พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ภิกขาทายกวิมาน ว่าด้วยภิกขาทายกวิมาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 พ.ย. 2564
หมายเลข  40321
อ่าน  333

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายวิมานวัตถุเล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 560

๒. ปุริสวิมานวัตถุ

ปายาสิกวรรคที่ ๖

๖. ภิกขาทายกวิมาน

ว่าด้วยภิกขาทายกวิมาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 48]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 560

๖. ภิกขาทายกวิมาน

ว่าด้วยภิกขาทายกวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๗๐] วิมานแก้วมณีของท่านนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบ มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ มีเสาแก้วไพฑูรย์ ปูลาดด้วยเครื่องลาดอันสวยงาม ท่านบรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก ฯลฯ และวรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 561

เทพบุตรนั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว ดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ข้าพเจ้าได้เห็นภิกษุลำบากกาย หิวโหย ในกาลนั้น ข้าพเจ้าจัดกับข้าวอย่างหนึ่ง ถวายพร้อมด้วยข้าวสวย เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีวรรณะเช่นนี้ ฯลฯ และวรรณะของข้าพเจ้าจึงว่างไสวไปทุกทิศ.

จบภิกขาทายกวิมาน

อรรถกถาภิกขาทายกวิมาน

ภิกขาทายกวิมาน มีคาถาว่า อุจฺจมิทํ มณิถูณํ วิมานํ เป็นต้น. ภิกขาทายกวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไกลเข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้านตำบลหนึ่ง ยืนใกล้ประตูเรือนหลังหนึ่ง. บุรุษผู้หนึ่งในเรือนหลังนั้นล้างมือเท้าแล้ว นั่งลงหมายจะบริโภคโภชนะ เมื่อเขาจัดโภชนะใส่ในภาชนะ เห็นภิกษุนั้น ก็เกลี่ยข้าวสวยในภาชนะของตนลงในบาตรของภิกษุนั้น แม้ภิกษุนั้นจะบอกว่า ให้แต่ส่วนเดียวเถิด แต่ก็เกลี่ยลงหมดเลย ภิกษุนั้นอนุโมทนาแล้วก็กลับไป. บุรุษผู้นั้นกำลังระลึกว่า เราไม่กินแต่ถวายข้าวสวยนั้นแก่ภิกษุผู้หิวจัด ก็ได้ปีติโสมนัสอันโอฬาร ต่อมาเขาตาย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 562

ก็ไปบังเกิดในวิมานทอง ๑๒ โยชน์ ในภพชั้นดาวดึงส์ ท่านพระมหาโมคคัลลานะเที่ยวเทวจาริกไป พบเทพบุตรนั้นรุ่งโรจน์ด้วยเทวฤทธิ์ยิ่งใหญ่ จึงสอบถามด้วยสองคาถานี้ว่า

วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบ มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ โอฬาร ล้วนเสาแก้วไพฑูรย์ ปูลาดด้วยเครื่องลาดอันงามดี ท่านบรรลุเทวฤทธิ์แล้ว มีอานุภาพมาก ฯลฯ และวรรณะของท่านก็สว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกท่านพระโมคคัลลานะถาม แล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ข้าพเจ้าพบภิกษุที่ลำบากกาย หิวโหย จึงปรุงกับข้าวอย่างหนึ่ง โดยถวายพร้อมกับข้าวสวยในเวลานั้น. เพราะบุญนั้น วรรณะของข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นนี้ ฯลฯ และวรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกาหํ ภิกฺขํ ได้แก่ ข้าพเจ้าปรุงอาหารพอเป็นกับอย่างหนึ่ง. อธิบายว่า กับข้าวอย่างหนึ่ง. บทว่า ปฏิปาทยิสฺสํ ได้แก่ ปรุงถวาย. บทว่า สมงฺคิ ภตฺเตน แปลว่า พร้อมกับข้าวสวย อธิบายว่า อาหารที่ได้แล้ว เมื่อเทพบุตรนั้นประกาศสุจริตกรรมของตนอย่างนี้แล้ว พระมหาเถระจึงแสดงธรรมแก่เทพบุตรนั้น พร้อมกับบริวารแล้วกลับมามนุษยโลก กราบทูลเรื่องนั้นถวายแด่

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 563

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระศาสดาทรงทำเรื่องนั้นเป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่องแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่มหาชนที่ประชุมกัน เทศนานั้นก็ได้เกิดประโยชน์แก่มหาชนแล.

จบอรรถกถาภิกขาทายกวิมาน