พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. สุภูติเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระสุภูติเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 พ.ย. 2564
หมายเลข  40399
อ่าน  700

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 32

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๑

๑. สุภูติเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสุภูติเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 32

เอกนิบาต

เถรคาถา เอกนิบาต วรรคที่ ๑

๑. สุภูติเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสุภูติเถระ

    [๑๓๘] ได้ยินว่า ท่านพระสุภูติเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ ว่า

    ดูก่อนฝน กุฎีเรามุ่งดีแล้ว มีเครื่องป้องกันอันสบาย มิดชิดดี ท่านจงตกลงมาตามสะดวกเถิด จิตของเราตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นแล้ว เราเป็นผู้มีความเพียรอยู่ เชิญตกลงมาเถิดฝน.

เอกนิบาตอรรถวรรณนา

วรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาสุภูติเถรคาถา

    บัดนี้ (ข้าพเจ้า จะเริ่ม) พรรณนาความแห่งเถรคาถาทั้งหลาย อันเป็นไปแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ฉนฺนา เม กุฏิกา ดังนี้. ก็เพราะเหตุที่เมื่อข้าพเจ้า กล่าวประกาศความเป็นไปแห่งเรื่องราวของคาถาเหล่านั้นๆ การพรรณนาความนี้ จึงจะปรากฏและรู้ได้ง่าย ฉะนั้น ข้าพเจ้า จักประกาศเหตุเกิดแห่งเรื่องไว้ในคาถานั้นๆ แล้วทำการพรรณนาความ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 33

บรรดาคาถาเหล่านั้น คาถาว่า ฉนฺนา เม กุฏิกา เป็นต้น มีเรื่องราวเป็นอย่างไร? ข้าพเจ้าจะกล่าว (พรรณนา) ดังต่อไปนี้ ดังได้สดับมา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เป็นนาถะของโลก ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้น ในที่สุดแห่งแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ บุตรคนหนึ่งเกิดแล้วแก่พราหมณ์ผู้มหาศาลคนหนึ่งในนครชื่อหังสวดี พราหมณ์ได้ตั้งชื่อบุตรนั้นว่า "นันทมาณพ" นันทมาณพเจริญวัยแล้ว เรียนไตรเพท เมื่อไม่เห็นสิ่งที่เป็นสาระในไตรเพทนั้น จึงบวชเป็นฤษี (อยู่) ที่เชิงเขา พร้อมด้วยมาณพ ๔๔,๐๐๐ ผู้เป็นบริวารของตน ยังสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดแล้ว. ทั้งยังบอกกัมมัฏฐานแก่อันเตวาสิกทั้งหลายอีกด้วย. แม้อันเตวาสิกเหล่านั้น ต่างก็ได้ฌาน โดยกาลไม่นานเลย.

ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ เสด็จอุบัติแล้วในโลก อาศัยหังสวดีนครประทับอยู่ วันหนึ่ง ทรงตรวจดูหมู่สัตว์ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัต ของเหล่าชฎิลผู้เป็นอันเตวาสิกของนันทดาบส และความปรารถนาตำแหน่งสาวก อันประกอบไปด้วยองค์สองของนันทดาบส จึงทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระแต่เช้าทีเดียว ทรงถือบาตรและจีวร ไม่ทรงชวนภิกษุอื่นไรๆ เป็นดุจสีหะ เสด็จไปเพียงผู้เดียว เมื่ออันเตวาสิกของนันทดาบสไปหาผลาผล เมื่อนันทดาบสมองเห็นอยู่นั่นแล เสด็จลงจากอากาศ ประทับยืนอยู่ที่พื้นดิน โดยทรงพระดำริว่า ขอนันทดาบสจงรู้ความเป็นพระพุทธเจ้าของเรา ดังนี้.

นันทดาบส เห็นพุทธานุภาพ และความบริบูรณ์แห่งพระลักษณะ พิจารณาดูมนต์สำหรับทำนายลักษณะ แล้วรู้ว่า ขึ้นชื่อว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่านี้ เมื่ออยู่ครอบครองเรือน จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เมื่อบวชจะได้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้ตัดวัฏฏะในโลกได้ขาด. บุรุษอาชาไนยผู้นี้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 34

จักเป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย แล้วการทำการต้อนรับ ไหว้โดยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วปูอาสนะถวาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับนั่ง บนอาสนะที่ดาบสปูลาดไว้แล้ว. ฝ่ายนันทดาบส เลือกอาสนะที่สมควรแก่ตน แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

สมัยนั้น ชฎิล ๔๔,๐๐๐ คน ถือเอาผลาผลมีรสโอชะ ล้วนแต่ประณีตมาถึงสำนักของอาจารย์ มองดูอาสนะที่พระพุทธเจ้า และอาจารย์นั่งแล้ว พูดว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย วิจารณ์กันว่า ในโลกนี้ ไม่มีใครใหญ่กว่าท่าน แต่ชะรอยบุรุษผู้นี้ จักใหญ่กว่าท่าน.

นันทดาบสกล่าวว่า พ่อคุณ พวกท่านพูดอะไร (อย่างนั้น) พวกท่านประสงค์จะเปรียบเขาสิเนรุราช ซึ่งสูง ๖๘๐,๐๐๐ โยชน์ กับเมล็ดพันธุ์ผักกาด พวกท่านอย่าเอาเราเข้าไปเปรียบกับพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเลย.

ลำดับนั้น ดาบสเหล่านั้น คิดว่า ถ้าท่านผู้นี้จักเป็นคนต่ำต้อย อาจารย์ของพวกเราคงไม่หาซึ่งข้อเปรียบเทียบอย่างนี้ บุรุษอาชาไนยผู้นี้ ใหญ่ขนาดไหนหนอ ดังนี้แล้ว พากันหมอบลงแทบเท้า แล้วนมัสการด้วยเศียรเกล้า.

ลำดับนั้น อาจารย์กล่าวกะดาบสเหล่านั้นว่า พ่อทั้งหลาย ไทยธรรมอันสมควรแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายของเราไม่มี และพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จมาในเวลาภิกษาจาร เพราะฉะนั้น พวกเราจักถวายไทยธรรมตามกำลังความสามารถ พวกท่านจงนำเอาผลาผลอันประณีตบรรดามีที่ท่านทั้งหลายนำมาแล้วมาเถิด ดังนี้แล้วให้นำผลาผลมา ล้างมือแล้วใส่ลงในบาตรของพระตถาคตเจ้าด้วยตนเอง.

เพียงเมื่อพระศาสดาทรงรับผลาผลเท่านั้น เทวดาทั้งหลายก็ใส่โอชะอันเป็นทิพย์ลงไป. ดาบสกรองน้ำถวายด้วยตนเองทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 35

ลำดับนั้นเมื่อพระศาสดา เสวยเสร็จแล้ว ดาบสผู้เป็นอาจารย์จึงเรียกอันเตวาสิกทั้งหมดมา กล่าวสาราณียกถาในสำนักของพระศาสดา นั่งแล้ว.

พระศาสดาดำริว่า ขอภิกษุสงฆ์จงมา. ภิกษุทั้งหลายที่เป็นพระขีณาสพประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ รูป รู้ความดำริของพระศาสดาแล้ว พากันมาถวายบังคมพระศาสดา แล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

นันทดาบส เรียกอันเตวาสิกทั้งหลายมาแล้ว พูดว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย แม้อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งแล้วก็ต่ำ อีกทั้งอาสนะของพระสมณะ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ก็ไม่มี วันนี้ท่านทั้งหลายควรกระทำสักการะ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า และพระภิกษุสงฆ์ให้โอฬาร ท่านทั้งหลาย จงนำดอกไม้อันสมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นมาจากเชิงเขา. ดาบสทั้งหลายนำดอกไม้ที่สมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นมาโดยครู่เดียวเท่านั้น ปูอาสนะดอกไม้ ประมาณ ๑ โยชน์ ถวายพระพุทธเจ้าแล้ว. เพราะเหตุที่วิสัยของท่านผู้มีฤทธิ์เป็นอจินไตย. สำหรับพระอรรคสาวก มีเนื้อที่ประมาณ ๓ คาวุต. สำหรับภิกษุทั้งหลายที่เหลือ มีเนื้อที่ประมาณกึ่งโยชน์เป็นต้นเป็นประเภท สำหรับสงฆนวกะ ได้มีเนื้อที่ประมาณ ๑ อุสภะ.

เมื่อดาบสทั้งหลาย ปูอาสนะเสร็จแล้วอย่างนี้ นันทดาบสยืนประคองอัญชลีอยู่เบื้องหน้าพระตถาคต แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงเสด็จขึ้นสู่อาสนะดอกไม้ นี้ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ข้าพเจ้าตลอดกาลนาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้แล้ว. เมื่อพระศาสดาประทับนั่งแล้วอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายรู้อาการของพระศาสดาแล้วจึงนั่งบนอาสนะที่ถึงแล้วแก่ตนๆ.

นันทดาบสถือฉัตรดอกไม้ใหญ่ ยืนกั้นถวายบนพระเศียรของพระตถาคตเจ้า. พระศาสดาทรงดำริว่า สักการะนี้ของดาบสทั้งหลายจงมีผลมาก แล้วเข้านิโรธสมาบัติ แม้ภิกษุทั้งหลายรู้ว่าพระศาสดาเข้าสมาบัติแล้ว

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 36

จึงพากันเข้าสมาบัติ. เมื่อพระตถาคตเจ้าประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติตลอด ๗ วัน เมื่อถึงเวลาภิกขาจาร อันเตวาสิกทั้งหลายต่างบริโภคมูลผลาผลในป่า ในเวลาที่เหลือก็ยืนประคองอัญชลี แด่พระพุทธเจ้า.

ส่วนนันทดาบส ไม่ยอมไปภิกษาจาร ทรงฉัตรดอกไม้ (ถวายพระศาสดา) ยังเวลาให้ล่วงไปด้วยปีติสุขอย่างเดียว ตลอด ๗ วัน. พระศาสดาตรัสสั่งพระสาวกรูปหนึ่ง ผู้ประกอบไปด้วยองค์ ๒ คือ องค์แห่งภิกษุผู้อยู่โดยไม่กิเลส และองค์แห่งภิกษุผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ว่า เธอจงกระทำอนุโมทนาถึงอาสนะที่สำเร็จด้วยดอกไม้ แก่หมู่ฤาษี. ภิกษุรูปนั้น มีใจยินดีแล้ว ดุจทหารผู้ใหญ่ได้รับพระราชทานลาภใหญ่จากสำนักของพระเจ้าจักรพรรดิ (เลือกสรร) เฉพาะพุทธวจนะ คือ พระไตรปิฏก มาทำอนุโมทนา. ในที่สุดแห่งเทศนาของภิกษุนั้น พระศาสดาทรงแสดงธรรมด้วยพระองค์เอง.

ในเวลาจบเทศนา ดาบส ๔๔,๐๐๐ ทั้งหมดบรรลุพระอรหัตแล้ว พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ออก ตรัสว่า เธอทั้งหลาย จงเป็นภิกษุมาเถิด ผมและหนวดของดาบสเหล่านั้น อันตธานไปในทันใดนั้นเอง. บริขาร ๘ สวมใส่อยู่แล้วในกาย (ของดาบสเหล่านั้น) ครบถ้วน. ดาบสเหล่านั้นเป็นดุจพระเถระผู้มีพรรษา ๖๐ แวดล้อมพระศาสดาแล้ว. ส่วนนันทดาบส ไม่ได้บรรลุคุณพิเศษ เพราะมีจิตฟุ้งซ่าน. ได้ยินว่า นันทดาบสนั้น จำเดิมแต่เริ่มฟังธรรม ในสำนักของพระเถระ ผู้อยู่อย่างปราศจากกิเลส ได้เกิดจิตตุปบาทขึ้นว่า โอหนอ แม้เราพึงได้ธุระ อันพระสาวกนี้ได้แล้ว ในศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้จะเสด็จอุบัติในอนาคตกาล.

ด้วยปริวิตกนั้น นันทดาบสจึงไม่สามารถทำการแทงตลอดมรรคและผลได้. แต่ท่านได้ถวายบังคมพระตถาคตเจ้า แล้วยืนอยู่เฉพาะพระพักตร์ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้กระทำอนุโมทนาถึงอาสนะที่ทำด้วย

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 37

ดอกไม้ ต่อหมู่ฤาษี นี้ มีชื่ออย่างไร ในศาสนาของพระองค์. พระศาสดาตรัสตอบว่า ภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงแล้วซึ่งเอตทัคคะ ในองค์แห่งภิกษุผู้อยู่อย่างไม่มีกิเลส และในองค์แห่งภิกษุผู้เป็นพระทักขิไณยบุคคล. ท่านได้ทำความปรารถนาไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักการะนี้ใดที่ข้าพระองค์ ผู้เข้าไปทรงไว้ ซึ่งฉัตร คือ ดอกไม้ ตลอด ๗ วัน กระทำแล้วด้วยอธิการนั้น ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอื่น แต่ในอนาคตกาล ขอข้าพระองค์พึงเป็นสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๒ ดุจพระเถระนี้ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเถิด. พระศาสดา ทรงส่งอนาคตังสญาณไปตรวจดูอยู่ว่า ความปรารถนาของดาบสนี้ จักสำเร็จหรือไม่หนอ ทรงตรวจดูอยู่ ทรงเห็นความปรารถนาของดาบสจะสำเร็จ โดยล่วงแสนกัปไปแล้ว จึงตรัสว่า ความปรารถนาของท่านจักไม่เป็นโมฆะ ในอนาคตกาล ผ่านแสนกัปไปแล้ว พระพุทธเจ้าพระนามว่า โคดม จักเสด็จอุบัติขึ้น ความปรารถนาของท่านจักสำเร็จในสำนักของพระพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะนั้น แล้วตรัสธรรมกถา ทรงแวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์แล้วแล่นไปสู่อากาศ (เหาะไปแล้ว).

นันทดาบส ได้ยืนประคองอัญชลี อุทิศเฉพาะพระศาสดา และภิกษุสงฆ์ จนกระทั่งลับคลองจักษุ. ในเวลาต่อมา ท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ฟังธรรมตามกาลเวลา. มีฌานไม่เสื่อมแล้วทีเดียว ทำกาละไปบังเกิดในพรหมโลก. และจุติจากพรหมโลกนั้นแล้ว บวชอีก ๕๐๐ ชาติ ได้เป็นผู้มีการอยู่ป่าเป็นวัตร. แม้ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กัสสปะ ก็ได้บวช เป็นผู้มีการอยู่ป่าเป็นวัตร บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร ให้บริบูรณ์แล้ว. ได้ยินว่า ผู้ที่ไม่ได้บำเพ็ญวัตรนี้ ชื่อว่า จะบรรลุถึงความเป็นพระมหาสาวกไม่ได้เลย ท่านบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร อยู่ถึง ๑๒๐ ปี ทำกาละแล้ว

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 38

บังเกิดในภพดาวดึงส์ ในเทวโลก ชั้นกามาวจร. สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาชื่อ นิสภะ เราได้สร้างอาศรมไว้ที่ภูเขานิสภะนั้น อย่างสวยงาม สร้างบรรณศาลาไว้ ในกาลนั้น เราเป็นชฎิล มีนามว่าโกลิยะ มีเดชรุ่งเรือง ผู้เดียวไม่มีเพื่อน อยู่ที่ภูเขาชื่อนิสกะ เวลานั้น เราไม่บริโภคผลไม้ เหง้ามันและใบไม้ ในกาลนั้น เราอาศัยใบไม้เป็นต้นที่เกิดเอง และหล่นเอง เลี้ยงชีวิต เราย่อมไม่ยังอาชีพให้กำเริบ แม้จะสละชีวิต ย่อมยังจิตของตนให้ยินดี เว้นอเนสนา (การแสวงหาที่ไม่ควร) จิตสัมปยุตด้วยราคะเกิดขึ้นแล้วแก่เราเมื่อใด เมื่อนั้นเราบอกตนเองว่า เราผู้เดียวทรมานจิตนั้น ท่านกำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง และหลงใหลในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลงใหล จงออกไปเสียจากป่า ที่อยู่นี้เป็นของท่านผู้บริสุทธิ์ ไม่มีมลทิน มีตบะ ท่านอย่าประทุษร้ายผู้บริสุทธิ์เลย จงออกไปเสียจากป่าเถิด ท่านจักเป็นเจ้าของเรือน ได้สิ่งที่ควรได้เมื่อใด ท่านอย่ายินดี แม้ทั้ง ๒ อย่างนั้นเลย จงออกไปจากป่าเถิด เปรียบเหมือนฟืนเผาศพ ใช้ทำกิจอะไรๆ ที่ไหนไม่ได้ ไม้นั้นเขาไม่ได้สมมติว่า เป็นไม้ในบ้านหรือในป่า ฉันใด ท่านก็เปรียบเหมือนฟืนเผาศพ ฉันนั้น จะเป็นคฤหัสถ์ก็ไม่ใช่ จะเป็นสมณะก็ไม่ใช่

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 39

วันนี้ ท่านพ้นจากเพศทั้งสอง จงออกไปจากป่าเสียเถิด ข้อนี้พึงมีแก่ท่านหรือหนอ ใครจะรู้ข้อนี้ของท่าน ใครจะนำธุระของท่านไปได้โดยเร็ว เพราะท่านมากไปด้วยความเกียจคร้าน วิญญูชนจักเกลียดท่าน เหมือนชาวเมืองเกลียดของไม่สะอาดฉะนั้น ฤาษีทั้งหลายจักคร่าท่านมา ประท้วงทุกเมื่อ วิญญูชนจักประกาศท่านว่า มีศาสนาอันก้าวล่วงแล้ว ก็เมื่อไม่ได้การอยู่ร่วม ท่านจักเป็นอยู่อย่างไรได้ ช้างมีกำลังเข้าไปหาช้างกุญชรตกมัน ๓ ครั้ง เกิดในตระกูลช้างมาตังคะ มีอายุ ๖๐ ด้อยกำลังแล้ว ถูกนำออกจากโขลง มันถูกขับออกจากโขลงแล้ว ย่อมไม่ได้ความสุขสำราญ เป็นสัตว์มีทุกข์ โศกเศร้า ซบเซาหวั่นไหวอยู่ ฉันใด ชฏิลทั้งหลายจักขับแม้ท่านผู้มีปัญญาทรามออก ท่านถูกชฎิลเหล่านั้นขับไล่แล้ว จักไม่ได้ความสุขสำราญ ฉันนั้น ท่านเพรียบพร้อมแล้วด้วยลูกศร คือความโศก ทั้งกลางวันและกลางคืน จักถูกความเร่าร้อนแผดเผา เหมือนช้างลูกขับออกจากโขลง ฉะนั้น เบ้าทองย่อมไม่ถูกเผาไหม้ที่ไหนๆ ฉันใด ท่านมีศีลวิบัติแล้ว ก็ฉันนั้น จักไม่ทำกิเลสให้ไหม้ได้ ในที่ไหนๆ แม้ท่านจะอยู่ครองเรือน ก็จักเป็นอยู่อย่างไรได้ แม้ทรัพย์อันเป็นของมารดาบิดา ที่เก็บไว้แล้วของท่านก็ไม่มี ท่านต้องทำงานเอง ชนิดอาบเหงื่อต่างน้ำ จักมีชีวิตอยู่ในเรือนอย่างนี้ ท่านไม่ชอบใจกรรมที่ดี

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 40

เราห้ามใจอันหมักหมมด้วยสังกิเลสอย่างนี้ ในที่นั้น เรากล่าวธรรมกถานานาชนิด ห้ามจิตจากบาปธรรม เมื่อเรามีปิติอยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างนี้ เวลา ๓ หมื่นปี ล่วงเลยเราผู้อยู่ในป่าใหญ่ไปแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงเห็นเราผู้ยินดีแล้วในความไม่ประมาท ผู้แสวงหาประโยชน์อันอุดม จึงเสด็จมายังสำนักของเรา. พระพุทธเจ้าผู้มีพระรัศมี ดังสีทองชมพูนุท ประมาณมิได้ ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีใครเสมอด้วยพระรูปพระโฉม เสด็จจงกรมอยู่บนอากาศในเวลานั้น พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอด้วยพระญาณ เสด็จจงกรมอยู่บนอากาศในเวลานั้น ดังพญารังมีดอกบานสะพรั่ง เหมือนสายฟ้า (แลบ) ในกลุ่มเมฆ พระองค์เสด็จจงกรมอยู่บนอากาศในเวลานั้น ดุจพญาราชสีห์ตัวไม่เกรงใคร ดุจพญาช้างตัวองอาจ ดุจพญาเสือโคร่งตัวไม่ครั่นคร้าม พระพุทธเจ้าผู้มีพระรัศมีดังสิงคี ส่องสว่างดังถ่านเพลิงไม้ตะเคียน มีพระรัศมีโชติช่วงดังดวงแก้วมณี เสด็จจงกรมอยู่บนอากาศในเวลานั้น พระพุทธเจ้ามีพระรัศมีเปรียบดังเขาไกรลาสอันบริสุทธิ์ เสด็จจงกรมอยู่บนอากาศในเวลานั้น ดังพระจันทร์ในวันเพ็ญ ดุจพระอาทิตย์ในเวลาเที่ยง เวลานั้น เราได้เห็นพระองค์เสด็จจงกรมอยู่บนอากาศ จึงคิดอย่างนี้ว่า สัตว์ผู้นี้เป็นเทวดาหรือว่าเป็นมนุษย์ นระเช่นนี้ เราไม่เคยได้ยินได้ฟัง

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 41

หรือได้พบเห็นบนแผ่นดิน ชะรอยจะเป็นอำนาจเวทมนตร์ ผู้นี้คงจักเป็นพระศาสดา ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว ได้ยังจิตของตนให้เลื่อมใส เรารวบรวมเอาดอกไม้และของหอมต่างๆ ไว้ในเวลานั้น ได้ปูลาดอาสนะดอกไม้อันวิจิตรดี เป็นที่รื่นรมย์ใจ แล้วได้ทูลคำนี้กะพระพุทธเจ้าผู้เลิศกว่านระ ผู้เป็นสารถี ว่า ข้าแต่พระวีระ อาสนะอันสมควรแก่พระองค์นี้ ข้าพระองค์ปูถวายไว้แล้ว ขอได้ทรงโปรดยังจิตของข้าพระองค์ให้ร่าเริง ประทับนั่งบนอาสนะดอกโกสุมเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไม่ทรงหวาดหวั่น ดังพญาไกรสร ประทับนั่งบนอาสนะดอกโกสุมอันประเสริฐนั้น เป็นเวลา ๗ คืน ๗ วัน. พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก เสด็จออกจากสมาธิแล้ว เมื่อทรงพยากรณ์กรรมของเรา ได้ตรัสพระพุทธพจน์ ดังนี้ว่า ท่านจงเจริญพุทธานุสติอันยอดเยี่ยมกว่าภาวนาทั้งหลาย ครั้นเจริญพุทธานุสตินี้แล้ว จักยังมนัสให้สมบูรณ์ จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัป จักได้เป็นจอมเทวดา เสวยเทวสมบัติถึง ๘๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ อยู่ในแว่นแคว้น ๑,๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้ จักได้เสวยสมบัตินั้นทั้งหมด นี้เป็นผลแห่งการเจริญพุทธานุสติ เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ จักได้โภคสมบัติเป็นอันมาก จักไม่มีความบกพร่องด้วยโภคะ นี้เป็นผลแห่ง

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 42

(การเจริญ) พุทธานุสติ แม้ (สิ้นเวลา) แสนกัป พระศาสดาทรงพระนามว่าโคตมะ โดยพระโคตร ผู้ทรงสมภพในองค์ของพระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก. ท่านสละทรัพย์ ๘๐ โกฏิ ข้าทาสและกรรมกรเป็นอันมาก จักบวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม จักยังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดมศายบุตรผู้ประเสริฐให้โปรดปราน จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา มีนามว่า "สุภูติ" พระศาสดาพระนามว่าโคดมประทับนั่งท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว จักทรงตั้งท่านว่าเป็นเลิศใน ๒ ตำแหน่ง คือ ในคุณคือความเป็นพระทักขิไณยบุคคล ๑ ในการอยู่โดยไม่มีข้าศึก ๑.พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระนามสูงสุดกว่าสัตว์ผู้เกิดในน้ำ (และบนบก) [ผู้เป็นมหาวีระ) ครั้นตรัสดังนี้แล้ว เสด็จเหาะขึ้นสู่อากาศ ดุจพญาหงส์ในทิฆัมพร เราอันพระโลกนาถพร่ำสอนแล้ว ถวายบังคมพระตถาคตเจ้า มีจิตเบิกบาน เจริญพุทธานุสติอันสูงสุดทุกเมื่อ ด้วยกุศลกรรมที่เราทำดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตนาไว้ เราละกายมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่ภพดาวดึงส์ ได้เป็นจอมเทพ เสวยทิพยสมบัติ ๘๐ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้ ได้เสวยสมบัติเป็นอันดี นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธานุสติ เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อย

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 43

ภพใหญ่ เราย่อมได้โภคสมบัติมาก เราไม่มีความบกพร่องด้วยโภคะเลย นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธานุสติ ในแสนกัปแต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดไว้ในกาลนั้น ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธานุสติ คุณพิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๙ และอภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้กระทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ทราบว่า พระสุภูติเถระเจ้า ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล

ก็นันทดาบสนั้น เสวยทิพยสมบัติ ด้วยสามารถแห่งการเกิด สลับกันไปในดาวดึงส์พิภพ จุติจากดาวดึงส์พิภพนั้นแล้ว เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ และเป็นเจ้าประเทศราชในมนุษยโลก นับ ๑,๐๐๐ ครั้ง เสวยมนุษยสมบัติอันโอฬาร ต่อมาในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เกิดเป็นน้องชายของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในเรือนของสุมนเศรษฐี ณ กรุงสาวัตถี ได้มีนามว่า "สุภูติ"

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลกทรงประกาศธรรมจักร เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ทรงกระทำการอนุเคราะห์สัตวโลก โดยการรัมมอบพระวิหารเวฬุวันเป็นต้น ในกรุงราชคฤห์นั้น อาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่ในป่าสีตวัน. ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ถือเอาเครื่องมือของผู้หมั่นขยันในพระนครสาวัตถี สร้างเรือนของเศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์ สดับข่าวการเสด็จอุบัติแห่งพระพุทธเจ้า จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ผู้เสด็จประทับอยู่ ณ ป่าสีตวัน ดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล โดยการเข้าเฝ้าครั้งแรกทีเดียว แล้วทูลขอให้พระศาสดาเสด็จมากรุงสาวัตถีอีก

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 44

ให้สร้างพระวิหาร โดยการบริจาคทรัพย์ ๑ แสน ไว้ในที่ห่างกันโยชน์หนึ่งๆ ในระยะทาง ๔๕ โยชน์ ถัดจากกรุงสาวัตถีนั้น ซื้อที่สวนของพระราชกุมาร ทรงพระนามว่า เชตะ ประมาณ ๘ กรีส โดยมาตราวัดหลวง ด้วยการเอาทรัพย์ ปูลาดไปเป็นโกฎิๆ. ในวันที่พระศาสดาทรงรับพระวิหาร สุภูติกุฎุมพีนี้ได้ไปพร้อมกับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีฟังเทศนาแล้ว ได้มีศรัทธา (ปสาทะ) บรรพชาแล้ว.

ท่านอุปสมบทแล้ว ทำมาติกา ๒ ให้คล่องแคล่ว ให้อาจารย์บอกกัมมัฏฐาน บำเพ็ญสมณธรรมในป่า เจริญวิปัสสนา มีเมตตาฌานเป็นบาท บรรลุพระอรหัตแล้ว. ก็เพราะเมื่อท่านแสดงธรรม ย่อมแสดงธรรมไม่เจาะจง ตามทำนองที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงได้นามว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้อยู่โดยไม่มีข้าศึก. เมื่อเที่ยวบิณฑบาต ก็เข้าฌานแผ่เมตตาไปทุกๆ บ้าน ออกจากฌานแล้วจึงรับภิกษา ด้วยคิดว่าโดยวิธีนี้ ทายกทั้งหลายจักมีผลมาก. เพราะฉะนั้น ท่านจึงชื่อว่า เป็นผู้เลิศกว่าทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า พระสุภูติเลิศกว่าภิกษุสาวกของเราผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่มีกิเลส พระสุภูติเลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ดังนี้.

พระมหาเถระนี้ ตั้งอยู่ในพระอรหัตตผลแล้ว ถึงที่สุดแห่งผลของบารมีที่ตนได้บำเพ็ญแล้ว เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องในโลก เที่ยวจาริกไปตามชนบทเพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่ชนหมู่มาก ถึงกรุงราชคฤห์แล้วโดยลำดับ ด้วยประการฉะนี้.

พระเจ้าพิมพิสาร ทรงสดับการมาของพระเถระแล้ว เสด็จไปหา ไหว้แล้ว ตรัสว่า ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านอยู่ในที่นี้แหละ ทรงพระดำริว่า เราจักสร้างที่อยู่ถวาย ดังนี้แล้ว เสด็จหลีกไปแล้วก็ทรงลืมเสีย.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 45

พระเถระเมื่อไม่ได้เสนาสนะ ก็ยังเวลาให้ผ่านไปในอัพโภกาส (กลางแจ้ง) ด้วยอานุภาพ ของพระเถระ ฝนไม่ตกเลย.

มนุษย์ทั้งหลาย ถูกภาวะฝนแล้ง บีบคั้น คุกคาม จึงพากันไปทำการ ร้องทุกข์ ที่ประตูวังของพระราชา พระราชาทรงใคร่ครวญดูว่า ด้วยเหตุไรหนอแลฝนจึงไม่ตก แล้วทรงพระดำริว่า ชะรอยพระเถระจะอยู่กลางแจ้งฝนจึงไม่ตก แล้วรับสั่งให้สร้างกุฎีมุงด้วยใบไม้ถวายพระเถระ แล้วรับสั่งว่า "ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านอยู่ในบรรณกุฎี นี้แหละ" ไหว้แล้ว เสด็จหลีกไป.

พระเถระเข้าไปสู่กุฎี แล้วนั่งขัดสมาธิบนอาสนะที่ปูลาดด้วยหญ้า. ก็ในครั้งนั้น ฝนหยาดเม็ดลงมาเล็กๆ น้อยๆ ไม่ยังสายธารให้ชุ่มชื่นทั่วถึง.

ลำดับนั้น พระเถระประสงค์จะบำบัดภัยอันเกิดแต่ฝนแล้งแก่ชาวโลก จึงประกาศความไม่มีอันตราย ที่เป็นวัตถุภายในและภายนอกของตน จึงกล่าว คาถาว่า

กระท่อมของเรามุงแล้ว สะดวกสบายปราศจากลม ดูก่อนฝน ท่านจงตกตามสบายเถิด จิตของเราตั้งมั่นแล้ว หลุดพ้นแล้ว เรามีความเพียรเครื่องเผากิเลสอยู่ ดูก่อนฝน ท่านจงตกเถิด ดังนี้.

ฉนฺน ศัพท์ในคาถานั้น มาแล้วในความเหมาะสม ดังในประโยค มีอาทิว่า เด็กหญิงคนนั้น เหมาะสมกับเด็กชายคนนี้ และดังประโยคมีอาทิว่า ไม่เหมาะสม (คือ) ไม่สมควร. มาแล้วในสังขยาพิเศษ ที่ทำถ้อยคำให้สละสลวย ดังในประโยคมีอาทิว่า ฉนฺนํ เตฺวว ผคฺคุณผสฺสายตนานํ. มาแล้วในความว่ายึดถือ ดังในประโยคมีอาทิว่า ฝน คือ กิเสสย่อมรั่วรดผู้ที่ยึดถือ ย่อมไม่รั่วรดผู้ปราศจากกิเลส. มาในความว่า นุ่งห่มดังในประโยค

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 46

มีอาทิว่า แม้เรา ก็ยังไม่ได้นุ่งห่ม จักทำอะไรให้ท่านได้. มาในต้นบัญญัติ ดังใน ประโยคมีอาทิว่า ท่านฉันนะ ได้ประพฤติอนาจาร. มาในความว่า มุงบังด้วย หญ้าเป็นต้น ดังในประโยคว่า เรามุงบังไว้หมดแล้ว เรามุงบังไว้เรียบร้อยแล้ว และดังในประโยคว่า เรามุงบังกระท่อมไว้แล้ว ก่อไฟไว้แล้ว. แม้ในคาถานี้ พึงทราบว่า มาในความหมายว่า มุงบังด้วยหญ้าเป็นต้นอย่างเดียว เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า กุฎีที่มุงบังแล้วด้วยหญ้า หรือใบไม้ ชื่อว่า มุงบังไว้ดีแล้ว ทีเดียว โดยประการที่ฝนจะไม่รั่ว คือฝนจะไม่หยดลงมา ได้แก่ รั่วรดไม่ได้เลย.

เม ศัพท์มาแล้วใน กรณะ (ตติยาวิภัตติ) ดังในประโยคมีอาทิว่า บัดนี้ ไม่ควรเลย ที่จะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้วโดยแสนยาก อธิบายว่า มีความหมายเท่ากับ มยา (อันเรา).

มาแล้ว ในความว่า มอบให้ ดังในประโยคมีอาทิว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์นั้น โดยย่อ อธิบายว่า มีความหมายเท่ากับ มยฺหํ (แก่ข้าพระองค์). มาแล้วในอรรถ แห่งฉัฏฐีวิภัตติ ดังในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่กาลตรัสรู้ เมื่อเรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ดังนี้ แม้ในคาถานี้ พึงทราบว่า ใช้ในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติอย่างเดียว อธิบายว่า มีความหมายเท่ากับ มม. ขึ้นชื่อว่า สิ่งไรๆ ที่จะพึงยึดถือว่า เป็นของเรา ย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพทั้งหลาย เพราะพระขีณาสพเหล่านั้น อันโลกธรรมทั้งหลายเข้าไปแปดเปื้อนไม่ได้ก็จริง แต่โดยสมมติของโลก แม้พระขีณาสพเหล่านั้น ก็ยังมีเพียงการกล่าวเรียกกันว่า เรา ว่าของเรา. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า "สาวกทั้งหลายของเรา พึงเป็นธรรมทายาทเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย" ด้วยเหตุดังฤา. ก็ท้องมารดาก็ดี กรชกายก็ดี แม้ที่อาศัยซึ่งมุงบังด้วยหญ้าเป็นต้นก็ดี

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 47

ท่านเรียกว่า " กระท่อม". สมจริงตามนั้น ท้องมารดาท่านเรียกว่า กระท่อม ดังในประโยคมีอาทิว่า

ท่านกล่าวมารดาว่าเป็นกระท่อม ท่านกล่าว ภรรยาว่าเป็นรัง ท่านกล่าวบุตรว่าเป็นเครื่องสืบต่อไป ท่านกล่าวตัณหาว่าเป็นเครื่องผูกแก่เรา ดังนี้.

กรชกายอันเป็นที่ประชุมแห่งอาการ ๓๒ มีผมเป็นต้น ท่านเรียกว่า กระท่อม ดังในประโยคมีอาทิว่า

เราติเตียนกระท่อม คือสรีระร่าง อันสำเร็จด้วยโครงกระดูก อันฉาบทาด้วยเนื้อ ร้อยรัดด้วยเส้นเอ็น เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียด ที่คนทั่วๆ ไปเข้าใจว่าเป็นของผู้อื่น และเป็นของตน ดังนี้.

ที่อาศัยที่มุงบังด้วยหญ้า ท่านเรียกว่า กระท่อม ดังในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนน้องหญิง กระท่อมของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ ฝนรั่วรดได้ ดังนี้ และดังในประโยคมีอาทิว่า ขึ้นชื่อว่า กระท่อม ฉาบแล้วก็มี ยังไม่ได้ฉาบก็มี ดังนี้. แม้ในคาถานี้พึงทราบว่าได้แก่ ที่อาศัยอันมุงด้วยหญ้า นั่นแหละ เพราะหมายถึงบรรณศาลา. เพราะว่า กระท่อม ก็คือกุฎีนั่นเอง. อธิบายว่า กุฎี ที่ไม่ปรากฏ ท่านเรียกว่า กระท่อม.

ส่วนสุขศัพท์ มาในสุขเวทนา ดังในประโยคมีอาทิว่า บุคคลละสุข และทุกข์ โสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนได้ ดังนี้. มาในความว่าเป็นมูลของความสุข ดังในประโยคมีอาทิว่า การบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายนำมาซึ่งความสุข การฟังพระธรรมเทศนานำมาซึ่งความสุข ดังนี้. มาใน

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 48

เหตุแห่งความสุข ดังในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า บุญนี้ เป็นชื่อของความสุข ดังนี้. มาในอารมณ์ที่เป็นสุข ดังในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนมหาลี ก็เพราะเหตุใดแล รูปจึงเป็นสุขอันสุขติดตามแล้ว ก้าวลงแล้วสู่ความสุข ดังนี้. มาในความไม่เพ่งเล็ง ดังในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อน จุนทะ รูปสมาบัติเหล่านี้ เป็นสุขวิหารธรรมในปัจจุบัน ในวินัยของพระอริยเจ้า ดังนี้. มาในพระนิพพาน ดังในประโยคว่า พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้. มาในฐานะอันเป็นปัจจัยของความสุข ดังในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพียงเท่านี้แม้จะเปรียบอุปมา โดยการบอกกล่าวจนถึงสวรรค์เป็นสุข ก็ไม่ใช่ทำได้ง่ายนัก ดังนี้. มาในอารมณ์ที่น่าปรารถนา ดังในประโยคมีอาทิว่า เป็นไปเพื่อสวรรค์ มีสุขเป็นวิบาก ยังสวรรค์ให้เป็นไปพร้อม ดังนี้. แม้ในคาถานี้ พึงทราบว่า มาในอารมณ์ที่น่าปรารถนาหรือ ในอารมณ์อันเป็นเหตุแห่งความสุข.

ก็กุฎีนั้น ยังความพอใจ ทั้งภายในและภายนอกให้ถึงพร้อมแล้ว ท่านจึงเรียกว่า สุข เพราะอยู่อาศัยสบาย. อนึ่ง ท่านเรียกว่า "สุข" เพราะเป็นปัจจัยแห่งความสุขทางกายและสุขทางใจ โดยประกอบไปด้วยความสมบูรณ์ด้วยความสุขทุกฤดู เพราะไม่หนาวเกินไป และไม่ร้อนเกินไป.

บทว่า นิวาตา แปลว่า ไม่มีลม อธิบายว่า เว้นจากอันตรายอันเกิดแต่ลม เพราะมีช่องหน้าต่างอันปิดลงกลอนได้สนิท. บทว่า นิวาตา นี้ เป็นบทแสดงถึงความที่กุฎีนั้นอำนวยความสุข. เพราะว่า ในเสนาสนะที่มีลมจะไม่ได้ฤดูเป็นที่สบาย ในเสนาสนะที่อับลมจึงจะได้ฤดูเป็นที่สบายนั้น.

บทว่า วสฺส แปลว่า ยังฝนให้ตก คือ ยังธารน้ำให้หลั่งลงมาโดยชอบ.

เทวศัพท์ ในบทว่า เทวา นี้ มาในความหมายว่า กษัตริย์ผู้สมมติเทพ ดังในประโยคมีอาทิว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระนครแปดหมื่นสี่พัน

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 49

อันมีเมืองกุสาวดีราชธานีเป็นประมุขเหล่านี้ของพระองค์ ขอพระองค์จงยังฉันทะให้เกิดในพระนครเหล่านี้เถิด จงทำความใยดีในชีวิต ดังนี้. มาใน อุปปัตติเทพ ดังในประโยคมีอาทิว่า เหล่าเทพชั้นจาตุมหาราชิกา มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้. มาในวิสุทธิเทพ ดังในประโยคมีอาทิว่า คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นผู้เป็นเทพเหนือเทพ ผู้เห็นไญยธรรมทั้งปวง ดังนี้. ก็ในเมื่อกล่าวถึงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเทพเหนือกว่าวิสุทธิเทพทั้งหลาย เทพนอกนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงแล้วทีเดียว. มาในอากาศ ดังในประโยคมีอาทิว่า ในอากาศที่แจ่มใสปราศจากเมฆหมอก ดังนี้. มาในเมฆหรือหมอก ดังในประโยคมีอาทิว่า ก็ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ดังนี้. แม้ในคาถานี้ ได้แก่ เมฆหรือหมอก. ก็พระเถระกล่าวบังคับเมฆหมอกเหล่านั้นว่า วัสสะ (จงยังฝนให้ตก).

บทว่า ยถาสุขํ แปลว่า ตามใจชอบ. พระเถระเมื่อจะอนุเคราะห์ เหล่าสัตว์ผู้อาศัยฝนเป็นอยู่ จึงกล่าวว่า อันตรายในภายนอกไม่มีแก่เรา เพราะการตกของท่าน เพราะฉะนั้น ท่านจงตกตามสบายเถิด ดังนี้.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงถึงความไม่มีอันตรายในภายใน จึงกล่าว คำมีอาทิว่า จิตฺตํ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตํ เม สุสมาหิตํ ความว่า จิตของเรา ตั้งอยู่แล้วในอารมณ์ด้วยดี คือดียิ่ง โดยชอบ คือโดยความเป็นเอกัคคตารมณ์ อันถูกต้องทีเดียว.

ก็แลจิตนั้น มิได้ตั้งมั่น ด้วยเหตุเพียงข่มนิวรณ์เป็นต้นไว้ได้เท่านั้น โดยที่แท้ จิตนั้นหลุดพ้นแล้ว คือพ้นแล้วโดยพิเศษ จากสังโยชน์ทั้งปวง อันสงเคราะห์ด้วยโอรัมภาคิยสังโยชน์ และอุทธัมภาคิยสังโยชน์ และจากกิเลสธรรมทั้งปวง.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 50

อธิบายว่า ละกิเลสเหล่านั้นได้ ด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทปหาน แล้วตั้งอยู่.

บทว่า อาตาปี แปลว่า มีความเพียร. อธิบายว่า เราเป็นผู้มีความ เพียรอันปรารภแล้ว เพื่อผลสมาบัติ และเพื่ออยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม โดยเริ่ม บำเพ็ญวิปัสสนา แต่มิใช่เพื่อจะละกิเลส เพราะไม่มีกิเลสที่จะต้องละนั่นเอง. พระเถระเมื่อจะแสดงว่า ดูก่อนฝน ท่านอันข้าพเจ้าเชิญชวนให้ตก เพราะไม่มีอันตรายในภายนอกฉันใด แม้อันตรายภายในก็ไม่มีฉันนั้น จึงกล่าวคำว่า วสฺส เทว (ดูก่อนฝนท่านจงตกเถิด) ดังนี้ไว้อีก.

นัยอื่น บทว่า ฉนฺนา ได้แก่ ปิดแล้ว บังแล้ว. บทว่า กุฏิกา ได้แก่ อัตภาพ. ก็อัตภาพนั่นมาแล้ว โดยความหมายว่า กาย ดังในประโยค มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้เองของบุคคลซึ่งเป็นที่รวมแห่งอวัยวะมิใช่น้อย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น ประกอบแล้วด้วยตัณหา ประชุมกันแล้ว และมีนามรูปในภายนอก. มาแล้วในความหมายว่า เรือ ดังในประโยคมี อาทิว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงวิดเรือลำนี้ เรืออันเธอวิดแล้วจักถึงฝั่งได้เร็ว. มาแล้วในความหมายว่า เรือน ดังในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนนายช่างผู้ทำเรือน ยอดของเรือนเราหักแล้ว. มาโดยความหมายว่า ถ้ำ ดังในประโยคมี อาทิว่า นรชนผู้ข้องอยู่ในถ้ำคือกาย ถูกกิเลสเป็นอันมากปกปิดไว้แล้ว ดำรงอยู่ด้วยอำนาจกิเลสมีราคะเป็นต้น หยั่งลงในกามคุณ เครื่องทำจิตให้ลุ่มหลง. มาแล้วโดยความหมายว่า รถ ดังในประโยคมีอาทิว่า รถคืออัตภาพ มีศีล อันหาโทษมิได้ มีหลังคาคือบริขารขาว มีกรรมคือสติอันเดียว แล่นไปอยู่. มาแล้วในคำว่า ที่อยู่อาศัย ดังในประโยคว่า ท่านจักทำเรือน (ที่อยู่อาศัย) ไม่ได้อีกแล้ว. มาแล้ว โดยความหมายว่า กุฎี ดังในประโยคมีอาทิว่า กุฎีคืออัตภาพ มีหลังคาอันเปิดแล้ว ไฟดับสนิทแล้ว. เพราะฉะนั้น แม้ในคาถานี้ ท่านจึง เรียกอัตภาพนั้นว่า "กุฏิกา" (กระท่อม). อธิบายว่า อัตภาพ จะมีได้

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 51

เพราะอาศัยปฐวีธาตุเป็นต้น และผัสสะเป็นต้น ที่หมายรู้กันว่าได้แก่กระดูก เป็นต้น เหมือนกระท่อมที่ได้นามว่าเรือน จะมีได้เพราะอาศัยทัพสัมภาระมีไม้ เป็นต้น ท่านจึงเรียกว่า กุฏิกา "กระท่อม" เพราะเป็นที่อยู่อาศัยของลิง คือ จิต. และสมกับที่ท่านกล่าวไว้ว่า

กระท่อมคือร่างกระดูกนี้เป็นที่อยู่อาศัยของลิง คือจิต เพราะฉะนั้น ลิงคือจิต จึงกระเสือกกระสนจะออกจากกระท่อมที่มีประตู ๕ พยายามวิ่งวนไปมาทางประตูบ่อยๆ ดังนี้.

ก็และกระท่อม คือ อัตภาพนี้นั้น ท่านกล่าวว่า อันพระเถระปิดบังแล้ว เพราะจิตที่กิเลสรั่วรด ชุ่มไปด้วยราคะเป็นต้น ด้วยสามารถแห่ง อสังวรทวาร ทั้ง ๓ ช่อง ๖ ช่อง และ ๘ ช่อง อันพระเถระสำรวมแล้วด้วยปัญญา คือ ปิดกั้นแล้วโดยชอบนั่นเอง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เราตถาคต กล่าวการสำรวมระวังกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านั้นย่อมปิดกั้นได้ด้วยปัญญา ดังนี้. ชื่อว่ามีความสุข คือถึงแล้วซึ่งความสุข เพราะปิดบังได้ตามนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล และเพราะความเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยความสุขที่ปราศจากอามิสโดยไม่มีทุกข์ คือ กิเลส. ก็เพราะเหตุที่ถึงความสุขแล้วนั้นเอง จึงชื่อว่า สงัดจากลม ได้แก่ มีความประพฤติ อ่อนน้อม เพราะมีความเมา คือ มานะ ความดื้อดัน และความแข่งดี อันขจัดได้แล้ว. พระเถระเมื่อจะแสดงว่า ก็แนวทางอันนี้สำเร็จแก่ข้าพเจ้า ด้วยเหตุเพียงระวังสังกิเลสธรรม (อย่างเดียว) ก็หามิได้ โดยที่แท้แล้ว สำเร็จ เพราะความเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดีด้วยสมาธิอันสัมปยุตแล้วด้วยมรรคอันเลิศ และเพราะความเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์ทั้งปวงด้วยปัญญาอันสัมปยุตด้วยมรรคอันเลิศ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า จิตฺตํ เม สุสมาหิตํ วิมุตฺต

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 52

(จิตของเราตั้งมั่นแล้ว หลุดพ้นแล้ว) ดังนี้. พึงเห็นความในคาถานี้ อย่างนี้ว่า ก็ข้าพเจ้าผู้เป็นอย่างนี้แล้วจะเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ด้วยคิดว่า บัดนี้เราทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ดังนี้ก็หามิได้ โดยที่แท้แล้ว เราเป็นผู้มีความเพียรอยู่ คือเป็นผู้มีความอุตสาหะเกิดแล้ว ในการบำเพ็ญประโยชน์สุขแก่สัตวโลก พร้อมทั้งเทวดา แม้ในเวลาเที่ยวภิกษาจารก็ยับยั้งอยู่ ด้วยพรหมวิหารธรรมอย่างเดียว ตามลำดับเรือน. เพราะฉะนั้น แม้ท่าน ก็จงยังฝนให้ตก คือ ยังสายฝนให้หลั่งไหลไปโดยชอบ เพื่อกระทำความน่ารักสำหรับเรา อีกทั้งเพื่ออนุเคราะห์เหล่าสัตว์ผู้เข้าไปอาศัยน้ำฝนเป็นอยู่.

ก็ด้วยบทว่า ฉนฺนา เม กุฏิกา สุขา นิวาตา นี้ ในคาถานี้ พระเถระแสดงถึงอธิศีลสิกขาของตนโดยประเภทที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. ด้วยบทว่า จิตฺตํ เม สุสมาหิตํ นี้ แสดงถึงอธิจิตตสิกขา. ด้วยบทว่า วิมุตฺตํ นี้ แสดงถึงอธิปัญญาสิกขา. ด้วยบทว่า อาตาปี วิหรามิ นี้ แสดงถึงการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทว่า ฉนฺนา เม กุฏิกา สุขา นิวาตา นี้ แสดงถึงอนิมิตวิหาร เพราะแสดงการเพิกนิมิต มีนิมิตว่าเที่ยงเป็นต้น โดยมุขคือการปกปิดไว้ซึ่งฝนคือกิเลส. ด้วยบทว่า จิตฺตํ เม สฺสมาหิตํ นี้ แสดงถึงอัปปณิหิตวิหาร. ด้วยบทว่า วิมุตฺตํ นี้ แสดงถึง สุญญตวิหาร. ด้วยบทว่า อาตาปี วิหรามิ นี้ แสดงถึงอุบายเป็นเครื่องบรรลุวิหารธรรม ๓ อย่างเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยวิหารธรรมข้อแรก แสดงถึงการละราคะ ๓. ด้วยวิหารธรรมข้อที่สองแสดงถึงการละราคะ. ด้วยวิหารธรรมข้อที่สาม แสดงถึงการละโมหะ. อนึ่ง ด้วยวิหารธรรมข้อที่ ๒ หรือข้อที่ ๑ และข้อที่ ๒ แสดงถึงธรรมวิหารสมบัติ. ด้วยวิหารธรรมข้อที่ ๓

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 53

แสดงถึงวิมุตติสมบัติ. พึงทราบว่า ด้วยบทว่า อาตาปี วิหรามิ นี้ แสดงถึง ความเป็นผู้ไม่เกียจคร้านในการปฏิบัติเพื่อประโยชน์เก่ผู้อื่น.

ท่านกล่าวคำมีอาทิว่า อิตฺถํ สุทํ ไว้เพื่อจะแสดงถึงชื่อ ในบรรดาชื่อและโคตรที่ยังไม่ได้แสดงไว้แล้วในคาถานั้น เพราะพระเถระผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นต้น กล่าวไว้แล้วด้วยคาถาว่า ยถานามา นี้ ดังพรรณนามานี้. ก็พระเถระเหล่าใด ปรากฏเพียงชื่อ ท่านแสดงพระเถระเหล่านั้นโดยชื่อ พระเถระเหล่าใดปรากฏแล้วโดยโคตร ก็แสดงพระเถระเหล่านั้นโดยโคตร พระเถระเหล่าใดปรากฏทั้งสองอย่าง ก็แสดงพระเถระเหล่านั้นแม้ทั้งสองอย่าง (คือทั้งโดยชื่อและโคตร) ก็พระเถระนี้ ท่านกำหนดไว้แล้วโดยชื่อ ไม่ได้กำหนดไว้โดยโคตรอย่างนั้น เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า "อิตฺถํ สุทํ อายสฺมา สุภูติ" ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิตฺถํ เท่ากับ อิทํ ปการํ ความก็ว่า โดยอาการนี้. บทว่า สุทํ ตัดบทเป็น สุ อิทํ ลบอิออกเสียด้วยอำนาจสนธิ. และบทว่า สุ เป็นเพียงนิบาต. ประกอบความว่า ซึ่งคาถานี้. บทว่า อายสฺมา นี้ เป็นคำกล่าวที่น่ารัก คือคำนี้เป็นคำกล่าวของผู้ที่มีความเคารพยำเกรงในฐานะครู. บทว่า สุภูติ เป็นคำระบุถึงชื่อ. ก็ท่านพระสุภูตินั้น แม้โดยสรีรสมบัติ ก็น่าชม แม้โดยคุณสมบัติก็น่าเลื่อมใส. ด้วยประการฉะนี้ ท่านจึงปรากฏนามว่า สุภูติ เพราะ ประกอบไปด้วยสรีระร่างกายงดงามเป็นที่เจริญตา และคุณสมบัติมีศีลเป็นต้นเป็นที่เจริญใจ. ปรากฏชื่อว่า เถระ เพราะประกอบไปด้วยคุณธรรมอันมั่นคงมีสาระ คือ ศีลเป็นต้น. บทว่า อภาสิตฺถ แปลว่า กล่าวแล้ว. ถามว่า ก็เพราะเหตุไรพระมหาเถระเหล่านี้ จึงประกาศคุณทั้งหลายของตน? ตอบว่า พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้มีความมักน้อยอย่างยิ่ง ประกาศคุณของตนด้วยสามารถแห่งการพิจารณาถึงโลกุตรธรรมอันตนไม่เคยได้บรรลุ โดยกาลยาวนานนี้

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 54

ล้ำลึกอย่างยิ่ง สงบ ประณีต เหลือประมาณ อันตนได้บรรลุแล้ว เปล่งอุทาน โดยที่กำลังปีติ กระตุ้นเตือนแล้ว และด้วยสามารถแห่งการยกย่อง คำสอนว่าเป็นนิยยานิกธรรม (นำสัตว์ออกจากภพ). พระโลกนาถ ประกาศคุณของพระองค์ด้วยคำมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต ผู้ประกอบ ด้วยพลญาณ ๑๐ เป็นผู้แกล้วกล้า เพราะเวสารัชชธรรม ๔ ดังนี้ ด้วย สามารถแห่งพระอัธยาศัยที่เป็นไปเพื่อให้สัตว์ได้บรรลุ (มรรคผล) ฉันใด คาถา พยากรณ์อรหัตตผล ของพระเถระนี้ ก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา สุภูติเถรคาถา