบรรเลงอยู่ เมื่อก่อนท่านทำกรรมอะไรไว้ด้วยตนเอง ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ท่านได้รักษาอุโบสถ หรือว่าได้ชอบใจการประพฤติธรรมและการสมาทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 522
วัตรอะไร นี้คงมิใช่ผลของกรรมเล็กน้อยที่ท่านทำไว้ หรือฤทธานุภาพอันไพบูลย์ของท่านนี้ คงมิใช่วิบากของอุโบสถที่ท่านประพฤติดีแล้วในชาติก่อนๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านรุ่งโรจน์ข่มหมู่เทพเป็นนักหนา นี้คงเป็นผลแห่งทาน ศีล หรืออัญชลีกรรมของท่าน ท่านถูกอาตมาถามแล้ว โปรดบอกกรรมนั้นแก่อาตมาเถิด.
เทวบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ชนะอินทรีย์แล้ว มีความเพียรไม่ทราม ผู้สูงสุดแห่งนระทั้งหลาย ทรงพระนามว่ากัสสปะ เป็นอัครบุคคล ผู้เปิดประตูแห่งอมตนคร ผู้เป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดา ผู้มีบุญลักษณะตั้งร้อย ผู้เป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดา ผู้มีบุญลักษณะ พระรูปงามเช่นกับทองสิงคีและทองชมพูนุท ครั้นได้เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้ว ข้าพเจ้าก็มีใจเลื่อมใสทันที ข้าพเจ้าได้เห็นพระองค์ผู้มีสุภาษิตเป็นธง ได้ถวายข้าวและน้ำอันสะอาด ประณีต ประกอบด้วยรส และจีวรในพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นในที่อยู่ของตน อันเกลื่อนกล่นไปด้วยดอกไม้ ข้าพเจ้านั้นมีใจไม่ข้องในอะไรๆ ได้อังคาส (เลี้ยงดู) พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้สูงสุดกว่าเหล่าสัตว์สองเท้าด้วยข้าว น้ำ จีวร ของเคี้ยว ของบริโภค และ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 523
ของลิ้ม จึงรื่นรมย์อยู่ในสวรรค์อันเป็นเทวบุรี โดยอุบายนี้ ข้าพเจ้าได้บูชายัญชื่อนิรัคคฬะ (มีลิ่มสลักอันออกแล้ว เพราะได้บริจาคสมบัติของตนทั้งหมด) อันบริสุทธิ์ ๓ อย่างนี้ ละร่างมนุษย์แล้ว เป็นผู้เสมอกับพระอินทร์ รื่นรมย์อยู่ในเทวบุรี.
ข้าแต่ท่านพระมุนี บุคคลเมื่อหวังอายุ วรรณะ สุขะ พละ และรูปอันประณีต พึงตั้งข้าวและน้ำที่ปรุงแต่งดีแล้วเป็นอันมาก ถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้มีพระทัยไม่ข้องเกี่ยวอะไรๆ ไม่ว่าในโลกนี้หรือโลกหน้า ไม่มีผู้ประเสริฐสุดหรือเสมอด้วยพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ควรบูชาอย่างยิ่ง บรรดาผู้ควรบูชาทั้งหลายสำหรับชนผู้ต้องการบุญ ผู้แสวงผลอันไพบูลย์.
จบมหารถวิมาน
อรรถกถามหารถวิมาน
มหารถวิมาน มีคาถาว่า สหสฺสยุตฺตํ หยวาหนํ สุภํ เป็นต้น. มหารถวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร?
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน กรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเที่ยวเทวจาริกโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง ได้ปรากฏในที่ไม่ไกลเทวบุตรชื่อว่าโคปาละ ในภพดาวดึงส์ ผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 524
ออกจากวิมานของตน ขึ้นรถทิพย์คันใหญ่เทียมม้าพันหนึ่ง ไปเล่นอุทยาน ด้วยบริวารยศใหญ่ ด้วยเทวฤทธิ์ยิ่งใหญ่ เทวบุตรเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้วเกิดความเคารพมาก รีบลงจากรถเข้าไปไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วยืนประคองอัญชลีไว้เหนือเศียร.
เทวบุตรนั้นมีบุพกรรมดังต่อไปนี้. เล่ากันมาว่า เทวบุตรนั้นเป็นพราหมณ์ชื่อว่าโคปาละ เป็นอาจารย์ของพระราชธิดาผู้เสมือนเทพกัญญา เธอบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ด้วยพวงดอกไม้ทอง แล้วตั้งความปรารถนาไว้ว่า ขอพวงดอกไม้ประดับอกที่เป็นทองจงเกิดแก่ข้าพเจ้าทุกๆ ภพ ด้วยอานุภาพแห่งบุญนี้ เธอท่องเที่ยวอยู่ในสุคติภพทั้งหลายนั่นแลหลายกัป ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เธอบังเกิดในครรภ์อัครมเหสีของพระเจ้ากาสี พระนามว่ากิกิ ได้นามว่า อุรัจฉทมาลา เพราะได้พวงดอกไม้ทองตามปรารถนา เทวบุตรได้ถวายมหาทานเช่นอสทิสทานเป็นต้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ พร้อมด้วยสงฆ์สาวก แม้ฟังธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงเฉพาะตน และราชธิดาก็ไม่อาจทำคุณวิเศษให้เกิดได้เพราะอินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ตายทั้งที่เป็นปุถุชนนั่นเอง บังเกิดในวิมานทองร้อยโยชน์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีอัปสรหลายโกฏิเป็นบริวาร ด้วยอานุภาพแห่งบุญตามที่สั่งสมไว้ อนึ่ง รถเทียมม้าอาชาไนยเป็นทิพย์ สำเร็จด้วยรัตนะเจ็ด เทียมม้าพันหนึ่ง วิจิตรด้วยฝาที่จัดไว้อย่างดี เอิกอึงด้วยเสียงไพเราะนุ่มนวล เหมือนบุคคลกระหยิ่มอยู่ด้วยการเกิดแห่งรัศมีของตน ดังดวงทิพากร ก็บังเกิดแก่เทวบุตรนั้น.
เทวบุตรนั้นเสวยทิพยสมบัติในดาวดึงส์นั้นชั่วอายุแล้วท่องเที่ยวไปๆ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 525
มาๆ อยู่ในเทวโลกทั้งหลาย แม้ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็บังเกิดเป็นฃ เทวบุตรนามว่าโคปาละนั่นเอง เสวยสมบัติตามที่กล่าวแล้ว ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้วยเศษวิบากแห่งกรรมนั้นแหละ ท่านหมายเอาเทวบุตรนั้น จึงกล่าวว่า เตน จ สมเยน อายสฺมา มหาโมคฺคลฺลาโน ฯเปฯ อญฺชลึ สิรสิ ปคฺคยฺห อฏฺาสิ ดังนี้.
เทวบุตรนั้นเข้าไปหาแล้วยืนอยู่อย่างนี้ ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงถามด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
ท่านขึ้นรถม้างดงาม มิใช่น้อยคันนี้ เทียมด้วยม้าพันหนึ่ง เข้ามาใกล้พื้นที่อุทยาน รุ่งเรืองดังท้าววาสวะผู้ให้ทานในก่อน ผู้เป็นเจ้าแห่งเทวดา ทูบรถทั้งสองของท่านก็ล้วนแล้วด้วยทองประกอบด้วยแผ่นทองสองข้างสนิทดี มีลูกกรงจัดไว้ได้ระเบียบเรียบร้อย เหมือนนายช่างพากเพียรบรรจงจัด โชติช่วงดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญ รถคันนี้คลุมด้วยข่ายทอง วิจิตรด้วยรัตนะต่างๆ เป็นอันมาก เอิกอึงน่าเพลิดเพลินดี มีรัศมีรุ้งร่วง โชติช่วงด้วยหมู่เทพผู้ถือพัดจามร อนึ่ง ดุมรถเหล่านี้ประดับตรงกลางระหว่างล้อรถ อันจิตจัดเนรมิต วิจิตรไปด้วยลาย ร้อยลาย พร่างพรายดังสายฟ้าแลบ รถคันนี้ดาดาษด้วยลวดลายวิจิตรมิใช่น้อย กงใหญ่มีรัศมีตั้งพัน เสียงของกงเหล่านั้นฟังไพเราะดุจดนตรีเครื่องห้าที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 526
เขาประโคม ที่งอนรถงดงามตกแต่งด้วยดวงจันทร์ แก้วมณี วิจิตร บริสุทธิ์ผุดผ่องทุกเมื่อ ประกอบด้วยลายทองเนียนสนิม โสภิตล้ำลายแก้วไพฑูรย์ ม้า เหล่านี้ผูกสอดแล้วด้วยดวงจันทร์แก้วมณี สูงใหญ่ ว่องไว อุปมาได้ดังผู้เติบใหญ่มีอำนาจมาก ร่างใหญ่ มีกำลังเร็วมาก รู้ใจของท่าน วิ่งไปได้รวดเร็วดังใจนึก ม้าทั้งหมดนี้อดทนก้าวไปด้วยเท้าทั้ง ๔ รู้ใจของท่าน วิ่งไปได้รวดเร็วดังใจนึก เป็นม้าอ่อนโอน ไม่ลำพอง วิ่งเรียบ ทำใจผู้ขับขี่ให้เบิกบาน เป็นยอดของม้าทั้งหลาย ผูกสอดเครื่องประดับที่ทำดีแล้ว บางครั้งสะบัดขน บางครั้งก็วิ่งเหยาะย่างไปด้วยเท้า บางครั้งก็เหาะไป เสียงของม้าเหล่านั้นฟังไพเราะดุจดนตรีเครื่องห้าที่เขาประโคม เสียงรถ เสียงเครื่องประดับ เสียงกีบม้า เสียงร้องคำรน และเสียงเทพผู้บรรเลง ฟังไพเราะดี ดุจดนตรีของคนธรรพ์ในสวนจิตรลดา.
เหล่าอัปสรที่ยืนอยู่บนรถ มีดวงตาอ่อนดังตาลูกเนื้อทราย มีขนตาดก มีรอยยิ้มจากดวงหน้า พูดจาน่ารัก. คลุมด้วยข่ายแก้วไพฑูรย์ มีผิวละเอียด อัน คนธรรพ์และเทวดาผู้เลิศบูชาทุกเมื่อทีเดียว อัปสรเหล่านั้นนุ่งห่มผ้าแดงและผ้าเหลืองน่ายินดี มีเนตรไพศาล มีดวงตาอ่อนน่ารักยิ่ง เป็นผู้ดีมีสกุล มีองค์งาม สรวลเสียงรส อัปสรทั้งหลายยืนประนมมือเด่นอยู่บน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 527
รถ เธอเหล่านั้นสวมทองต้นแขนแต่งองค์ดี เอวส่วนกลางงาม มีขาและถันสมบูรณ์ นิ้วมือกลม หน้าสวย น่าชม อัปสรพวกอื่นๆ ที่ยืนประนมมือเด่นอยู่บนรถ มีช้องผมงาม เป็นสาวรุ่นๆ มีผมสอดแซมด้วยแก้ว ทับทิมและดอกไม้ จัดลอนผมเรียบร้อย มีประกาย อัปสรเหล่านั้นมีกิริยาเรียบร้อยมีใจยินดีต่อท่าน เหล่า อัปสรที่ยืนประนมมือเด่นอยู่บนรถ มีดอกไม้กรองบนศีรษะ คลุมด้วยดอกปทุมและดอกอุบล ตกแต่งแล้ว ลูบไล้ด้วยแก่นจันทร์ อัปสรเหล่านั้นมีกิริยาเรียบร้อย มีใจยินดีต่อท่าน เหล่าอัปสรที่ยืนประนมมือเด่นอยู่บนรถเหล่านั้น สวมพวงมาลัย คลุมด้วยดอกปทุมและดอกอุบล ตกแต่งแล้วลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์ อัปสรเหล่านั้นมีกิริยาเรียบร้อย มีใจยินดีต่อท่าน เหล่าอัปสรที่ยืนประนมมือเด่นอยู่บนรถส่องแสงสว่างไปทั่วสิบทิศ ด้วยเครื่องประดับที่คอ ที่มือ ที่เท้า และที่ศีรษะ เหมือนดวงอาทิตย์ในสารทกาลกำลังอุทัยขึ้นมา ดอกไม้และเครื่องประดับที่แขนทั้งสอง ไหวพริ้วเพราะแรงลม ก็เปล่งเสียงกังวานไพเราะเพราะจับใจ อันวิญญูชนทุกคนพึงฟัง ดูก่อนท่านจอมเทพ รถช้างม้าและดนตรีทั้งหลายที่อยู่สองข้างพื้นที่อุทยาน ส่งเสียงทำให้ท่านบันเทิงใจดุจพิณทั้งหลายมีรางและคันถือที่ปรับไว้เรียบร้อย อันนักดีด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 528
พิณบรรเลงอยู่ ย่อมทำชนผู้ฟังให้บันเทิงฉะนั้น เมื่อพิณเป็นอันมากเหล่านี้มีเสียงไพเราะเจริญใจ อันอัปสรทั้งหลายบรรเลงอยู่สนิทสนมกลมกลืน ซาบซึ้ง ตรึงใจ เหล่าเทพกัญญาผู้ชำนาญศิลป์พากันฟ้อนรำ ขับร้องอยู่ในดอกปทุมทั้งหลาย เมื่อใดการขับร้องการประโคมและการฟ้อนรำเหล่านี้ผสมผสานเป็นอันเดียวกัน เมื่อนั้นอัปสรพวกหนึ่งก็ฟ้อนรำอยู่ในรถของท่านนี้.
อีกพวกหนึ่งซึ่งเป็นเทพกัญญาชั้นสูง ก็ส่องรัศมีอยู่สองข้างในรถของท่านนั้น ท่านอันหมู่ดนตรีปลุกให้ตื่น บันเทิงใจ อันทวยเทพทั้งหลายบูชาอยู่ ดุจท้าวสักกะผู้ทรงวชิราวุธ เมื่อพิณเป็นอันมากเหล่านี้ มีเสียงไพเราะเจริญใจ ซาบซึ้งตรึงใจ อันอัปสรบรรเลงอยู่ เมื่อก่อนท่านทำกรรมอะไรไว้ด้วยตนเอง ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ท่านได้รักษาอุโบสถ หรือว่าได้ชอบใจการประพฤติธรรม และการสมาทานวัตรอะไร นี้คงมิใช่ผลของกรรมเล็กน้อยที่ท่านทำไว้ หรือฤทธานุภาพอันไพบูลย์ของท่านนี้คงมิใช่วิบากของอุโบสถที่ท่านประพฤติดีแล้วในชาติก่อนๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านรุ่งโรจน์ข่มหมู่เทพเป็นนักหนา นี้คงเป็นผลแห่งทานศีล หรืออัญชลีกรรมของท่าน ท่านถูกอาตมาถามแล้ว โปรดบอกกรรมนั้นแก่อาตมาเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 529
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหสฺสยุตฺตํ แปลว่า เทียมด้วยม้าหลายพัน อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สหัสสยุตตะ เพราะรถมีม้าพันหนึ่งเทียมคือประกอบไว้. ถามว่า จำนวนพันหนึ่งนั้นของอะไร. ใครๆ ก็ย่อมจะรู้เนื้อความกันอย่างนี้ทั้งนั้นว่า ของม้าทั้งหลาย เพราะท่านจะกล่าว ต่อมาว่า หยวาหนํ. ชื่อว่า หยวาหนะ เพราะรถนั้นมีม้าเป็นพาหนะ เครื่องนำไป แต่อาจารย์บางพวกพรรณนาเป็นบทสมาสบทเดียวกัน ลบ นิคหิตเสียว่า สหสฺสยุตฺตหยวาหนํ เนื้อความในฝ่ายนี้ว่า พาหนะเหมือนพาหนะม้า ดังนี้ ก็ถูก เนื้อความจริงๆ ว่า เทียมด้วยพาหนะ ม้าพันหนึ่ง คือมีพาหนะม้าพันหนึ่งอันเทียมแล้ว แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่ง กล่าวว่า บทว่า สหสฺสยุตฺตํ แปลว่า เทียมด้วยม้าอาชาไนยทิพย์พันหนึ่ง. บทว่า สนฺทนํ ได้แก่ รถ. บทว่า เนกจิตฺตํ แปลว่า งามมิใช่น้อย คือมีความงามหลายอย่าง. บทว่า อุยฺยานภูมึ อภิโต ได้แก่ ในที่ใกล้พื้นที่อุทยาน. ความจริง บทว่า อุยฺยานภูมึ นี้เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ เพราะเพ่งบท อภิโต แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อุยฺยานภูมฺยา ก็มี ท่านเหล่านั้นกล่าวโดยไม่ใคร่ครวญถึงนัยแห่งศัพท์. บทว่า อนุกฺกมํ ได้แก่ ไปอยู่ เชื่อมความว่า ท่านรุ่งโรจน์ ดังท้าววาสวะผู้ให้ทานในก่อน ผู้เป็นเจ้าแห่งเทวดา.
บทว่า โสวณฺณมยา แปลว่า ล้วนแล้วด้วยทอง. บทว่า เต แปลว่า ของท่าน. บทว่า รถกุพฺพรา อุโภ ได้แก่ ไพทีสองข้างของรถ รั้วใดที่ทำไว้โดยอาการของไพทีที่สองข้างรถเพื่อความงามของรถ และเพื่อคุ้มกันคนที่อยู่บนรถ คือส่วนพิเศษที่ทำไว้สำหรับมือยึด ตลอดงอนรถทั้งสองข้าง ตอนหน้าของรถนั้น รั้วนั้นแหละ ท่านประสงค์เอาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 530
กุพพระ ในที่นี้ เพราะเหตุนั้นเอง ท่านจึงกล่าวว่า อุโถ แต่ในที่อื่น งอนรถท่านเรียกว่า กุพพระ. บทว่า ผเลหิ ความว่า ปลายไม้ค้ำรถ ๒ ง่าม คือข้างขวาและข้างซ้าย ท่านเรียกว่า ผละในที่นี้. บทว่า อํเสหิ ได้แก่ ส่วนล่างที่ตั้งอยู่บนตัวทูบ. บทว่า อตีว สงฺคตา ได้แก่ ปรับเรียบเหลือเกินคือด้วยดี คือติดกันสนิท ไม่มีช่อง ก็คำนี้ท่านยกเอาความวิเศษที่ได้ในรถมีชื่อเสียงซึ่งกวีศิลปินรจนาไว้มากล่าวในที่นั้น แต่รถคันนั้นไม่มีชื่อเสียงเพราะไม่ใช่ของมนุษย์ เกิดเอง ใครๆ พยายามให้เกิดมิได้. บทว่า สุชาตคุมฺพา ได้แก่ มีลูกกรงจัดไว้เป็นระเบียบเรียบร้อย. จริงอยู่ ลูกกรงเหล่าใดมีส่วนพิเศษมีปุ่มไม้ที่จัดไว้เป็นระเบียบ เป็นต้น ตั้งอยู่ติดๆ กับไพที ด้วยอำนาจของลูกกรงเหล่านั้นนั่นแล ท่านจึงเรียกว่า สุชาตคุมฺพา. บทว่า นรวีรนิฏฺิตา ได้แก่ เหมือนอาจารย์ศิลปะสร้างเสร็จแล้ว ความจริง พวกอาจารย์ศิลปะ ชื่อว่า มีความเพียรในนระทั้งหลาย เพราะไม่คิดถึงความลำบากกายของตน จัดศิลปะด้วยดี ด้วยกำลังความเพียร เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นรวีร ในที่นี้ อีกอย่างหนึ่ง คำว่า นรวีร เป็นคำเรียกเทวบุตร. บทว่า นิฏฺิตา ได้แก่ ให้เสร็จสิ้นแล้ว คือมีความงามอันดียิ่งบริบูรณ์ อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า นรวีรนิมฺมิตา ความว่า เหมือนที่คนผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาในนระทั้งหลายเนรมิตไว้ รถของท่านนี้รุ่งโรจน์เพราะมีงอนรถอย่างนี้ รุ่งโรจน์เหมือนอะไร เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ คือราวกะพระจันทร์ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลาเต็มดวง.
บทว่า สุวณฺณชาลาวตโต ได้แก่ คลุม คือ ปกปิดด้วยข่ายทอง. ปาฐะว่า สุวณฺณชาลาวิตโต ดังนี้ก็มี ความว่า เปล่งปลั่ง. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 531
พหูหิ ได้แก่ ไม่น้อย. บทว่า นานารตเนหิ ได้แก่ รัตนะหลายอย่าง มีปัทมราคพลอยสีแดงและบุษราคัมพลอยสีเหลืองเป็นต้น. บทว่า สุนนฺทีโฆโส ได้แก่ มีเสียงอึงคะนึงน่าเพลิดเพลินอย่างดี ความว่า มีความกังวานไพเราะน่าฟัง. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สุนนฺทิโฆโส ได้แก่ มีเอิกอึงน่าเพลิดเพลินที่ทำไว้อย่างดี อธิบายว่า เอิกอึงน่าบันเทิงที่ทำด้วยอำนาจเสียงสาธุการที่เป็นไปในเพราะการดูการฟ้อนรำเป็นต้น อาจารย์ บางพวกกล่าวว่า มีเสียงเอิกอึงน่าเพลิดเพลินที่ประกอบด้วยดีด้วยอาเศียรวาทกล่าวสรรเสริญเยินยอเสมอๆ ดังนี้ก็มี. บทว่า สุภสฺสโร ได้แก่ มีสภาพสว่างไสวด้วยดีคืออย่างยิ่ง อีกอย่างหนึ่ง ชื่อ สุภัสสระ เพราะเสียงขับร้องและประโคมดนตรีที่ไพเราะของเทวดาทั้งหลายที่ดำเนินไปอยู่ในรถนั้น. บทว่า จามรหตฺถ พาหุภิ ความว่า ย่อมรุ่งโรจน์ด้วยแขนที่มือถือจามร คือด้วยแขนของเหล่าเทวดาที่มีกำขนหางเนื้อทราย สะบัดปกไปข้างโน้นข้างนี้ หรือด้วยเทวดาทั้งหลายผู้เป็นอย่างนั้น.
บทว่า นาโภฺย ได้แก่ ดุมล้อรถ. บทว่า มนสาภินิมฺมิตา ความว่า เหมือนเนรมิตด้วยใจว่า ขอสิ่งเหล่านี้จงเป็นเช่นนี้. บทว่า รถสฺส ปาทนฺตรมชฺฌภูสิตา ความว่า ประดับด้วยกงปลายของเท้ารถ คือล้อรถ และด้วยท่ามกลางของชื่อทั้งหลายที่รุ่งโรจน์ด้วยรัตนะต่างๆ. บทว่า สตราชิจิตฺติตา ความว่า งดงาม คือถึงความงดงามด้วยแถวคือ ลายหลายร้อยหลายสี. บทว่า สเตรตา วิชฺชุริว ความว่า ส่องประกาย โชติช่วงเหมือนวิชชุลดาคือสายฟ้าแลบ.
บทว่า อเนกจิตฺตาวตโต ความว่า คลุม คือ ดาดาษด้วยมาลากรรมลายดอกไม้เป็นต้น อันวิจิตรมิใช่น้อย อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 532
อเนกจิตตาวิตโต ดังนี้ก็มี เนื้อความก็อย่างนั้นนั่นแหละ แต่ทำให้ยาวออกไปก็เพื่อสะดวกในการผูกคาถา. บทว่า ปุถู จ เนมี จ แปลว่า กงใหญ่ อักษร จ ตัวหนึ่งเป็นเพียงนิบาต. บทว่า สหสฺสรํสิโก แปลว่า มีรัศมีหลายพัน บาลีว่า สหสฺสรํสิโย ก็มี แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า นตา รํสิโย ก็มี. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นตา ได้แก่ ตัวกงรถโค้งเหมือนคันธนูไม่มีสาย. บทว่า สหสฺสรํสิโย ได้แก่ มีเปลวรัศมีแผ่กระจายเหมือนดวงอาทิตย์. บทว่า เตสํ ได้แก่ ตัวกงทั้งหลายมีกระดิ่งห้อยอยู่.
บทว่า สิรสฺมึ แปลว่า ที่หัว ความว่า งอนรถ หรืองอนที่รถนั้น. บทว่า จิตฺตํ แปลว่า วิจิตร. บทว่า มณิจนฺทกปฺปิตํ ความว่า แต่งเป็นดวงจันทร์แก้วมณี คือ ร้อยด้วยแก้วมณีเหมือนดวงจันทร์ ด้วยบทว่า รุจิรํ ปภสฺสรํ นี้ ท่านแสดงว่า งอนรถนั้นเหมือนดวงจันทร์ทีเดียว. แต่ด้วยบทว่า สทา วิสุทฺธํ นี้ แสดงว่า งอนรถนั้นวิเศษกว่าดวงจันทร์ด้วยซ้ำไป. บทว่า สุวณฺณราชีหิ ได้แก่ ลายทองที่ทรวดทรงกลมใน ระหว่างๆ. บทว่า สงฺคตํ แปลว่า ประกบ. บทว่า เวฬุริยราชีว ความว่า งามคล้ายลายแก้วไพฑูรย์ เพราะดวงจันทร์แก้วมณีขจิตด้วยลายทองในระหว่างๆ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เวฬุริยราชีหิ ลายแก้วไพฑูรย์ ก็มี.
บทว่า วาฬี แปลว่า มีขนหาง. ท่านกล่าวหมายเอาม้าทั้งหลายที่มีขนหางสมบูรณ์ ปาฐะว่า วาชี ก็มี. บทว่า มณิจนฺทกปฺปิตา ได้แก่ แต่งแก้วมณีเป็นรูปดวงจันทร์ในที่ที่ห้อยขนหางจามร. บทว่า อาโรหกมฺพู แปลว่า ทั้งสูงทั้งใหญ่เหมาะแก่ม้านั้น ความว่า ถึงพร้อมด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 533
ความสูงและความใหญ่. บทว่า สุชวา แปลว่า เร็วดี คือมีความเร็ว เร็วมาก อธิบายว่า ไปได้สวย. บทว่า พฺรหูปมา ได้แก่ พึงกำหนดเหมือนใหญ่ ความว่า ปรากฏเหมือนใหญ่โดยขนาดของตน. บทว่า พฺรหา ได้แก่เจริญ คือมีอวัยวะน้อยใหญ่ทุกอย่างเติบโต. บทว่า มหนฺตา ได้แก่ มีอานุภาพมาก มีฤทธิ์มาก. บทว่า พลิโน ได้แก่ มีกำลัง ทั้งกำลังกายและกำลังอุตสาหะ. บทว่า มหาชวา ได้แก่ มีกำลังเร็ว. บทว่า มโน ตวญฺาย แปลว่า รู้ใจของท่าน. บทว่า ตเถว ได้แก่ หมายใจทีเดียว. บทว่า สึสเร แปลว่า ไป ความว่า เป็นไป (วิ่ง).
ด้วยบทว่า อิเม ท่านกล่าวหมายเอาม้าตามที่กล่าวแล้ว. บทว่า สพฺเพ ได้แก่ แม้มีจำนวนถึงพัน. บทว่า สหิตา ความว่า พรักพร้อมในการไปด้วยความเร็วสม่ำเสมอและเดินสม่ำเสมอ อธิบายว่า ระยะเดินไม่ขาดไม่เกิน ชื่อว่า จตุกฺกมา เพราะก้าวไป คือไปด้วยเท้าทั้งสี่. บทว่า สมํ วหนฺติ ย่อมทำเนื้อความที่กล่าวด้วยบทว่า สหิตา นั่นแลให้ชัดขึ้น. บทว่า มุทุกา แปลว่า มีสภาพอ่อนโยน ความว่า เป็นม้าชั้นดี คือม้าอาชาไนย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อนุทฺธตา ความว่า เว้นจากความฟุ้งซ่าน คือไม่ทำควานกำเริบ [คะนอง]. บทว่า อาโมทมานา แปลว่า ให้เบิกบาน ความว่า ทำผู้ใช้รถเป็นต้นให้รู้สึกยินดีกะกันและกัน เพราะไม่ใช่ม้ากระจอก.
บทว่า ธุนนฺติ ความว่า สะบัดพวงขน สร้อยคอและขนหาง. บทว่า วคฺคนติ ความว่า บางคราวก็ซอยเท้าไป. บทว่า ปวตฺตนฺติ แปลว่า บางคราวก็เป็นไป ความว่า โดดไป อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปฺลวนฺติ ก็มี เนื้อความก็อย่างนั้นแหละ. บทว่า อพฺภุทฺธุนนฺตา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 534
สะบัดคือสลัดเครื่องประดับม้ามีระฆังเล็กๆ เป็นต้น ที่ผู้ชำนาญงานทำไว้ดีแล้ว คือเนรมิตไว้อย่างดี. บทว่า เตสํ ได้แก่ เครื่องประดับเหล่านั้น.
บทว่า รถสฺส โฆโส ได้แก่ เสียงกึกก้องของรถตามที่กล่าวแล้ว. อ อักษร ในบทว่า อปิลนฺธนาน จ เป็นเพียงนิบาต ความว่า ของเครื่องประดับ คืออาภรณ์ทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า บทว่า อปิลนฺธนํ เป็นปริยายคล้ายอาภรณ์ ความว่า เสียงกึกก้องของรถ ของม้า และของอาภรณ์ทั้งหลาย. บทว่า ขุรสฺส นาโท ได้แก่ เสียงกีบม้า กระทบ ท่านกล่าวว่า ม้าทั้งหลายไปทางอากาศก็จริง ถึงกระนั้นก็ย่อม ได้การกระทบในการเหยาะย่างกีบของม้าเหล่านั้น ด้วยกรรมอันเป็นเหตุให้ได้เสียงกระทบของกีบที่ไพเราะ. บทว่า อภิหึสนาย จ ได้แก่ เสียงม้าลำพอง ความว่า เสียงคำรนร้องที่ม้าทั้งหลายให้เป็นไปในระหว่างๆ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อภิเหสนาย เสียงม้าคะนอง. บทว่า สมิตสฺส ความว่า เสียงของเทวดาที่บันเทิงฟังไพเราะเพราะพริ้ง เพื่อจะตอบคำถามว่า เหมือนอะไร ท่านกล่าวว่า คนฺธพฺพตุริยานิ วิจิตฺตสํวเน ความว่า เหมือนดนตรีเครื่อง ๕ ของเหล่าคนธรรพเทวบุตรในสวนจิตรลดา ก็เสียงที่อาศัยดนตรี ท่านกล่าวว่า ตุริยานิ โดยนิสสยโวหาร. ปาฐะว่า คนฺธพฺพตุริยานํ จ วิจิตฺตสํวเน ดังนี้ก็มี. ท่านนำนิคหิตมาประกอบเป็น ตุริยานญฺจ อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า คนฺธพฺพตุริยานิ วิจิตฺรปวเน ดนตรีของคนธรรพ์ ในสวนจิตรลดา.
บทว่า รเถ ิตา ตา ได้แก่ อัปสรที่ยืนอยู่บนรถเหล่านั้น. บทว่า มิคมนฺทโลจนา ได้แก่ มีดวงตาอ่อนน่ารักเหมือนตาของลูกเนื้อทราย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 535
บทว่า อาฬารปมฺหา แปลว่า มีขนตาดก ความว่า มีขนตาเหมือนโค. บทว่า หสิตา แปลว่า ร่าเริง ความว่า มีหน้าชวนให้รื่นเริง. บทว่า ปิยํวทา แปลว่า มีวาจาน่ารัก. บทว่า เวฬุริยชาลาวตตา ได้แก่ มีร่างปกปิดด้วยข่ายแก้วไพฑูรย์และแก้วมณี. บทว่า ตนุจฺนิวา แปลว่า มีผิวพรรณละเอียด. บทว่า สเทว แปลว่า ทุกเมื่อทีเดียว คือตลอดกาลทั้งปวงนั่นแหละ. บทว่า คนฺธพฺพสูรคฺคปูชิตา ความว่า อันเทวดา คนธรรพ์และเทวดาผู้เลิศอื่นๆ ได้บูชาแล้ว.
บทว่า ตา รตฺตรตฺตมฺพรปีตวาสสา ได้แก่ มีรูปน่ารักด้วย มีผ้าแดงและผ้าเหลืองด้วย. บทว่า อภิรตฺตโลจนา ได้แก่ มีนัยน์ตางามซึ้งด้วยแนวสีแดงเป็นพิเศษ. บทว่า กุเล สุชาตา ได้แก่ เกิดดีในตระกูลสินธพ คือเกิดในหมู่เทพผู้ประเสริฐ. บทว่า สุตนู แปลว่า มีร่างงาม. บทว่า สุจิมฺหิตา แปลว่า ยิ้มแย้มอย่างบริสุทธิ์.
บทว่า ตา กมฺพุเกยูรธรา ได้แก่ สวมกำไลแขนล้วนแล้วด้วยทอง. บทว่า สุมชฺฌิมา แปลว่า มีเอวน่ารัก. บทว่า อูรุถนูปปนฺนา แปลว่า มีลำขาและถันสมบูรณ์ คือมีขาเหมือนต้นกล้วยและมีถันเหมือนผอบ. บทว่า วฏฺฏงฺคุลิโย ได้แก่ นิ้วมือกลมกลึง. บทว่า สุมุขา แปลว่า มีหน้างาม หรือมีหน้าเบิกบาน. บทว่า สุทสฺสนา แปลว่า น่าทัศนา [ชม]. บทว่า อญฺา ได้แก่ บางเหล่า. บทว่า สุเวณี แปลว่า มีช้องผมงาม. บทว่า สุสุ แปลว่า สาวรุ่น. บทว่า มิสฺสเกสิโย ได้แก่ มีมวยผมสอดแซมด้วยแก้วทับทิมและพวงดอกไม้เป็นต้น คืออย่างไร คือที่จัดไว้เรียบร้อยและมีประกายพรายพราว.
ประกอบความว่า มีผมสอดแซมด้วยเกลียวผม โดยจัดเป็นแบบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 536
ต่างๆ เท่าๆ กัน เหมือนๆ กัน ประดับด้วยใยไม้ทองเป็นต้น มีประกายพรายพราวดังดอกอินทนิลและแก้วมณีเป็นต้น. บทว่า อนุพฺพตา ได้แก่ มีกิริยาอนุกูล. บทว่า ตา ได้แก่ เหล่าอัปสร.
บทว่า จนฺทนสารวาสิตา ได้แก่ ไล้ทา คือลูบไล้ด้วยจันทน์ทิพย์ที่นำมาจากแก่นจันทน์ ด้วยบทว่า กณฺเสุ เป็นต้น ท่านแสดงถึงเครื่องประดับสำหรับคอ สำหรับมือ สำหรับเท้า และสำหรับศีรษะเป็นต้น. บทว่า โอภาสนนฺติ ประกอบความว่า ย่อมสว่างไสวไปด้วยเครื่องประดับที่คอทั้งหลายเหล่านั้น แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนี้. บทว่า อพฺภุทฺทยํ แปลว่า กำลังอุทัยขึ้นไป. ปาฐะว่า อพฺภุทฺทสํ ก็มี เนื้อความก็เหมือนกันอย่างนั้นแหละ. บทว่า สารทิโก แปลว่า ในสรทกาล. บทว่า ภาณุมา แปลว่า พระอาทิตย์ ความจริงพระอาทิตย์นั้นย่อมสว่างด้วยดีตลอดทั้งสิบทิศ เพราะเว้นโทษมีหมอกเป็นต้น.
บทว่า วาตสฺส เวเคน จ ความว่า อันกำลังของลมและกำลังของม้าเทียมรถ การทำการนำกลิ่นและเสียงเป็นที่พอใจเข้ามากระพือพัดเหมือนนำออกไป. บทว่า มุญฺจนฺติ ได้แก่ ปล่อย [กลิ่น]. บทว่า รุจิรํ ได้แก่ ให้ความชอบใจยิ่งๆ ขึ้น เหมือนดนตรีเครื่อง ๕. บทว่า สุจึ ได้แก่ หมดจด ไม่มีอะไรเกี่ยวข้อง. บทว่า สุภํ ได้แก่ เป็นที่ พอใจ. บทว่า สพฺเพหิ วิญฺญูหิ สุตพฺพรูปํ ประกอบความว่า ย่อมเปล่งเสียงที่มีสภาพสูงสุด น่าฟัง อันวิญญูชนที่รู้ลัทธิคนธรรพ์ [วิชา ดนตรี] พึงฟัง.
บทว่า อุยฺยานภูมฺยา แปลว่า เนื้อที่อุทยาน. บทว่า ทุวทฺธโต ได้แก่ กึ่งทั้งสองข้างอุทยาน อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ทุภโต จ ิตา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 537
ดังนี้ก็มี เนื้อความก็อย่างนั้นแหละ. บทว่า รถา แปลว่า รถ. บทว่า นาคา แปลว่า ช้าง บทนี้เป็นปฐมาวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. บทว่า สโร ได้แก่ เสียงที่อาศัย [ซึ่ง] รถ ช้าง และดนตรีเกิด. ท่านเรียกเทวบุตรว่า เทวินทะ. บทว่า วีณา ยถา โปกฺขรปตฺตพาหุภิ ความว่า เหมือนพิณที่นักดนตรีถือรางและคันพิณที่ปรับไว้อย่างดีแล้ว กำหนดให้เหมาะแก่มุจฉนา [ระดับเสียง ๓ คือ แข็งอ่อนปานกลาง] ที่จะเปล่งเสียงนั้นๆ บรรเลงอยู่ ย่อมทำชนผู้พึงให้บันเทิง ฉันใด รถเป็นต้นย่อมยังท่านให้บันเทิงด้วยเสียงของตน ฉันนั้น อธิบายว่า พิณที่บรรเลงด้วยมือทั้งสองของนักบรรเลงพิณที่ชำนาญช่องพิณและเสียงพิณ เพราะตนชำนาญดีแล้ว ย่อมทำมหาชนให้บันเทิง ฉันใด รถเป็นต้นย่อมทำให้ท่านบันเทิงด้วยเสียงของตน ฉันนั้น.
คาถาว่า อิมาสุ วีณาสุ มีความย่อดังต่อไปนี้ เมื่อพิณเป็นอันมากเหล่านี้ ต่างโดยเสียงเป็นต้นว่า เสียงตรง เสียงปลาย เสียงคด เสียงเพลิดเพลินมาก ชื่อว่า ไพเราะ เพราะมีเสียงหวานสนิท จากนั้น อัปสรได้บรรเลงคือประโคมอย่างจับใจ ถึงใจ ติดใจ อิ่มใจ มีปีติเป็นนิมิต เหล่าอัปสร คือสาวสวรรค์พากันร่ายรำ คือเที่ยวแสดงการฟ้อนรำอยู่ในดอกปทุมทิพย์ทั้งหลาย เพราะกำลังแห่งปีติพลุ่งขึ้น และเพราะตนชำนาญดีแล้ว.
บทว่า อิมานิ นี้ พึงประกอบเฉพาะบทว่า อิมานิ คีตานิ การ ขับร้องเหล่านี้ อิมานิ วาทิตานิ การบรรเลงเหล่านี้ อิมานิ นจฺจานิ จ การฟ้อนรำเหล่านั้น ดังนี้. บทว่า สเมนฺติ เอกโต ความว่า ย่อมมีรสกลมกลืนกัน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สเมนฺติ เอกโต ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 538
ย่อมกระทำให้ผสมผสานเป็นอันเดียวกัน คือรวมกันให้มีรสกลมกลืนกัน อธิบายว่า เทียบเสียงพิณกับเสียงขับร้อง และเทียบเสียงขับร้องกับเสียงพิณ ไม่ลดรสมีรสหรรษาเป็นต้น ตามที่ได้แล้วด้วยการฟ้อนรำ ชื่อว่า ย่อมผสมผสานกลมกลืนกัน. บทว่า อเถตฺถ นจฺจนฺติ อเถตฺถ อจฺฉรา โอภาสยนฺติ ความว่า อัปสรเหล่าอื่น บางพวกก็กระทำการขับร้อง เป็นต้น ให้มีรสเหมาะกันอย่างนี้ ฟ้อนรำอยู่ในรถนี้ คือรถของท่านนี้ อีกพวกหนึ่งเป็นอัปสรชั้นประเสริฐ เป็นอัปสรชั้นสูงสุด ชมการฟ้อนรำ ทำสิบทิศให้สว่างไสว คือให้โชติช่วงไปสิ้น ทั้งสองส่วน คือ ในทั้งสองข้าง ในนั้น คือในที่นี้ ด้วยแสงสว่างแห่งเรือนร่างของตน และด้วยแสงสว่างแห่งพัสตราภรณ์.
บทว่า โส ได้แก่ ท่านนั้นเป็นอย่างนั้น. บทว่า ตุริยคณปฺปโพธโน ได้แก่ อันหมู่ทิพยดนตรีปลุกปลื้มแล้ว. บทว่า มหียฺยมาโน แปลว่า อันทวยเทพบูชาอยู่. บทว่า วชิราวุโธริว แปลว่า ราวกะพระอินทร์.
บทว่า อุโปสถํ กํ วา ตุวํ อุปาวสิ ความว่า พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า แม้คนอื่นๆ ก็รักษาอุโบสถกัน ท่านเล่ารักษาอุโบสถอะไร คือเช่นไร. บทว่า ธมฺมจริยํ ได้แก่ บำเพ็ญบุญมีให้ทาน เป็นต้น. บทว่า วตํ ได้แก่ สมาทานวัต. บทว่า อภิโรจยิ แปลว่า ชอบใจยิ่ง ความว่า ชอบใจบำเพ็ญ ปาฐะว่า อภิราธยิ ก็มี ความว่า ให้เกิดประโยชน์ คือให้สำเร็จประโยชน์.
บทว่า อิทํ เป็นเพียงนิบาต อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ผลนี้. บทว่า อภิโรจเส แปลว่า โชติช่วงข่ม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 539
เทวบุตรนั้นถูกพระมหาเถระถามอย่างนี้แล้ว ได้บอกเนื้อความนั้น เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
เทวบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ชนะอินทรีย์แล้ว มีความเพียรไม่ทราม ผู้สูงสุดแห่งนระทั้งหลาย ทรงพระนามว่า กัสสปะ เป็นอัครบุคคล ผู้เปิดประตูแห่งอมตนคร ผู้เป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดา ผู้มีบุญลักษณะตั้งร้อย ผู้เป็นเช่นกับกุญชร ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ผู้มีพระรูปงามเช่นกับทองสิงคีและทองชมพูนุท ครั้นได้เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้ว ข้าพเจ้าก็มีใจเลื่อมใสทันที ข้าพเจ้าได้เห็น พระองค์ผู้มีสุภาษิตเป็นธง ได้ถวายข้าวและน้ำอันสะอาด ประณีต ประกอบด้วยรส และจีวรในพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ในที่อยู่ของตนอันเกลื่อนกล่นไปด้วยดอกไม้ ข้าพเจ้านั้นมีใจไม่ข้องในอะไรๆ ได้อังคาส [เลี้ยงดู] พระพุทธเจ้า พระองค์นั้น ผู้สูงสุดกว่าเหล่าสัตว์สองเท้า ด้วยข้าว น้ำ จีวร ของเคี้ยว ของบริโภค และของลิ้ม จึงรื่นรมย์อยู่ในสวรรค์อันเป็นเทวบุรี โดยอุบายนี้ ข้าพเจ้าได้บูชายัญ ชื่อนิรัคคฬะ (มีลิ่มสลักอัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 540
ออกแล้ว เพราะได้บริจาคสมบัติของตนทั้งหมด) อันบริสุทธิ์ ๓ อย่างนี้ ละร่างมนุษย์แล้ว เป็นผู้เสมอกับพระอินทร์ รื่นรมย์อยู่ในเทวบุรี ข้าแต่ท่านพระมุนี บุคคลเมื่อหวังอายุ วรรณะ สุขะ พละ และรูปอันประณีต พึงตั้งข้าวและน้ำที่ปรุงแต่งดีแล้ว เป็นอันมากถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้มีพระทัยไม่ข้องเกี่ยวอะไรๆ ไม่ว่าในโลกนี้หรือโลกหน้า ไม่มีผู้ประเสริฐสุดหรือเสมอด้วยพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า ถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ควรบูชาอย่างยิ่ง บรรดาผู้ควรบูชาทั้งหลาย สำหรับชนผู้ต้องการบุญ ผู้แสวงผลอันไพบูลย์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชิตินฺทฺริยํ ความว่า ชื่อว่า มีอินทรีย์อันชนะแล้ว เพราะทรงชนะอินทรีย์มีใจเป็นที่หกด้วยมรรคอันยอดเยี่ยมที่โคนโพธินั่นแล คือทรงทำให้หมดพยศแล้ว ชื่อว่า พุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมที่ควรรู้ยิ่งเป็นต้น โดยความเป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เป็นต้น ไม่เหลือเลย ชื่อว่า มีความเพียรไม่ทราม เพราะมีความเพียรบริบูรณ์ อธิบายว่า เพราะบริบูรณ์ด้วยความเพียรอันประกอบด้วยองค์ ๔ (ความ เพียรมีองค์ ๔ คือ ยอมเหลือแต่หนัง ๑ เอ็น ๑ กระดูก ๑ เนื้อเลือดจะแห้งไปก็ตาม ๑) และด้วยความเพียรชอบ ๔ [เพียร ๔ คือ สังวรปธาน ปหานปธาน ภาวนาปธาน อนุรักขนาปธาน]. บทว่า นรุตฺตมํ ได้แก่ สูงสุดแห่งนระทั้งหลาย คือสูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า ท่านเรียกพระผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 541
พระภาคเจ้าด้วยพระโคตรว่า กัสสปะ. บทว่า อปาปุรนฺตํ อมตสฺส ทฺวารํ ความว่า ทรงเปิดอริยมรรค คือประตูมหานครนิพพานที่ปิดมาตั้งแต่ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามโกนาคมนะอันตรธาน. บทว่า เทวาติเทวํ ได้แก่ เป็นเทพยิ่งกว่าเทพแม้ทั้งปวง. บทว่า สตปุญฺลกฺขณํ ได้แก่ มีลักษณะมหาบุรุษเกิดขึ้นด้วยอำนาจบุญหลายร้อย.
บทว่า กุญฺชรํ ได้แก่ เหมือนช้าง เพราะย่ำยีข้าศึกคือกิเลส ความว่า ช้างยิ่งใหญ่. ชื่อว่า ข้ามโอฆะได้แล้ว เพราะข้ามโอฆะใหญ่คือสังสารวัฏฏ์แห่งโอฆะทั้ง ๔. บทว่า สุวณฺณสิงฺคีนทพิมฺพสาทิสํ ได้แก่ เช่นกับรูปทองสิงดีและทองชมพูนุท ความว่า มีพระฉวีวรรณเปล่งปลั่งดังทอง. บทว่า ทิสฺวาน ตํ ขิปฺปมหุํ สุจีมโน ความว่า ข้าพเจ้าเห็นพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทันทีทันใดนั้นเองก็มีใจสะอาด คือมีใจ หมดจด เพราะปราศจากมลทินคือกิเลส เหตุเลื่อมใสว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบ ดังนี้. ก็บทว่า ตเมว ทิสฺวาน นั้นแล ความว่า ครั้นได้เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นนั่นเทียว. บทว่า สุภาสิตทฺธชํ ได้แก่ ผู้มีธรรมเป็นธง.
บทว่า ตมนฺนปานํ ได้แก่ ซึ่งข้าวและน้ำ ในพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. บทว่า อถ วาปิ จีวรํ ได้แก่ แม้ซึ่งจีวร. บทว่า รสสา อุเปตํ ได้แก่ ประกอบด้วยรส คือมีรสอร่อย ความว่า โอฬาร [ประณีต]. บทว่า ปุปฺผาภิกิณฺณมฺหิ ได้แก่ เกลื่อนกล่นไปด้วยดอกไม้ทั้งหลาย ที่ร้อยแล้วก็มี ที่ไม่ได้ร้อยก็มี ห้อยไว้ก็มี ลาดไว้ก็มี. บทว่า ปติฏฺเปสิ ได้แก่ มอบให้แล้ว คือได้ถวายแล้ว. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 542
อสงฺคมานโส ประกอบความว่า ข้าพเจ้านั้นมีจิตไม่ข้องในอะไรๆ.
บทว่า สคฺคโส ได้แก่ ทุกๆ สรรค์ เพราะเกิดเที่ยวไปเที่ยวมาในเทวบุรี คือในสุทัศนมหานคร แม้นั่นเอง. บทว่า รมามิ ได้แก่ เล่นบันเทิงใจ.
บทว่า เอเตนุปาเยน ความว่า โดยอุบายที่ข้าพเจ้าได้ถวายอสทิสทานแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสปะ พร้อมด้วยหมู่พระสาวก ครั้งเป็นโคปาลพราหมณ์. บทว่า อิมํ นิรคฺคฬํ ยญฺํ ยชิตฺวา ติวิธํ วิสุทฺธํ ความว่า บูชายัญ เพราะจาคะใหญ่ เหตุบริจาคทรัพย์นับไม่ได้ คือ ถวายมหาทาน ชื่อว่า นิรัคคฬะ มีลิ่มสลักออกแล้ว เพราะไม่ปิดประตูเรือนด้วย เพราะหลั่งจาคะด้วย ชื่อว่า สามอย่าง เพราะถึงพร้อมด้วยวิธีกระทำเอง วิธีใช้ให้เขากระทำ และวิธีระลึกถึงตามทวารสาม ในกาลแม้ทั้งสาม ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะไม่มีสังกิเลสในทานนั้นเลย ก็เทวบุตรถือเอาทานแม้ทำไว้นานแล้วนั้นทำให้ปรากฏ ใกล้ชิด ผุดขึ้นชัดแก่ตน ด้วยระลึกถึงในระหว่างๆ เพราะความที่สัมปทา คือ เขต [ทักขิไณย] วัตถุ [ไทยธรรม] และจิต [เจตนา] โอฬาร จึงกล่าวว่า อิมํ ดังนี้.
เทวบุตรครั้นกล่าวถึงกรรมที่ตนทำไว้แล้วแก่พระเถระอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อประกาศความที่ตนปรารถนาจะให้ผู้อื่นตั้งอยู่ในสมบัติเช่นนั้นบ้าง และความเลื่อมใสมากของตนมีอย่างสูงสุดในพระตถาคต จึงกล่าวสองคาถาด้วยนัยว่า อายุญฺจ วณฺณญฺจ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิกงฺขตา แปลว่า เมื่อปรารถนา เทวบุตรเรียกพระเถระว่า มุนี ข้าแต่ท่านพระมุนี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 543
ด้วยบทว่า นยิมสฺมึ โลเก เทวบุตรกล่าวโลกที่ประจักษ์แก่ตน. บทว่า ปรสฺมึ แปลว่า อื่นจากโลกนั้น. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงโลกพร้อมทั้งเทวโลกไว้หมด. บทว่า สโมว วิชฺชติ ความว่า คนที่ประเสริฐสุด จงยกไว้ก่อน คนที่เสมอกันเท่านั้นก็ไม่มี. บทว่า อาหุเนยฺยานํ ปรมาหุตึ คโต ความว่า ชื่อว่า ผู้ที่ควรบูชาทั้งหลายมีประมาณเท่าใดในโลกนี้ พระพุทธเจ้าทรงถึงแล้วซึ่งการบูชาอย่างยิ่ง คือซึ่งความเป็นผู้ควรบูชาอย่างยิ่ง ในบรรดาผู้ควรบูชาเหล่านั้นทั้งหมด อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า ทกฺขิเณยฺยานํ ปรมคฺคตํ คโต ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรมคฺคตํ แปลว่า ความเป็นผู้เลิศอย่างยิ่ง ความว่า ความเป็นพระทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ เพื่อจะแก้ปัญหาว่า สำหรับใคร ท่านจึงกล่าวว่า สำหรับชนผู้ต้องการบุญผู้แสวงผลอันไพบูลย์ ความว่า สำหรับชนผู้มีความต้องการด้วยบุญ ผู้ปรารถนาผลแห่งบุญอันไพบูลย์อย่างใหญ่ ท่านแสดงว่า พระตถาคตเท่านั้นเป็นบุญเขตของโลก แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อาหุเนยฺยานํ ปรมคฺคตํ คโต เนื้อความก็อย่างนั้นแหละ.
พระเถระรู้ว่า เทวบุตรนั้นซึ่งกำลังกล่าวอยู่อย่างนั้นแล มีจิตสบาย มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตรื่นเริง และมีจิตเลื่อมใส จึงได้ประกาศสัจจะทั้งหลาย เวลาจบสัจจะ เทวบุตรนั้นก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ลำดับนั้น พระเถระกลับมามนุษยโลก ได้กราบทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตามทำนองที่ตนและเทวบุตรกล่าวแล้วนั่นแล พระศาสดา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 544
ทรงทำความนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทที่ประชุมกัน เทศนานั้นได้เป็นประโยชน์แก่มหาชนแล.
จบอรรถกถามหารถวิมาน
กถาพรรณนาความแห่งมหารถวรรคที่ ๕ ซึ่งประดับด้วยเรื่อง ๑๔ เรื่อง ในวิมานวัตถุแห่งอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อ ปรมัตถทีปนี จบแล้วด้วยประการฉะนี้.