พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. จูฬวัจฉเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระจูฬวัจฉเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 พ.ย. 2564
หมายเลข  40409
อ่าน  460

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 114

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๒

๑. จูฬวัจฉเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระจูฬวัจฉเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 114

เถรคาถา เอกนิบาตวรรคที่ ๒

๑. จูฬวัจฉเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระจูฬวัจฉเถระ

[๑๔๘] ได้ยินว่า พระจูฬวัจฉเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า

ภิกษุผู้มากไปด้วยความปราโมทย์ในธรรม อัน พระพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว พึงบรรลุสันตบท อันเป็นธรรมเข้าไปสงบระงับสังขาร เป็นสุข ดังนี้.

วรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถาจูฬวัจฉเถรคาถา

คาถาของท่านพระจูฬวัจฉเถระ เริ่มต้นว่า ปามุชฺชพหุโล. เรื่อง ราวของท่านเป็นอย่างไร.

ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านเกิดในตระกูลที่ยากจน สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างคนอื่น เห็นพระเถระนามว่า สุชาตะ ผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า แสวงหาผ้าบังสุกุลอยู่ มีใจเลื่อมใสเข้าไปหา ถวายผ้าแล้วกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเสวยราชย์ในหมู่เทพถึง ๓๓ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๗ ครั้ง เป็นเจ้าประเทศราชในวาระเป็นอเนก

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 115

(นับครั้งไม่ถ้วน). เมื่อท่านท่องเที่ยวไปมาในเทวดาและมนุษย์อยู่อย่างนี้ ในเมื่อศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ เสื่อมลง จึงบวชแล้วบำเพ็ญสมณธรรม แล้วท่องเที่ยวไปๆ มาๆ ในคติแห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ตลอดพุทธันดรหนึ่ง แล้วเกิดในตระกูลพราหมณ์ กรุงโกสัมพี ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ท่านได้มีนามว่า จูฬวัจฉะ. จูฬวัจฉกุมารเจริญวัยแล้ว ถึงความสำเร็จในศิลปวิทยาของพราหมณ์ทั้งหลาย สดับพระคุณของพระพุทธเจ้าแล้วมีใจเลื่อมใส เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่เขา. เขาได้ศรัทธาบรรพชา แล้วได้การอุปสมบท การทำกิจแห่งบรรพชิตสำเร็จแล้ว เรียนกัมมัฏฐานที่เหมาะแก่จริต แล้วภาวนาอยู่. ก็โดยสมัยนั้น ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีได้เกิดแตกกัน. ครั้งนั้น พระจูฬวัจฉเถระ ไม่ยึดถือลัทธิของภิกษุทั้งสองฝ่าย ตั้งอยู่ในโอวาทอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานแล้ว เพิ่มพูนวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

ครั้งนั้น สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ชื่อสุชาตะ แสวงหาผ้าบังสุกุลอยู่ที่กองหยากเยื่อ เราเป็นลูกจ้างของคนอื่นอยู่ในพระนครหงสาวดี ได้ถวายผ้าครึ่งผืน แล้วอภิวาทด้วยเศียรเกล้า ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้นและด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เราเป็นจอมเทวดา เสวยเทพสมบัติในเทวโลก ๓๓ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๗ ครั้ง และได้เป็นเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้ เพราะถวายผ้าครึ่งผืนเป็นทาน เราเป็นผู้ไม่มีภัยแต่ไหน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 116

เบิกบานอยู่ ทุกวันนี้ เมื่อเราปรารถนา ก็เอาผ้าเปลือกไม้คลุมแผ่นดินนี้ พร้อมทั้งป่าและภูเขาได้ นี้เป็นผลแห่งผ้าครึ่งผืน ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ เราได้ให้ทานใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งผ้าครึ่งผืน เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จ แล้ว ดังนี้.

ครั้งนั้น พระจูฬวัจฉเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว เห็นความพินาศจากประโยชน์ตน ของผู้ที่ชอบการทะเลาะวิวาทของภิกษุเหล่านั้น เกิดธรรมสังเวช และพิจารณาถึงคุณวิเศษที่ตนได้บรรลุแล้วด้วยอำนาจปีติ และโสมนัสจึงได้ ภาษิตคาถาว่า

ภิกษุผู้มากไปด้วยความปราโมทย์ ในธรรมอันพระพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว พึงบรรลุสันตบท อันเป็นธรรมเข้าไปสงบระงับสังขาร เป็นสุข ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาโมชฺชพหุโล ความว่า ชื่อว่าเป็น ผู้มากไปด้วยความปราโมทย์ ด้วยสามารถแห่งความยินดียิ่งในธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอธิกุศล โดยความเป็นผู้ไม่มีวิปฏิสาร เพราะความเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ดีแล้ว.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธมฺเม พุทฺธปฺปเวทิเต ในธรรมอันพระพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเม ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ หรือโลกุตรธรรม ๙ อย่าง. ก็พระธรรมนั้น ชื่อว่าอันพระพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว เป็นอย่างดีเลิศ เพราะเป็นพระธรรมอันพระผู้ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ ทรงประกาศแล้ว ด้วยเทศนาที่พระองค์

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 117

ทรงยกขึ้นแสดงเอง. ส่วนแม้เทศนาธรรม ก็สงเคราะห์เข้าในบทว่า ธมฺเม นี้ เหมือนกัน เพราะความที่เทศนาธรรมนั้นเป็นอุบายให้สัตว์เข้าถึงพระธรรม.

พระเถระกล่าว บทว่า ปทํ สนฺตํ หมายถึง พระนิพพาน. ก็ภิกษุ เห็นปานนี้ ย่อมบรรลุ คือประสบสันตบทอันเป็นส่วนสงบระงับแล้ว ได้แก่ พระนิพพาน ที่ชื่อเป็นที่เข้าสงบระงับสังขาร เพราะเข้าไปสงบระงับดับสังขารทั้งปวงได้ ชื่อว่าเป็นสุข เพราะเป็นสุขอย่างยิ่ง.

อธิบายว่า ภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ ผู้มากไปด้วยความปราโมทย์ เพราะไม่มีวิปฏิสาร เป็นผู้หมั่นขวนขวายในพระสัทธรรม ย่อมประสบสมบัติทุกอย่าง มีวิมุตติเป็นปริโยสาน. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้มีอาทิว่า ดูก่อนอานนท์ ศีลที่เป็นฝ่ายกุศล มีความไม่เดือดร้อนเป็นผลแล ความไม่เดือดร้อน ย่อมเป็นไปเพื่อความปราโมทย์ ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปามุชฺชพหุโล ความว่า เป็นผู้มากไปด้วยความชื่นบาน โดยมุ่งถึงพระรัตนตรัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้. เพื่อจะเลี่ยงคำถามที่อาจมีขึ้นว่า ผู้นั้นมากไปด้วยความปราโมทย์ในอะไร? หรือการทำอะไร? พระเถระจงกล่าวบาทคาถามีอาทิว่า ธมฺเม พุทฺธปฺปเวทิเต ในธรรมอันพระพุทธเจ้าประกาศดีแล้ว ดังนี้. อธิบายว่า สมบัติทั้งหลายย่อมอยู่ในเงื้อมมือของผู้ที่สมบูรณ์ด้วยศรัทธา โดยการเกิดขึ้นโดยง่ายแห่ง (จักร ๔) คือ สัปปุริสูปสังเสวนะ การคบหาสัตบุรุษ ๑ สัทธัมมัสสวนะ การฟังธรรมของสัตบุรุษ ๑ โยนิโสมนสิการ การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้เกิดศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปหา เมื่อเข้าไปหา ย่อมเข้าไปนั่งใกล้ ดังนี้เป็นต้น.

จบอรรถกถาจูฬวัจฉเถรคาถา