พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๑. สุตตเปตวัตถุ ว่าด้วยเปรตอยากกลับไปมนุษยโลก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  17 พ.ย. 2564
หมายเลข  40366
อ่าน  430

[เล่มที่ 49] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 301

อุพพรีวรรคที่ ๒

๑๑. สุตตเปตวัตถุ

ว่าด้วยเปรตอยากกลับไปมนุษยโลก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 49]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 301

๑๑. สุตตเปตวัตถุ

ว่าด้วยเปรตอยากกลับไปมนุษยโลก

หญิงคนหนึ่งไปอยู่กับเวมานิกเปรตตลอด ๗๐๐ ปี เกิดความเบื่อหน่าย จึงกล่าวกะเวมานิกเปรตนั้นว่า

[๑๐๘] เมื่อก่อน ฉันได้ถวายด้ายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าซึ่งเข้าไปขอถึงเรือนของฉัน วิบากแห่งการถวายด้ายนั้น ฉันจึงได้เสวยผลอันไพบูลย์อย่างนี้ ประการหนึ่ง ผ้ามากมายหลายโกฏิบังเกิดแก่ฉัน วิมานของฉันเกลื่อนกล่นไปด้วยดอกไม้ น่ารินรมย์ วิจิตรด้วยรูปภาพต่างๆ เพียบพร้อมไปด้วยเทพบุตรเทพธิดาผู้เป็นบริวาร ฉันเลือกใช้สอยนุ่งห่มตามชอบใจถึงเพียงนี้ สรรพวัตถุอันปลื้มใจมากมายก็ไม่หมดสิ้นไป ฉันได้รับความสุขความสำราญในวิมานนี้ เพราะอาศัยวิบากแห่งธรรมนั้น ฉันกลับไปสู่มนุษยโลกแล้ว จักทำบุญให้มากขึ้น ข้าแต่ลูกเจ้า ขอท่านจงนำฉันไปสู่ถิ่นมนุษย์เถิด.

เวมานิกเปรตนั้นกล่าวว่า

ท่านมาอยู่ในวิมานนี้ว่า ๗๐๐ ปี เป็นคนแก่เฒ่าแล้ว จักไปอยู่ในมนุษยโลกทำไม อนึ่ง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 302

ญาติของท่านตายไปหมดแล้ว ท่านไปจากเทวโลกนี้สู่มนุษยโลกนั้นแล้ว จักกระทำอย่างไร.

หญิงนั้นกล่าวว่า

เมื่อฉันมาอยู่ในวิมานนี้ ๗ ปี ได้เสวยทิพยสมบัติและความอิ่มหนำแล้ว ฉันกลับไปสู่ถิ่นมนุษย์แล้ว จักทำบุญให้มากขึ้น ข้าแต่ลูกเจ้า ขอท่านจงนำฉันไปส่งถิ่นมนุษย์เถิด. เวมานิกเปรตนั้นจับหญิงนั้นที่แขน นำกลับไปสู่บ้านที่นางเกิด แล้วพูดกะหญิงนั้นซึ่งกลับเป็นคนแก่ มีกำลังน้อยที่สุดว่า ท่านพึงบอกชนแม้อื่นที่มาสู่ที่นี่ว่า ท่านทั้งหลายจงทำบุญเถิด ท่านทั้งหลายจะได้รับความสุข เราได้เห็นเปรตทั้งหลายผู้ไม่ได้ทำความดีไว้เดือดร้อนอยู่ ฉันใด มนุษย์ทั้งหลายก็ฉันนั้น ก็หมู่สัตว์คือเทวดาและมนุษย์กระทำกรรมอันมีสุขเป็นวิบากแล้ว ย่อมเป็นผู้ดำรงอยู่ในความสุข.

จบ สุตตเปตวัตถุที่ ๑๑

อรรถกถาสุตตเปตวัตถุที่ ๑๑

เรื่องสุตตเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อหํ ปุเร ปพฺพชิตสฺส ภิกฺขุโน ดังนี้. อุปบัติเหตุของเรื่องนั้นเป็นอย่างไร. ได้ยินว่า ใน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 303

หมู่บ้านตำบลหนึ่ง ไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถี เมื่อพระศาสดายังไม่เสด็จอุบัติขึ้นนั้นแล นับขึ้นไป ๗๐๐ ปี ยังมีเด็กคนหนึ่งอุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง. เมื่อเธอเจริญวัยแล้ว มารดาของเธอจึงไปขอนางกุลธิดาคนหนึ่งมาจากตระกูลที่เสมอกัน เพื่อประโยชน์แก่บุตรนั้น. ก็ในวันวิวาหะนั้นเอง กุมารนั้นไปอาบน้ำกับพวกสหาย ถูกงูกัดตายไป. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ถูกยักษ์จับ ก็มี. เธอกระทำกุศลกรรมไว้เป็นอันมาก ด้วยการอุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้า บังเกิดเป็นวิมานเปรต เพราะค่าที่ตนมีจิตปฏิพัทธ์ในเด็กหญิงนั้น. แต่เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก.

ลำดับนั้น เธอปรารถนาจะนำนางทาริกานั้นมายังวิมานของตน จึงคิดว่า ด้วยอุบายอะไรหนอ นางจึงจะอภิรมย์ในที่นี้กับเรา ให้เป็นกรรมที่จะต้องอำนวยผลในปัจจุบัน จึงพิจารณาถึงเหตุที่ให้ได้เสวยโภคสมบัติอันเป็นทิพย์นั้น เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ากำลังทำจีวรกรรมอยู่ จึงแปลงรูปเป็นคนไปไหว้แล้ว กล่าวว่า ท่านขอรับ ท่านต้องการด้ายหรือ. พระปัจเจกพุทธเจ้าตอบว่า เราจะทำจีวรกรรม อุบาสก. เวมานิกเปรตนั้นจึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านจงเที่ยวขอด้ายในที่ชื่อโน้น ดังนี้แล้ว ได้ชี้เรือนของนางทาริกานั้น. พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ไปในที่นั้น ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือน. ลำดับนั้น นางเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ายืนอยู่ ในที่นั้น มีจิตเลื่อมใส รู้ว่า พระผู้เป็นเจ้าของเรามีความต้องการด้าย จึงได้ให้ด้ายกลุ่มหนึ่ง. ลำดับนั้น อมนุษย์นั้นได้แปลง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 304

เพศเป็นมนุษย์ ไปยังเรือนของนางทาริกา อ้อนวอนมารดาของนางแล้ว อยู่กับนาง ๒ - ๓ วัน เพื่อจะอนุเคราะห์มารดาของนาง จึงทำภาชนะทุกอย่างในเรือนนั้นให้เต็มด้วยเงินและทอง แล้วเขียนชื่อไว้ข้างบนภาชนะทั้งหมดนั้น มีอันให้รู้ว่านี้เป็นทรัพย์ที่เทวดาให้ ใครไม่ควรเอาไป ดังนี้ จึงได้พาเด็กหญิงนั้นไปยังวิมานตน. มารดาของนางได้ทรัพย์เป็นอันมาก ได้ให้แก่พวกญาติของตน แก่คนกำพร้า และคนเดินทางเป็นต้น ส่วนตนเองบริโภคแล้ว เมื่อจะทำกาละจึงแจ้งแก่ญาติทั้งหลายว่า ถ้าธิดาของเรามาไซร้ ท่านจงให้ทรัพย์นี้แล้วได้ตายไป.

ครั้นกาลล่วงไป ๗๐๐ ปีแต่กาลนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเราเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงประกาศธรรมจักรอันบวร ประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี โดยลำดับ เมื่อหญิงนั้นอยู่ร่วมกับอมนุษย์นั้น ความรำคาญก็เกิดขึ้น. นางเมื่อจะกล่าวกะอมนุษย์นั้นว่า ดีละ พระลูกเจ้า ขอท่านจงนำดิฉันกลับไปสู่เรือนของตนเถิด ดังนี้แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

เมื่อก่อนฉันได้ถวายด้ายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งได้เข้าไปขอถึงเรือนของดิฉัน วิบากของการถวายด้ายนั้น ดิฉันจึงได้เสวยผลอันไพบูลย์อย่างนี้ ประการหนึ่ง ผ้ามากมายหลายโกฏิบังเถิดแก่ดิฉัน วิมานของฉันเกลื่อนกล่นไปด้วยดอกไม้น่ารื่นรมย์ วิจิตรด้วยรูปภาพ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 305

ต่างๆ เพียบพร้อมไปด้วยเทพบุตร เทพธิดา ผู้เป็นบริวาร ฉันเลือกใช้สอยนุ่งห่มตามชอบใจถึงเพียงนี้ สรรพวัตถุอันปลื้มใจมากมายก็ไม่หมดสิ้นไป ฉันได้รับความสุขความสำราญในวิมานนี้ เพราะอาศัยวิบากแห่งกรรมนั้น ฉันกลับไปสู่มนุษยโลกแล้ว จักทำบุญให้มากขึ้น ข้าแต่ลูกเจ้า ขอท่านจงนำฉันกลับไปสู่ถิ่นมนุษย์เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพชิตสฺส ภิกฺขุโน นี้ ท่านกล่าวหมายเอาพระปัจเจกพุทธเจ้า. จริงอยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ย่อมควรที่จะกล่าวได้ว่า เป็นบรรพชิต เพราะขับไล่ คือละพลังแห่งกามจากสันดานของตนโดยเด็ดขาด และควรกล่าวว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ทำลายกิเลส. บทว่า สุติตํ ได้แก่ ด้ายอันสำเร็จด้วยฝ้าย. บทว่า อุปสงฺกมฺม ได้แก่ เข้ามายังเรือนของฉัน. บทว่า ยาจิตา ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า ขอด้วยการเที่ยวไปเพื่อภิกษา กล่าวคือ การประกอบด้วยกายวิญญัติ ที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมยืนเจาะจง นี้เป็นการขอของพระอริยเจ้าทั้งหลาย บทว่า ตสฺส ได้แก่ ถวายด้ายนั้น. บทว่า วิปาโก วิปุลผลูปลพฺภติ ความว่า บัดนี้ได้ คือ เสวยผลอันไพบูลย์ คือวิบากอันตั้งขึ้นอย่างใหญ่หลวง. บทว่า พหุกา แปลว่า มิใช่น้อย บทว่า วตฺถโกฏิโย ได้แก่ โกฏิแห่งผ้า อธิบายว่า ผ้าหลายแสนประเภท.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 306

บทว่า อเนกจิตฺตํ ได้แก่ วิจิตรด้วยรูปภาพต่างๆ หรือมีรูปภาพอันวิจิตรด้วยรัตนะ มีแก้วมุกดาและแก้วมณีเป็นต้นมากมาย. บทว่า นรนาริเสวิตํ ได้แก่ เพียบพร้อมไปด้วยเทพบุตรและเทพธิดาผู้เป็นบริวาร. บทว่า สาหํ ภุญฺชามิ ความว่า ฉะนั้น จะเลือกใช้สอยวิมานนั้น. บทว่า ปารุปามิ ความว่า ฉันจะนุ่งและห่มผ้าตามที่ปรารถนาต้องการในบรรดาผ้าหลายโกฏิ. บทว่า ปหูตวิตฺตา ความว่า สรรพวัตถุอันเป็นเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจมากมาย คือ มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก บทว่า น จ ตาว ขียติ ความว่า สรรพวัตถุอันเป็นเครื่องปลื้มใจนั้น ย่อมไม่หมดสิ้นไป คือไม่ถึงความสิ้นไป ได้แก่ไม่ถึงความหมดเปลือง.

บทว่า ตสฺเสว กมฺมสฺส วิปากมนฺวฺยา ความว่า ฉันได้รับความสุขอันเป็นวิบาก และความสำราญ กล่าวคือ ความอร่อยอันน่าปรารถนา โดยความเป็นเหตุเป็นปัจจัย อาศัยบุญกรรมที่สำเร็จด้วยการให้ด้ายนั้นนั่นเอง ในวิมานนี้. บทว่า คนฺตฺวา ปุนเทว มานุสํ ได้แก่ ฉันกลับไปสู่มนุษยโลกอีกทีเดียว. บทว่า ปุญฺานิ ความว่า ข้าพเจ้าทำบุญอันให้สำเร็จความสุขพิเศษแก่ฉัน, ซึ่งเป็นเหตุให้ดิฉันได้สมบัตินี้. บทว่า นยยฺยปุตฺต มํ ความว่า ข้าแต่ลูกเจ้า เจ้าจงนำ คือ จงพาฉันกลับไปสู่มนุษยโลก.

อมนุษย์นั้น ครั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อไม่ปรารถนาจะไป ด้วยความอนุเคราะห์ เพราะค่าที่ตนมีจิตปฏิพัทธ์ในนางนั้น จึงกล่าวคาถาว่า :-

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 307

ท่านมาอยู่ในวิมานนี้กว่า ๗๐๐ ปี เป็น คนแก่เฒ่าแล้ว จักไปอยู่ในมนุษยโลกทำไม อนึ่ง ญาติของท่านตายไปหมดแล้ว ท่านจากเทวโลกนี้ไปสู่มนุษยโลกนั้นแล้ว จักกระทำอย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺต นี้ เป็นการแสดงไขถึงการลบวิภัตติ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สตฺต นี้ เป็นปฐมมาวิภัตติ ใช้ในอรรถบัญจมีวิภัตติ. บทว่า วสฺสสตา แปลว่า กว่าร้อยปี, อธิบายว่า ท่านมาอยู่ในที่นี้ คือมาสู่วิมานนี้เลย ๗๐๐ ปี คือ ท่านอยู่ในที่นี้ ๗๐๐ ปี. บทว่า ชิณฺณา จ วุฑฺฒา จ ตหึ ภวิสฺสสิ ความว่า ท่านมีอัตภาพอันอุตุและอาหารอันเป็นทิพย์สนับสนุนอุปถัมภ์อยู่ในวิมานนี้ ตั้งอยู่โดยอาการเป็นหนุ่มทีเดียว ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ด้วยอานุภาพแห่งกรรม. อนึ่งท่านไปจากเทวโลกนี้ จักเป็นคนแก่เพราะชราแก่ตามวัยในมนุษยโลกนั้น เพราะกรรมสิ้นไป และเพราะอำนาจแห่งฤดูและอาหารของมนุษย์. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า จะทำอย่างไร ตอบว่า เพราะญาติของท่านทั้งหมดตายไปหมดแล้ว อธิบายว่า แม้ญาติของท่านทั้งหมดนั่นแหละตายไปหมดแล้ว เพราะกาลเวลาล่วงไปนาน เพราะฉะนั้น ท่านจากเทวโลกนี้ ไปยังมนุษยโลกนั้น จักกระทำอย่างไร, อธิบายว่า ท่านจงยัง อายุให้สิ้นไปในที่นี้ ไม่ให้เหลือเศษไว้ คือ จงอยู่ในที่นี้.

หญิงนั้น อันอมนุษย์นั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ เมื่อไม่เชื่อคำของอมนุษย์นั้น จึงกล่าวคาถาอีกว่า :-

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 308

เมื่อฉันอยู่ในวิมานนี้ ๗ ปีเท่านั้น ได้เสวยทิพยสมบัติ และความสุขอิ่มหนำแล้ว ฉันกลับไปสู่ถิ่นมนุษย์แล้ว จักทำบุญให้มากขึ้น ข้าแต่ลูกเจ้า ขอท่านจงนำฉันกลับไปสู่ถิ่นมนุษย์เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺเตว วสฺสานิ อิธาคตาย เม ความว่า ข้าแต่ลูกเจ้า เมื่อฉันอยู่ในที่นี้ชะรอยว่าล่วงไปถึง ๗ ปีทีเดียว, นางกำหนดกาลเวลาที่ล่วงไปเป็นอันมากไม่ได้ จึงได้กล่าวอย่างนั้น เพราะค่าที่ตนเพียบพร้อมไปด้วยทิพยสมบัติ และสุขสมบัติถึง ๗๐๐ ปี.

ก็วิมานเปรตนั้น ถูกนางถามอย่างนี้แล้ว จึงพร่ำสอนเธอมีประการต่างๆ แล้วกล่าวว่า บัดนี้เธอจักไม่อยู่ในที่นั้นเกิน ๗ วัน ทรัพย์ที่เราให้แม่ของเจ้าฝังไว้มีอยู่ เจ้าจงให้ทรัพย์นั้นแก่สมณพราหมณ์ แล้วจงปรารถนาความอุบัติในที่นี้แหละ จึงจับแขนนางวางไว้ที่กลางบ้าน กล่าวว่า เจ้าพึงโอวาทชนแม้เหล่าอื่นผู้มาในที่นี้ว่า ท่านทั้งหลาย จงทำบุญตามกำลังเถิด ดังนี้แล้วจึงไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า :-

เวมานิกเปรตนั้น จับแขนหญิงนั้นนำกลับไปสู่บ้านที่นางเกิด แล้วพูดกะหญิงนั้นซึ่งกลับเป็นคนแก่ มีกำลังน้อยที่สุดว่า ท่านพึงบอกชนแม้อื่นที่มายังที่นี้ว่า ท่านทั้งหลายจงทำบุญเถิด ท่านทั้งหลายจะได้รับความสุข.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 309

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส ได้แก่ วิมานเปรตนั้น. บทว่า ตํ ได้แก่หญิงคนนั้น. บทว่า คเหตุวาน ปสยฺห พาหายํ ได้แก่ จับแขนหญิงนั้น เหมือนบังคับนำไป. บทว่า ปจฺจานยิตฺวาน ได้แก่ นำกลับมายังบ้านที่นางเกิดเจริญเติบโต. บทว่า เถรึ ได้แก่ เป็นคนแก่, อธิบายว่า คนแก่ คนเฒ่า. บทว่า สุทุพฺพลํ ได้แก่ มีกำลังน้อยที่สุด. เพราะค่าที่ตนเป็นคนคร่ำคร่าเพราะชรานั่นเอง. ได้ยินว่า พร้อมกับการไปจากวิมานนั้นนั่นแล นางเป็นคนคร่ำคร่า แก่เฒ่า ล่วงกาลผ่านวัย. บทว่า วชฺเชสิ แปลว่า พึงกล่าว. ก็เพื่อจะแสดงอาการแห่งคำที่จะพึงกล่าว ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า อญฺมฺปิ ชนํ คำนั้น มีอธิบายดังนี้ว่า :-

แน่ะนางผู้เจริญ ถึงท่านก็พึงทำบุญ แม้คนอื่นที่มาในที่นี้ เพื่อต้องการเยี่ยมบ้าน ท่านก็พึงว่ากล่าวสั่งสอนว่า ท่านผู้มีหน้าผ่องใส ท่านจงเพ่งดูศีรษะและท่อนผ้าที่ถูกไฟไหม้ ก็จงทำบุญมีทานและศีลเป็นต้น และว่าเมื่อทำบุญแล้ว ท่านจะได้รับความสุขอันเป็นผลแห่งบุญนั้น โดยแท้จริงทีเดียว ไม่ควรทำความสงสัยในบุญนั้น.

ก็แลเมื่อวิมานเปรตนั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงไป หญิงนั้นไปยังที่อยู่ของหมู่ญาติตน ให้ญาติเหล่านั้นรู้จักตนแล้ว จึงถือเอาทรัพย์ที่ญาติเหล่านั้นมอบให้ เมื่อจะให้ทานแก่สมณะและพราหมณ์ จึงได้ให้โอวาทแก่ชนผู้มาแล้วๆ สู่สำนักของตน จึงกล่าวสอนด้วยคาถาว่า :-

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 310

เราได้เห็นเปรตทั้งหลาย ผู้ไม่ได้ทำความดีไว้ เดือดร้อนอยู่ฉันใด มนุษย์ทั้งหลายก็ฉันนั้น ก็หมู่สัตว์คือเทวดาและมนุษย์กระทำกรรมอันมีความสุขเป็นวิบากแล้ว ย่อมเป็นผู้ดำรงอยู่ในความสุข.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกเตน ได้แก่ ไม่บังเกิด คือ ตนไม่ได้สั่งสมไว้. บทว่า สาธุนา ได้แก่ มีกุศลกรรม. บทว่า สาธุนานี้ เป็นตติยาวิภัตติ ใช้ในลักษณะแห่งอิตถัมภูตะ. บทว่า วิหญฺนฺติ แปลว่า ถึงความคับแค้น. บทว่า สุขเวทนียํ ได้แก่ บุญกรรมอันมีสุขเป็นวิบาก. บทว่า สุเข ิตา ได้แก่ดำรงอยู่ในความสุข. บาลีว่า สุเขิตา ดังนี้ก็มี, อธิบายว่า เจริญยิ่ง คือ แผ่ไปด้วยความสุข. ก็ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า เราเห็นพวกเปรตเหมือนพวกมนุษย์ เดือดร้อนอยู่เพราะไม่ได้ทำกุศลไว้ ทำแต่อกุศล ถึงความคับแค้นด้วยความหิวและกระหายเป็นต้น เสวยทุกข์อย่างมหันต์. แต่เราได้เห็นหมู่สัตว์ผู้กระทำกรรมอันเป็นเหตุอำนวยความสุข ผู้นับเนื่องในเทวดาและมนุษย์ ด้วยกุศลกรรมที่ตนทำไว้นั้น และอกุศลกรรมที่ตนไม่ได้กระทำไว้ ดำรงอยู่ในความสุข. บทว่า สุเข ิตา นี้. เป็นบทกล่าวบ่งถึงตน. เพราะฉะนั้น ท่านเมื่อเว้นความชั่วให้ห่างไกลแล้ว จงประกอบขวนขวายในการบำเพ็ญบุญ.

หญิงนั้น เมื่อให้โอวาทอย่างนี้ได้บำเพ็ญมหาทานตลอด ๗ วัน เพื่อสมณและพราหมณ์เป็นต้น ในวันที่ ๗ ตายไป บังเกิด

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 311

ในภพชั้นดาวดึงส์. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุแล้ว จึงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. แต่เมื่อว่าโดยความแปลกกัน พระองค์ทรงประกาศถึงความที่ทานที่บำเพ็ญในพระปัจเจกพุทธเจ้าว่าผลมากมีอานิสงส์มาก. มหาชนได้ฟังดังนั้นแล้ว เป็นผู้ปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน ยินดียิ่งในบุญมีทานเป็นต้น ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสุตตเปตวัตถุที่ ๑๑