พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. สัมภูตเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระสัมภูตเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 พ.ย. 2564
หมายเลข  40404
อ่าน  527

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 90

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๑

๖. สัมภูตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสัมภูตเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 90

๖. สัมภูตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสัมภูตเถระ

[๑๔๓] ได้ยินว่า พระสัมภูตเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ภิกษุใดมาสู่ป่าสีตวันแล้ว ภิกษุนั้นเป็น ผู้อยู่แต่ผู้เดียว สันโดษ มีจิตตั้งมั่น ชนะกิเลส ปราศจากขนลุกพอง มีปัญญา รักษากายคตาสติ อยู่.

อรรถกถาสัมภูตเถรคาถา

คาถาของท่านพระสัมภูตเถระเริ่มต้นว่า โย สีตวนํ ดังนี้. เรื่อง ราวของท่านเป็นอย่างไร?

ได้ยินว่า นับถอยหลังจากนี้ไป ๑๑๘ กัป พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า อัตถทัสสี เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ยังหมู่สัตวโลก พร้อม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 91

ทั้งเทวโลก ให้ข้ามโอฆะใหญ่ คือ สงสาร วันหนึ่ง เสด็จไปถึงฝั่งแม่น้ำคงคา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. ในครั้งนั้น พระเถระนี้เกิดในตระกูลคฤหบดี พบพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคานั้น มีใจเลื่อมใส เข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคม กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์มีพระพุทธประสงค์ จะข้ามไปสู่ฝั่งโน้นหรือพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า เราจักไป. เขาจึงจัดผูกเรือขนาน น้อมถวายในทันใดนั้นเอง. พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา จึงพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จลงสู่เรือแล้ว เขานำเรือข้ามไปด้วยตนเอง ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ให้ถึงฝั่งโน้นโดยสะดวกสบาย แล้วถวายมหาทานในวันที่สอง ตามส่งเสด็จ มีจิตเลื่อมใส ถวายบังคมพระบรมศาสดา แล้วกลับไป.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาจึงท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย นับแต่ภัทรกัปนี้ถอยหลังไป ๑๑๓ กัป. เกิดในตระกูลกษัตริย์ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ธรรมิกราช ท้าวเธอยังพสกนิกรให้ตั้งอยู่ในแนวทางแห่งสุคติ จุติจากมนุษยโลกนี้แล้ว บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ในกัปที่ ๙๑ สมาทานธูตธรรม (ธรรมคือธุดงค์) อยู่ในป่าช้าบำเพ็ญสมณธรรมแล้ว. แม้ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่ากัสสป เขาก็ออกบวชพร้อมด้วยสหายทั้ง ๓ ในศาสนาของพระองค์อีก แล้วบำเพ็ญสมณะอยู่ถึงสองแสนปี ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอยู่ตลอดพุทธันดรหนึ่ง แล้วเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาลในพระนครราชคฤห์ในพุทธุปบาทกาลนี้. คนทั้งหลายตั้งชื่อท่านว่า สัมภูตะ ท่านเจริญวัยแล้ว ประสบความสำเร็จในศิลปศาสตร์ของพราหมณ์. ท่านได้ไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยสหายทั้ง ๓ คือ ภูมิชะ เชยยเสนะ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 92

และ อภิราธนะ สดับพระธรรมเทศนาแล้ว ได้สัทธาปสาทะบรรพชาแล้ว ซึ่งพระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายหมายเอา กล่าวไว้ว่า

มาณพทั้ง ๔ เหล่านี้ คือ ภูมิชะ ๑ เชยยเสนะ ๑ สัมภูตะ ๑ อภิราธนะ ๑. ได้ตรัสรู้ธรรมในศาสนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐและผู้คงที่.

ครั้งนั้น พระสัมภูตเถระ เรียนกายคตาสติกัมมัฏฐาน ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า อยู่ในป่าสีตวันเป็นประจำ. ด้วยเหตุนั้นแล ท่านจึงมีนาม ปรากฏว่า "สีตวนียะ". ก็โดยสมัยนั้น ท้าวเวสวัณมหาราช เสด็จไปทางอากาศ มุ่งหน้าสู่ทิศทักษิณในชมพูทวีป ทอดพระเนตรเห็นพระเถระนั่งในอัพโภกาส มนสิการกัมมัฏฐานอยู่ จึงเสด็จลงจากวิมาน นมัสการพระเถระ แล้วสั่งยักษ์ ๒ ตนว่า ถ้าพระเถระออกจากสมาธิในเวลาใด เจ้าจงบอกการมาของเราในเวลานั้น และจงถวายอารักขาพระเถระด้วย ดังนี้ แล้วเสด็จหลีกไป. ยักษ์ทั้งสองเหล่านั้นยืนอยู่ใกล้พระเถระ แล้วบอกความนั้น ในเวลาที่พระเถระเลิกมนสิการนั่งอยู่แล้ว. พระเถระฟังคำนั้นแล้วกล่าวว่า ท่านจงกราบทูลท้าวเวสวัณมหาราชตามคำของเรา ธรรมดาอารักขา คือ สติ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวางไว้สำหรับผู้ที่ดำรงอยู่ในศาสนาของพระองค์นั้นนั่นแหละ จะรักษาบุคคลเช่นเรา ท่านจงเลิกสนใจในอารักขานั้น กิจที่จะพึงกระทำด้วยอารักขาเช่นนี้ ย่อมไม่มีแก่ผู้ที่ตั้งอยู่ในโอวาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล้ว ส่งยักษ์ทั้งสองกลับไป เจริญวิปัสสนาแล้วกระทำให้แจ้ง ซึ่งหมวด ๓ แห่งวิชชา ในทันใดนั้นเอง. ลำดับนั้น ท้าวเวสวัณเสด็จกลับมา เข้าไปใกล้พระเถระ รู้ว่า ท่านสำเร็จพระอรหัตแล้ว ด้วยการสังเกตอาการเฉพาะหน้า จึงเสด็จไป กรุงสาวัตถี กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะยกย่องพระเถระ ต่อพระพักตร์ของพระบรมศาสดา จึงพรรณนาคุณทั้งหลายของพระเถระ ด้วยคาถานี้ว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 93

พระสัมภูตเถระ สมบูรณ์ด้วยสติ เป็นเครื่อง รักษา มีปัญญา ประกอบด้วยความเพียร เป็นพุทธชิโนรส มีวิชชา ๓ ถึงฝั่งแห่งมัจจุแล้ว ดังนี้.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวเป็นคาถาประพันธ์ไว้ในอปทานว่า

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี ผู้เป็นจอมแห่งสัตว์ ๒ เท่า ประเสริฐกว่านระ แวดล้อมไปด้วยพระสาวกทั้งหลาย เสด็จไปสู่ฝั่งแม่น้ำคงคา แม่น้ำคงมีน้ำเอ่อเต็มฝั่ง กาพอที่จะดื่มได้ ข้ามได้ยาก เราส่งพระพุทธเจ้าผู้สูงกว่าสัตว์ และภิกษุสงฆ์ ในกัป ที่ ๑๑๘ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดไว้ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการข้ามส่งเสด็จพระพุทธเจ้า ในกัปที่ ๑๑๓ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕ พระองค์ พระนามว่า สัพโพภวะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก และในภพสุดท้ายนั้น เราเกิดในตระกูลพราหมณ์ บวชในศาสนาของพระศาสดา พร้อมด้วยสหายทั้ง ๓ คุณพิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระ พุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ครั้งนั้น ท่านพระสัมภูตะ เห็นภิกษุทั้งหลายเดินทางไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านทั้งหลายจงถวายบังคมพระบาท ของพระผู้มีพระภาคเจ้าตามคำของเราด้วย และจงกราบทูลอย่างนี้ ดังนี้แล้ว เมื่อจะประกาศความที่ตนไม่เบียดเบียนพระศาสดา อันจัดเป็นธรรมาธิกรณ์

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 94

จึงกล่าวคาถาว่า โย สีตวนํ ดังนี้. ภิกษุเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วถวายบังคม เมื่อจะกราบทูลให้ทรงทราบถึงสาสน์ของพระสัมภูตเถระ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสัมภูตะขอถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าและกราบทูลอย่างนี้ ดังนี้แล้วกราบทูลข้อความนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสัมภูตะเป็นบัณฑิต ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และไม่เบียดเบียนเราผู้เป็นธรรมาธิกรณ์ เรื่องราวของพระสัมภูตะนั้น ท้าวเวสวัณบอกเราแล้ว ดังนี้. ก็ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลคาถาที่พระสัมภูตเถระกล่าวแล้วแด่พระบรมศาสดา ดังนี้ว่า

ภิกษุใดมาสู่ป่าสีตวันแล้ว ภิกษุนั้นเป็นผู้อยู่แต่ผู้เดียว สันโดษ มีจิตตั้งมั่น ชนะกิเลสได้แล้ว ปราศจากขนพองสยองเกล้า มีปัญญารักษากายคตาสติอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีตวนํ ได้แก่ ป่าช้า น่ากลัวกว้างใหญ่ ใกล้พระนครราชคฤห์ ที่ได้นามอย่างนี้.

บทว่า อุปคา ได้แก่ เข้าถึงแล้ว โดยถือเป็นที่อยู่. ด้วยบทว่า อุปคา นี้ ท่านแสดงถึงที่เป็นที่อยู่อาศัย อันสมควรแก่บรรพชิต อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว.

บทว่า ภิกฺขู ความว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเห็นภัยในสงสาร และ เพราะทำลายกิเลสได้แล้ว. บทว่า เอโก ความว่า ไม่มีเพื่อนสอง. ด้วยบทว่า เอโก นี้ ท่านแสดงถึงกายวิเวก.

บทว่า สนฺตุสิโต ได้แก่ ผู้สันโดษ. ด้วยบทว่า สนฺตุสิโต นี้ ท่านแสดงถึงอริยวงศ์ อันมีความสันโดษในปัจจัย ๔ เป็นลักษณะ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 95

บทว่า สมาทิตตฺโต ความว่า มีจิตตั้งมั่นแล้ว ด้วยสมาธิอันต่างด้วยอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ. ด้วยบทว่า สมาหิตตฺโต นี้ ท่านแสดง ถึงอริยวงศ์ อันมีภาวนาเป็นที่มายินดี โดยมีวิเวกภาวนาเป็นประธาน.

บทว่า วิชิตาวี ความว่า ชนะหมู่กิเลส อันพระโยคาวจรพึงชนะ ด้วยการปฏิบัติชอบในพระศาสนา. ด้วยบทว่า วิชิตาวี นี้ ท่านแสดงถึง อุปธิวิเวก. ภิกษุชื่อว่า อเปตโลมหํโส (ปราศจากขนลุกพองสยองเกล้า) เพราะมีกิเลสอันเป็นเหตุแห่งภัยปราศไปแล้ว. ด้วยบทว่า อเปตโลมหํโส นี้ ท่านแสดงถึงผลแห่งสัมมาปฏิบัติ. บทว่า รกฺขํ แปลว่า รักษาอยู่.

บทว่า กายคตาสตึ ได้แก่ สติมีกายเป็นอารมณ์ คือไม่ละกายคตาสติกัมมัฏฐาน ด้วยสามารถแห่งการเพิ่มพูนไว้. บทว่า ธีติมา ได้แก่ ผู้มีปัญญา. บทว่า ธีติมา นี้ แสดงถึงข้อปฏิบัติ อาศัยความที่ตนมีจิตตั้งมั่น หรือมีชัยชนะแจ้งชัดแล้ว ในคาถานี้ มีความสังเขปดังนี้

ภิกษุนั้น เป็นผู้ผู้เดียวมาสู่ป่าสีตวัน โดยมุ่งความสุขเกิดแต่วิเวก และเข้าไปแล้วก็เป็นผู้สันโดษ เพราะไม่มีความโลเล มีปัญญา มีกายคตาสติ เจริญกัมมัฏฐาน กระทำฌานที่ตนบรรลุแล้วอย่างนั้นให้เป็นบาท ขวนขวายวิปัสสนาที่ตนปรารภแล้ว มีจิตตั้งมั่น ด้วยมรรคอันเลิศที่ตนได้บรรลุแล้ว และ ชนะกิเลสได้แล้ว ชื่อว่าเป็นผู้ปราศจากขนพองสยองเกล้า เพราะมีเหตุแห่งภัยไปปราศแล้ว โดยประการทั้งปวง โดยที่กระทำกิจสำเร็จแล้ว ดังนี้.

จบอรรถกถาสัมภูตเถรคาถา