พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. อุจฉุเปตวัตถุ ว่าด้วยเปรตมีไร่อ้อยแต่กินอ้อยไม่ได้

 
บ้านธัมมะ
วันที่  17 พ.ย. 2564
หมายเลข  40383
อ่าน  369

[เล่มที่ 49] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 538

มหาวรรคที่ ๔

๕. อุจฉุเปตวัตถุ

ว่าด้วยเปรตมีไร่อ้อยแต่กินอ้อยไม่ได้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 49]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 538

๕. อุจฉุเปตวัตถุ

ว่าด้วยเปรตมีไร่อ้อยแต่กินอ้อยไม่ได้

เปรตตนหนึ่งถามพระมหาโมคคัลลานเถระว่า :-

[๑๒๕] ไร่อ้อยใหญ่นี้เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า เป็นผลบุญไม่น้อย แต่เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้ากินอ้อยนั้นไม่ได้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านโปรดบอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร ข้าพเจ้าย่อมเดือดร้อน จะกัดกิน พยายามตะเกียกตะกายเพื่อจะบริโภคสักหน่อย ก็ไม่สมหวัง กำลังก็สิ้นลง บ่นเพ้อนัก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร อนึ่ง ข้าพเจ้าถูกความหิวและความกระหายเบียดเบียน แล้วหมุนล้มไปที่แผ่นดิน กลิ้งเกลือกไปมา ดุจปลาดิ้นรนอยู่ในที่ร้อน เมื่อข้าพเจ้าร้องไห้อยู่สัตว์ทั้งหลายย่อมพากันมากินน้ำตาของข้าพเจ้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านโปรดบอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร ข้าพเจ้าเป็นผู้หิวกระหายลำบาก ดิ้นรนไป ย่อมไม่ประสบความสุขที่น่ายินดี ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนั้นกะท่าน ข้าพเจ้าจะพึงบริโภคอ้อยได้อย่างไร.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 539

พระมหาโมคคัลลานเถระกล่าวว่า

เมื่อชาติก่อน ท่านเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำกรรมไว้ด้วยตนเอง เราจะบอกเนื้อความนั้นกะท่าน ขอท่านจงฟังแล้วจำเนื้อความข้อนั้นไว้ ท่านเดินกัดกินอ้อยไป และมีบุรุษคนหนึ่งเดินตามหลังท่านไป เขาหวังจะกินอ้อย จึงบอกแก่ท่าน ท่านก็มิได้พูดอะไรๆ แก่เขา ท่านไม่พูด เขาจึงได้วิงวอนว่า ขอท่านพึงให้อ้อยเถิด ท่าน ได้ให้อ้อยแก่บุรุษนั้นโดยข้างหลัง นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้น เชิญท่านพึงไปถือเอาอ้อยข้างหลังซิ ครั้นถือเอาได้แล้ว จงกินให้อิ่มหนำเถิด เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านจักเป็นผู้เบิกบานร่าเริงบันเทิงใจ เปรตนั้นได้ไปถือเอาโดยข้างหลัง ครั้นแล้ว จึงได้กินอ้อยนั้นจนอิ่มหนำ เพราะเหตุนั้นแล เปรตนั้นได้เป็นผู้เบิกบานร่าเริงบันเทิงใจ.

จบ อุจฉุเปตวัตถุที่ ๕

อรรถกถาอุจฉุเปตวัตถุที่ ๕

เรื่องอุจฉุเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อิทํ มม อุจฺฉุวนํ มหนฺตํ ดังนี้. เหตุเกิดของเรื่องนั้นเป็นอย่างไร?

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 540

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเวฬุวันมหาวิหาร บุรุษคนหนึ่งมัดลำอ้อย เดินกัดอ้อยลำหนึ่งไป. ลำดับนั้น อุบาสกคนหนึ่งเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม พร้อมด้วยเด็กอ่อนเดินไปข้างหลังๆ. เด็กเห็นอ้อยแล้วร้องไห้ว่า จงให้, อุบาสกเห็นเด็กร้องไห้ เมื่อจะสงเคราะห์บุรุษนั้น จึงได้เจรจากับบุรุษนั้น ส่วนบุรุษนั้นไม่เจรจาอะไรๆ กับอุบาสกนั้น ไม่ให้แม้ท่อนอ้อยแก่เด็ก อุบาสกจึงแสดงเด็กนั้นแล้วกล่าวว่า เด็กนี้ร้องไห้นัก ท่านจงให้ท่อนอ้อยแก่เด็กนี้ท่อนหนึ่ง บุรุษนั้นได้ฟังดังนั้น อดทนไม่ได้ เกิดขัดเคืองจิต จึงขว้างลำอ้อยลำหนึ่งไปข้างหลังโดยไม่เอื้อเฟื้อ

สมัยต่อมา เขาทำกาละแล้วบังเกิดในหมู่เปรต ด้วยอำนาจความโลภที่ครอบงำอยู่นาน. ชื่อว่าผลแห่งกรรมนั้น ย่อมเห็นสมกับกรรมของตน เพราะเหตุนั้น จึงเกิดเป็นไร่อ้อยใหญ่แน่นทึบไปด้วยอ้อย ประมาณเท่าท่อนสากมีสีเหมือนดอกอัญชัน เต็มสถานที่ประมาณ ๘ กรีส. พอเขาเข้าไปจะถือเอาอ้อย เพราะอยากจะกิน อ้อยก็ตีเขา เพราะเหตุนั้นเขาจึงสลบล้มลง.

ภายหลังวันหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ได้เห็นเปรตนั้นในระหว่างทาง เปรตนั้นเห็นพระเถระแล้วจึงถามถึงกรรมที่ตนทำ. คาถาคำถามและคำตอบที่เปรตและพระเถระกล่าว ความว่า :-

ไร่อ้อยใหญ่นี้บังเกิดแก่ข้าพเจ้า เป็นผลบุญไม่น้อย แต่บัดนี้ ข้าพเจ้าจะกินอ้อยนั้นไม่ได้

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 541

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านโปรดบอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร. ข้าพเจ้าย่อมเดือดร้อนถูกใบอ้อยบาด พยายามตะเกียกตะกาย เพื่อจะบริโภคสักหน่อยก็ไม่ได้สมหวัง. กำลังก็สิ้นลง บ่นเพ้อนัก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร. อนึ่ง ข้าพเจ้าถูกความ หิวเละความกระหายเบียดเบียน แล้วหมุนล้มไปที่แผ่นดิน กลิ้งเกลือกไปมาดุจปลาดิ้นรนอยู่ในที่ร้อน เมื่อข้าพเจ้าร้องไห้อยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมพากันมากินน้ำตาของข้าพเจ้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านโปรดบอก นี้เป็นผลแห่งกรรม อะไร. ข้าพเจ้าเป็นผู้หิวกระหายลำบาก ดิ้นรนไปมา ย่อมไม่ประสบความสุขที่น่ายินดี ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนั้นกะท่าน ข้าพเจ้าจะบริโภคอ้อยนั้นได้อย่างไร.

พระมหาโมคคัลลานเถระกล่าวว่า :-

เมื่อชาติก่อนท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำกรรมไว้ด้วยตนเอง เราจะบอกเนื้อความนั้นกะท่าน ขอท่านจงฟังแล้วจำเนื้อความข้อนั้นไว้ (คือ) ท่านเดินกัดกินอ้อยไป และมีบุรุษคนหนึ่งเดินตามหลังท่านไป เขาหวังจะกินอ้อย จึงบอกแก่ท่าน ท่านก็ไม่พูดอะไรๆ แก่เขา เขาจึงได้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 542

พูดวิงวอนว่า ขอท่านจงให้อ้อยเถิด ท่านได้ให้อ้อยแก่บุรุษนั้นโดยข้างหลัง นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้น. เชิญท่านพึงไปถือเอาอ้อยข้างหลังซิ ครั้นถือเอาได้แล้ว จงกินให้อิ่มหนำเถิด เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านจักเป็นผู้เบิกบานร่าเริงบันเทิงใจ. เปรตนั้นได้ไปถือเอาโดยข้างหลัง ครั้นแล้วจึงได้กินอ้อยนั้นจนอิ่มหนำ เพราะเหตุนั้นแล เปรตนั้นจึงได้เป็นผู้เบิกบานร่าเริงบันเทิงใจ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิสฺส อธิบายว่า แห่งกรรมเช่นไร. บทว่า หญฺามิ ได้แก่ ข้าพเจ้าย่อมเดือดร้อน คือ ถึงความคับแค้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า หญฺามิ แปลว่า ย่อมเบียดเบียน อธิบายว่า ย่อมบีบคั้นโดยพิเศษ. บทว่า ขชฺชามิ แปลว่า ถูกใบอ้อยบาด อธิบายว่า ถูกใบอ้อยเฉือน เหมือนถูกศัสตราที่คมเช่นใบดาบเฉือน. บทว่า วายมามิ ได้แก่ เราทำความพยายามจะกินอ้อย. บทว่า ปริสกฺกามิ แปลว่า ตะเกียกตะกาย. บทว่า ปริภุญฺชิตุํ ความว่า เพื่อจะบริโภคน้ำอ้อย อธิบายว่า เพื่อจะเคี้ยวอ้อย. บทว่า ฉินฺนถาโม แปลว่า สิ้นกำลัง คือกำลังขาดไป อธิบายว่า กำลังสิ้นไป. บทว่า กปโณ ได้แก่ เป็นคนกำพร้า. บทว่า ลาลปามิ ความว่า เราถูกทุกข์ครอบงำจึงบ่นเพ้อไปมากมาย.

บทว่า วิฆาโต แปลว่า มีความคับแค้น หรือถูกขจัดกำลัง. บทว่า ปริปตามิ ฉมายํ ความว่า เมื่อไม่อาจทรงตัวอยู่ได้ จึงล้มลง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 543

ที่พื้นดิน. บทว่า ปริวตฺตามิ แปลว่า ย่อมหมุนไป. บทว่า วาริจโรว แปลว่า เหมือนปลา. บทว่า ฆมฺเม ได้แก่ บนบกอันร้อนเร่าด้วยความร้อน.

บทว่า สนฺตสฺสิโต ได้แก่ กระหายนัก เพราะริมฝีปาก คอ และเพดาลถึงความเหือดแห้งไป. บทว่า สาตสุขํ ได้แก่ ความสุขอันเป็นความสำราญ. บทว่า น วินฺเท แปลว่า ย่อมไม่ได้. บทว่า ตํ แปลว่า ซึ่งท่าน. บทว่า วิชาน แปลว่า จงรู้. บทว่า ปยาโต แปลว่า เริ่มจะไป. บทว่า อนฺวคจฺฉิ แปลว่า ติดตาม. บทว่า ปจฺจาสนฺโต แปลว่า หวังเฉพาะ. บทว่า เอตํ ในบทว่า ตสฺเสตํ กมฺมสฺส นี้ เป็นเพียงนิบาต อธิบายว่า แห่งกรรมนั้น. บทว่า ปิฏฺิโต คณฺเหยฺยาสิ ความว่า พึงถือเอาอ้อยทางเบื้องหลังของตน นั่นแหละ. บทว่า ปโมทิโต ได้แก่ บันเทิงใจ.

บทว่า คเหตฺวาน ตํ ขาทิ ยาวทตฺถํ ความว่า นันทเปรตถือเอาอ้อยโดยทำนองที่พระเถระสั่ง แล้วเคี้ยวกินตามชอบใจ ถือเอามัดอ้อยมัดใหญ่น้อมเข้าไปถวายพระเถระ พระเถระเมื่อจะอนุเคราะห์เขา จึงให้เขานั่นแหละถือเอามัดอ้อยนั้นไปยังพระเวฬุวันมหาวิหาร ได้ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ฉันอ้อยนั้น แล้วกระทำอนุโมทนา เปรตมีจิตเลื่อมใส ถวายบังคมแล้วก็ไป ตั้งแต่นั้นมา เขาก็บริโภคอ้อยตามความสบาย.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 544

สมัยต่อมา เขาทำกาละแล้วเกิดในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์. ก็ประวัติของเปรตนี้นั้นได้ปรากฏในมนุษยโลก. ลำดับนั้น พวกมนุษย์เข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามเรื่องนั้น พระศาสดาตรัสเรื่องนั้นแก่มนุษย์เหล่านั้นโดยพิสดาร แล้วทรงแสดงธรรม. พวก มนุษย์ได้สดับธรรมนั้นแล้วได้เป็นผู้เว้นขาดจากความตระหนี่ ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอุจฉุเปตวัตถุที่ ๕