พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. อัมพวิมาน ว่าด้วยอัมพวิมาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 พ.ย. 2564
หมายเลข  40330
อ่าน  351

[เล่มที่ 48] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 594

๒. ปุริสวิมานวัตถุ

สุนิกขิตตวรรคที่ ๗

๕. อัมพวิมาน

ว่าด้วยอัมพวิมาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 48]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 594

๕. อัมพวิมาน

ว่าด้วยอัมพวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๗๙] วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบ มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ ล้วนเสาแก้วไพฑูรย์ ปูลาดด้วยเครื่องปูลาดที่งดงามโอฬาร ท่านนั่งและดื่มกินในวิมานนั้น และพิณทิพย์ก็บรรลงไพเราะ มีกามคุณห้ามีรสเป็นทิพย์ และอัปสรเทพนารีที่แต่งองค์ด้วยทองฟ้อนรำอยู่ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ฯลฯ

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 595

เมื่อพระอาทิตย์กำลังแผดแสงในเดือนท้ายฤดูร้อน ข้าพเจ้าเป็นคนรับจ้างทำงานของผู้อื่น กำลังรดน้ำสวนมะม่วงอยู่ ในขณะนั้นภิกษุที่ปรากฏชื่อว่า สารีบุตรลำบากกาย ไม่ลำบากใจ ได้เดินไปทางสวนมะม่วงนั้น ข้าพเจ้ากำลังรดน้ำต้นมะม่วง ได้เห็นท่านกำลังเดินมาจึงได้กล่าวว่า ขอโอกาสเถิดเจ้าข้า กระผมขอให้ท่านสรงน้ำ ซึ่งจะนำสุขใจมาให้ ท่านพระสารีบุตรวางบาตรจีวรไว้ เหลือจีวรผืนเดียวนั่งที่ร่มเงาโคนต้นไม้ เพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าเป็นคนมีใจเลื่อมใส เอาน้ำใสมาให้ท่าน ซึ่งมีจีวรผืนเดียวนั่งที่ร่มเงาโคนต้นไม้สรงน้ำ มะม่วงเราก็รดน้ำแล้ว สมณะเราก็ให้ท่านสรงนำแล้ว เราขวนขวายบุญแล้วมิใช่น้อย บุรุษนั้นมีปีติซาบซ่านไปทั่วกายของตน ด้วยประการฉะนี้ ข้าพเจ้าได้ทำกรรมมีประมาณเท่านี้นั้นเองในชาตินั้น ละร่างมนุษย์แล้วเข้าถึงนันทนวัน ข้าพเจ้ามีเหล่าเทพอัปสรฟ้อนรำขับร้องห้อมล้อม รื่นรมย์อยู่ในอุทยานนันทนวันอันน่ารื่นรมย์ ประกอบไปด้วยฝูงสกุณชาตินานาชนิด.

จบอัมพวิมานที่ ๕

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 596

อรรถกถาอัมพวิมาน

อัมพวิมาน มีคาถาว่า อุจฺจมิทํ มณิถูณํ เป็นต้น. อัมพวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีบุรุษเข็ญใจคนหนึ่งรับจ้างเฝ้าสวนมะม่วงของคนอื่นแลกภัตตาหาร วันหนึ่ง เขาเห็นท่านพระสารีบุตรมีเหงื่อท่วมตัว กำลังเดินไปตามทางใกล้ๆ สวนมะม่วงนั้น ในภูมิประเทศที่ร้อนด้วยแสงแดด ระอุด้วยทรายร้อน มีข่ายพยับแดดเป็นตัวยิบๆ แผ่ไปในฤดูร้อน เกิดความเคารพนับถือมาก เข้าไปหาแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ฤดูร้อนนี้ร้อนมาก ปรากฏเหมือนร่างกายลำบากเหลือเกิน ขอโอกาสเถิด เจ้าข้า ขอพระผู้เป็นเจ้าโปรดไปยังสวนมะม่วงนี้ พักเสียสักครู่หนึ่ง หายเหนื่อยในการเดินทางแล้วค่อยไป โปรดอนุเคราะห์เถิด. พระเถระประสงค์จะเพิ่มพูนจิตเลื่อมใสของเขาเป็นพิเศษ จึงเข้าไปยังสวนนั้น นั่งที่โคนมะม่วงต้นหนึ่ง.

บุรุษนั้นกล่าวอีกว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าท่านต้องการจะสรงน้ำ กระผมจักตักน้ำจากบ่อนี้ให้ท่านสรง และจักถวายน้ำดื่มด้วย. พระเถระรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ. เขาตักน้ำจากบ่อเอากรองแล้วให้พระเถระสรง และครั้นให้สรงแล้ว เขาล้างมือเท้าแล้วน้อมน้ำดื่มเข้าถวายแด่พระเถระผู้นั่งอยู่ พระเถระดื่มน้ำดื่มแล้ว ระงับความกระวนกระวายได้แล้วกล่าวอนุโมทนา ในการถวายน้ำและให้สรงน้ำแก่บุรุษนั้นแล้วหลีกไป. ต่อมา บุรุษนั้นได้เสวยปีติโสมนัสอย่างโอฬารว่า เราได้ระงับความเร่าร้อนของพระสารีบุตรเถระผู้เร่าร้อนยิ่งเพราะฤดูร้อน เราได้ขวนขวายบุญมากหนอ. ภาย

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 597

หลังเขาทำกาลกิริยาตายไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปหาเขา ถามถึงบุญที่เขากระทำด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบ มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ ล้วนเสาแก้วไพฑูรย์ ปูลาดด้วยเครื่องปูลาดที่งดงาม ท่านนั่งและดื่มกินในวิมานนั้น พิณทิพย์ก็บรรเลงไพเราะ ในวิมานนี้มีกามคุณห้ามีรสอันเป็นทิพย์ และอัปสรเทพนารีที่แต่งองค์ด้วยทองฟ้อนรำอยู่ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ฯลฯ

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นถูกพระโมคคัลลานะถามแล้วดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

เมื่อพระอาทิตย์กำลังแผดแสงในเดือนท้ายฤดูร้อน ข้าพเจ้าเป็นคนรับจ้างทำงานของผู้อื่น กำลังรดน้ำสวนมะม่วงอยู่ ในขณะนั้น ภิกษุที่ปรากฏชื่อว่า สารีบุตรลำบากกาย ไม่ลำบากใจ ได้เดินไปทางสวนมะม่วงนั้น ข้าพเจ้ากำลังรดน้ำต้นมะม่วง ได้เห็นท่านกำลังเดินมา จึงกล่าวว่า ขอโอกาสเถิด

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 598

เจ้าข้า กระผมขอให้ท่านสรงน้ำ ซึ่งจะนำสุขใจมาให้ ท่านพระสารีบุตรวางบาตรจีวรไว้ เหลือจีวรผืนเดียวนั่งที่ร่มเงาโคนต้นไม้ เพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าเป็นคนมีใจเลื่อมใส เอาน้ำใสมาให้ท่าน ซึ่งมีจีวรผืนเดียวนั่งที่ร่มเงาโคนต้นไม้ สรงน้ำ มะม่วงเราก็รดน้ำแล้ว สมณะเราก็ให้ท่านสรงน้ำแล้ว เราขวนขวายบุญแล้วมิใช่น้อย บุรุษนั้นมีปีติซาบซ่านไปทั่วกายของตนด้วยประการฉะนี้ ข้าพเจ้าได้ทำกรรมมีประมาณเท่านี้นั่นเองในชาตินั้น ละร่างมนุษย์แล้วเข้าถึงนันทนวัน ข้าพเจ้ามีเหล่าเทพอัปสรฟ้อนรำขับร้องห้อมล้อมรื่นรมย์อยู่ ในอุทยานนันทนวันอันน่ารื่นรมย์ ประกอบไปด้วยฝูงสกุณชาตินานาชนิด.

เทพบุตรแม้นั้นได้พยากรณ์แก่พระโมคคัลลานเถระนั้นด้วยคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คิมฺหานํ ปจฺฉิเม มาเส ได้แก่ ในอาสาฬหมาส (เดือน ๘). บทว่า ปตปนฺเต ได้แก่ ส่องแสงจ้า. อธิบายว่า ปล่อยออกซึ่งความร้อนโดยประการทั้งปวง. บทว่า ทิวงฺกเร ได้แก่ พระอาทิตย์. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะก็อย่างนี้แหละ. บทว่า อสิญฺจติ ได้แก่ รดน้ำ อ อักษรเป็นเพียงนิบาต, ความว่า รดน้ำ คือ ทำการรดน้ำเป็นประจำที่โคนต้นมะม่วงทั้งหลาย ปาฐะว่า อสิญฺจถ ก็มี

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 599

ความว่า รดแล้ว. บางท่านกล่าวว่า อสิญฺจหํ ก็มี ความว่า ข้าพเจ้าเป็นบุรุษรับจ้างของคนอื่น ได้รดน้ำสวนมะม่วงในคราวนั้น.

บทว่า เตน ความว่า ได้ไป คือ ได้เดินไปทางทิศาภาคที่สวนมะม่วงตั้งอยู่ (เดินไปทางสวนมะม่วง). บทว่า อกิลนฺโต ว เจตสา ประกอบความว่า พระเถระแม้ไม่ลำบากใจ เพราะละทุกข์ใจได้แล้วด้วยมรรคนั่นเอง แต่ก็เป็นผู้ลำบากกาย ได้เดินไปตามทางนั้น. ประกอบความว่า คราวนั้นข้าพเจ้ากำลังรดน้ำต้นมะม่วง ได้กล่าวแล้ว. อธิบายว่า มีจีวร [สบง] ผืนเดียว ต้องการจะสรงน้ำ.

บทว่า อิติ ความว่า บุรุษนั้นมีปีติที่เป็นไปโดยอาการนี้อย่างนี้ คือว่ามะม่วงเราก็รดน้ำแล้ว สมณะเราก็ให้สรงน้ำแล้ว บุญมิใช่น้อยเราก็ขวนขวายแล้ว ด้วยประโยคพยายามอย่างเดียวเท่านั้น ก็ให้สำเร็จประโยชน์ได้ถึง ๓ อย่าง ดังนี้ ซาบซ่านไปทั่วกายของตน ประกอบความว่า ทำให้มีปีติถูกต้องติดต่อกัน. และบทนี้เป็นคำปัจจุบันกาล ใช้ในข้อความที่เป็นอดีตกาล อธิบายว่า ซาบซ่านแผ่ไปแล้ว.

บทว่า ตเทว เอตฺตกํ กมฺมํ ความว่า ข้าพเจ้าได้ทำกรรมมีประมาณเท่านี้นั้น คือ เพียงถวายน้ำดื่มอย่างนั้น. อธิบายว่า ในชาตินั้นข้าพเจ้ามิได้ระลึกถึงเรื่องอื่น. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาอัมพวิมาน