๙. กูฏวินิจฉยีกเปตวัตถุ ว่าด้วยเปรตจิกกินเนื้อหลังของตนกิน
[เล่มที่ 49] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 433
จูฬวรรคที่ ๓
๙. กูฏวินิจฉยีกเปตวัตถุ
ว่าด้วยเปรตจิกกินเนื้อหลังของตนกิน
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 49]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 433
๙. กูฏวินิจฉยีกเปตวัตถุ
ว่าด้วยเปรตจิกกินเนื้อหลังของตนกิน
พระนารทเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า
[๑๑๙] ตัวท่านทัดทรงดอกไม้ ใส่ชฏา สวมกำไลทอง ลูบไล้ด้วยจุณจันทน์ มีสีหน้าผ่องใส งดงามดุจสีพระอาทิตย์อุทัยขึ้นมาในอากาศ มีนางฟ้าหมื่นหนึ่งเป็นบริวารบำรุงบำเรอท่าน นางฟ้าเหล่านั้นล้วนสวมกำไลทอง นุ่งห่มผ้าอันขลิบด้วยทองคำ ท่านเป็นผู้มีอานุภาพมาก มีรูปเป็นที่ให้เกิดขนชูชันแก่ผู้พบเห็น แต่ท่านจิกเนื้อที่หลังของตนกินเป็นอาหาร ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร ท่านจึงจิกเนื้อหลังของตนเองกินเป็นอาหาร.
เปรตนั้นตอบว่า
กระผมได้ประพฤติทุจริตด้วยการส่อเสียด พูดเท็จและหลอกลวง เพื่อความฉิบหายแก่ตนในมนุษยโลก กระผมไปแล้วสู่บริษัทในมนุษยโลกนั้น เมื่อเวลาควรจะพูดความจริงปรากฏแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 434
ละเหตุละผลเสีย ประพฤติคล้อยตามอธรรม ผู้ใดประพฤติทุจริตมีคำส่อเสียดเป็นต้น ผู้นั้นต้องจิกเนื้อหลังของตนกินเหมือนกระผมจิกเนื้อหลังของตนกินในวันนี้ ฉะนั้น ข้าแต่พระนารทะ ทุกข์ที่กระผมได้รับอยู่นี้ท่านได้เห็นเองแล้ว ชนใดเป็นคนฉลาด มีความอนุเคราะห์ ชนเหล่านั้นพึงกล่าวตักเตือนว่า ท่านอย่าพูดส่อเสียด อย่าพูดเท็จ อย่าเป็นผู้มีเนื้อหลังของตนเป็นอาหารเลย.
จบ กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุที่ ๙
อรรถกถากูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุที่ ๙
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงปรารภเปรตผู้วินิจฉัยโกง จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า มาลี กิริฏี กายูรี ดังนี้.
ในกาลนั้น พระเจ้าพิมพิสารเข้าจำอุโบสถเดือนละ ๖ วัน มนุษย์เป็นอันมากคล้อยตามท้าวเธอ จึงพากันเข้าจำอุโบสถ. พระราชาตรัสถามพวกมนุษย์ผู้มายังสำนักของพระองค์ว่า พวกเธอเข้าจำอุโบสถหรือ หรือว่าไม่เข้าจำ. ในบรรดามนุษย์เหล่านั้น ผู้พิพากษาตัดสินความคนหนึ่ง เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด เป็นผู้หลอกลวง ผู้รับเอาสินบน ไม่อดกลั้นเพื่อจะกล่าวว่า หม่อมฉัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 435
ไม่ได้เข้าจำอุโบสถ แต่กราบทูลว่า หม่อมฉันเข้าจำอุโบสถ พระเจ้าข้า. ลำดับนั้น สหายจึงกล่าวกะเธอผู้ออกจากที่ใกล้พระราชา สหายวันนี้ ท่านเข้าจำอุโบสถหรือ? เขาตอบว่า สหายเอ๋ย เพราะความกลัว ผมจึงกราบทูลอย่างนั้นต่อพระพักตร์พระราชา แต่ผมไม่ได้เข้าจำอุโบสถ.
ลำดับนั้น สหายจึงกล่าวกะเธอว่า ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น อันดับแรกเธอจงรักษาอุโบสถกึ่งวัน ในวันนี้เธอจงสมาทานองค์อุโบสถเถิด. เธอรับคำของสหายนั้นแล้วไปยังเรือน ไม่บริโภคเลย บ้วนปากอธิษฐานอุโบสถ เข้าจำอยู่ในกลางคืน ถูกความเสียดแทงอันมีพลังลมเป็นต้น เหตุซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากท้องว่าง เข้าตัดอายุสังขาร ถัดจากจุติก็ไปบังเกิดเป็นเวมานิกเปรตในท้องภูเขา. จริงอยู่ เขาได้วิมานซึ่งมีนางฟ้า ๑๐,๐๐๐ นางเป็นบริวาร และทิพยสมบัติเป็นอันมาก ด้วยเหตุเพียงการรักษาอุโบสถราตรีเดียว แต่เพราะตนเป็นผู้พิพากษาโกง และพูดวาจาส่อเสียด ตนเองจึงจิกเนื้อหลังของตนเองกิน. ท่านพระนารทะลงจากเขาคิชกูฏ เห็นเธอเข้า จึงถามด้วยคาถา ๔ คาถาว่า :-
ตัวท่านทัดทรงดอกไม้ ใส่ชฎา สวมกำไลทองคำ ลูบไล้ด้วยจุณจันทน์ มีหน้าผ่องใส งดงามดุจสีพระอาทิตย์อุทัยมาบนอากาศ มีนางฟ้า ๑๐,๐๐๐ นางเป็นบริวาร บำรุงบำเรอท่าน นางฟ้าเหล่านั้นล้วนสวมกำไลทองคำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 436
นุ่งห่มผ้าอันขลิบด้วยทองคำ ท่านเป็นผู้มีอานุภาพมาก มีรูปเป็นที่ให้ขนชูชันแก่ผู้พบเห็น แต่ท่านจิกเนื้อที่หลังของตนกินเป็นอาหาร ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ หรือเพราะวิบากแห่งกรรมอะไร ท่านจึงจิกเนื้อหลังของ ตนเองกินเป็นอาหาร.
เปรตนั้นตอบว่า :-
กระผมได้ประพฤติทุจริตด้วยการส่อเสียด พูดเท็จ พลางและล่อลวงเพื่อความฉิบหายแก่ตนในมนุษยโลก กระผมไปแล้วสู่บริษัทในมนุษยโลกนั้น เมื่อเวลาควรจะพูดความจริงปรากฏแล้ว ละเหตุผลเสีย ประพฤติคล้อยตามอธรรม ผู้ใดประพฤติทุจริต มีคำส่อเสียด เป็นต้น ผู้นั้นต้องจิกเนื้อหลังของตนกินเหมือน กระผมจิกเนื้อหลังของตนกินในวันนี้ ฉะนั้น ข้าแต่พระนารทะ ทุกข์ที่กระผมได้รับอยู่นี้ ท่านได้เห็นเองแล้ว ชนเหล่าใดเป็นคนฉลาด มีความอนุเคราะห์ ชนเหล่านั้นพึงกล่าวตักเตือนว่า ท่านอย่าพูดส่อเสียด อย่าพูดเท็จ อย่าเป็นผู้มีเนื้อหลัง ของตนเป็นอาหารเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 437
ฝ่ายเปรตนั้นได้ตอบความนั้นด้วยคาถา ๓ คาถา แก่ท่านพระนารทะเถระนั้นแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาลี ได้แก่ ผู้ทัดทรงดอกไม้ อธิบายว่า ผู้ประดับด้วยดอกไม้ทิพย์. บทว่า กิริฏี แปลว่า ผู้สวมใส่ชฎา. บทว่า กายูรี แปลว่า ผู้สวมกำไลทองคำ อธิบายว่า ผู้ประดับด้วยเครื่องประดับแขน. บทว่า คตฺตา แปลว่า อวัยวะ คือสรีระ. บทว่า จนฺทนุสฺสทา แปลว่า ผู้ลูบไล้ด้วยจุณจันทร์. บทว่า สูริยวณฺโณ ว โสภสิ ความว่า ท่านเป็นผู้มีสีหน้าผ่องใส ดุจพระสุริโยทัยทอแสงอ่อนๆ. บาลีว่า อรณวณฺณี ปภาสสิ ดังนี้ ก็มี. บทว่า อรณํ ความว่า มีสีเสมอกับเทพผู้ไม่มีความหม่นหมอง คือ เป็นแดนอันประเสริฐ.
บทว่า ปาริสชฺชา แปลว่า ผู้นับเนื่องในบริษัท อธิบายว่า ผู้อุปัฏฐาก. บทว่า ตุวํ แปลว่า ท่าน. บทว่า โลมหํสนรูปวา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยรูปอันให้เกิดขนชูชันแก่ผู้พบเห็น. จริงอยู่ คำว่า โลมหํสนรูปวา นี้ ท่านกล่าวไว้เพราะความเป็นผู้พรั่งพร้อม ด้วยความเป็นผู้มีอานุภาพมาก. บทว่า อุกฺกจฺจ แปลว่า ตัด อธิบายว่า เฉือน.
บทว่า อจาริสํ แปลว่าได้เที่ยวไปแล้ว คือได้ดำเนินไปแล้ว. บทว่า เปสุญฺมุสาวาเทน แปลว่า ด้วยความเป็นผู้พูดส่อเสียดและพูดคำเท็จ. บทว่า นิกติวญฺจนาย จ ได้แก่ ด้วยการพลาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 438
และล่อลวง คือ ด้วยการล่อลวงโดยทำให้แปลกแก่ชนเหล่าอื่น ด้วยแสดงของเทียม.
บทว่า สจฺจกาเล คือ ในกาลอันสมควรเพื่อจะกล่าวคำสัตย์. บทว่า อตฺถํ ได้แก่ ประโยชน์เกื้อกูล อันต่างด้วยประโยชน์ในปัจจุบันเป็นต้น. บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ เหตุ คือ สิ่งที่ควร. บทว่า นิรากตฺวา ได้แก่ ทิ้ง คือละ. บทว่า โส ได้แก่สัตว์ผู้ประพฤติวจีทุจริตมีการพูดส่อเสียดเป็นต้น. คำที่เหลือทั้งหมดมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
จบ อรรถกถากูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุที่ ๙