พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. มิคลุททเปตวัตถุที่ ๒ ว่าด้วยกรรมให้พรานเนื้อเสวยทุกข์ในป่าช้า

 
บ้านธัมมะ
วันที่  17 พ.ย. 2564
หมายเลข  40376
อ่าน  340

[เล่มที่ 49] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 428

จูฬวรรคที่ ๓

๘. มิคลุททเปตวัตถุที่ ๒

ว่าด้วยกรรมให้พรานเนื้อเสวยทุกข์ในป่าช้า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 49]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 428

๘. มิคลุททเปตวัตถุที่ ๒

ว่าด้วยกรรมให้พรานเนื้อเสวยทุกข์ในป่าช้า

พระนารทเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า

[๑๑๘] ท่านรื่นรมย์อยู่ในเรือนยอดและปราสาท บนบัลลังก์อันปูลาดด้วยผ้าขนสัตว์ ด้วยดนตรีเครื่อง ๕ อันบุคคลประโคมแล้ว ภายหลังเมื่อสิ้นราตรีพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว ท่านเข้าไปเสวยทุกข์เป็นอันมากอยู่ในป่าช้า ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร ท่านจึงได้เสวยทุกข์เช่นนี้.

เปรตนั้นตอบว่า

เมื่อก่อนกระผมเป็นพรานเนื้อ อยู่ที่กรุงราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์ มีภูเขาล้อมรอบ (ปัญจคีรีนคร) เป็นคนหยาบช้าทารุณ ไม่สำรวมกาย วาจา ใจ อุบาสกคนหนึ่งผู้เป็นสหายของกระผม เป็นคนใจดีมีศรัทธา มีภิกษุผู้คุ้นเคยของเขาเป็นสาวกของพระโคดม ก็อุบาสกนั้นเอ็นดูกระผม ห้ามกระผมเนืองๆ ว่า อย่าทำบาปกรรมเลย พ่อเอ๋ย อย่าไปทุคติเลย ถ้าสหายปรารถนาความสุขในโลกหน้า จงงดเว้นการฆ่าสัตว์อันเป็นการ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 429

ไม่สำรวมเสียเถิด ฯลฯ (เหมือนเรื่องที่ ๗) กระผมเข้าใจว่า ชนเหล่านั้นจักได้บรรลุอมตบทอันปัจจัยอะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้เป็นแน่.

จบ ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุที่ ๘

อรรถกถาทุติยมิคลุททกเปตวัตถุที่ ๘

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภมิคลุททกเปรตอีกตนหนึ่ง จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า กูฏาคาเร จ ปาสาเท ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงราชคฤห์ มาณพชื่อว่ามาควิกะคนหนึ่ง แม้เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสมบัติ ก็ละโภคสุข ออกเที่ยวล่าเนื้อตลอดทั้งคืนเละวัน. อุบาสกคนหนึ่งผู้เป็นสหายของเธอ อาศัยความเอ็นดูจึงให้โอวาทว่า ดีละสหาย เธอจงงดเว้นจากปาณาติบาต เธออย่าได้มีเพื่อสิ่งอันมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานเลย. เธอหาได้เอื้อเฟื้อโอวาทนั้นไม่. ลำดับนั้น อุบาสกนั้นจึงขอร้องพระขีณาสพเถระ. ซึ่งเป็นที่เจริญใจแห่งตนรูปหนึ่งว่า ดีละ พระผู้เป็นเจ้า ขอท่านจงแสดงธรรมแก่บุรุษชื่อโน้น โดยประการที่เธอจะพึงงดเว้นจากปาณาติบาต.

ภายหลังวันหนึ่ง พระเถระนั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ได้หยุดยืนที่ประตูเรือนของเธอ. มาควิกะนั้นเห็นท่านแล้ว เกิดมีความนับถือมาก ต้อนรับให้เข้าไปสู่เรือน ได้ตกแต่งอาสนะถวาย.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 430

พระเถระนั่งบนอาสนะที่ตกแต่งไว้แล้ว. ฝ่ายมาณพนั้นก็เข้าไปหาพระเถระนั่งแล้ว. พระเถระประกาศโทษในปาณาติบาต และอานิสงส์ ในการงดเว้นจากปาณาติบาตนั้นแก่เธอ. เธอแม้ฟังดังนั้นแล้ว ก็ไม่ปรารถนาจะงดเว้นจากปาณาติบาตนั้น. ลำดับนั้น พระเถระจงกล่าวกะเธอว่า คุณ ถ้าไม่สามารถจะงดเว้นโดยประการทั้งปวงได้ไซร้ อันดับแรก เธอก็จงงดเว้นแม้ในกลางคืนเถอะ. เธอรับคำแล้วว่า จะงดเว้นในเวลากลางคืน แล้วจึงงดเว้นจากปาณาติบาตนั้น. คำที่เหลือเช่นกับเรื่องที่ติดกันนั่นแล. ก็ในบรรดาคาถาพระนารทเถระได้สอบถามเธอด้วยคาถา ๓ คาถา ว่า :-

ท่านรื่นรมย์อยู่ในเรือนยอดและปราสาท บนบัลลังก์อันปูลาดด้วยผ้าขนสัตว์ ด้วยดนตรีเครื่อง ๕ อันบุคคลประโคมแล้ว ภายหลังเมื่อสิ้นราตรี พระอาทิตย์ขึ้นแล้ว ท่านเข้าไปเสวยทุกข์เป็นอันมากอยู่ในป่าช้า ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ หรือเพราะวิบากแห่งกรรมอะไร ท่านจึงได้เสวยทุกข์เช่นนี้.

ลำดับนั้น เปรตจึงบอกเนื้อความนั้นแก่ท่านด้วยคาถาว่า :-

เมื่อก่อนกระผมเป็นพรานเนื้อ อยู่ที่กรุงราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์มีภูเขาล้อมรอบ (เบญจคีรีนคร) เป็นคนหยาบช้า ทารุณ ไม่สำรวมกาย

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 431

วาจา ใจ อุบาสกคนหนึ่งผู้เป็นสหายของผม เป็น คนใจดี มีศรัทธา มีภิกษุผู้คุ้นเคยของเขาเป็น สาวกของพระโคดม แม้อุบาสกนั้น เอ็นดูกระผม ห้ามกระผมเนืองๆ ว่า อย่าทำบาปกรรมเลย พ่อ เอ๋ย อย่าไปทุคคติเลย ถ้าสหายปรารถนาความ สุขในโลกหน้า จงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ อันเป็น การไม่สำรวมเสียเถิด. กระผมฟังคำของสหาย หวังดี มีความอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์นั้นแล้ว ไม่ทำตามคำสั่งสอนทั้งสิ้น เพราะกระผมเป็นคน ไม่มีปัญญา ยินดียิ่งแล้วในบาปตลอดกาลนาน สหายผู้มีปัญญาดีนั้น แนะนำกระผมให้ตั้งอยู่ใน ความสำรวม ด้วยความอนุเคราะห์ว่า ถ้าท่าน ฆ่าสัตว์ในเวลากลางวัน ส่วนกลางคืนจงงดเว้น เสีย กระผมจึงฆ่าสัตว์แต่เฉพาะกลางวัน กลาง คืนเป็นผู้สำรวมงดเว้น เพราะฉะนั้น กลางคืน กระผมจึงได้รับความสุข กลางวันได้เสวยทุกข์ ถูกสุนัขรุมกัดกิน คือ กลางคืนได้เสวยทิพยสมบัติ ด้วยผลแห่งกุศลกรรมนั้น ส่วนกลางวัน ฝูงสุนัขมีจิตเดือดดาล พากันห้อมล้อมกัดกิน กระผมรอบด้าน ก็ชนเหล่าใด ผู้มีความเพียร เนืองๆ บากบั่นมั่นในพระศาสนาของพระสุคต-

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 432

เจ้า กระผมเข้าใจว่า ชนเหล่านั้นจักได้บรรลุอมตบทอันปัจจัยอะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้อย่างแน่นอน.

เนื้อความแห่งคาถานั้น มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังแล.

จบ อรรถกถาทุติยมิคลุททกเปตวัตถุที่ ๘