พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. สุวรรณวิมาน ว่าด้วยสุวรรณวิมาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 พ.ย. 2564
หมายเลข  40329
อ่าน  377

[เล่มที่ 48] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 588

๒. ปุริสวิมานวัตถุ

สุนิกขิตตวรรคที่ ๗

๔. สุวรรณวิมาน

ว่าด้วยสุวรรณวิมาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 48]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 588

๔. สุวรรณวิมาน

ว่าด้วยสุวรรณวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๗๘] วิมานเหนือภูเขาทองของท่านมีรัศมีสว่างไปทุกส่วน ปกคลุมด้วยข่ายทองผูกขึงข่ายกระดึงไว้ เสาวิมานทุกต้นแปดเหลี่ยมทำไว้อย่างดี ล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ที่เหลี่ยมหนึ่งๆ สร้างด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพื้นอันน่ารื่นรมย์ใจ วิจิตรด้วยแก้วไพฑูรย์กับทอง แก้วผลึกกับเงิน แก้วลาย (เพชรตาแมว) กับมุกดา และแก้วมณีแดง (กับทิม) ที่วิมานนั้นธุลีไม่ฟุ้ง หมู่จันทันมีสีเหลืองที่สร้างไว้ก็รับช่อฟ้า สร้าง ๔ บันไดไว้ ๔ ทิศ สว่างไสวด้วยห้องรัตนะต่างๆ ดุจดวงอาทิตย์ ที่วิมานนั้นมีไพทีจัดไว้เป็นพิมพ์เดียวกัน ประหนึ่งเนรมิมิตไว้เป็นสัดส่วน เมื่อส่องแสงจึงสว่างไปโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ.

ในวิมานอันประเสริฐนั้น ท่านเป็นเทพบุตรผู้มีรัศมีมาก รุ่งโรจน์ด้วยวรรณะดุจอาทิตย์ที่กำลังอุทัย นี้เป็นผลแห่งทานหรือศีล หรืออัญชลีกรรมของท่าน ท่านถูกอาตมาถามแล้ว โปรดบอกผลกรรมนั้นแก่อาตมาทีเถิด.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 589

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว ครั้นแล้วจึงพยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าอยู่ในเมืองอันธกวินทะ เลื่อมใสแล้ว ได้สร้างวิหารถวายพระพุทธเจ้า เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ผู้เป็นพระศาสดาด้วยมือของตน ข้าพเจ้ามีใจเลื่อมใสได้ถวายของหอม ดอกไม้ ปัจจัย เครื่องลูบไล้ และวิหารแด่พระศาสดาในเมืองอันธกวินทะนั้น เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าได้ผลนี้ จึงมีสิทธิในนันทนวัน ข้าพเจ้ามีหมู่เทพอัปสรฟ้อนรำขับร้องห้อมล้อม รื่นรมย์อยู่ในนันทนวันอันประเสริฐที่น่ารื่นรมย์ประกอบไปด้วยสกุณชาตินานาชนิด.

จบสุวรรณวิมานที่ ๔

อรรถกกถาสุวรรณวิมาน

สุวรรณวิมาน มีคาถาว่า โสวณฺณคเย ปพฺพตสฺมึ เป็นต้น. สุวรรณวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นครอันธกวินทะ สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งมีศรัทธาปสาทะ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติได้สร้างพระคันธกุฎีที่สมควรเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงพร้อมด้วยอาการทั้งปวง ที่ภูเขาโล้นแห่งหนึ่งไม่ไกลหมู่บ้านนั้น อาราธนา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 590

พระผู้มีพระภาคเจ้าให้ประทับอยู่ในพระคันธกุฎีนั้นแล้วบำรุงโดยเคารพ และตนเองก็ตั้งอยู่ในนิจศีล เป็นผู้มีศีลสังวรบริสุทธิ์ดี ทำกาลกิริยาตายไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ วิมานที่รุ่งเรืองด้วยข่ายรัศมีของรัตนะนานาชนิด มีไพทีอันวิจิตรแวดล้อม งามพร้อมไปด้วยเครื่องอลังการประดับยอดหลากหลาย มีฝา เสา และบันไดจัดไว้เป็นอย่างดี เป็นรมณียสถานที่น่ารื่นรมย์สมที่ชี้ถึงอานุภาพแห่งกรรมของอุบาสกนั้นได้เกิดขึ้นเหนือยอดภูเขาทอง ท่านพระมหาโมคคัลลานะจาริกไปยังเทวโลก เห็นเทพบุตรนั้นจึงได้ถามด้วยคาถาทั้งหลายว่า

วิมานเหนือภูเขาทองของท่านมีรัศมีสว่างไปทุกส่วน ปกคลุมด้วยข่ายทอง ผูกขึงข่ายกระดึงไว้ เสาวิมานทุกต้นแปดเหลี่ยมทำไว้อย่างดี ล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ที่เหลี่ยมหนึ่งๆ สร้างด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพื้นอันน่ารื่นรมย์ใจ วิจิตรด้วยแก้วไพฑูรย์กับทอง แก้วผลึกกับเงิน แก้วลาย [เพชรตาแมว] กันมุกดา และแก้วมณีแดง [ทับทิม] ที่วิมานนั้นธุลีไม่ฟุ้ง หมู่จันทันมีสีเหลืองที่สร้างไว้ก็รับช่อฟ้า สร้าง ๔ บันไดไว้ ๔ ทิศ สว่างไสวด้วยห้องรัตนะต่างๆ ดุจดวงอาทิตย์ ที่วิมานนั้นมีไพทีจัดไว้เป็นพิมพ์เดียวกัน ประหนึ่งเนรมิตไว้เป็นสัดส่วน เมื่อส่องแสงจึงสว่างไปโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 591

ในวิมานอันประเสริฐนั้น ท่านเป็นเทพบุตรผู้มีรัศมีมาก รุ่งโรจน์ด้วยวรรณะ ดุจดวงอาทิตย์ที่กำลังอุทัย นี้เป็นผลแห่งทาน หรือศีล หรืออัญชลีกรรมของท่าน ท่านถูกอาตมาถามแล้ว โปรดบอกผลกรรมนั้นแก่อาตมาทีเถิด.

เทพบุตรแม้นั้น ได้พยากรณ์แก่พระมหาโมคคัลลานเถระด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

เทพบุตรนั้นถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว จึงพยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าอยู่ในเมืองอันธกวินทะ เลื่อมใสแล้วได้สร้างวิหารถวายพระพุทธเจ้าเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ผู้เป็นพระศาสดา ด้วยมือของตน ข้าพเจ้ามีใจเลื่อมใส ได้ถวายของหอม ดอกไม้ ปัจจัย เครื่องลูบไล้ และวิหาร แด่พระศาสดาในเมืองอันธกวินทะนั้น เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ผลนี้ จึงมีสิทธิในนันทนวัน ข้าพเจ้ามีหมู่เทพอัปสรฟ้อนรำขับร้องห้อมล้อม รื่นรมย์อยู่ในนันทนวันอันประเสริฐ ที่น่ารื่นรมย์ประกอบไปด้วยสกุณชาตินานาชนิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพโตปภํ ได้แก่ ส่องรัศมี คือ เปล่งรัศมีออกไปจากทุกส่วน. บทว่า กิงฺกิณิชาลกปฺปิตํ ได้แก่ มีข่ายกระดึงที่จัดไว้เรียบร้อย.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 592

บทว่า สพฺเพ เวฬุริยามยา ความว่า เสาทุกต้นล้วนแล้วไปด้วยแก้วไพฑูรย์และแก้วมณี. ก็บทว่า เอกเมกาย อํสิยา ในคาถานั้น ได้แก่ ส่วนที่เป็นเหลี่ยมหนึ่งๆ ในเสาแปดเหลี่ยม. บทว่า รตนา สตฺต นิมฺมิตา ได้แก่ อันกรรมสร้างด้วยรัตนะ ๗ อธิบายว่า เหลี่ย หนึ่งๆ สำเร็จด้วยรัตนะ ๗.

ด้วยบทว่า เวฬุริยสุวณฺณสฺส เป็นต้น ท่านแสดงถึงรัตนะต่างๆ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวฬุริยสุวณฺณสฺส ได้แก่ สร้างด้วยแก้วไพฑูรย์และทอง. อีกอย่างหนึ่ง ประกอบความว่า วิจิตรไปด้วยแก้วไพฑูรย์และทอง. ก็คำนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ. แม้ในบทว่า ผลิการูปิยสฺส จ นี้ก็นัยนี้แหละ. บทว่า มสารคลฺลมุตฺตาหิ ได้แก่ เพชรตาแมว [แก้วลาย]. บทว่า โลหิตงฺคมณีหิ ได้แก่ ทับทิม.

บทว่า น ตตฺถุทฺธํสตี รโช ความว่า ธุลีไม่ฟุ้งในวิมานนั้น เพราะมีพื้นทำด้วยแก้วมณี. บทว่า โคปานสีคณา ได้แก่ ประชุมกลอน [จันทัน]. บทว่า ปีตา ได้แก่ มีสีเหลือง อธิบายว่า ทำด้วยทองและทำด้วยมณีบุษราคัมเป็นต้น. บทว่า กูฏํ ธาเรนฺติ ความว่า ทรงไว้ซึ่งช่อฟ้าที่สำเร็จด้วยรัตนะ ๗.

บทว่า นานารตนคพฺเภหิ ได้แก่ ห้องที่ล้วนแล้วไปด้วยรัตนะต่างๆ. บทว่า เวทิยา ได้แก่ ไพที (แท่น) บทว่า จตสฺโส ได้แก่ มี ๔ ไพทีใน ๔ ทิศ ด้วยเหตุนั้น พระมหาโมคคัลลานเถระจึงกล่าวว่า สมนฺตา จตุโร ทิสา โดยรอบทั้ง ๔ ทิศ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 593

บทว่า มหปฺปโภ แปลว่า รุ่งเรืองมาก. บทว่า อุทยนฺโต แปลว่า ขึ้นไปอยู่. บทว่า ภาณุมา แปลว่า พระอาทิตย์.

บทว่า สเกหิ ปาณิหิ ประกอบความว่า ข้าพเจ้าประสบบุญซึ่งเป็นสาระของกาย เมื่อกระทำกิจนั้นๆ ได้สร้างวิหารถวายพระศาสดาด้วยมือของตน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สเกหิ ปาณิหิ ได้แก่ ด้วยอำนาจบูชาของหอม ดอกไม้ ปัจจัยและเครื่องลูบไล้ ในเมืองอันธกวินทะนั้น. เหมือนอย่างไร. ในข้อนี้พึงทราบการประกอบความอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้ถวาย คือบูชาและมอบถวายวิหารที่สร้างแล้วแด่พระศาสดา ด้วยใจเลื่อมใส.

บทว่า เตน ได้แก่ ด้วยบุญกรรมตามที่กล่าวแล้วนั้นเป็นเหตุ. บทว่า มยฺหํ แปลว่า อันข้าพเจ้า. บทว่า อิทํ ได้แก่ ผลบุญนี้ หรืออธิปไตยความเป็นใหญ่อันเป็นทิพย์นี้. เพราะเหตุนั้น เทพบุตรนั้นจึงกล่าวว่า วสํ วตฺเตมิ ดังนี้.

บทว่า นนฺทเน ได้แก่ ในเทวโลกนี้อันเป็นสถานที่เกิดขึ้นแห่งฤทธิ์ความสำเร็จอันเป็นทิพย์ ซึ่งเป็นที่เพลิดเพลิน แม้ในที่นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ในสวนนันทนวันอันรื่นรมย์ ประกอบความว่า ข้าพเจ้ายินดีในนันทนวันนี้ ซึ่งเป็นที่รื่นรมย์อย่างนี้. คำที่เหลือมีนัย ดังกล่าวแล้วนั่นแล.

เมื่อเทวดาเล่าแจ้งถึงบุญกรรมของตนอย่างนี้แล้ว พระเถระได้แสดงธรรมแก่เทพบุตรนั้นพร้อมทั้งบริวาร แล้วกราบทูลความนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุป

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 594

ปัตติเหตุเกิดเรื่อง ทรงแสดงธรรมโปรดบริษัทที่ประชุมกันอยู่ เทศนานั้นได้เกิดประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

จบอรรถกถาสุวรรณวิมาน