๙. ปิลินทวัจฉเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระปิลินทวัจฉเถระ
[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 104
เถรคาถา เอกนิบาต
วรรคที่ ๑
๙. ปิลินทวัจฉเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปิลินทวัจฉเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 104
๙. ปิลินทวัจฉเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปิลินทวัจฉเถระ
[๑๔๖] ได้ยินว่า พระปิลินทวัจฉเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า
การที่เรามาสู่สำนักของพระศาสดานี้ เป็นการมาดีแล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ การที่เราคิดไว้ว่า จักฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักบวช เป็นความคิดที่ไม่ไร้ประโยชน์ เพราะเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจำแนกธรรมทั้งหลายอยู่ เราได้บรรลุธรรมอันประเสริฐแล้ว.
อรรถปิลินทวัจฉเถรคาถา
คาถาของท่านพระปิลินทวัจฉเถระ เริ่มต้นว่า สฺวาคตํ ดังนี้. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?
ได้ยินว่า พระเถระนี้ เกิดในตระกูลมีโภคะมาก ณ กรุงหงสาวดี ในกาลของพระพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง นั่นแล เห็นพระบรมศาสดาทรงแต่งตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศ โดยเป็นที่รักเป็นที่พอใจของเทวดาทั้งหลาย ปรารภนาตำแหน่งอันเลิศนั้น บำเพ็ญกุศลจนตลอดชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้วท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แล้วบังเกิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 105
ในมนุษยโลก ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สุเมธะ. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว กระทำการบูชาพระสถูปของพระบรมศาสดา และยังมหาทานให้เป็นไปในหมู่สงฆ์ จุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนั่นแหละ เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ยังมหาชนให้ดำรงอยู่ในศีล ๕ ได้กระทำให้เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
เขา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้นนั่นแล บังเกิดในเรือนแห่งพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี. คนทั้งหลายขนานนามเขาว่า ปิลินทะ ส่วนคำว่า วัจฉะ เป็นโคตร. ด้วยเหตุนั้น เวลาต่อมา เขาจึงมีนามปรากฏว่า ปิลินทวัจฉะ ก็เขาบวชเป็นปริพาชก เพราะเป็นผู้มากไปด้วยความสลดใจในสงสาร สำเร็จวิชชา ชื่อว่า จูฬคันธาระ ท่องเที่ยว ไปในอากาศได้ด้วยวิชชานั้น ทั้งเป็นผู้รู้จิตของผู้อื่น ถึงความเป็นผู้เลิศด้วย ลาภ และยศ อาศัยอยู่ในกรุงราชคฤห์.
ครั้งนั้น จำเดิมแต่เวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ เสด็จเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์โดยลำดับ ด้วยพระพุทธานุภาพ ทำให้วิชชานั้นของเขาเสื่อมไป (ไม่สมบูรณ์) ไม่สามารถยังกิจของตนให้สำเร็จได้. เขาคิดว่า ก็เราได้ฟังมาดังนี้ว่า เมื่ออาจารย์และปรมาจารย์ทั้งหลายกล่าวมนต์นี้อยู่ มหาคันธารวิชชาอยู่ในที่ใด จูฬคันธารวิชชาย่อมเสื่อม (ไม่สมบูรณ์) ในที่นั้น ดังนี้. ก็นับจำเดิมแต่พระสมณโคดมเสด็จมาแล้ว วิชชานี้ของเราไม่สมบูรณ์เลย พระสมณโคดมต้องรู้มหาคันธารวิชชาโดยไม่ต้องสงสัย ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปนั่งใกล้พระสมณโคดมนั้น แล้วเรียนวิชชานั้นในสำนักของพระองค์ ดังนี้. เขาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลดังนี้ว่า ข้าแต่พระมหาสมณะ ข้าพระองค์ประสงค์จะเรียนวิชชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 106
อย่างหนึ่งในสำนักของพระองค์ ขอพระองค์จงให้โอกาสแก่ข้าพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจงบวช. เขาสำคัญว่า บรรพชาเป็นการบริกรรมวิชชาจึงยอมบวช. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่ท่าน แล้วทรงประทานกัมมัฏฐานอันเหมาะแก่จริต. ท่านเจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตแล้ว ต่อกาลไม่นานเลย เพราะความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย. ก็เทวดาเหล่าใด ผู้ตั้งอยู่ในโอวาทของท่านในชาติก่อน แล้วเกิดในสวรรค์ เทวดาเหล่านั้นอาศัยความเป็นผู้รู้คุณนั้น จึงเกิดความนับถืออย่างมาก เข้าไปหาพระเถระทุกเย็น ทุกเช้าแล้วจึงไป. เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงถึงความ เป็นผู้เลิศ เพราะความเป็นผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเทวดาทั้งหลาย. สมดัง คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เมื่อพระโลกนาถ พระนามว่า สุเมธ เป็นบุคคลผู้เลิศ นิพพานแล้ว เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ทำการบูชาพระสถูป. ในสมาคมนั้น พระขีณาสพผู้ได้อภิญญา ๖ มีฤทธิมากเท่าใด เรานิมนต์พระขีณาสพเหล่านั้น มาประชุมกันในสมาคมนั้นแล้ว ได้ทำสังฆภัตถวาย เวลานั้นมีภิกษุผู้อุปัฏฐานของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สุเมธ ท่านมีนามว่า สุเมธ ได้อนุโมทนาในเวลานั้น ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น เราได้เข้าถึงวิมาน นางอัปสรแปดหมื่นหกพันได้มีแก่เรา นางอัปสรเหล่านั้นย่อมคล้อยตามความประสงค์ทุกอย่างของเราเสมอ เราย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่น นี่เป็นผลแห่งบุญกรรม. ในกัปที่ ๒๕ เราเป็นกษัตริย์พระนามว่าวรุณ ในกาลนั้นเราได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 107
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เสวยโภชนะอันขาวผ่อง ชนเหล่านั้นไม่ต้องหว่านพืช และไม่ต้องนำไถไปไถ มนุษย์ทั้งหลายย่อมบริโภคข้าวสาลีอันเกิดเอง สุกเอง ในที่ไม่ได้ไถ เราได้เสวยราชสมบัติในภพนั้นแล้ว ได้ถึงความเป็นเทวดาอีก ถึงเวลานั้น โภคสมบัติเช่นนี้ก็บังเกิดแก่เรา สัตว์ทั้งปวงซึ่งเป็นมิตรหรือมิใช่มิตร ย่อมไม่เบียดเบียนเรา เราเป็นที่รักของสัตว์ทุกจำพวก นี้เป็นผลแห่งกรรม เราได้ให้ทานใดในกาลนั้น ด้วยการให้ทานนั้น เราไม่พบทุคติเลย นี้เป็นผล แห่งการไล้ทาด้วยของหอม ในภัทรกัปนี้ เราผู้เดียว ได้เป็นอธิบดีของคน ได้เป็นราชฤาษีผู้มีอานุภาพมาก ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีพลมาก เรานั้นตั้งอยู่ใน ศีล ๕ ได้ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ถึงสุคติ ได้เป็นที่รักของเทวดาทั้งหลาย คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
อนึ่ง เพราะเหตุที่ท่านเป็นผู้อันเทวดาทั้งหลาย รักใคร่สนิทสนมอย่างมากยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงตั้งพระเถระนี้ไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศ โดยความเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเทวดาทั้งหลาย โดยพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระปิลินทวัจฉะ เลิศกว่าภิกษุผู้เป็นมหาสาวกของเรา ฝ่ายทำให้เทวดาทั้งหลายรักใคร่ชอบใจ ดังนี้. วันหนึ่ง ท่านนั่งอยู่ในท่ามกลาง ภิกษุสงฆ์ พิจารณาคุณทั้งหลายของตนแล้ว เมื่อจะสรรเสริญการมาในสำนัก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 108
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าเป็นนิมิตของวิชชา อันเป็นเหตุแห่งการบรรลุคุณ เหล่านั้น จึงได้ภาษิตคาถาว่า
การที่เรามาสู่สำนักของพระศาสดานี้เป็นการมาดีแล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ การที่เราคิดไว้ว่า จักฟังธรรม ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักบวช เป็นความคิดที่ไม่ไร้ประโยชน์ เพราะเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกธรรมทั้งหลายอยู่ เราได้บรรลุธรรมอัน ประเสริฐแล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฺวาคตํ ความว่า เป็นการมาที่ดี เชื่อมความว่า การที่เรามานี้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สฺวาคตํ ความว่า อันเรามาดี แล้ว ต้องเปลี่ยนวิภัตติเป็น มยา. บทว่า นาปคตํ ตัดบทเป็น น อปคตํํ ได้ความว่า ไม่ไปปราศจากการถึงความเจริญ คือประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า นยิทํ ทุมฺมนฺติตํ มม ความว่า พระดำรัสนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่เรา ไม่ถูกต้อง หรือ เราไตร่ตรองไม่ดี ก็หามิได้. ท่านกล่าวอธิบายไว้ ดังนี้ว่า ความคิด คือความดำริ ได้แก่ ถ้อยคำที่เรากล่าวว่า เราฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักบวชดังนี้ หรือสิ่งที่เราพิจารณาด้วยจิต แม้นี้ เป็นความคิดที่ไม่ไร้ประโยชน์ บัดนี้ เมื่อจะแสดงเหตุ ในบทว่า ทุมฺมนฺติตํํ นั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปวิภตฺเตสุ ดังนี้. บทว่า ปวิภตฺเตสุ ความว่า จำแนกแล้วโดยประการ (ต่างๆ). บทว่า ธมฺเมสุ ความว่า ใน ไญยธรรม หรือในสมถธรรมทั้งหลาย ได้แก่ ในธรรมที่เดียรถีย์ กล่าวไว้ ด้วยสามารถแห่งปกติเป็นต้น หรือในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสจำแนกไว้ ด้วยสามารถแห่งอริยสัจ มีทุกขสัจเป็นต้น. บทว่า ยํ เสฏฺฐํ ตทุปาคมึ ความว่า บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรมใดประเสริฐที่สุด เราเข้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 109
ถึงธรรมนั้น ซึ่งเป็นจตุราริยสัจจธรรม อีกอย่างหนึ่ง เราเข้าถึงซึ่งศาสนธรรม อันเป็นเหตุนำสัตว์ให้ตรัสรู้ คือเข้าถึงว่า นี้ธรรม นี้วินัย. อีกอย่างหนึ่ง ในบรรดาสภาวธรรมทั้งหลาย อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นแหละ ทรงจำแนกแล้ว ด้วยสามารถแห่งกุศลเป็นต้น (และ) ด้วยสามารถแห่งขันธ์เป็นต้น ตามความเป็นจริง ธรรมใดประเสริฐ คือสูงสุด ได้แก่ ประเสริฐใน ศาสนานั้น เราเข้าถึงแล้ว คือเข้าถึงแล้วโดยประจักษ์ในตน ได้แก่ ทำให้แจ้งแล้ว ซึ่งธรรมนั้นอันประเสริฐ อันหมายถึงธรรม คือ มรรค ผล และ นิพพาน. เพราะฉะนั้น จึงประกอบความว่า การที่เรามาสู่สำนักของพระศาสดานี้ เป็นการมาดีแล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ การที่เราคิดว่า จักฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักบวช เป็นความคิดที่ไม่ไร้ประโยชน์ ดังนี้.
จบอรรถกถาปิลินทวัจฉเถรคาถา