พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. มิคลุททเปตวัตถุที่ ๑ ว่าด้วยนายพรานเนื้อใจหยาบตายไปเป็นเปรต

 
บ้านธัมมะ
วันที่  17 พ.ย. 2564
หมายเลข  40375
อ่าน  367

[เล่มที่ 49] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 420

จูฬวรรคที่ ๓

๗. มิคลุททเปตวัตถุที่ ๑

ว่าด้วยนายพรานเนื้อใจหยาบตายไปเป็นเปรต


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 49]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 420

๗. มิคลุททเปตวัตถุที่ ๑

ว่าด้วยนายพรานเนื้อใจหยาบตายไปเป็นเปรต

พระนารทเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า

[๑๑๙] ท่านเป็นคนหนุ่มแน่น ห้อมล้อมด้วยเทพบุตรและเทพธิดา รุ่งเรืองอยู่ด้วยกามคุณ อันให้เกิดความกำหนัดยินดีในราตรี เสวยทุกข์ในกลางวัน ท่านได้ทำกรรมอะไรไว้ในชาติก่อน.

เปรตนั้นตอบว่า

เมื่อก่อน กระผมเป็นพรานเนื้อ อยู่ที่กรุงราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์ มีภูเขาล้อมรอบ (ปัญจคีรีนคร) เป็นผู้มีฝ่ามือเปื้อนโลหิต เป็นคนหยาบช้าทารุณมีใจประทุษร้ายในสัตว์เป็นอันมากผู้ไม่ได้กระทำความโกรธเคืองให้ ยินดีแต่ในการเบียดเบียนสัตว์อื่น เป็นผู้ไม่สำรวมด้วยกาย วาจา ใจ เป็นนิตย์ อุบาสกคนหนึ่งผู้เป็นสหายของกระผม เป็นคนใจดีมีศรัทธา ก็อุบาสกคนนั้นเป็นคนเอ็นดูกระผม ห้ามกระผมอยู่เนืองๆ ว่า อย่าทำบาปกรรมเลย พ่อเอ๋ย อย่าไปทุคติเลย ถ้าท่านปรารถนาความสุขในโลกหน้า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 421

จงงดเว้นการฆ่าสัตว์ อันเป็นการไม่สำรวมเสียเถิด กระผมฟังคำของสหายผู้หวังดีมีความอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์นั้นแล้ว ไม่ทำตามคำสั่งสอนทั้งสิ้น เพราะกระผมเป็นคนไม่มีปัญญา ยินดีในบาปตลาดกาลนาน สหายผู้มีปัญญาดีนั้น แนะนำกระผมให้ตั้งอยู่ในความสำรวมด้วยความอนุเคราะห์ว่า ถ้าท่านฆ่าสัตว์ในกลางวัน ส่วนกลางคืนจงงดเว้นเสีย กระผมจึงฆ่าสัตว์แต่เฉพาะกลางวัน กลางคืนเป็นผู้สำรวมงดเว้น เพราะฉะนั้นกลางคืนกระผมจึงได้รับความสุข กลางวันได้เสวยทุกข์ ถูกสุนัขรุมกัดกิน คือ กลางคืนได้เสวยทิพยสมบัติด้วยผลแห่งกุศลธรรมนั้น ส่วนกลางวันฝูงสุนัขมีจิตเดือดดาลพากันห้อมล้อมกัดกินกระผมรอบด้าน ก็ชนเหล่าใดผู้มีความเพียรเนืองๆ บากบั่นมั่นในศาสนาของพระสุคต กระผมเข้าใจว่า ชนเหล่านั้นจักได้บรรลุอมตบทอันปัจจัยอะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้อย่างแน่นอน.

จบ ปฐมมิคลุททเปตวัตถุที่ ๗

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 422

อรรถกถาปฐมมิคลุททกเปตวัตถุที่ ๗

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภมิคลุททกเปรต จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นรนาริปุรกฺขโต ยุวา ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงราชคฤห์ ยังมีพรานคนหนึ่ง เที่ยวล่าเนื้อเลี้ยงชีพตลอดคืนและวัน. พรานนั้นได้มีอุบาสกคนหนึ่งเป็นมิตร. อุบาสกนั้นเมื่อไม่อาจจะให้นายพรานนั้น กลับจากความชั่วตลอดกาลได้ จึงชักชวนในการบุญตอนราตรีว่า มาเถอะสหาย ท่านจงงดเว้นจากปาณาติบาตในตอนกลางคืน. เขางดเว้นในตอนกลางคืน กระทำปาณาติบาตในตอนกลางวันเท่านั้น.

สมัยต่อมา เขาทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเวมานิกเปรต ใกล้กรุงราชคฤห์ เสวยทุกข์อย่างใหญ่ตลอดส่วนกลางวัน เพียบพร้อมพรั่งพร้อมบำเรอด้วยกามคุณ ๕ ในกลางคืน. ท่านนารทะเห็นดังนั้น จึงสอบถามด้วยคาถานี้ว่า :-

ท่านเป็นคนหนุ่มแน่น ห้อมล้อมด้วยเทพบุตรและเทพธิดา รุ่งเรืองอยู่ด้วยกามคุณ อันให้เกิดความกำหนัดยินดีในราตรี เสวยทุกข์ในกลางวัน ท่านได้กระทำกรรมอะไรไว้ในชาติก่อน.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 423

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นรนาริปุรกฺขโต ความว่า อันเทพบุตรเทพธิดาผู้บำรุงบำเรอ พากันแวดล้อมเข้านั่งใกล้. บทว่า ยุวา แปลว่า ยังหนุ่มแน่น. บทว่า รชนีเยหิ แปลว่า อันเป็นเหตุให้ใคร่ คือเป็นเหตุเกิดความกำหนัด. บทว่า กามคุเณหิ ได้แก่ด้วยส่วนแห่งกาม. บทว่า โสภสิ อธิบายว่า ย่อมรุ่งเรืองด้วยความพรั่งพร้อมในกลางคืน. ด้วยเหตุนั้น ท่านนารทะจึงกล่าวว่า เสวยทุกข์ในตอนกลางวัน ดังนี้ อธิบายว่า เสวยเหตุคือ ความคับแค้นมีประการต่างๆ ในตอนกลางวัน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า รชนี ได้แก่ ในตอนกลางคืน. บทว่า เยหิ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า กิมกาสิ ปุริมาย ชาติยา ความว่า ในชาติก่อนแต่ชาตินี้ ท่านได้กระทำกรรมอะไรอันเป็นทางให้เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ ขอท่านจงบอกกรรมนั้นเถิด.

เปรตได้ฟังดังนั้น เมื่อจะบอกกรรมที่ตนกระทำไว้ จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

เมื่อก่อน กระผมเป็นพรานเนื้อ อยู่ที่กรุงราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์มีภูเขาล้อมรอบ (เบญจคีรีนคร) เป็นผู้มีฝ่ามือเปื้อนด้วยโลหิต เป็นคนหยาบช้า ทารุณ มีใจประทุษร้ายในสัตว์เป็นอันมากผู้ไม่ได้กระทำความโกรธเคือง ยินดีแต่ในการเบียดเบียนสัตว์อื่น เป็นผู้ไม่สำรวมด้วยกาย วาจา ใจ เป็นนิตย์ อุบาสกคนหนึ่งผู้เป็นสหาย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 424

ของกระผม เป็นคนมีใจดี มีศรัทธา ก็อุบาสกคนนั้นเป็นคนเอ็นดูกระผม ห้ามกระผมอยู่เนืองๆ ว่า อย่าทำกรรมชั่วเลย พ่อเอ๋ย อย่าไปทุคคติเลย ถ้าท่านปรารถนาความสุขในโลกหน้า จงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ อันเป็นการไม่สำรวม เสียเถิด กระผมฟังคำของสหายผู้หวังดีมีความอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์นั้นแล้ว ไม่ทำตามคำสั่งสอนทั้งสิ้น เพราะกระผมเป็นคนไม่มีปัญญา ยินดีแต่ในบาปตลอดกาลนาน สหายผู้มีปัญญาดีนั้น แนะนำกระผมให้ตั้งอยู่ในความสำรวม ด้วยความอนุเคราะห์ว่า ถ้าท่านฆ่าสัตว์ในตอนกลางวัน ส่วนกลางคืนจงงดเว้นเสีย กระผมจึงฆ่าสัตว์แต่เฉพาะกลางวัน กลางคืนเป็นผู้สำรวมงดเว้น เพราะฉะนั้น กลางคืนกระผมจึงได้รับความสุข กลางวันได้เสวยทุกข์ถูกสุนัขกัดกิน คือกลางคืนได้เสวยทิพยสมบัติ ด้วยผลแห่งกุศลกรรมนั้น ส่วนกลางวันฝูงสุนัขมีจิตเดือดดาล พากันห้อมล้อมกัดกินกระผมรอบด้าน ก็ชนเหล่าใด ผู้มีความเพียรเนืองๆ บากบั่นในศาสนาของพระสุคตเจ้า กระผมเข้าใจว่าชนเหล่านั้นจักได้บรรลุอมตบทอันปัจจัยอะไรๆ ปรุง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 425

แต่งไม่ได้อย่างแน่นอน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลุทฺโท ได้แก่ ผู้ทารุณ. บทว่า โลหิตปาณี ได้แก่ ผู้มีฝ่ามืออันเปื้อนเลือดด้วยการฆ่าสัตว์เนืองๆ. บทว่า ทารุโณ แปลว่า กล้าแข็ง อธิบายว่า เบียดเบียนตนเอง. บทว่า อวิโรธกเรสุ ได้แก่ ในเนื้อและนกเป็นต้น ผู้ไม่กระทำ ความโกรธด้วยอาการอะไรๆ

บทว่า อสํยมา แปลว่า ผู้ไม่สำรวม คือ เป็นผู้ทุศีล. บทว่า สกลานุสาสส ความว่า ซึ่งอนุศาสนีทั้งปวง คือ การงดเว้นจากปาณาติบาตตลอดกาล บทว่า จิรปาปาภิรโต ได้แก่ ผู้ยินดียิ่งในบาปตลอดกาลนาน.

บทว่า สํยเม คือ ในสุจริต. บทว่า นิเวสยิ แปลว่า ตั้งอยู่แล้ว. คำว่า ถ้าท่านฆ่าสัตว์ในเวลากลางวัน ส่วนกลางคืนจงงดเว้นเสีย นี้เป็นคำแสดงอาการแห่งความตั้งมั่น. ได้ยินว่า นายพรานนั้นได้เป็นผู้ประกอบการฆ่าสัตว์เนืองๆ ในเวลากลางคืน ด้วยการดักบ่วง คือลูกศรเป็นต้น.

บทว่า ทิวา ขชฺชามิ ทุคฺคโต ความว่า บัดนี้ ฉันถึงทุคคติ เสวยทุกข์อย่างมหันต์ เคี้ยวกินในตอนกลางวัน. ได้ยินว่า ในตอนกลางวัน เขาได้เสวยผลอันพึงเห็นเสมอด้วยกรรม เพราะเขาให้สุนัขกัดเนื้อ ในส่วนกลางวัน สุนัขใหญ่ๆ วิ่งไปทำสรีระให้เหลือเพียงร่างกระดูก แต่เมื่อย่างเข้ากลางคืน ร่างกายนั้นจึงกลับเป็นปกติตามเดิม เสวยทิพยสมบัติ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า :-

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 426

เพราะฉะนั้น กลางคืนกระผมจึงได้รับความสุข กลางวันได้เสวยทุกข์ ถูกสุนัขรุมกัดกิน คือกลางคืนได้เสวยทิพยสมบัติด้วยผลแห่งกุศลกรรมนั้น ส่วนกลางวันฝูงสุนัขมีจิตเดือดดาลพากันห้อมล้อมกัดกินกระผมรอบด้าน. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิหตา ความว่า เป็นผู้มีจิตเดือดดาล คือ เป็นเสมือนถูกความคับแค้นผูกพัน. บทว่า สมนฺตา ขาทิตุํ ได้แก่ วิ่งไปเพื่อกัดกินร่างกายของเราโดยรอบด้าน. ก็ข้อนี้ ท่านกล่าวหมายเอาเวลาที่พวกสุนัขเหล่านั้นเข้าไปใกล้ นำความกลัวมาให้แก่ตนเป็นอย่างยิ่ง ก็สุนัขเหล่านั้นวิ่งไปกระทำร่างกายให้เหลือแต่เพียงกระดูกแล้วจึงไปเสีย.

ในคาถาสุดท้ายว่า เย จ เต สตตานุโยคิโน มีความสังเขปดังต่อไปนี้ ขึ้นชื่อว่า เรา ก็เป็นผู้งดเว้นจากเหตุเพียงการฆ่าสัตว์เฉพาะในกลางคืน ยังได้เสวยทิพยสมบัติถึงเพียงนี้ ก็บุรุษเหล่าใดผู้ขวนขวายยั่งยืนมั่นคง คือหมั่นประกอบเนืองๆ คือทุกเวลา ใน อธิศีลเป็นต้น ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคสุคตพุทธเจ้า บุรุษเหล่านั้นเป็นผู้มีบุญ เห็นจะบรรลุอมตธรรม อันได้นามว่า อสังขตบท อันไม่เจือปนด้วยโลกิยสุขอย่างเดียวเท่านั้น คือ บุรุษ เหล่านั้นย่อมไม่มีการห้ามอะไรๆ ในการบรรลุอมตบทนั้น.

เมื่อเปรตนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเถระจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระศาสดา. พระศาสดาทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัต

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 427

ติเหตุแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว คำทั้งหมดมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบ อรรถกถาปฐมมิคลุททกเปตวัตถุที่ ๗