พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ ว่าด้วยพระเถระทําทานอุทิศถึงเปรต

 
บ้านธัมมะ
วันที่  17 พ.ย. 2564
หมายเลข  40370
อ่าน  403

[เล่มที่ 49] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 365

จูฬวรรคที่ ๓

๒. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ

ว่าด้วยพระเถระทําทานอุทิศถึงเปรต


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 49]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 365

๒. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ

ว่าด้วยพระเถระทำทานอุทิศถึงเปรต

[๑๑๒] พระเถระชาวกุณฑินครรูปหนึ่ง อยู่ที่ภูเขาสานุวาสี มีนามว่า โปฏฐปาทะ เป็นสมณะผู้มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว มารดาบิดาและพี่ชายของท่านเกิดในยมโลก เสวยทุกขเวทนา เพราะทำกรรมลามก จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก เปรต เหล่านั้นถึงทุคติ มีช่องปากเท่ารูเข็ม ลำบากยิ่งนัก เปลือยกายซูบผอม มีความเกรงกลัวสะดุ้งหวาดเสียวมาก มีการงานทารุณ ไม่อาจแสดงตนแก่พระเถระได้ เปรตผู้เป็นพี่ชายของท่านตนเดียว เปลือยกายรีบไปนั่งคุกเข่าประนมมือแสดงตนแต่พระเถระ พระเถระไม่ใส่ใจถึง เป็นผู้นิ่งเดินเลยไป เปรตนั้นจึงบอกให้พระเถระรู้ว่า ข้าพเจ้า พี่ชายของท่านไปสู่เปตโลก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มารดาบิดาของท่านเกิดในยมโลกเสวยทุกข์ เพราะทำบาปกรรมจึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก เปรตผู้เป็นมารดาบิดาของท่านทั้งสองนั้น มีช่องปากเท่ารูเข็ม ลำบากมาก เปลือยกาย ซูบผอม มีความเกรงกลัวสะดุ้งหวาดเสียวมาก มีการงาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 366

ทารุณ ไม่อาจแสดงตนแก่ท่าน ขอท่านจงเป็นผู้มีความกรุณาอนุเคราะห์แก่มารดาบิดา จงให้ทานแล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้พวกเรา พวกเราผู้มีการงานอันทารุณ จักยังอัตภาพให้เป็นไปได้ เพราะทานอันท่านให้แล้ว

พระเถระกับภิกษุอินอีก ๑๒ รูปเที่ยวไปบิณฑบาตแล้ว กลับมาประชุมในที่เดียวกัน เพราะเหตุแห่งภัตกิจ พระเถระจึงกล่าวกะภิกษุทั้งหมดนั้นว่า ขอท่านทั้งหลายจงให้ภัตตาหารที่ท่านได้แล้วแก่ผมเถิด ผมจักทำสังฆทานเพื่อ อนุเคราะห์ญาติทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นจึงมอบถวายพระเถระ พระเถระนิมนต์สงฆ์ถวายสังฆทานแล้ว อุทิศส่วนกุศลไปให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของเรา ขอญาติทั้งหลายจงมีความสุขเถิด ในลำดับที่อุทิศให้นั่นเอง โภชนะอันประณีตสมบูรณ์ มีแกงและกับหลายอย่างเกิดขึ้นแก่เปรตเหล่านั้น

ภายหลัง เปรตผู้เป็นพี่ชายมีผิวพรรณดี มีกำลัง มีความสุข ได้ไปแสดงตนแก่พระเถระ แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โภชนะอันมาก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 367

มายที่พวกข้าพเจ้าได้แล้ว แต่ขอท่านจงดูข้าพเจ้าทั้งหลายยังเป็นคนเปลือยกายอยู่ ขอท่านจงพยายามให้ข้าพเจ้าทั้งหลายได้ผ้านุ่งผ้าห่มด้วยเถิด พระเถระเลือกเก็บผ้าจากกองหยากเยื่อเอามาทำจีวรแล้ว ถวายสงฆ์อันมาแล้วจากจาตุรทิศ ครั้นถวายแล้วได้อุทิศส่วนกุศลให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลาย ขอพวกญาติของเราจงมีความสุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง ผ้าทั้งหลายได้เกิดขึ้นแก่เปรตเหล่านั้น

ภายหลัง เปรตเหล่านั้นนุ่งห่มผ้าเรียบร้อยแล้ว ได้มาแสดงตนแก่พระเถระกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายมีผิวพรรณดี มีกำลัง มีความสุข มีผ้านุ่งผ้าห่มมากกว่าผ้าที่มีในแคว้นของพระเจ้านันทราช ผ้านุ่งผ้าห่มทั้งหลายของพวกเราไพบูลย์และมีค่ามาก คือ ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าป่าน ผ้าด้ายแกมไหม ผ้าเหล่านั้นแขวนอยู่ในอากาศ ข้าพเจ้าทั้งหลายเลือกนุ่งห่มแต่ผืนที่พอใจ (แต่ว่าพวกข้าพเจ้ายังไม่มีบ้านเรือนอยู่) ขอท่านจงพยายาม ให้พวกข้าพเจ้าได้บ้านเรือนเถิด พระเถระสร้าง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 368

กุฏีอันมุ่งด้วยใบไม้ แล้วได้ถวายสงฆ์ซึ่งมาแต่จาตุรทิศ ครั้นแล้วได้อุทิศส่วนกุศลให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอผลแต่งการถวายกุฏีนี้ จงสำเร็จแก่พวกญาติของเรา ขอพวกญาติของเราจงมีความสุขเถิด ในลำดับแห่งการ อุทิศนั่นเอง เรือนทั้งหลาย คือ ปราสาทและเรือนอย่างอื่นๆ อันบุญกรรมกำหนดแบ่งไว้เป็นส่วนๆ เกิดขึ้นแล้วแก่เปรตเหล่านั้น เรือนของพวกเราในเปตโลกนี้ไม่เหมือนกับเรือนในมนุษยโลก เรือนของพวกเราในเปตโลกนี้ งามรุ่งเรืองสว่างไสวไปทั่วทั้ง ๘ ทิศ เหมือนเรือนในเทวโลก แต่พวกเรายังไม่มีน้ำดื่ม ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงพยายามให้พวกข้าพเจ้าได้น้ำดื่มด้วยเถิด พระเถระจึงตักน้ำเต็มธรรมกรก แล้วถวายสงฆ์ซึ่งมาแต่จาตุรทิศ ครั้นแล้วได้อุทิศส่วนกุศลให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอผลทานนี้จงสำเร็จแก่พวกญาติของ เรา ขอพวกญาติของเราจงมีความสุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง น้ำดื่มคือสระโบกขรณีกว้าง ๔ เหลี่ยม ลึก มีน้ำเย็น มีท่าราบเรียบดี น้ำเย็นมีกลิ่นหอมหาที่เปรียบมิได้ ดารดาษด้วย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 369

กอปทุมและอุบล เต็มด้วยละอองเกษรบัวอันร่วงบนวารี ได้เกิดขึ้นเปรตเหล่านั้นอาบและดื่มกินในสระนั้นแล้ว ไปแสดงตนแก่พระเถระแล้ว กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ น้ำดื่มของพวกข้าพเจ้ามากเพียงพอแล้ว บาปย่อมเผล็ดผลเป็นทุกข์แก่พวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าพากันเที่ยวไปลำบากในภูมิภาคอันมีก้อนกรวดและหน่อหญ้าคา ขอท่านพยายามให้พวกข้าพเจ้าได้ยานอย่างใดอย่างหนึ่งเถิด พระเถระได้รองเท้าแล้วถวายสงฆ์ซึ่งมาแต่จาตุรทิศ ครั้นแล้วอุทิศส่วนกุศลให้ มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอผลทานนี้จงสำเร็จแก่พวกญาติของเรา ขอพวกญาติของเราจงมีความสุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง เปรตทั้งหลายได้พากันมาแสดงตนให้ปรากฏด้วยรถ แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นผู้อันท่านอนุเคราะห์แล้ว ด้วยการให้ข้าว ผ้านุ่งผ้าห่ม เรือน น้ำดื่ม และยาน เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายจึงมาเพื่อจะไหว้ท่านผู้เป็นมุนีมีความกรุณาในโลก.

จบ สานุวาสีเถรเปตวัตถุที่ ๒

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 370

อรรถกถาสานุวาสีเถรเปตวัตถุที่ ๒

เมื่อพระคาสดาประทับอยู่ในพระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภเปรตผู้เป็นญาติของท่านพระสานุวาสีเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า กุณฺฑินาคริโย เถโร ดังนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกรุงพาราณสี พระราชโอรสของพระราชาทรงพระนามกิตวะ ทรงกรีฑาในพระราชอุทยาน เมื่อเสด็จกลับทรงทอดพระเนตรเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งนามว่า สุเนตต์ กำลังเที่ยวบิณฑบาต ออกจากพระนคร เป็นผู้เมาด้วยความเมาเพราะความเป็นใหญ่ มีจิตคิดประทุษร้ายว่า สมณะโล้นนี้ ไม่กระทำอัญชลีอะไรๆ แก่เรา เดินไป เสด็จลงจากคอช้างแล้ว ถามว่า ท่านได้บิณฑบาตบ้างไหม? จึงรับบาตรจากมือแล้วทุ่มลงที่พื้นดินให้ตกไป. ลำดับนั้น พระราชโอรสนั้นมีความอาฆาตในฐานะอันไม่สมควร มีจิตคิดประทุษร้ายพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ผู้ไม่แสดงความวิการ เพราะท่านถึงความคงที่ ผู้มีจิตผ่องใส อันตกแต่ง (ประกอบ) ด้วยโสมนัสเวทนา แผ่ไปด้วยอำนาจกรุณา ตรวจดูอยู่ในที่ทุกสถาน จึงตรัสว่า ท่านไม่รู้จักเรา ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากิตวะดอกหรือ ท่านมองดูอยู่ จะทำอะไรเราได้ เมื่อไม่อาจจึงหลีกไป. ก็พอพระราชโอรสหลีกไป

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 371

เท่านั้น ก็เกิดความเร่าร้อนในร่างกายเป็นกำลัง เปรียบเหมือนความเร่าร้อนแห่งไฟในนรก. เพราะวิบากกรรมนั้น พระราชโอรสนั้นจึงมีกายถูกความเร่าร้อนเป็นอันมากครอบงำ ถูกทุกขเวทนาอย่างแรงกล้าเสียดแทง ทำกาละแล้ว บังเกิดในอเวจีมหานรก.

พระราชโอรสนั้น นอนหงาย นอนคว่ำ กลิ้งเกลือก พลิกขวา พลิกซ้าย โดยประการเป็นอันมากในที่นั้น ไหม้อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี จุติจากอัตตภาพนั้นแล้ว เสวยทุกข์อันเกิดแต่ความหิวกระหายในหมู่เปรตตลอดกาลนับประมาณมิได้ จุติจากอัตตภาพนั้นแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเกวัฏฏคาม ใกล้กุณฑินคร, เขาเกิดญาณอันระลึกชาติได้, เพราะเหตุนั้นเขาเมื่ออนุสรณ์ถึงทุกข์ที่ตนเคยเสวยในกาลก่อน แม้เจริญวัยแล้ว ก็ไม่ยอมไปจับปลากับพวกหมู่ญาติ เพราะกลัวบาป. เมื่อพวกญาติเหล่านั้นพากันไป เขาก็แอบเสีย ไม่ปรารถนาจะฆ่าปลา และเขาก็ไปทำลายข่าย หรือจับปลาเป็นๆ มาปล่อยในน้ำเสีย พวกญาติเมื่อไม่ชอบใจการกระทำเช่นนั้นของ เขา จึงไล่เขาออกจากบ้าน. แต่เธอมีพี่ชายอยู่คนหนึ่ง ซึ่งมีความรักเขามาก.

สมัยนั้น ท่านพระอานนท์อาศัยกุณฑินคร อยู่ในสานุบรรพต. ลำดับนั้น บุตรชาวประมงนั้นถูกพวกญาติทอดทิ้ง เที่ยวเร่ร่อนไปทุกแห่งที่ถึงสถานที่แห่งนั้นแล้ว เข้าไปหาพระเถระในเวลาฉันภัตตาหาร พระเถระถามเธอแล้ว รู้ว่าเธอต้องการอาหาร จึงให้ภัตตาหารแก่เธอ เธอบริโภคภัตตาหารเสร็จแล้ว รู้เรื่องนั้นแล้ว

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 372

รู้ถึงความเลื่อมใสในธรรมกถา จึงกล่าวว่า จักบวชไหมคุณ? เธอเรียนถวายว่า จักบวช ขอรับ. พระเถระ ครั้นให้เธอบรรพชาแล้ว พร้อมกับเธอ ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระเถระนั้นว่า อานนท์ เธอพึงช่วยอนุเคราะห์สามเณรนี้เถิด. แต่เพราะสามเณรไม่เคยกระทำกุศลไว้ เธอจึงมีลาภน้อย. ลำดับนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงอนุเคราะห์เธอ จึงแนะให้เธอตักน้ำดื่มให้เต็มหม้อ เพื่อให้ภิกษุบริโภค. อุบาสกและ อุบาสิกาทั้งหลายเห็นดังนั้น จึงเริ่มตั้งนิตยภัตเป็นอันมากแก่เธอ.

สมัยต่อมา เธอได้อุปสมบทแล้ว บรรลุพระอรหัต เป็นพระเถระ พร้อมกับภิกษุ ๑๒ รูป ได้อยู่ที่สานุบรรพต. ฝ่ายพวกญาติของเธอประมาณ ๕๐๐ คน มิได้ก่อสร้างกุศลกรรมไว้ สร้างแต่บาปธรรมมีมัจฉริยะเป็นต้น ทำกาละแล้ว บังเกิดในหมู่เปรต. ฝ่ายมารดาบิดาของเขา ระลึกอยู่ว่า ในกาลก่อนผู้นี้ถูกพวกเราขับไล่ออกจากเรือน จึงไม่เข้าไปหาเธอ ส่งพี่ชายที่รักใคร่ชอบใจในเธอไป. ในเวลาที่พระเถระเข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน เธอยันเข่าขวาลงที่พื้นดิน กระทำอัญชลี แสดงตน ได้กล่าวคาถามีอาทิว่า มาตา ปิตา จ เต ภนฺเต มารดา บิดาของท่านขอรับ. เพื่อจะแสดงความ เกี่ยวพันกันแห่งคาถา ๕ คาถาเบื้องต้น มีอาทิว่า กุณฺฑินาคริโย เถโร ดังนี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงยกขึ้นตั้งไว้ว่า :-

พระเถระชาวกุณฑินครรูปหนึ่ง อยู่ที่ภูเขาสานุวาสี มีนามว่า โปฏฐปาทะ เป็นสมณะ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 373

ผู้มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว มารดาบิดาและพี่ชายของท่านเกิดในยมโลก เสวยทุกขเวทนา ทำกรรมอันลามก จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก เปรตเหล่านั้นถึงทุคติ มีช่องปากเท่ารูเข็ม ลำบากยิ่งนัก เปลือยกาย ซูบผอม มีความเกรงกลัวสดุ้ง หวาดเสียวมาก มีการงานทารุณ ไม่อาจแสดงตนแก่พระเถระได้ เปรตผู้เป็นพี่ชายของท่านตนเดียว เปลือยกายรีบไปนั่งคุกเข่า ประนมมือ แสดงตนแก่พระเถระ พระเถระไม่ใส่ใจถึง เป็นผู้นิ่งเดินเลยไป เปรตนั้นจึงบอกให้พระเถระว่า ข้าพเจ้าเป็นพี่ชายของท่านไปสู่เปตโลก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มารดาบิดาของท่านเกิดในยมโลก เสวยทุกขเวทนา เพราะทำบาปกรรมไว้ จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก เปรตผู้เป็นมารดา บิดา ของท่านทั้ง ๒ นั้น มีช่องปากเท่ารูเข็ม ลำบากมาก เปลือยกาย ซูบผอม มีความเกรงกลัวสะดุ้งหวาดเสียวมาก มีการงานทารุณ. ไม่อาจแสดงตนแก่ท่านได้ ขอท่านจงเป็นผู้มีความกรุณาอนุเคราะห์แก่มารดาบิดาเถิด จงให้ทานแล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้พวกเรา พวกเราผู้มีการงานอันทารุณ จักยังอัตตภาพให้เป็นไปได้ เพราะทาน

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 374

อันท่านให้แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุณฺฑินาคริโย เถโร ได้แก่พระเถระผู้เกิดเติบโตในนครมีชื่ออย่างนี้ บาลีว่า กุณฺฑิกนคโร เถโร ดังนี้ก็มี บาลีนั้น ความก็อย่างนี้. บทว่า สานุวาสินิวาสิโก ได้แก่ ผู้มีปกติอยู่ที่สานุบรรพต. บทว่า โปฏฺปาโทติ นาเมน ได้แก่ เขามีชื่อว่า โปฏฐปาทะ. บทว่า สมโณ แปลว่า เป็นผู้สงบบาป. บทว่า ภาวิตินฺทฺริโย ความว่า ผู้อบรมสัทธินทรีย์เป็นต้นแล้วด้วยอริยมรรคภาวนา คือเป็นพระอรหันต์. บทว่า ตสฺส ได้แก่ พระสานุวาสีเถระนั้น. บทว่า ทุคฺคตา ได้แก่ ผู้ไปสู่ทุกคติ. บทว่า สูจิกฏฺฏา ได้แก่ ผู้มีช่องปากเท่ารูเข็ม เพราะเป็นผู้เศร้าหมองด้วยของเน่าเปื่อย คือ อึดอัดอยู่ ได้แก่ ถูกความหิวกระหายอันได้นามว่า สูจิกา บีบคั้นแล้ว อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สูจิกณฺา ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ผู้มีช่องปากเสมือนกับรูเข็ม. บทว่า กิสนฺตา ได้แก่ ผู้มีกายและจิตลำบาก. บทว่า นคฺคิโน ได้แก่ เป็นผู้มีรูปร่างเปลือย คือไม่มีท่อนผ้า. บทว่า กิสา ได้แก่ ผู้มีร่างกายซูบผอม เพราะมีร่างกายเหลือแต่เพียง หนังหุ้มกระดูก. บทว่า อุตฺตสนฺตา ได้แก่ ถึงความหวาดเสียว เพราะความเกรงกลัวว่า สมณะนี้เป็นบุตรของเรา. บทว่า มหตฺตาสา ได้แก่ เกิดมหาภัยขึ้น เพราะอาศัยกรรมที่ตนได้ทำไว้ในปางก่อน บทว่า น ทสฺเสนฺติ ความว่า ไม่แสดงตน คือ ไม่ยอมเผชิญหน้ากัน. บทว่า กุรูริโน แปลว่า ผู้มีการงานทารุณ.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 375

บทว่า ตสฺส ภาตา ได้แก่ เปรตผู้เป็นพี่ชายของสานุวาสีเถระ. บทว่า วิตริตฺวา แปลว่า เป็นผู้รีบข้ามไปแล้ว, อธิบายว่า มีภัยเกิดแต่ความสะดุ้งเพราะเกรงกลัว. อีกอย่างหนึ่งบาลีว่า วิตุริตฺวา ดังนี้ก็มี อธิบายว่าเป็นผู้รีบด่วน คือ รีบไป. บทว่า เอกปเถ คือ ในหนทางสำหรับเดินได้คนเดียว. บทว่า เอกโก คือ ไปคนเดียว ไม่มีเพื่อน. บทว่า จตุกุณฺฑิโก ภวิตฺวาน ความว่า ชื่อว่า จฑุกุณฺฑิโก เพราะเสวยทุกขเวทนา คือ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยองค์ ๔ อธิบายว่า ใช้เข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ เดินและยืน (คลานไป) อธิบายว่า เป็นอย่างนั้น. จริงอยู่ เปรตนั้นได้กระทำอย่างนั้นว่า การปกปิดอวัยวะอันยังหิริให้กำเริบ ย่อมมีแต่นี้. บทว่า เถรสฺส ทสฺสยีตุมํ ความว่า อ้างคือ แสดงตนแก่พระเถระ.

บทว่า อมนฺสิกตฺวา ได้แก่ ไม่ทำไว้ในใจ คือ ไม่นึกถึงอย่างนี้ว่า ผู้นี้ชื่ออย่างนี้. บทว่า โส จ ได้แก่ เปรตนั้น. บทว่า ภาตา เปตคโต อหํ มีวาจาประกอบความว่า เปรตนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า เราเป็นพี่ชายในอัตภาพที่เป็นอดีต, บัดนี้ เราเป็นเปรตมาในที่นี้ ดังนี้แล้วจึงให้พระเถระรับรู้.

ก็เพื่อจะแสดงประการที่จะให้พระเถระรับรู้ได้ จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถา โดยนัยมีอาทิว่า มาตา ปิตา จ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาตา ปิตา จ เต แปลว่า มารดาและบิดาของท่าน. บทว่า อนุกมฺปสฺสุ ความว่า จงอนุเคราะห์ คือจงทำความเอ็นดู.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 376

บทว่า อนฺวาทิสาทิ แปลว่า เจาะจง. บทว่า โน ได้แก่ พวกเรา. บทว่า ตว ทินฺเนน ได้แก่ ด้วยทานที่ท่านให้แล้ว.

พระเถระ ครั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว เพื่อจะแสดงข้อที่เปรตนั้นปฏิบัติ จึงกล่าวคาถาทั้งหลายว่า :-

พระเถระกับภิกษุอื่นอีก ๑๒ รูป เที่ยวไปบิณฑบาตแล้ว กลับมาประชุมกันในที่เดียวกัน เพราะเหตุแห่งภัตกิจ, พระเถระจึงกล่าวกะภิกษุทั้งหมดนั้นว่า ขอท่านทั้งหลายจงให้ภัตตาหารที่ท่านได้แล้วแก่กระผมเถิด กระผมจักทำสังฆทานเพื่ออนุเคราะห์หมู่ญาติ ภิกษุเหล่านั้นจึงมอบถวายพระเถระ พระเถระจึงนิมนต์สงฆ์ ถวายสังฆทานแล้ว อุทิศส่วนกุศลไปให้มารดา บิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของเรา ขอญาติทั้งหลายจงมีความสุขเถิด ในลำดับที่อุทิศให้นั่นเอง โภชนะอันประณีตสมบูรณ์ มีแกงและกับหลาย อย่างเกิดขึ้นแก่เปรตเหล่านั้น ภายหลังเปรตผู้เป็นพี่ชาย มีผิวพรรณดี มีกำลัง มีความสุข ได้ไปแสดงตนแก่พระเถระ แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โภชนะเป็นอันมากที่พวกข้าพเจ้าได้แล้ว แต่ขอท่านจงดูข้าพเจ้าทั้งหลาย ยังเป็นคนเปลือย

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 377

กายอยู่ ขอท่านจงพยายามให้ข้าพเจ้าทั้งหลายได้ผ้านุ่งห่มด้วยเถิด พระเถระเลือกเก็บผ้าจากกองหยากเหยื่อเอามาทำจีวรแล้วถวายสงฆ์อันมาจากจาตุรทิศ ครั้นถวายแล้ว ได้อุทิศส่วนกุศลให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอ ทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายเถิด ขอพวกญาติของเราจงมีความสุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั้นเอง ผ้าทั้งหลายได้เกิดขึ้นแก่เปรตเหล่านั้น ภายหลังเปรตเหล่านั้นนุ่งห่มผ้าเรียบร้อยแล้ว ได้มาแสดงตนแก่พระเถระ กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายมีผิวพรรณดี มีกำลัง มีความสุข มีผ้านุ่งผ้าห่มมากกว่าผ้าที่มีในแคว้นของพระเจ้านันทราช ผ้านุ่งผ้าห่มทั้งหลายของพวกเราไพบูลย์และมีค่ามาก คือ ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าเปือกไม้ ผ้าฝ้าย ฝ้าป่าน ผ้าด้ายแกมไหม ผ้าเหล่านั้นแขวนอยู่ ในอากาศ ข้าพเจ้าทั้งหลายเลือกนุ่งห่มแต่ผืนที่พอใจ ขอท่านจงพยายามให้พวกข้าพเจ้าได้บ้านเรือนเถิด พระเถระสร้างกุฏีมุงด้วยใบไม้ แล้วได้ถวายสงฆ์ซึ่งมาแต่จตุรทิศ ครั้นแล้วได้อุทิศส่วนกุศลให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 378

เจตนาว่า ขอผลแต่งการถวายกุฏีนี้ จงสำเร็จแก่พวกญาติของเรา ขอพวกญาติของเราจงมีความสุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง เรือนทั้งหลาย คือ ปราสาทและเรือนอย่างอื่นๆ อันบุญกรรมกำหนดแบ่งไว้เป็นส่วนๆ เกิดขึ้นแล้ว แก่เปรตเหล่านั้น เรือนของพวกเราในเปตโลกนี้ไม่เหมือนกับเรือนในมนุษยโลก. เรือนของพวกเราในเปตโลกนี้ งามรุ่งเรืองสว่างไสวไปทั่วทั้ง ๘ ทิศ เหมือนเรือนในเทวโลก แต่พวกเรายังไม่มีน้ำดื่ม ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงพยายามให้พวกข้าพเจ้าได้ดื่มด้วยเถิด พระเถระจึงตักน้ำเต็มธรรมกรกแล้วถวายสงฆ์ซึ่งมาแต่จตุรทิศ แล้วได้อุทิศส่วนกุศลให้แก่มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอผลทานนี้จงสำเร็จแก่พวกญาติของเรา ขอพวกญาติของเราจงมีความสุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง น้ำดื่ม คือ สระโบกขรณีกว้าง ๔ เหลี่ยม ลึกมีน้ำเย็น มีท่าราบเรียบดี น้ำเย็นกลิ่นหอมหาที่เปรียบมิได้ ดารดาษด้วยกอปทุมและอุบลเต็มด้วยละอองเกสรบัวอันร่วงหล่นบนวารีได้เกิดขึ้น เปรตเหล่านั้นอาบและดื่มกินในสระนั้นแล้ว ไปแสดง

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 379

ตนแก่พระเถระแล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ น้ำดื่มของพวกข้าพเจ้ามากเพียงพอแล้ว บาปย่อมเผล็ดผลเป็นทุกข์แก่พวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าพากันเที่ยวไปลำบากในภูมิภาค อันมีก้อนกรวดและหน่อหญ้าคา ขอท่านพยายามให้พวก ข้าพเจ้าได้ยานอย่างใดอย่างหนึ่งเถิด พระเถระได้รองเท้าแล้วถวายสงฆ์ซึ่งมาแต่จตุรทิศ ครั้นแล้วอุทิศส่วนกุศลให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอผลทานนี้จงสำเร็จแก่พวกญาติของเรา ขอพวกญาติของเราจงมีความสุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง เปรตทั้งหลายได้พากันมาแสดงตนให้ปรากฏด้วยรถแล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นผู้อันท่านอนุเคราะห์แล้ว ด้วยการให้ข้าว ผ้านุ่ง ผ้าห่ม เรือน น้ำดื่ม และยาน เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายจึงมาเพื่อจะไหว้ท่านผู้เป็นมุนี มีความกรุณาในโลก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เถโร จริตฺวา ปิณฺฑาย ความว่า พระเถระเที่ยวจาริกไปบิณฑบาต. บทว่า ภิกฺขู อญฺเ จ ทฺวาทส ความว่า ภิกษุอยู่กับพระเถระและภิกษุอื่นอีก ๑๒ รูป ประชุมร่วมในที่เดียวกัน. หากมีคำถามสอดเข้ามาว่า เพราะเหตุไร?

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 380

ตอบว่า เพราะส่วนพิเศษแห่งภัตเป็นเหตุ. อธิบายว่า เพราะภัตกิจเป็นเหตุ คือ เพราะการฉันเป็นเหตุ. บทว่า เต โดยภิกษุเหล่านั้น. บทว่า ยถา ลทฺธํ แปลว่า ตามที่ได้. บทว่า ททาถ แปลว่า จงให้.

บทว่า นิยฺยาทยึสุ แปลว่า ได้ให้แล้ว. บทว่า สงฺฆํ นิมนฺตยิ ความว่า นิมนต์ภิกษุ ๑๒ รูปนั่นแหละ เพื่อฉันภัตตาหารนั้น โดยสังฆุทเทศ อุทิศสงฆ์. บทว่า อนฺวาทิสิ ได้แก่ อุทิศให้. บรรดาญาติเหล่านั้น เพื่อจะแสดงญาติที่ตนเจาะจงเหล่านั้น จึงกล่าวคำว่า ขอผลทานนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดา และพี่ชาย ขอผลทานนี้จงสำเร็จแก่พวกญาติของเรา ขอพวกญาติจงมีความสุขเถิด.

บทว่า สมนนฺตรานุทิทิฏฺเ แปลว่า พร้อมกันการอุทิศนั่นเอง. บทว่า โภชนํ อุปปชฺชถ ความว่า โภชนะย่อมเกิดแก่เปรตเหล่านั้น. เพื่อจะเลี่ยงคำถามว่า โภชนะเช่นไร? จึงกล่าวว่า โภชนะอันสะอาด. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกรสพฺยญฺชนํ ได้แก่ ประกอบด้วยกับข้าวมีรสต่างๆ หรือว่ามีรสหลายอย่าง และมีกับข้าวหลายอย่าง. บทว่า ตโต ได้แก่ ภายหลังแต่การได้โภชนะ.

บทว่า อุทฺทสฺสยี ภาตา ความว่า เปรตผู้เป็นพี่ชายแสดงตนแก่พระเถระ. บทว่า วณฺณวา พลวา สุขี ความว่า เพราะการได้โภชนะนั้น ทันใดนั้นเองเปรตนั้นสมบูรณ์ด้วยรูป สมบูรณ์ด้วยกำลัง มีความสุขทีเดียว. บทว่า ปหูตํ โภชนํ ภนฺเต ความว่า ท่านผู้เจริญ โภชนะมากมาย คือมิใช่น้อยอันเราได้แล้ว เพราะอานุภาพทานของท่าน. บทว่า ปสฺส นคฺคามฺหเส ความว่า ท่านจงดู

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 381

แต่พวกเราเป็นคนเปลือยกาย เพราะฉะนั้น ขอท่านจงบากบั่นกระทำความพยายามอย่างนั้นเถิด ขอรับ. บทว่า ยถา วตฺถํ ลภามเส ความว่า ขอท่านทั้งหลายจงพยายามโดยประการ คือโดยความพยายามที่ข้าพเจ้าทั้งหมดพึงได้ผ้าเถิด.

บทว่า สงฺการกกูฏมฺหา ได้แก่ จากกองหยากเยื่อในที่นั้นๆ. บทว่า อุจฺจินิตฺวาน ได้แก่ ถือเอาโดยการแสวงหา. บทว่า นนฺตเก ได้แก่ ท่อนผ้าที่เขาทิ้งมีชายขาด. ก็เพราะผ้าเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นผ้าท่อนเก่าขาดรุ่งริ่ง พระเถระเอาผ้าเหล่านั้นทำเป็นจีวรถวายสงฆ์ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทำผ้าท่อนเก่าให้เป็นผืนผ้า แล้วอุทิศสงฆ์ผู้มาจากจตุรทิศ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺเฆ จาตุทฺทิเส อท ความว่า ได้ถวายแก่สงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔. ก็บทว่า สงฺเฆ จาตุทฺทิเส นี้ เป็นสัตตมีวิภัติลงในอรรถแห่งจตุตถีวิภัติ.

บทว่า สุวตฺถวสโน แปลว่า เป็นนุ่งห่มผ้าดี. บทว่า เถรสฺส ทสฺสยีตุมํ ความว่า แสดงตน คืออ้างตน ได้แก่ปรากฏตนแก่พระเถระ. ผ้าชื่อว่าปฏิจฉทา เพราะเป็นที่ปกปิด

บทว่า กูฏาคารนิเวสนา ได้แก่ เรือนที่เป็นปราสาท และที่อยู่อาศัยอื่นจากปราสาทนั้น. จริงอยู่ บทว่า กูฏาคารนิเวสนา นี้ ท่านกล่าวโดยเป็นลิงควิปลาส. บทว่า วิภตฺตา ได้แก่ ที่เขาจัดแบ่งโดยสันฐาน ๔ เหลี่ยมเท่ากัน ยาว และกลม. บทว่า ภาคโส มิตา แปลว่า กำหนดเป็นส่วนๆ. บทว่า โน ได้แก่ ข้าพเจ้าทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 382

บทว่า อิธ ได้แก่ เปตโลกนี้. ศัพท์ว่า อปิ ในบทว่า อปิ ทิพฺเพสุ นี้ เป็นเพียงนิบาต อธิบายว่า ในเทวโลก.

บทว่า กรกํ ได้แก่ ธมกรก. บทว่า ปูเรตฺวา แปลว่า เต็มด้วยน้ำ. บทว่า วาริกิญฺชกฺขปูริตา ได้แก่ เหมือน้ำในที่นั้นๆ ดารดาษเต็มด้วยเกสรปทุมและอุบล เป็นต้น บทว่า ผลนฺติ แปลว่า ย่อมบาน อธิบายว่า แตกออกที่ส้นเท้าและริมๆ เท้าเป็นต้น.

บทว่า อาหิณฺฑมานา ได้แก่ เที่ยวไปอยู่. บทว่า ขญฺชาม แปลว่า เขยกไป. บทว่า สกฺขเร กุสกณฺฏเก ได้แก่ ในภูมิภาคอันมีก้อนกรวดและหน่อหญ้าคา อธิบายว่า เหยียบลงที่ก้อนกรวดและหน่อหญ้าคา. บทว่า ยานํ ได้แก่ ยานชนิดใดชนิดหนึ่ง มีรถและล้อเลือนเป็นต้น. บทว่า สิปาฏิกํ ได้แก่ รองเท้าชั้นเดียว.

อักษรในบทว่า รเถน มาคมุํ นี้ ทำการเชื่อมบท คือ มาด้วยรถ. บทว่า อุภยํ แปลว่า ด้วยการให้ทั้ง ๒ คือ ด้วยการให้ยาน และด้วยการให้ปัจจัย ๔ มีภัตเป็นต้น จริงอยู่ ในการให้ ๒ อย่างนั้น แม้การให้เภสัช ท่านก็สงเคราะห์ด้วยการให้น้ำดื่ม คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล

พระเถระกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ จึงตรัสว่า เปรตเหล่านี้ย่อมเสวยทุกข์อย่างใหญ่ในบัดนี้ ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เป็นเปรตในอัตตภาพอันเป็นลำดับอันเป็นอดีต แต่อัตตภาพนี้ย่อมเสวยทุกข์ใหญ่ ดังนี้แล้ว อันพระเถระทูลอาราธนา จึงทรง

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 383

แสดงเรื่องสุตตเปรตแล้วทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว มหาชนได้ฟังเรื่องนั้นแล้วเกิดความสลดใจ ได้เป็นผู้ยินดีในบุญกรรมมีทานและศีลเป็นต้นแล.

จบ อรรถกถาสานุวาสีเถรเปตวัตถุที่ ๒