๑. สังสารโมจกเปตวัตถุ ว่าด้วยไม่ทําบุญเกิดเป็นนางเปรต
[เล่มที่ 49] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 132
อุพพรีวรรคที่ ๒
๑. สังสารโมจกเปติวัตถุ
ว่าด้วยไม่ทําบุญเกิดเป็นนางเปรต
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 49]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 132
อุพพรีวรรคที่ ๒
๑. สังสารโมจกเปติวัตถุ
ว่าด้วยไม่ทำบุญเกิดเป็นนางเปรต
ท่านพระสารีบุตรเถระถามนางเปรตตนหนึ่งว่า
[๙๘] ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียด ซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูก่อนนางผู้ซูบผอมมีแต่ซี่โครง ท่านเป็นใครเล่ามายืนอยู่ในที่นี้.
นางเปรตนั้นตอบว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเปรต เข้าถึงทุคติเกิดในยมโลก ได้ทำกรรมอันชั่วไว้ จึงจากมนุษยโลกนี้ไปสู่เปตโลก.
พระเถระถามว่า
ท่านทำกรรมชั่วอะไรด้วยกาย วาจา ใจเล่า ท่านจากมนุษยโลกนี้ไปสู่เปตโลก เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร.
นางเปรตนั้นตอบว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชนเหล่าใดเป็นบิดาก็ดี มารดาก็ดี หรือแม้เป็นญาติผู้มีจิตเลื่อมใส พึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 133
ชักชวนดิฉันว่า จงให้ทานแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ชนผู้อนุเคราะห์แก่ดิฉันเช่นนั้นมิได้มี, ตั้งแต่นี้ไปดิฉันจึงเป็นเปรตเปลือยกาย ถูกความหิวและความกระหายเบียดเบียน เที่ยวไปเช่นนี้ตลอด ๕๐๐ ปี นี้เป็นผลแห่งบาปกรรมของดิฉัน ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ดิฉันมีจิตเลื่อมใสจะขอไหว้ท่าน ข้าแต่ท่านผู้แกล้วกล้า มีอานุภาพมาก ขอท่านจงอนุเคราะห์แก่ดิฉันเถิด ขอท่านจงให้ทานอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วจงอุทิศกุศลมาให้ดิฉันบ้าง ขอท่านจงเปลื้องดิฉันจากทุคติด้วยเถิด. ท่านพระสารีบุตรเถระผู้มีใจอนุเคราะห์ รับคำของนางเปรตนั้นแล้ว จึงถวายข้าวคำหนึ่ง ผ้าประมาณเท่าฝ่ามือผืนหนึ่ง และน้ำดื่มขันหนึ่งแก่ภิกษุรูปหนึ่งแล้ว อุทิศส่วนบุญไปให้นางเปรตนั้น พอท่านพระสารีบุตรเถระอุทิศส่วนบุญให้ ข้าว น้ำและเครื่องนุ่งห่มก็บังเกิดขึ้นทันที นี้เป็นผลแห่งทักษิณา ภายหลังนางเปรตนั้นมีร่างกายบริสุทธิ์ นุ่งห่มผ้าอันสะอาด มีค่ามากยิ่งกว่าผ้าแคว้นกาสี มีวัตถาภรณ์อันวิจิตรงดงาม เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรเถระ.
พระสารีบุตรเถระถามว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 134
ดูก่อนนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศสถิตอยู่ ดุจดาวประกายพรึก ท่านมีวรรณะเช่นนี้ เพราะกรรมอะไร อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะกรรมอะไร และโภคะทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นที่รักแห่งใจ ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะกรรมอะไร ดูก่อนนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก เราขอถามท่าน ท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ อนึ่ง ท่านมีอานุภาพอันรุ่งเรือง และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะกรรมอะไร.
นางเทพธิดานั้นตอบว่า
เมื่อก่อนดิฉันเป็นเปรต พระคุณเจ้าเป็นมุนี มีความกรุณาในโลก ได้เห็นดิฉันซูบผอมเหลือง ถูกความหิวแผดเผา เปลือยกาย มีหนังแตกเป็นริ้วรอย เสวยทุกขเวทนา ได้ถวายข้าวคำหนึ่ง ผ้าประมาณเท่าฝ่ามือผืนหนึ่ง น้ำดื่มขันหนึ่งแก่ ภิกษุ แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ดิฉัน ขอท่านจงดูผลแห่งข้าวคำหนึ่งที่พระเจ้าถวายแล้ว ดิฉันเป็นผู้ประกอบด้วยสิ่งที่น่าปรารถนา บริโภคอาหารมีกับข้าวมีรสหลายอย่างตั้งพันๆ ปี ขอพระคุณเจ้าจงดูผลแห่งการถวายผ้าประมาณเท่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 135
ฝ่ามือที่ดิฉันได้รับนี้เถิด ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ผ้าในแว่นแคว้นของพระเจ้านันทราชมีประมาณเท่าใด ผ้านุ่งผ้าห่มของดิฉันมีมากกว่านั้นอีก คือ ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าฝ้าย ผ้าแม้เหล่านั้นทั้งกว้างทั้งยาว ทั้งมีค่ามาก ห้อยอยู่ในอากาศ ดิฉันเลือกเอาแต่ผืนที่พอใจนุ่งห่ม ขอพระคุณเจ้าจงดูผลแห่งการถวายน้ำดื่มขันหนึ่งซึ่งดิฉันได้รับอยู่นี้ สระโบกขรณี ๔ เหลี่ยมลึก อันบุญกรรมสร้างให้ดีแล้ว มีน้ำใส มีท่าราบเรียบ มีน้ำเย็น มีกลิ่นหอม หาสิ่งเปรียบมิได้ ดารดาษไปด้วยดอกปทุมและดอกอุบล เต็มไปด้วยน้ำอันดารดาษไปด้วยเกษรบัว ดิฉันปราศจากภัย ย่อมรื่นรมย์ ชื่นชมบันเทิงใจ ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดิฉันมา เพื่อจะไหว้พระคุณเจ้าผู้เป็นมุนี ผู้มีความกรุณาในโลก.
จบ สังสารโมจกเปติวัตถุที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 136
อุพพรีวรรคที่ ๒
อรรถกถาสังสารโมจกเปติวัตถุที่ ๑
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภนางเปรตตนหนึ่ง ในบ้านชื่อว่า อิฏฐกวดี แคว้นมคธ จึงตรัสคำเริ่มต้น ว่า นคฺคา ทุพฺพณฺณรูปาสิ ดังนี้.
ได้ยินว่า ในแคว้นมคธ ได้มีหมู่บ้าน ๒ หมู่ คือ หมู่บ้านอิฏฐกวดี และหมู่บ้านทีฆราชิ. ใน ๒ หมู่บ้านนั้น มีพวกคนมิจฉาทิฏฐิ. พวกสังสารโมจกะเป็นอันมากอยู่ประจำ. ก็ในอดีตกาล ในที่สุด ๕๐๐ ปี มีหญิงคนหนึ่งบังเกิดในตระกูลสังสารโมจกะ ตระกูลหนึ่ง ในบ้านอิฏฐกวดีนั้นแหละ ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ ฆ่าแมลงชนิดตั๊กแตนเป็นจำนวนมาก แล้วบังเกิดเป็นเปรต.
นางเสวยทุกข์มีความหิวกระหายเป็นต้น ถึง ๕๐๐ ปี เมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จเข้าไปอาศัยเมืองราชคฤห์ ประทับอยู่ในพระเวฬุวันโดยลำดับ นางกลับมาเกิดในตระกูลสังสารโมจกะนั้นแลตระกูลหนึ่งในหมู่บ้านอิฏฐกวดี ในเวลาที่นางมีอายุ ๗ - ๘ ขวบ ได้สามารถเล่นรถกับพวกเด็กหญิงอื่นๆ ได้ ท่านพระสารีบุตรเถระอาศัยบ้านนั้นนั่นเหละ อยู่ในอรุณวดีวิหาร วันหนึ่ง พร้อมด้วยภิกษุ ๑๒ รูป เดินเลยไปตามนางใกล้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 137
ประตูบ้านนั้น. ในขณะนั้น เด็กหญิงชาวบ้านเป็นจำนวนมากออกจากบ้านไปเล่นอยู่ใกล้ประตู มีใจเลื่อมใส จึงรีบมาไหว้พระเถระและภิกษุเหล่านั้น ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ตามที่เห็นมารดาบิดาปฏิบัติ. ส่วนหญิงคนนี้นั้นเป็นธิดาแห่งตระกูลที่ไม่มีศรัทธา ขาดความประพฤติของคนดี เพราะไม่ได้สั่งสมกุศลไว้เสียนาน จึงไม่เอื้อเฟื้อ ยืนอยู่เหมือนคนไม่มีโชค. พระเถระเห็นความประพฤติในกาลก่อนของนาง การที่นางมาเกิดในตระกูลสังสารโมจกะในบัดนี้ และการที่นางสมควรแก่การเกิดในนรกต่อไป ทราบว่า ถ้าหญิงคนนี้จักไหว้เราไซร้ จักไม่บังเกิดในนรก แม้เมื่อเกิดเป็นเปรต จักได้สมบัติเพราะอาศัยเราเหมือนกัน ดังนี้ เป็นผู้มีใจถูกกรุณาตักเตือน จึงกล่าวกะเด็กหญิงเหล่านั้นว่า พวกเจ้าไหว้ภิกษุทั้งหลาย แต่เด็กหญิงคนนี้ยืนอยู่เหมือนคนไม่มี โชค. ลำดับนั้น เด็กหญิงเหล่านั้นจึงพากันจับมือนางฉุดคร่ามา ให้ไหว้เท้าพระเถระโดยพลการ.
สมัยต่อมา นางเจริญวัย บิดามารดายกให้แก่กุมารคนหนึ่งในตระกูลสังขารโมจกะ ในบ้านทีฆราชิ พอครรภ์แก่เต็มที่ก็ตายไป บังเกิดเป็นเปรต เปลือยกายรูปร่างน่าเกลียด ถูกความหิวกระหายครอบงำ พบเห็นเข้า ดูน่าเกลียดเป็นอย่างยิ่ง เที่ยวไปในตอนกลางคืน แสดงตนแก่ท่านพระสารีบุตรเถระแล้ว ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 138
พระเถระเห็นนางนั้น จึงถามด้วยคาถาว่า :-
ท่านเปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียด ซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูก่อนนางผู้ซูบผอม มีแต่ซี่โครง ท่านเป็นใครเล่า มายืนอยู่ในที่นี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมนิสนฺถตา ได้แก่ มีตัวสะพรั่งไปด้วยหมู่แห่งเส้นเอ็น เพราะไม่มีเนื้อและเลือด. บทว่า อุปฺผาสุลิเก ได้แก่ มีซี่โครงโผล่ขึ้นมา. บทว่า กิสิเก ผู้มีร่างกายผ่ายผอม. เมื่อตอนแรกพระเถระกล่าวว่า กิสา แล้วกล่าวซ้ำว่า กิสิเก อีก เพื่อจะแสดงว่า นางเป็นผู้ผอมอย่างยิ่ง เพราะเป็นผู้มีร่างกายเหลือเพียงกระดูกหนังและเส้นเอ็น. นางเปรตได้ฟังดังนี้แล้ว เมื่อจะประกาศตนจึงกล่าวคาถาว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเปรตเข้าถึงทุคติ เกิดในยมโลก เพราะทำบาปกรรมไว้ จึ จากมนุสสโลกนี้ไปสู่เปตโลก.
ถูกพระเถระถามถึงกรรมที่ทำไว้อีกว่า :-
ท่านทำกรรมชั่วอะไร ด้วยกาย วาจา และ ใจไว้เล่า เพราะวิบากของกรรมอะไร ท่านจึงจากมนุสสโลกนี้ ไปสู่เปตโลกดังนี้.
เมื่อนางจะแสดงว่า ดิฉันไม่เคยให้ทานเลย เป็นคนตระหนี่ จึงเกิดในกำเนิดเปรต เสวยทุกข์มหันต์ถึงอย่างนี้ จึงได้กล่าว ๓ คาถาว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 139
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชนเหล่าใดเป็นบิดาก็ดี มารดาก็ดี หรือว่าเป็นญาติก็ดี มีจิตเลื่อมใส จึงชักชวนดิฉันว่า จงให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนผู้อนุเคราะห์แก่ดิฉันเช่นนั้นมิได้มี. ตั้งแต่นี้ไป ดิฉันจึงเป็นเปรตเปลือยกาย มีความหิวและความกระหายเบียดเบียน เที่ยวไปเช่นนี้ ถึง ๕๐๐ ปี นี้เป็นผลแห่งบาปกรรมของดิฉัน. ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ดิฉันมีจิตเลื่อมใสจะขอไหว้ท่าน ข้าแต่ท่านผู้แกล้วกล้า มีอานุภาพมาก ขอท่านจงอนุเคราะห์แก่ดิฉันเถิด ขอท่านจงให้ทานอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วอุทิศกุศลมาให้ดิฉัน ขอท่านจงเปลื้องดิฉันจากทุคคติด้วยเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุกมฺปกา ได้แก่ ผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์อันจะเป็นไปในภพหน้า. นางเรียกพระเถระว่า ท่านผู้เจริญ มีวาจาประกอบความว่า บทว่า เย มํ นิโยเชยฺยุํ ความว่า ชนเหล่าใดจะเป็นมารดาบิดา หรือญาติก็ตาม เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสเช่นนี้ จะพึงชักจูงเราว่า จงให้ทานแก่สมณพราหมณ์เถิด, ชนผู้อนุเคราะห์เช่นนั้น ไม่ได้มีแก่ดิฉันเลย.
บทว่า อิโต อหํ วสฺสสตานิ ปญฺจ ยํ เอวรูปา วิจรามิ นคฺคา นี้ นางเปรตนั้นหวนระลึกถึงอัตตภาพเปรตของตนโดยชาติที่ ๓ แต่ชาตินี้ จึงกล่าวโดยความประสงค์ว่า แม้ขณะนี้ดิฉันก็เที่ยวไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 140
ถึง ๕๐๐ ปีอย่างนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ แปลว่า เพราะเหตุใด. มีวาจาประกอบความว่า ดิฉันเป็นเปรตเปลือยกายเห็นปานนี้ เพราะไม่ได้ทำบุญมีทานเป็นต้นไว้ตั้งแต่นี้ไปก็จะเที่ยวไปถึง ๕๐๐ ปี. บทว่า ตณฺหาย แปลว่า กัดกิน, อธิบายว่า เบียดเบียน.
บทว่า วนฺทามิ ตํ อยฺย ปสนฺนจิตฺตา ความว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ดิฉันเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส ขอไหว้ท่าน. นางเปรตแสดงว่า บัดนี้ดิฉันอาจจะทำบุญได้ประมาณเท่านี้แหละ. บทว่า อนุกมฺป มํ ความว่า ขอท่านจงอนุเคราะห์ คือ จงทำความเอ็นดู เฉพาะดิฉัน. บทว่า ทตฺวา จ เม อาทิส ยํ หิ กิญฺจิ ความว่า ขอท่านจงให้ไทยธรรม อะไรๆ ก็ได้แก่สมณพราหมณ์ แล้วจงอุทิศทักษิณานั้นแก่ดิฉันเถิด. นางเปรตกล่าวด้วยประสงค์ว่า เราจักพ้นจากกำเนิดเปรตนี้ด้วยการให้ทักษิณานั้น. เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ นางเปรตจึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงปลดเปลื้องดิฉันจากทุคคติเถิด
เมื่อนางเปรตกล่าวอ้อนวอนอย่างนั้น เพื่อจะแสดงประการที่พระเถระปฏิบัติ พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-
พระสารีบุตรผู้มีใจอนุเคราะห์ จึงรับคำของนางแล้ว ถวายคำข้าว ๑ คำ และผ้าประมาณเท่าฝ่ามือผืนหนึ่ง และน้ำดื่ม ๑ ขันแก่ภิกษุรูปหนึ่ง แล้วอุทิศทักษิณาไปให้นางเปรตนั้น. พอท่านพระสารีบุตรอุทิศส่วนบุญให้ วิบากคือข้าว น้ำและเครื่องนุ่งห่มก็เกิดทันที นี้เป็นผลแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 141
ทักษิณา. ภายหลังนางเปรตนั้นมีร่างกายบริสุทธิ์ นุ่งห่มผ้าอันสะอาดมีค่ามากยิ่งกว่าผ้าแคว้นกาสี มีวัตถาภรณ์วิจิตรงดงาม เข้าไปทาท่านพระสารีบุตรเถระ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขูนํ ได้แก่ ภิกษุรูปหนึ่ง. จริงอยู่ คำว่า ภิกฺขูนํ นี้ ท่านกล่าวโดยวจนวิปลาส. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อาโลปํ ภิกฺขุโน ทตฺวา ถวายข้าว ๑ คำแก่ภิกษุรูปหนึ่ง. บทว่า อาโลปํ ได้แก่คำข้าว, อธิบายว่า โภชนะประมาณ ๑ คำ. บทว่า ปาณิมตฺตญฺจ โจลกํ ความว่า ท่อนผ้าประมาณฝ่ามือ ๑. บทว่า ถาลกสฺส จ ปานียํ ความว่า น้ำประมาณเต็มขันใบ ๑. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวในขัลลาฏิยเปตวัตถุแล.
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรเห็นนางเปรตนั้น มีอินทรีย์ผ่องใส มีผิวพรรณผุดผ่อง มีผ้าและอาภรณ์เครื่องประดับอันเป็นทิพย์ ส่องสว่างไปรอบด้าน ด้วยรัศมีของตน ผู้เข้าไปหาแล้ว ยืนอยู่ ประสงค์จะให้นางเปรตนั้นประกาศผลกรรมโดยประจักษ์ จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-
ดูก่อนนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่ดุจดาวประกายพรึก ท่านมีวรรณะเช่นนี้ เพราะกรรมอะไร อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะกรรมอะไร และโภคะทุกสิ่งทุกอย่าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 142
อันเป็นที่น่ารักเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะกรรมอะไร? ดูก่อนเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก เราขอถามท่าน ท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ อนึ่ง ท่านมีอานุภาพอันรุ่งเรือง และมีรัศมีอันสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะกรรมอะไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิกฺกนฺเตน แปลว่า มีใจเอิบอาบยิ่ง อธิบายว่า มีรูปงาม. บทว่า วณฺเณน ได้แก่ มีผิวพรรณ. บทว่า โอภาเสนฺตี ทิสา สพฺพา ได้แก่ โชติช่วงทั่วทั้ง ๑๐ ทิศ คือ ทำให้มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน. เมื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า เปรียบเหมือนอะไร ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า เหมือนดาวประกายพรึก อธิบายว่า ท่านส่องทิศทั้งปวงให้สว่างไสวอยู่เหมือนดาวอันได้นามว่า โอสธี เพราะเป็นเครื่องทรงรัศมีอันหนาแน่นไว้ หรือเพราะเพิ่มให้กำลังแก่โอสถทั้งหลาย ทำให้มีแสงสว่างรอบด้านตั้งอยู่ฉะนั้น.
ก็ กึ ศัพท์ ในบทว่า เกน นี้ ใช้ในคำถาม. ก็บทว่า เกน นี้ เป็นตติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งเหตุ อธิบายว่า เพราะเหตุไร. บทว่า เต แปลว่า ของท่าน. บทว่า เอตาทิโส แปลว่า เช่นนี้, ท่านกล่าวอธิบายว่า ตามที่ปรากฏอยู่ในบัดนี้. บทว่า เกน เต อิชมิชฺฌติ ความว่า ผลแห่งสุจริตที่ท่านได้ในบัดนี้ย่อมสำเร็จคือ เผล็ดผ ในที่นี้เพราะบุญพิเศษอะไร. บทว่า อุปฺปชฺชนฺติ แปลว่า บังเกิด. บทว่า โภคา ความว่า อุปกรณ์พิเศษแห่งทรัพย์ เครื่อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 143
ปลื้มใจมีผ้าและอาภรณ์เป็นต้น อันได้นามว่าโภคะ เพราะอรรถว่าจะต้องใช้สอย. ด้วยบทว่า เย เกจิ นี้ ท่านพระสารีบุตรสงเคราะห์เอาโภคะทุกอย่างโดยไม่เหลือ. เหมือนนิเทศที่รวบรวมเอาทั้งหมดนี้ว่า สังขารทุกอย่าง ดังนี้เป็นต้น. บทว่า มนโส ปิยา ความที่ใจพึงรัก อธิบาย เป็นที่ชอบใจ.
บทว่า ปุจฺฉามิ แปลว่า เราขอถาม อธิบายว่า อยากจะรู้. บทว่า ตํ ได้แก่ ตฺวํ แปลว่า ซึ่งท่าน. บทว่า เทวิ ความว่า ชื่อว่า เทพธิดา เพราะเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยอานุภาพอันเป็นทิพย์. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า ผู้มีอานุภาพมาก. บทว่า มนุสฺสภูตา ได้แก่ เกิดในหมู่มนุษย์ คือ ได้ความเป็นมนุษย์. คำว่า มนุสฺสภูตา นี้ ท่านกล่าวเพราะประสงค์ว่า โดยมากสัตว์ผู้ดำรงอยู่ในอัตภาพมนุษย์จึงทำบุญได้. คาถาเหล่านี้มีความสังเขปเพียงเท่านี้. ส่วนความพิสดารพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้ในอรรถกถาวิมานวัตถุ ชื่อปรมัตถทีปนี.
นางเปรตถูกพระเถระถามซ้ำอย่างนี้ เมื่อจะประกาศเหตุที่ตนได้สมบัตินั้น จึงได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-
เมื่อก่อนดิฉันเป็นเปรต พระคุณเจ้าเป็นมุนีผู้มีความกรุณาในโลก ได้เห็นดิฉันซูบผอมเหลือง ถูกความหิวแผดเผา เปลือยกาย มีหนังแตกเป็นริ้วรอย เสวยทุกขเวทนา จึงได้ถวายข้าวคำหนึ่ง ผ้าประมาณเท่าฝ่ามือ ๑ ผืน น้ำดื่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 144
๑ ขันแด่ภิกษุ แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ดิฉัน ขอท่านจงดูผลแห่งข้าวคำหนึ่งที่พระเจ้าถวายแล้ว ดิฉันเป็นผู้ที่ได้รับสิ่งที่น่าปรารถนา บริโภคอาหารมีกับข้าวมีรสหลายอย่างตั้งพันๆ ปี ขอพระคุณเจ้าจงดูผลแห่งการถวายผ้าประมาณเท่า ฝ่ามือที่ดิฉันได้รับนี้เถิด ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ผ้าในแว่นแคว้นของพระเจ้านันทราชมีประมาณเท่าใด ผ้านุ่งผ้าห่มของดิฉันมีมากกว่านั้นอีก คือ ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าฝ้าย ผ้าแม้เหล่านั้นทั้งกว้าง ทั้งยาว ทั้งมีค่ามาก ห้อยอยู่ในอากาศ ดิฉันเลือกเอาแต่ผืนที่พอใจมานุ่งห่ม ขอพระคุณเจ้าจงดูผลแห่งการถวายน้ำดื่ม ๑ ขัน ซึ่งดิฉันได้รับอยู่นี้ สระโบกขรณี ๔ เหลี่ยมลึก อันบุญกรรม สร้างให้ดีแล้ว มีน้ำใส มีท่าราบเรียบ น้ำเย็น มีกลิ่นหอมหาสิ่งเปรียบมิได้ ดาระดาษไปด้วยดอกปทุมและดอกอุบล เต็มไปด้วยน้ำอันดาระดาษไปด้วยเกสรดอกบัว ดิฉันปราศจากภัย รื่นรมย์ ชื่นชม บันเทิงใจอยู่ ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดิฉันนาเพื่อจะไหว้พระคุณเจ้าผู้เป็นมุนี มีความกรุณาในโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 145
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปณฺฑุกึ แปลว่า มีตัวเหลือง. บทว่า ฉาตํ ได้แก่ ผู้หิวกระหาย คือถูกความหิวครอบงำ. บทว่า สมฺปติตจฺฉวึ ได้แก่ ผู้มีผิวแห่งร่างกายแตกออกเป็นริ้ว. บทว่า โลเก นี้ เป็นบทแสดงอารมณ์ของกรุณาที่กล่าวไว้ในบทว่า การุณิโก นี้. บทว่า ตํ มํ ได้แก่ ซึ่งดิฉันผู้เป็นเช่นนั้น คือ ดิฉันผู้ตั้งอยู่ในฐานะควรกรุณาโดยส่วนเดียว ตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว. บทว่า ทุคฺคตํ แปลว่าถึงทุคคติ.
บทว่า ภิกฺขูนํ อาโลปํ ทตฺวา ดังนี้เป็นต้น เป็นเครื่องแสดงอาการที่พระเถระทำความกรุณาแก่ตน. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภตฺตํ ได้แก่ ข้าวสุก, อธิบายว่า โภชนะอันเป็นทิพย์. บทว่า วสฺสสตํ ทส ได้แก่ ร้อยปี ๑๐ ครั้ง อธิบายว่า ๑,๐๐๐ ปี. ก็คำนี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งอัจจันตสังโยคะ แปลว่า ตลอด. มีวาจาประกอบความว่า บทว่า ภุญฺชามิ กามกามินี อเนกรสพฺยญฺชนํ ความว่า ดิฉันประกอบด้วยสิ่งที่น่าต้องการแม้อื่นๆ จึงบริโภคอาหารมีกับข้าวมีรสต่างๆ.
ด้วยคำว่า โจฬสฺส นี้ นางเปรตแสดงเฉพาะบุญอันสำเร็จด้วยทาน ซึ่งมีผ้านั้นเป็นอารมณ์ โดยมุ่งเอาไทยธรรมเป็นหลัก. บทว่า วิปากํ ปสฺส ยาทิสํ ได้แก่ ขอท่านจงดูผลกล่าวคือวิบากของการถวายผ้าเป็นทานนั้นเถิด. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า ก็ ผลนั้นเป็นเช่นไร นางเปรตจึงกล่าวคำว่า ยาวตา นนฺทราชสฺส ดังนี้เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 146
ในคำนั้น ใครชื่อว่า นันทราชาองค์นี้ ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในหมู่มนุษย์ผู้มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี มีกฏุมพีชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง เที่ยวเดินเล่นในป่า ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่งที่ในป่า. พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปนั้นกำลังทำจีวรอยู่ในป่านั้น เมื่อผ้าอนุวาตไม่พอ ก็เริ่มจะพับเก็บ. กุมพีนั้นเห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า ท่านทำอะไรขอรับ แม้ท่านจะไม่พูดอะไรๆ เพราะท่านเป็นผู้มักน้อย ก็รู้ว่าทำผ้าจีวรไม่พอ จึงวางผ้าห่มของตนที่ใกล้เท้าของพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วก็ไป. พระปัจเจกพุทธเจ้า ถือเอาผ้าอุตราสงค์นั้นมาใช้เป็นผ้าอนุวาตทำจีวรห่ม. ในเวลาสิ้นชีวิต กฏุมพีนั้น ตายไปเกิดในภพดาวดึงส์ เสวยทิพยสมบัติอยู่ในภพดาวดึงส์นั้นตลอดชั่วอายุ จุติจากภพดาวดึงส์นั้นไปบังเกิดในตระกูลอำมาตย์บ้านหนึ่งในที่ประมาณ ๑ โยชน์ จากเมืองพาราณสี.
ในเวลาเขาเจริญวัย ได้มีการป่าวร้องงานนักขัตตฤกษ์ในบ้านนั้น เขาพูดกะมารดาว่า คุณแม่ จงให้ผ้าสาฎกแก่ฉันบ้าง ฉันจักเล่นงานนักขัตฤกษ์. มารดาได้นำเอาผ้าที่ซักไว้สะอาดดีออกมาให้. เขาพูดว่า ผ้าผืนนี้เนื้อหยาบจ๊ะแม่. มารดาจึงได้ นำผ้าอื่นมาให้, แม้ผ้าผืนนั้นเขาก็ปฏิเสธเสียอีก. ลำดับนั้น มารดาจึงกล่าวกะเขาว่า พ่อเอ๋ย พวกเราเกิดในเรือนที่ไม่มีบุญ จะได้ผ้าที่เนื้อละเอียดกว่านี้. เขากล่าวว่า ฉันจะไปยังที่ที่จะได้นะแม่. มารดากล่าวว่า ไปเถอะลูก แม่ปรารถนาจะให้เจ้าได้ราชสมบัติในเมืองพาราณสีในวันนี้แหละ. เขารับพรแล้วไหว้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 147
มารดา ทำประทักษิณแล้วกล่าวว่า ฉันไปละแม่. แม่ก็พูดว่า ไปเถอะ ลูก. ได้ยินว่า มารดานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เขาจักไปไหน เขาก็จักนั่งอยู่ในเรือนนี้ หรือเรือนนั้น. ส่วนเขาถูกนิยามแห่งบุญตักเตือนอยู่ จึงออกจากบ้านไปเมืองพาราณสีแล้ว นอนคลุมศีรษะบนแผ่นศิลาอันเป็นมงคล. ก็วันนั้นเป็นวันที่พระเจ้าพาราณสี สวรรคตได้ ๗ วัน.
พวกอำมาตย์และปุโรหิตพากันถวายพระเพลิงพระบรมศพ แล้วนั่งปรึกษากันที่พระลานหลวงว่า พระราชามีพระราชธิดา ๑ พระองค์, แต่พระราชโอรสไม่มี, ราชสมบัติที่ไม่มีพระราชาครอบครอง ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้, พวกเราจักปล่อยบุษยรถ (รถสีขาว) ไป. มีสีเหมือนดอกโกมุทเทียมรถแล้ว วางเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่าง มีเศวตฉัตรเป็นประธาน วางไว้ในรถนั่นแหละ แล้วปล่อยรถไป ให้ประโคมดนตรีตามมาข้างหลัง. รถออกจากประตูด้านทิศตะวันออก ได้มุ่งตรงไปยังพระราชอุทยาน. อำมาตย์บางพวกกล่าวว่า รถมุ่งหน้าไปทางอุทยานเพราะความเคยชิน, พวกเรา จะให้กลับ. ปุโรหิตกล่าวค้านว่า อย่าให้กลับเลย. รถทำประทักษิณกุมารแล้ว ทำท่าจะขึ้นก็ได้หยุดเสีย. ปุโรหิตดึงชายผ้าห่มออก ตรวจดูฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้าง กล่าวว่า ทวีปนี้ จงยกไว้ กุมารนี้สมควรเพื่อจะครอบครองเอกราชในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒,๐๐๐ เป็นบริวาร ดังนี้แล้ว จึงให้ประโคมดนตรีขึ้น ๓ ครั้งว่า จงประโคมดนตรี จงประโคมอีก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 148
ลำดับนั้น กุมารเปิดหน้าแลดูแล้วกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่านพากันมาด้วยการงานอะไร. พวกอำมาตย์กล่าวว่า ข้าแต่สมมติเทพ ราชสมบัติถึงแก่ท่าน. กุมารถามว่า พระราชาของพวกท่านไปไหนเสียเล่า? พวกอำมาตย์กล่าวว่า ทิวงคตเสียแล้วนาย. กุมารถามว่า ล่วงไปกี่วันแล้ว? พวกอำมาตย์กล่าวว่า วันนี้เป็นวันที่ ๗. กุมารถามว่า พระราชโอรสพระราชธิดาไม่มีดอกหรือ? พวกอำมาตย์กล่าวว่า มีแต่พระราชธิดา พระราชโอรสไม่มี. กุมารกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นเราจักครอบครองราชสมบัติ. พวกอำมาตย์เหล่านั้นพากันทำมณฑปสำหรับอภิเษกในทันทีทันใด แล้วประดับพระราชธิดาด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง แล้วนำมายังพระราชอุทยาน ทำการอภิเษกกุมาร.
ลำดับนั้น พวกอำมาตย์น้อมนำผ้ามีค่าแสนหนึ่ง เข้าไปถวายพระราชกุมารผู้อภิเษกแล้วนั้น. พระราชาพระองค์ใหม่นั้นตรัสถามว่า นี่อะไรกันพ่อ? พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ผ้าสำหรับนุ่งพระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งว่า ผ้าเนื้อหยาบมิใช่หรือ พ่อ. พวกอำมาตย์ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ในบรรดากระบวนผ้าที่พวกมนุษย์ใช้สอยกัน ผ้าที่ละเอียดกว่านี้ไม่มี พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า พระราชาพระองค์เก่าของพวกท่านทรงนุ่งผ้าเห็นปานนี้หรือ? พวกอำมาตย์ทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่สมมติเทพ. พระราชาตรัสว่า พระราชาของพวกท่านเห็นจะไม่มีบุญ พวกท่านจงนำเอาพระเต้าทองมา เราจักได้ผ้า. พวกอำมาตย์จึงนำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 149
เอาพระเต้าทองมา. พระราชาเสด็จลุกขึ้นล้างพระหัตถ์ด้วยพระองค์ บ้วนพระโอษฐ์ แล้วเอาพระหัตถ์กอบน้ำสาดไปทางทิศตะวันออก. ในคราวนั้นต้นกัลปพฤกษ์ ๘ ต้น ทำลายแผ่นดินหนาผุดขึ้น. ทรงกอบน้ำอีกแล้วสาดไปในทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทรงสาดไปทั้ง ๔ ทิศอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ ต้นกัลปพฤกษ์ทิศละ ๘ ต้น ๘ ต้น รวมเป็น ๓๒ ต้น ผุดขึ้นทั่วทุกทิศ. บางอาจารย์กล่าวว่า ต้นกัลปพฤกษ์ผุดขึ้น ๖๔ ต้น โดยแบ่งเป็นทิศละ ๑๖ ต้น. พระราชาทรงนุ่งผ้าทิพย์ผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่งแล้วตรัสว่า พวกท่านจงเที่ยวตีกลองป่าวประกาศว่า ในแว้นแคว้นของพระเจ้านันทราช พวกผู้หญิงที่กรอด้าย ไม่ต้องกรอด้าย ดังนี้แล้ว จึงให้ยกเศวตฉัตรขึ้น ทรงตกแต่งประดับประดา เสด็จขึ้นคอช้างตัวประเสริฐเข้าพระนคร ขึ้นสู่ปราสาท แล้ว เสวยมหาสมบัติ.
เมื่อเวลาล่วงไปอย่างนี้ วันหนึ่งพระเทวีเห็นสมบัติของพระราชาแล้ว ทรงแสดงอาการแห่งความกรุณาว่า พุทโธ่ ท่านผู้มีตปะ และถูกย้อนถามว่า นี่อะไรกัน พระเทวีจึงทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ สมบัติของพระองค์ใหญ่ยิ่ง พระองค์ได้กระทำกรรมอันงามไว้ในอดีตกาล, บัดนี้ ไม่ทรงทำกุศลไว้เพื่อประโยชน์แก่อนาคตกาล. พระราชาตรัสว่า เราจะให้แก่ใคร ไม่มีท่านผู้มีศีล. พระเทวีกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ชมพูทวีปไม่ว่างเปล่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 150
จากพระอรหันต์ทั้งหลาย ขอพระองค์ทรงจักเตรียมทานไว้เท่านั้น หม่อมฉันจักได้พระอรหันต์: ในวันรุ่งขึ้น พระราชาสั่งให้ตระเตรียมทานอันควรแก่ค่ามากไว้. พระเทวีทรงอธิษฐานว่า ถ้าในทิศนี้มีพระอรหันต์ไซร้ ขอนิมนต์มารับภิกษาหารของดิฉันทั้งหลายในที่นี้เถิด แล้วทรงนอนราบผินหน้าไปทางทิศเหนือ. เมื่อพระเทวี นอนลงเท่านั้น บรรดาพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ผู้เป็นพระราชโอรสของนางปทุมวดี ซึ่งอยู่ในป่าหิมพานต์ พระมหาปทุมปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นพี่ชาย เรียกพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้น้องชายมาว่า ท่านผู้นิรทุกข์ พระเจ้านันทราชนิมนต์พวกท่าน ขอพวกท่านจงรับนิมนต์ของพระองค์เถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นรับนิมนต์แล้ว เหาะไปทันที แล้วลงที่ประตูด้านทิศเหนือ. พวกมนุษย์กราบทูลแต่พระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์มาแล้ว. พระราชาพร้อมกับพระเทวีเสด็จมาไหว้ รับบาตรแล้วนิมนต์ให้พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายขึ้นยังปราสาท ถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นบนปราสาท ในเวลาเสร็จภัตตกิจ พระราชาทรงหมอบที่ใกล้เท้าของพระสังฆเถระ พระเทวีทรงหมอบที่ใกล้เท้าของพระสังฆนวกะ ให้ทรงกระทำปฏิญญาว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจักไม่ลำบากด้วยปัจจัย ข้าพเจ้าทั้งหลายจักไม่เสื่อมจากบุญ ขอท่านทั้งหลายจงให้ปฏิญญาแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อจะอยู่ในที่นี้ ดังนี้ แล้วให้สร้างสถานที่อยู่ในพระราชอุทยาน บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายตลอดชั่วอายุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 151
เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นปรินิพพานแล้ว ให้เล่นสาธุกีฬาแล้ว ให้ทำการฌาปนกิจด้วยไม้หอมเป็นต้น แล้วให้เก็บธาตุบรรจุเป็นพระเจดีย์ เกิดความสังเวชว่า ความตายยังมีแก่ท่านผู้มีอานุภาพมากแม้เห็นปานนี้ จะป่วยกล่าวไปใยถึงคนเช่นพวกเราเล่า จึงทรงตั้งพระราชโอรสองค์ใหญ่ไว้ในราชสมบัติ ส่วนพระองค์เองทรงผนวชเป็นดาบส. ฝ่ายพระเทวีคิดว่า เมื่อพระราชาทรงผนวชแล้ว เราจักทำอะไร ดังนี้ จึงทรงผนวช. แม้ทั้ง ๒ พระองค์ก็อยู่ในพระราชอุทยาน ทำฌานให้บังเกิดแล้ว ยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในฌาน ในเวลาสิ้นอายุบังเกิดในพรหมโลก. ได้ยินว่า พระเจ้านันทราชนั้นได้เป็นพระมหากัสสปเถระ พระสาวกผู้ใหญ่แห่งพระศาสดาของเราทั้งหลาย. พระอัครมเหสีของพระเจ้านันทราชนั้น ได้เป็นผู้ชื่อว่า ภัททากาปิลานี.
ก็พระเจ้านันทราชนี้ทรงนุ่งห่มผ้าทิพย์ด้วยพระองค์เองถึง ๑๐,๐๐๐ ปี ทรงทำแว่นแคว้นของพระองค์ทั้งหมดทีเดียวให้เป็นเหมือนอุตตรกุรุทวีป ได้ให้ผ้าทิพย์แก่พวกมนุษย์ผู้มาถึงแล้วๆ. นางเปรตนั้นหมายเอาความสำเร็จผ้าทิพย์นี้นั้น และความสำเร็จแห่งผ้าทั้งปวง จึงกล่าวว่า ยาวตา นนฺทราชสฺส วิชิตสฺมึ ปฏิจฺฉทา วัตถุเครื่องปกปิดในแว่นแคว้นของพระเจ้านันทราชมีประมาณเท่าไร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิชิตสฺมึ แปลว่า ในแว่นแคว้น. บทว่า ปฏิจฺฉทา ได้แก่ ผ้าทั้งหลาย. จริงอยู่ ผ้าเหล่านั้น เขาเรียกว่า ปฏิจฉทา เพราะเป็นเครื่องปกปิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 152
บัดนี้ นางเปรตนั้นเมื่อจะแสดงว่า บัดนี้ ความสำเร็จของเราไพบูลย์กว่าความสำเร็จของพระเจ้านันทราช จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ผ้าและเครื่องปกปิดของเรามากกว่าผ้าของพระเจ้านันทราชนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโต ความว่า ผ้าและเครื่องปกปิดของเรายังมากกว่าผ้าอันเป็นเครื่องหวงแหนของพระเจ้านันทราช บทว่า วตฺถานจฺฉาทนานิ ได้แก่ ผ้าสำหรับนุ่งและผ้าสำหรับห่ม. บทว่า โกเสยยกมฺพลียานิ ได้แก่ ผ้าไหมและผ้ากัมพล. บทว่า โขมกปฺปาสิกานิ ได้แก่ ผ้าเปลือกไม้และผ้าอันสำเร็จด้วยฝ้าย.
บทว่า วิปุลา ได้แก่ กว้างทั้งส่วนยาวและส่วนกว้าง. บทว่า มหคฺฆา ได้แก่ มากโดยมีค่ามาก คือ ควรแก่ค่ามาก. บทว่า อากาเสวลมฺพเร ได้แก่ ห้อยไว้บนอากาศนั้นเอง. บทว่า ยํ ยํ หิ มนโส ปิยํ มีวาจาประกอบความว่า เราถือเอาผ้าที่เราพอใจแล้วนุ่งและห่ม.
บทว่า ถาลกสฺส จ ปานียํ วิปากํ ปสฺส ยาทิสํ ได้แก่ น้ำดื่มพอเต็มขันที่เขาให้ คือ ที่เขาอนุโมทนา. ก็นางเปรตเมื่อจะแสดงว่า ท่านจงดูวิบากของน้ำดื่มนั้นเช่นใด คือมีมากเพียงใด จึงกล่าวคำมีอาทิว่า คมฺภีรา จตุรสฺสา จ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คมฺภีรา แปลว่า หยั่งไม่ถึง. บทว่า จตุรสฺสา แปลว่า มีทรวดทรง ๔ เหลี่ยม. บทว่า โปกฺขรญฺโ ได้แก่ สระโบกขรณี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 153
บทว่า สุนิมฺมิตา ได้แก่ เนรมิตด้วยดีด้วยอานุภาพแห่งกรรมนั่นเอง.
บทว่า เสโตทกา แปลว่า น้ำมีสีขาว. คือ เกลื่อนกล่นไปด้วยทรายขาว. บทว่า สุปฺปติตฺถา แปลว่า ท่างาม. บทว่า สีตา ได้แก่ น้ำเย็น. บทว่า อปฺปฏิคนฺธิยา แปลว่า มีกลิ่นหอมระรื่น เว้นจากกลิ่นปฏิกูล. บทว่า วาริกิญฺชกฺขปูริตา ความว่า เต็มไปด้วย น้ำอันดารดาษด้วยเกษรดอกบัว และบัวสายเป็นต้น.
บทว่า สหํ ตัดเป็น สา อหํ แปลว่า เรานั้น. บทว่า รมามิ แปลว่า ประสบความยินดี. บทว่า กีฬามิ ได้แก่ บำเรออินทรีย์. บทว่า โมทามิ ได้แก่ เป็นผู้บันเทิงด้วยโภคสมบัติ. บทว่า อกุโตภยา แปลว่า ไม่เกิดภัยแม้แต่ที่ไหนๆ คือ เราเป็นผู้มีเสรี อยู่อย่างเป็นสุข. บทว่า ภนฺเต วนฺทิตุมาคตา ความว่า ท่านผู้เจริญ ดิฉันมา คือเข้ามาหาท่านผู้เป็นเหตุให้ได้ทิพยสมบัตินี้. ก็ในที่นี้ คำใดที่ข้าพเจ้าไม่ได้จำแนกไว้โดยอรรถ คำนั้นข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในที่นั้นๆ แล.
เมื่อนางเปรตกล่าวอย่างนั้น ท่านพระสารีบุตรแสดงความนั้นโดยพิสดาร ในเมื่อพวกคนชาวบ้านทั้ง ๒ คือ บ้านอิฏฐกวดี และบ้านทีฆราชี ผู้มายังสำนักตน ให้พวกเขาสลดใจ ให้พ้นจากสงสารและกรรมชั่ว ให้ตั้งอยู่ในภาวะเป็นอุบาสก. เรื่องนั้นปรากฏ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 154
แล้วในหมู่ภิกษุ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปัตติเหตุ แล้วทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว เทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่มหาชนแล.
จบ อรรถกถาสังสารโมจกเปติวัตถุที่ ๑