พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. อภิชชมานเปตวัตถุ ว่าด้วยเปรตเปลือยมีร่างเป็นเปรตกึ่งหนึ่ง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  17 พ.ย. 2564
หมายเลข  40369
อ่าน  420

[เล่มที่ 49] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 347

จูฬวรรคที่ ๓

๑. อภิชชมานเปตวัตถุ

ว่าด้วยเปรตเปลือยมีร่างเป็นเปรตกึ่งหนึ่ง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 49]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 347

จูฬวรรคที่ ๓

๑. อภิชชมานเปตวัตถุ

ว่าด้วยเปรตเปลือยมีร่างเป็นเปรตกึ่งหนึ่ง

โกสิยมหาอำมาตย์ของพระเจ้าพิมพิสาร ถามเปรตตนหนึ่งว่า

[๑๑๑] ดูก่อนเปรต ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มีร่างกายเป็นเปรตกึ่งหนึ่ง ทัดทรงดอกไม้ ตกแต่งร่างกาย เดินไปในน้ำอันไม่ขาดสายในแม่น้ำคงคานี้ ท่านจักไปไหน ที่อยู่ของท่านอยู่ที่ไหน.

เพื่อจะแสดงเนื้อความที่เปรตนั้นและโกสิยมหาอำมาตย์กล่าวแล้ว พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวคาถาความว่า

เปรตนั้นกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักไปยังบ้านจุนทัฏฐิละ อันอยู่ในระหว่างแห่งวาสภคามกับเมืองพาราณสี แต่บ้านนั้นอยู่ใกล้เมืองพาราณสี มหาอำมาตย์อันปรากฏชื่อว่าโกลิยะเห็นเปรตนั้นแล้ว ได้ให้ข้าวสัตตูและคู่ผ้าสีเหลืองแก่เปรตนั้น เมื่อเรือหยุดเดิน ได้ให้ข้าวสัตตูและคู่ผ้าแก่อุบาสก เมื่อคู่ผ้าอันโกลิยะอำมาตย์ให้ช่างกัลบกแล้ว ผ้านุ่งผ้าห่มก็ปรากฏแก่เปรตทันที ภายหลังเปรตนั้นนุ่งห่มผ้าดีแล้ว ทัดทรงดอกไม้ตบแต่ง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 348

ร่างกายด้วยอาภรณ์ ทักษิณาย่อมเข้าไปสำเร็จแก่เปรตนั้น ผู้อยู่แล้วในที่นั้น เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้มีปัญญาพึงให้ทักษิณาบ่อยๆ เพื่ออนุเคราะห์แก่เปรตทั้งหลาย

เปรตเหล่าอื่น บางพวกนุ่งผ้าขี้ริ้วขาดรุ่งริ่ง บางพวกนุ่งผม หลีกไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่เพื่อหาอาหาร บางพวกวิ่งไปแม้ในที่ไกลไม่ได้แล้วกลับมา บางพวกสลบแล้วเพราะความหิวกระหาย นอนกลิ้งไปบนพื้นดิน บางพวกล้มลงที่แผ่นดินในที่ตนวิ่งไปนั้น ร้องไห้ร่ำไรว่า เมื่อก่อนเราทั้งหลายไม่ได้ทำกุศลไว้ จึงได้ถูกไฟคือความหิวและความกระหายเผาอยู่ ดุจถูกไฟเผาแล้วในที่ร้อน เมื่อก่อนพวกเรามีธรรมอันลามก เป็นหญิงแม่เรือนมารดาทารกในตระกูล เมื่อไทยธรรมทั้งหลายมีอยู่ไม่กระทำที่พึ่งแก่ตน เออก็ข้าวและน้ำมีมากแต่เราไม่กระทำการแจกจ่ายให้ทาน และไม่ได้อะไรในบรรพชิตทั้งหลายผู้ปฏิบัติชอบ อยากทำแต่กรรมที่คนดีไม่พึงทำ เป็นคนเกียจคร้านใคร่แต่ความสำราญและกินมาก ให้แต่เพียงโภชนะก้อนหนึ่ง ด่าปฏิคาหกผู้รับอาหาร เรือน พวกทาสีทาสาและผ้าอาภรณ์ของ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 349

เราเหล่านั้น ไม่สำเร็จประโยชน์แก่พวกเรา พวกเขาไปบำเรอคนอื่นหมด เรามีแต่ส่วนแห่งทุกข์ เราจุติจากเปรตนี้แล้ว จักไปเกิดในตระกูลอันต่ำช้าเลวทราม คือ ตระกูลจักสาน ตระกูลช่างรถ ตระกูลนายพราน ตระกูลคนจัณฑาล ตระกูลคน กำพร้า ตระกูลช่างกัลบก นี้เป็นคติแห่งความตระหนี่ ส่วนทายกทั้งหลายผู้มีกุศลอันทำไว้แล้วในชาติก่อน ปราศจากความตระหนี่ ย่อมยังสวรรค์ให้บริบูรณ์ และย่อมยังนันทนวันให้สว่างไสวรื่นรมย์แล้วในเวชยันตปราสาทสำเร็จความปรารถนา ครั้นจุติจากเทวโลกแล้ว ย่อมเกิดในตระกูลสูง มีโภคะมาก คือในตระกูลแห่งบุคคลมีเรือนยอด และปราสาทราชมณเฑียร มีบัลลังก์อันลาดแล้วด้วยผ้าโกเชาว์ มีเหล่าบุรุษและสตรีถือพัดอันประดับแล้วด้วยแววหางนกยูง คอยพัดอยู่ ในเวลาเป็นทารกก็ทัดทรงดอกไม้ ตบแต่งร่างกาย หมู่ญาติและพี่เลี้ยงนางนมผลัดกันอุ้ม ไม่ต้องลงสู่พื้น อันชนทั้งหลายผู้ปรารถนาความสุข เข้าไปบำรุงอยู่ทั้งเช้าและเย็นตลอดชาติ ส่วนใหญ่แห่งเทวดาเหล่าไตรทศ ชื่อว่านันทนวัน อันเป็นสถานไม่เศร้าโศก น่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 350

รื่นรมย์นี้ ย่อมไม่มีแก่ชนทั้งหลายผูไม่ได้ทำบุญไว้ ย่อมมีแต่เฉพาะเหล่าชนผู้มีบุญอันทำไว้แล้วเท่านั้น ความสุขในโลกนี้และในปรโลก ย่อมไม่มีแก่เหล่าชนผู้ไม่ทำบุญ ความสุขในโลกนี้และโลกหน้า ย่อมมีเฉพาะแก่เหล่าชนผู้ทำบุญไว้ ผู้ปรารถนาความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าไตรทศเทพ พึงทำบุญกุศลไว้ให้มาก เพราะว่าบุคคลผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมบันเทิงใจอยู่ในสวรรค์เพียบพร้อมไปด้วยโภคสมบัติ.

จบ อภิชชมานเปตวัตถุที่ ๑

จูฬวรรคที่ ๓

อรรถกถาอภิชชมานเปตวัตถุที่ ๑

เมื่อพระศาสดาเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภเปรตพรานตนหนึ่ง จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อภิชฺชมาเน วาริมฺหิ ดังนี้.

ได้ยินว่าในกรุงพาราณสี ได้มีพรานคนหนึ่งอยู่ในบ้านชื่อว่า จุนทัฏฐิละ เลยวาสภคาม ฝั่งแม่น้ำคงคาในด้านอีกทิศหนึ่ง เขาล่าเนื้อในป่าย่างเนื้อล่ำๆ กิน ที่เหลือเอาห่อใบไม้หามมาเรือน พวกเด็กเล็กๆ เห็นเขาที่ประตูบ้านจึงวิ่งเหยียดมือร้องขอว่า จง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 351

ให้เนื้อฉัน จงให้เนื้อฉัน เขาได้ให้เนื้อแก่เด็กเหล่านั้นคนละน้อยๆ. ภายหลังวันหนึ่ง พวกเด็กเห็นเขาที่ประตูบ้าน ผู้ไม่ได้เนื้อ ประดับดอกราชพฤกษ์และหอบเอาไปบ้านเป็นจำนวนมาก จึงวิ่งเหยียดมือร้องขอว่า จงให้เนื้อฉัน จงให้เนื้อฉัน เขาได้ให้ดอกนมแมวแก่เด็กเหล่านั้นคนละดอก.

ครั้นสมัยต่อมา เขาทำกาละแล้วบังเกิดในหมู่เปรต เป็นผู้เปลือยกายมีรูปน่าเกลียด เห็นเข้าน่าสะพึงกลัว ไม่รู้จักข้าวและน้ำแม้แต่ในความฝัน ทัดทรงกำดอกราชพฤกษ์และดอกโกสุมบนศีรษะ คิดว่าเราจักได้อะไรๆ ในสำนักของพวกญาติในจุนทัฏฐิลคาม เมื่อน้ำในแม่น้ำคงคาไหลไม่ขาดสาย จึงเดินทวนกระแสน้ำไป. ก็ สมัยนั้น อำมาตย์ของพระเจ้าพิมพิสาร ชื่อว่า โกลิยะ ปราบปัจจันตนครซึ่งกำเริบเสิบสานให้สงบแล้วก็กลับมา จึงส่งพลบริวารมีพลช้างและพลม้าเป็นต้นไปทางบก ส่วนตนเองมาทางเรือตามกระแสแม่น้ำคงคา เห็นเปรตนั้นกำลังเดินไปอย่างนั้น เมื่อจะถามจึงกล่าวคาถาว่า :-

ดูก่อนเปรต ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มีร่างกายเป็นเปรตกึ่งหนึ่ง ทัดทรงดอกไม้ ตกแต่งร่างกาย เดินไปในน้ำที่ไหลไม่ขาดสายในแม่น้ำคงคานี้ ท่านจักไปไหน ที่อยู่ของท่านอยู่ที่ไหน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิชฺชนาเน ได้แก่ ไม่แยกกัน คือ ยังติดกันโดยการย่างเท้า. บทว่า วาริมฺหิ คงฺคาย ได้แก่ น้ำใน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 352

แม่น้ำคงคา. บทว่า อิธ คือ ในที่นี้. บทว่า ปุพฺพทฺธเปโตว ความว่า มีร่างกายข้างหน้ากึ่งหนึ่งไม่เหมือนเปรต คือเหมือนเทพบุตร ไม่นับเนื่องในกำเนิดเปรต. เพื่อจะเลี่ยงคำถามว่า อย่างไร? ท่านจึงกล่าวว่า เป็นผู้ทัดทรงดอกไม้ประดับประดา. อธิบายว่า ประดับประดาด้วยดอกไม้คล้องไว้ที่ศีรษะ. บทว่า กสฺส วาโส ภวิสฺสติ ความว่า ที่อยู่ของท่านอยู่ในบ้านไหน หรือในประเทศไหน ท่านจงบอกเรื่องนั้น.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงคำที่เปรตนั้นและโกลิยอำมาตย์กล่าวในกาลไร พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาว่า :-

เปรตนั้นกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักไปยังบ้านจุนทัฏฐิละอันอยู่ในระหว่างวาสภคามกับกรุงพาราณสี แต่บ้านนั้นอยู่ใกล้กรุงพาราณสี ก็มหาอำมาตย์อันปรากฏชื่อว่า โกลิยะเห็นเปรตนั้นแล้ว ได้ให้ข้าวสตูและคู่ผ้าสีเหลืองแก่เปรตนั้น เมื่อเรือหยุดเดินได้ให้ข้าวสตูและคู่ผ้าแก่อุบาสกช่างกัลบก เมื่อคู่ผ้าอันโกลิยะให้ช่างกัลบกแล้ว ผ้านุ่งผ้าห่มก็ปรากฏแก่เปรตทันที ภายหลังเปรตนั้นนุ่งห่มผ้าดีแล้ว ทัดทรงดอกไม้ ตกแต่งร่างกายด้วยอาภรณ์ ทักษิณาย่อมสำเร็จแก่เปรตนั้นผู้อยู่ในที่นั้น เพราะฉะนั้น บัณฑิต

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 353

ผู้มีปัญญาพึงให้ทักษิณบ่อยๆ เพื่ออนุเคราะห์แก่เปรตทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จุนฺทฎฺิลํ ได้แก่ บ้านอันมีชื่ออย่างนั้น. บทว่า อนฺตเร วาสภคามํ พาราณสึ จ สนฺติเก ได้แก่ ในระหว่างวาสภคามและกรุงพาราณสี. จริงอยู่ บทว่า อนฺตเร วาสภคามํ พาราณสึ จ สนฺติเก นี้ เป็นทุติยาวิภัติ ใช้ในอรรถแห่ง ฉัฏฐีวิภัติ เพราะประกอบด้วย อนฺตรา ศัพท์. จริงอยู่ บ้านนั้นอยู่ในที่ใกล้กรุงพาราณสีแล. ก็ในข้อนั้น มีอธิบายดังนี้ว่า ในระหว่างวาสภคามและกรุงพาราณสี ข้าพเจ้าจักไปบ้านชื่อว่า จุนทัฏฐิลคาม ไม่ไกลแต่กรุงพาราณสี.

บทว่า โกลิโย อิติ วิสฺสุโต ได้แก่ มีชื่อปรากฏอย่างนี้ว่า โกลิยะ. บทว่า สตฺตุํ ภตฺตญฺจ ได้แก่ ข้าวสตูและภัต. บทว่า ปิตกญฺจ ยุคํ อทา ความว่า ได้ให้คู่ผ้าคู่หนึ่งสีเหลือง คือ สีเหมือนทองคำ. หากเมื่อเขาถามว่า ได้ให้เมื่อไร? จึงกล่าวตอบว่า ได้ให้เมื่อเรือหยุด. บทว่า กปฺปกสฺส อทาปยิ มีวาจาประกอบความว่า ได้หยุดเรือซึ่งกำลังแล่น ได้ให้แก่อุบาสกช่างกัลบกคนหนึ่งในที่นั้น เมื่อโกลิยอำมาตย์ให้คู่ผ้านั้น. บทว่า าเน คือ โดยทันที ได้แก่ ในขณะนั้นนั่นเอง. บทว่า เปตสฺส ทิสฺสถ ความว่า ได้ปรากฏในร่างของเปรต คือ ผ้านุ่งและผ้าห่มได้สำเร็จแก่เปรตนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ภายหลังเปรตนั้นนุ่งห่มดีแล้ว ทัดทรงดอกไม้ ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์ อธิบายว่า นุ่งห่มผ้าดีแล้ว ประดับ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 354

ประดาตกแต่งด้วยอาภรณ์คือดอกไม้. บทว่า าเน ิตสฺส เปตสฺส อุปกปฺปถ ความว่า ก็เพราะทักษิณานั้นตั้งอยู่ในฐานะอันควรแก่พระทักขิไณยบุคคล ย่อมสำเร็จ คือ ได้ถึงการประกอบเป็นพิเศษแก่เปรตนั้น. บทว่า ตสฺมา ทชฺเชถ เปตานํ อนุกมฺปาย ปุนปฺปุนํ ความว่า พึงให้ทักษิณาบ่อยๆ เพื่ออนุเคราะห์เปรต คือ เพื่ออุทิศเปรต.

ลำดับนั้น โกลิยมหาอำมาตย์นั้น เมื่อจะอนุเคราะห์เปรตนั้น จึงให้สำเร็จทานวิธีมาตามกระแสน้ำ เมื่อพระอาทิตย์อุทัยได้ถึงกรุงพาราณสี. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาทางอากาศ เพื่ออนุเคราะห์เปรตเหล่านั้น ได้ประทับยืนที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ฝ่ายโกลิยมหาอำมาตย์ลงจากเรือแล้ว หรรษาร่าเริง นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ขอพระองค์ทรงรับภัตตาหารของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์. พระศาสดาทรงรับด้วยดุษณีภาพ. โกลิยมหาอำมาตย์นั้นได้ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้ว จึงให้สร้างสาขามณฑปใหญ่ในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ในขณะนั้นนั่นเอง ให้ประดับประดาด้วยผ้าต่างชนิดอันวิจิตรด้วยสีย้อมต่างๆ ทั้งเบื้องบนและด้านข้างๆ ทั้ง ๔ ด้าน ได้ให้ปูอาสนะถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าในที่นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่ตบแต่งไว้.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 355

ลำดับนั้น มหาอำมาตย์นั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า บูชาด้วยสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลคำที่ตนกล่าวและคำโต้ตอบของเปรตในหนหลังแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า ขอสงฆ์จงมา. พร้อมกับที่พระองค์ทรงพระดำรินั่นแล ภิกษุสงฆ์อันพุทธานุภาพกระตุ้นเตือน จึงพากันแวดล้อมพระธรรมราชา ดุจฝูงหงส์ทองพากันแวดล้อมพญาหงส์ธตรฐ. ในขณะนั้นนั่นเอง มหาชนพากันประชุมด้วยถ้อยคำ จักมีพระธรรมเทศนาอันยิ่ง. มหาอำมาตย์เห็นด้วยดังนั้นมีจิตเลื่อมใส จึงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้อิ่มหนำด้วยขาทนียะและโภชนียะอันประณีต. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว เพื่ออนุเคราะห์มหาชนจึงทรงอธิษฐานว่า ขอคนชาวบ้านใกล้กรุงพาราณสีจงประชุมกันเถิด. ก็มหาชนทั้งหมดนั้นได้ประชุมกันด้วยกำลังพระฤทธิ์. และพระองค์ได้ทรงทำเปรตเป็นอันมากให้ปรากฏแก่มหาอำมาตย์. บรรดาเปรตเหล่านั้น บางพวกนุ่งผ้าท่อนเก่าขาดวิ่น บางพวกเอาผมของตนเองปิดอวัยวะที่ละอาย บางพวกเปลือยกายมีรูปเหมือนตอนเกิด ถูกความหิวกระหายครอบงำ มีหนังหุ้มห่อไว้ มีร่างกายเพียงแต่กระดูก เที่ยวหมุนเคว้งไปข้างโน้นข้างนี้ ปรากฏแก่มหาชนโดยประจักษ์

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรุงแต่งอิทธาภิสังขาร คือบันดาลด้วยพระฤทธิ์โดยประการที่เปรตเหล่านั้นประชุมพร้อม

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 356

กันประกาศความชั่วที่ตนทำแก่มหาชน. พระสังคีติกาจารย์เมื่อจะแสดงเนื้อความนั้น จึงได้กล่าวคาถาทั้งหลายว่า :-

เปรตเหล่าอื่น บางพวกนุ่งผ้าขี้ริ้วขาดรุ่งริ่ง บางพวกนุ่งผม หลีกไปยังทิศน้อยทิศใหญ่เพื่อหาอาหาร บางพวกวิ่งไปแม้ในที่ไกล ไม่ได้ก็กลับมา บางพวกสลบแล้วเพราะความหิวกระหาย นอนกลิ้งเกลือกบนพื้นดิน บางพวกล้มลงที่แผ่นดินในที่ที่คนวิ่งไปนั้น ร้องไห้ร่ำไรว่า เราทั้งหลายไม่ได้ทำกุศลไว้ในกาลก่อน จึงได้ถูกไฟคือ ความหิวความกระหายเผาอยู่ ดุจถูกไฟเผาในที่ร้อน เมื่อก่อนพวกเรามีธรรมอันลามก เป็นหญิงแม่เรือนมารดาทารกในตระกูล เมื่อไทยธรรมทั้งหลายมีอยู่ ไม่กระทำที่พึ่งแก่ตน. เออ ก็ข้าวและน้ำมีมาก แต่เราไม่ทำการแจกจ่ายให้ทานและไม่ได้ให้อะไรๆ ในบรรพชิตผู้ปฏิบัติชอบ อยากทำแต่กรรมที่คนดีเขาไม่ทำ เกียจคร้าน ใคร่แต่ความสำราญ และกินมาก ให้แต่เพียงโภชนะก้อนหนึ่ง ด่าว่าปฏิคาหกผู้รับโภชนะ. เรือน ทาส ทาสี และเครื่องอาภรณ์ของเราเหล่านั้น ไม่สำเร็จประโยชน์แก่พวกเรา พวกเขาไปบำเรอคนอื่นหมด พวกเรามีแต่ส่วน

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 357

ของความทุกข์ เราจุติจากเปรตนี้แล้วจักไปเกิดในตระกูลอันต่ำช้าเลวทราม คือ ตระกูลจักสาน ตระกูลช่างรถ ตระกูลนายพราน ตระกูลคนจัณฑาล ตระกูลคนกำพร้า ตระกูลช่างกัลบก นี่เป็นคติของความตระหนี่. ส่วนทายกทั้งหลายผู้ได้ทำกุศลไว้ในชาติก่อน ปราศจากความตระหนี่ ย่อมทำสวรรค์ให้บริบูรณ์ และย่อมทำสวนนันทนวันให้สว่างไสว รื่นรมย์อยู่เวชยันตปราสาท สำเร็จความปรารถนาในสิ่งที่น่าใคร่ ครั้นจุติจากเทวโลกแล้วย่อมเกิดในตระกูลสูง มีโภคะมาก คือ ในตระกูลคนมีเรือนยอดและปราสาทราชมณเฑียร มีบัลลังก์ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ มีเหล่าบุรุษและสตรีถือพัดอันประดับด้วยแววหางนกยูงคอยพัดอยู่. ในเวลาเป็นทารกก็ทัดทรงดอกไม้ ตกแต่งร่างกาย หมู่ญาติพี่เลี้ยงนางนมผลัดกันอุ้ม ไม่ต้องลงสู่พื้นดิน อันชนผู้ปรารถนาความสุขเข้าไปบำรุงอยู่ทั้งเช้าและเย็นตลอดชาติ. สวนใหญ่ของเทวดาเหล่าไตรทศ ชื่อว่านันทนวัน เป็นสถานที่ไม่เศร้าโศก น่ารื่นรมย์นี้ ย่อมไม่มีแก่ชนผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ ความสุขในโลกนี้และโลกหน้าย่อมมีเฉพาะแต่คนผู้

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 358

ทำบุญไว้ ผู้ปรารถนาความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าไตรทศ พึงทำบุญกุศลไว้ให้มาก เพราะว่าบุคคลผู้ทำบุญไว้ย่อมบันเทิงใจอยู่ในสวรรค์ เพียบพร้อมด้วยโภคสมบัติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาตุนฺนวสนา แปลว่า นุ่งผ้าขี้ริ้วรุ่งริ่ง. บทว่า เอเก แปลว่า บางพวก. บทว่า เกสนิวาสนา แปลว่า เอาผมนั่นแหละปิดอวัยวะที่น่าอาย. บทว่า ภตฺตาย คจฺฉนฺติ ความว่า หยุดอยู่เฉพาะที่ไหนๆ ไม่ได้ ย่อมเดินไปเพื่อต้องการอาหารด้วยหวังใจว่า ไฉนพวกเราไปจากนี้แล้ว จะพึงได้อะไรๆ จะเป็นอาหารที่เขาทิ้งก็ตาม อาเจียนก็ตาม ครรภมลทินเป็นต้นก็ตาม ในที่ใดที่หนึ่ง. บทว่า ปกฺกมนฺติ ทิโสติสํ ความว่า หลีกจากทิศไปสู่ทิศสิ้นที่มีระยะห่างหลายโยชน์.

บทว่า ทูเร แปลว่า ในที่ไกลมาก. บทว่า เอเก ได้แก่ เปรตบางพวก. บทว่า ปธาวิตฺวา ได้แก่ วิ่งเข้าไปเพื่อต้องการอาหาร. บทว่า อลทฺธาว นิวตฺตเร ความว่า ครั้นไม่ได้ข้าวหรือน้ำดื่มอะไรๆ เลยก็พากันกลับ. บทว่า ปมุจฺฉิตา ความว่า เกิดสลบเพราะความทุกข์อันเกิดแต่ความหิวและความกระหายเป็นต้น. บทว่า ภนฺตา แปลว่า กลิ้งเกลือกไป. บทว่า ภูมิยํ ปฏิสุมฺภิตา ความว่า เมื่อความสลบนั้นนั่นแลเกิดขึ้น ก็ซูบซีดล้มลงบนแผ่นดิน เหมือนบุคคลยืนขว้างก้อนดินลงไปฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 359

บทว่า ตตฺถ คือในที่ที่ตนเดินไป. บทว่า ภูมิยํ ปฏิสุมฺภิตา ความว่า ล้มลงบนภาคพื้น เพราะไม่สามารถจะทรงตัวอยู่ได้ด้วยความทุกข์อันเกิดแต่ความหิวเป็นต้น เหมือนตกไปในเหวฉะนั้น. หรือว่าในที่ที่ไปนั้น เป็นผู้หมดหวังเพราะไม่ได้อาหารเป็นต้น ก็ล้มลงบนภาคพื้นเหมือนถูกใครๆ โบยตีตรงหน้า. บทว่า ปุพฺเพ อกตกลฺยาณา แปลว่า ผู้ไม่ได้ทำคุณความดีอะไรไว้ในภพก่อน. บทว่า อคฺคิทฑฺฒาว อาตเป ความว่า ถูกไฟคือความหิวกระหายแผดเผา ย่อมเสวยทุกข์อย่างมหันต์ เหมือนถูกไฟเผาในที่ร้อนในฤดูแล้ง.

บทว่า ปุพฺเพ คือในอดีตภพ. บทว่า ปาปธมฺมา ได้แก่ ชื่อว่าผู้มีสภาวะอันลามก เพราะมีความริษยาและความตระหนี่ เป็นต้น. บทว่า ฆรณี ได้แก่ หญิงผู้เป็นแม่เรือน. บทว่า กุลมาตโร ได้แก่ ผู้เป็นมารดาของทารกในตระกูล หรือเป็นมารดาของบุรุษในตระกูล. บทว่า ทีปํ แปลว่าที่พึ่ง อธิบายว่า บุญ. จริงอยู่ บุญนั้นท่านเรียกว่า ปติฏฺา เพราะเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในสุคติ. บทว่า นากมฺห แปลว่า ไม่ทำไว้แล้ว.

บทว่า ปหูตํ แปลว่า มาก. บทว่า อนฺนปานมฺปิ ได้แก่ ข้าวและน้ำ. ศัพท์ว่า สุ ในบทว่า อปิสฺสุ อวกิรียติ เป็นเพียงนิบาต. เออก็ข้าวแลน้ำเราไม่ได้กระทำ คือ ทิ้งเสีย. บทว่า สมฺมคฺคเต ได้แก่ เมื่อเราดำเนินชอบคือปฏิบัติชอบ. บทว่า ปพฺพชิเต แปลว่า แก่นักบวช. จริงอยู่ บทว่า ปพฺพชิเต นี้เป็นสัตตมีวิภัติ ใช้ในอรรถจตุตถีวิภัติ. อีกอย่างหนึ่งอธิบายว่า เมื่อบรรพชิตผู้ดำเนินชอบ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 360

มีอยู่ คือ เมื่อได้บรรพชิต. บทว่า น จ กิญฺจิ อทมฺหเส ความว่า พวกเปรตผู้ถูกความเดือดร้อนครอบงำกล่าวว่า เราไม่ได้ให้ไทยธรรมแม้เพียงเล็กน้อย.

บทว่า อกฺมมกามา ความว่า ชื่อว่า อกัมมกามะ เพราะปรารถนาอกุศลกรรมที่คนดีทั้งหลายไม่พึงกระทำ หรือชื่อว่า กัมมกามะ เพราะปรารถนากุศลกรรมที่คนดีพึงทำ ชื่อว่า อกัมมกามะ เพราะไม่ปรารถนากุศลกรรม อธิบายว่า ไม่มีฉันทะในกุศลกรรม. บทว่า อลสา ได้แก่ เป็นคนเกียจคร้าน คือ ไม่มีความเพียรในการ กระทำกุศล. บทว่า สาทุกามา ได้แก่ ปรารถนาสิ่งที่สำราญและอร่อย. บทว่า มหคฺฆสา แปลว่า ผู้กินจุ. แม้ด้วยบททั้ง ๒ ท่านแสดงไว้ว่า ได้โภชนะที่ดีและอร่อยแล้วไม่ให้อะไรๆ แก่ผู้ต้องการ บริโภคเองเท่านั้น. บทว่า อาโลปปิณฺฑทาตาโร ได้แก่ ให้ก้อนข้าวแม้เพียงคำเดียว. บทว่า ปฏิคฺคเห ได้แก่ ผู้รับก้อนข้าวนั้น. บทว่า ปริภาสิมฺหเส ได้แก่ กล่าวกดขี่ อธิบายว่า ดูหมิ่นและเย้ยหยัน.

บทว่า เต ฆรา มีอธิบายว่า ในกาลก่อน พวกเราได้กระทำความรักว่าเรือนของเรา เรือนเหล่านั้นตั้งอยู่ตามเดิม บัดนี้ สิ่งอะไรๆ ก็ไม่สำเร็จแก่พวกเรา. แม้ในบทว่า ตา จ ทาสิโย ตาเนวาภรณานิ โน นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โน แปลว่า ก็พวกเรา. บทว่า เต ได้แก่ มีเรือนเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า อญฺเ ปริจาเรนฺติ ความว่า กระทำการประกอบให้พิเศษ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 361

ด้วยการบริโภคเป็นต้น. บทว่า มยํ ทุกฺขสฺส ภาคิโน ความว่า พวกเปรตกล่าวติเตียนตนว่า ก็เมื่อก่อนพวกเราขวนขวายแต่การเล่นอย่างเดียว ละทิ้งสมบัติไม่รู้ที่ทำให้สมบัตินั้นติดตัวไป แต่บัดนี้ เราเป็นผู้มีส่วนแห่งทุกข์อันเกิดแต่ความหิวและความกระหาย เป็นต้น.

บัดนี้ เพราะเหตุที่สัตว์ทั้งหลายจุติจากกำเนิดเปรตแล้ว แม้จะเกิดในมนุษย์ก็เป็นคนมีชาติเลว มีความประพฤติเหมือนคนกำพร้าทีเดียว ด้วยเศษแห่งวิบากกรรมนั้นนั่นแล เพราะฉะนั้น เพื่อจะแสดงความนั้น ท่านจึงกล่าว ๒ คาถาโดยนัยมีอาทิว่า เวณี วา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวณี วา ได้แก่ เกิดในตระกูลช่างสาน อธิบายว่า เป็นช่างสานไม้ไผ่ ช่างส่านไม้อ้อ. วา ศัพท์ มีอรรถไม่แน่นอน. บทว่า อวญฺา แปลว่า ดูหมิ่น อธิบายว่า ดูแคลน. บาลีว่า วมฺภนา ตัดพ้อ ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ถูกผู้อื่นเบียดเบียน. บทว่า รถการี ได้แก่ ช่างหนัง. บทว่า ทุพฺภิกา ได้แก่ ผู้มักประทุษร้ายมิตร คือผู้เบียดเบียนมิตร. บทว่า จณฺฑาลี แปลว่า เป็นคนชาติจัณฑาล. บทว่า กปณา ได้แก่ วณิพก คือผู้ได้รับความสงสารอย่างยิ่ง. บทว่า กปฺปกา ได้แก่ เกิดในตระกูลช่างกัลบก ในบททั้งปวงมีวาจาประกอบความว่า มีบ่อยๆ อธิบายว่า ย่อมเกิดในตระกูลต่ำเหล่านี้แล้วๆ เล่าๆ.

บทว่า เตสุ เตเสฺวว ชายนฺติ ความว่า เกิดในเปรตทั้งหลาย เพราะมลทิน คือความตระหนี่ จุติจากเปรตแล้วบังเกิดในตระกูล

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 362

คนกำพร้าแม้พวกอื่น มีตระกูลนายพรานและตระกูลคนเทหยากเยื่อ ซึ่งถูกตัดพ้อมาก และเข็ญใจอย่างยิ่งอันเป็นตระกูลต่ำ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นี้เป็นคติของคนตระหนี่ ดังนี้.

พระสังคีติกาจารย์ครั้นแสดงคติของสัตว์ผู้ไม่ได้ทำบุญไว้อย่างนี้ บัดนี้เพื่อจะแสดงคติของคนผู้ทำบุญไว้ จึงกล่าวคาถา ๗ คาถาว่า ก็ผู้ได้ทำคุณงามความดีไว้ในปางก่อน ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สคฺคํ เต ปริปูเรนฺติ ความว่า ทายกทั้งหลายได้ทำคุณงามความดีไว้ในชาติก่อน ยินดียิ่งในบุญอันว่าด้วยการให้ทาน ปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน ย่อมทำสวรรค์ คือ เทวโลกให้บริบูรณ์ ด้วยรูปสมบัติของตนและด้วยบริวารสมบัติ. บทว่า โอภาเสนฺติ จ นนฺทนํ ความว่า ไม่ใช่ทำนันทนวันให้บริบูรณ์อย่างเดียวเท่านั้น โดยที่แท้ ย่อมครอบงำนันทนวันแม้สว่างไสว อยู่ตามสภาวะด้วยรัศมีแห่งต้นกัลปพฤกษ์ เป็นต้น และให้ว่างไสวโชติช่วงด้วยความโชติช่วงแห่งผ้าและอาภรณ์ และด้วยรัศมีแห่งร่างกายของตน.

บทว่า กามกามิโน ความว่า มีเครื่องใช้สอยตามปรารถนาในกามคุณตามที่ต้องการ. บทว่า อุจฺจากุเลสุ ได้แก่ ตระกูลสูง มีตระกูลกษัตริย์เป็นต้น. บทว่า สโภเคสุ ได้แก่ มีสมบัติมาก. บทว่า ตโต จุตา ความว่า ครั้นจุติจากเทวโลกนั้นแล้ว

บทว่า กูฏาคาเร จ ปาสาเท ได้แก่ ในกูฎาคารและปราสาท. บทว่า พีชิตงฺคา ได้แก่ มีเรือนร่างที่ถูกเขาพัดวีอยู่. บทว่า

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 363

โมราหตฺเถทิ ได้แก่ ถือพัดวีชนีประดับด้วยแววหางนกยูง. บทว่า ยสสฺสิโน อธิบายว่า มีบริวารรื่นรมย์อยู่.

บทว่า องฺกโต องฺกํ คจฺฉนฺติ ความว่า แม้ในเวลาเป็นทารก พวกญาติและนางนมพากันกะเดียดไป อธิบายว่า ไม่ไปตามพื้นดิน. บทว่า อุปติฏฺนฺติ แปลว่า คอยบำรุงอยู่. บทว่า สุเขสิโน ได้แก่ ผู้ปรารถนาความสุข อธิบายว่า คอยบำบัดทุกข์แม้มีประมาณน้อยว่า ความหนาวหรือความร้อนอย่าได้มี.

บทว่า นยิทํ กตปุญฺานํ ความว่า สวนใหญ่ของเทวดาดาวดึงส์เหล่าไตรทศ ชื่อว่า นันทนวัน ใกล้ป่าใหญ่นี้ ไม่มีความเศร้าโศก น่ารื่นรมย์ใจ ไม่มีแก่ผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ อธิบายว่า ผู้ที่ไม่ได้บุญไว้ไม่อาจได้.

ด้วยบทว่า อิธ นี้ ท่านกล่าวหมายเอาผู้ที่ได้ทำบุญไว้เป็นพิเศษในมนุษยโลกนี้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิธ คือในปัจจุบัน. บทว่า ปรตฺถ คือ ในสัมปรายภพ.

บทว่า เตสํ ได้แก่ อันเทพทั้งหลายตามที่กล่าวแล้วนั้น. บทว่า สหพฺยกามานํ ได้แก่ ปรารถนาความเป็นสหาย. บทว่า โภคสมงฺคิโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยโภคะทั้งหลาย อธิบายว่า ผู้เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์บันเทิงใจอยู่. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดยพิสดารตามควรแก่อัธยาศัยของมหาชน ผู้ประชุมกันในที่นั้น มีโกลิยอำมาตย์เป็น

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 364

ประมุข ผู้มีใจสลด ในเมื่อเปรตเหล่านั้นประกาศถึงคติของกรรมที่ตนทำไว้โดยทั่วไป และคติของบุญกรรมด้วยประการอย่างนี้. ในเวลาจบเทศนา สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้ตรัสรู้ธรรม ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอภิชชมานเปตวัตถุที่ ๑