๖. เพลัฏฐสีสเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระเพลัฏฐสีสเถระ
[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 139
เถรคาถา เอกนิบาต
วรรคที่ ๒
๖. เพลัฏฐสีสเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระเพลัฏฐสีสเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 139
๖. เพลัฏฐสีสเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระเพลัฏฐสีสเถระ
[๑๕๓] ได้ยินว่า พระเพลัฏฐสีสเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
โคอาชาไนยตัวสามารถเทียมไถแล้ว ย่อมลากไถไปโดยไม่ลำบาก ฉันใด เมื่อเราได้ความสุข อันไม่เจือด้วยอามิส คืนและวันทั้งหลาย ย่อมผ่านพ้นเราไป โดยไม่ยาก ฉันนั้น.
อรรถกถาเพลัฏฐสีสเถรคาถา
คาถาของพระเพลัฏฐสีสเถระ เริ่มต้นว่า ยถาปิ ภทฺโท อาชญฺโ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?
ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านเกิดในเรือนมีตระกูล เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฟังธรรมแล้วเกิด ศรัทธา บวชแล้ว บำเพ็ญสมณธรรม ไม่อาจจะยังคุณวิเศษให้เกิดได้ เพราะ ไม่มีอุปนิสสยสมบัติ. ก็ท่านเข้าไปสั่งสมกุศลเป็นอันมาก อันเป็นอุปนิสัยแห่ง พระนิพพาน ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า เวสสภู ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสแล้ว ได้ถวายผลมะงั่ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 140
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเกิดในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย สร้างสมบุญแล้ว ก็เข้าถึงสุคติ จากสุคติ วนไปเวียนมา บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ พระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้. ก่อนแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะได้ตรัสรู้อภิสัมโพธิญาณ บวชเป็นดาบสในสำนักของอุรุเวลกัสลปดาบส ในเวลาที่ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย ชฎิล พันหนึ่ง. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า
เราได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้เป็นนายกของโลกผู้โชติช่วง เหมือนต้นกรรณิการ์ รุ่งเรืองดังพระจันทร์ในวันเพ็ญ และเหมือนต้นไม้ประจำทวีปที่รุ่งโรจน์ เราเลื่อมใส ได้เอาผลมะงั่วถวายแด่พระศาสดา ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลเป็นวีรบุรุษ ด้วยมือทั้งสองของตน ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใด ในกาลนั้นด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระเถระนี้ ผู้บรรลุพระอรหัตอย่างนี้แล้ว เป็นอุปัชฌาย์ของท่านพระธรรมภัณฑาคาริก วันหนึ่งออกจากผลสมาบัติแล้ว พิจารณาถึงพระอรหัต อันสงบ ประณีต เป็นนิรามิสสุข และบุรพกรรมของตน ด้วยอำนาจกำลังแห่งปีติ จึงได้กล่าวคาถาว่า
โคอาชาไนย ตัวเจริญ เทียมไถแล้วย่อมลากไถไปได้โดยไม่ลำบาก ฉันใด เมื่อเราได้ความสุขอันไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 141
เจือด้วยอามิส คืนและวันทั้งหลายย่อมผ่านพ้นเราไป ได้โดยไม่ยาก ฉันนั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถาปิ เป็นนิบาต ลงในอรรถที่ยัง อุปมาให้ถึงพร้อม. บทว่า ภทฺโท ได้แก่ โคอาชาไนย ตัวงาม ที่สมบูรณ์ ด้วยเรี่ยวแรง กำลัง ความสามารถ เชาว์ และความเพียรเป็นต้น.
บทว่า อาชญฺโ ความว่า ชื่อว่า ชาติอาชาไนย เพราะรู้เหตุ และสิ่งที่มิใช่เหตุ. สัตว์อาชาไนยนั้น มี ๓ ประเภทคือ โคผู้อาชาไนย ๑ ม้าผู้อาชาไนย ๑ ช้างผู้อาชาไนย ๑. ใน ๓ ประเภทนั้น โคผู้อาชาไนย ท่านประสงค์เอาแล้วในคาถานี้. ก็โคผู้อาชาไนยนั้นแหละ ประกอบแล้วในกิจ ของผู้ชำนาญการไถ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมลากไถไปได้โดยไม่ยาก เพราะยังไถพร้อมทั้งผาลให้หมุนไป อธิบายว่า ไถนาให้ ไถหมุนไปข้างโน้น ด้วย ข้างนี้ด้วย. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า นังคลาวัตตะ เพราะอรรถว่า เป็นที่ ยังไถให้หมุนไป ได้แก่ หมุนไปตามรอยไถในนา. แต่ในคาถานี้ ท่านกล่าว เป็นทีฆะว่า วตฺตนี เพื่อสะดวกในการประพันธ์คาถา.
บทว่า สิขี ความว่า ชื่อว่า สิขา เพราะคล้ายกับหงอน โดยกำหนดเอา ในที่สุด ได้แก่ สิงคะ (เขา) ชื่อว่า สิงคะ เพราะมีเขานั้น (เป็นสัญญลักษณ์) ส่วนอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ยอดท่านประสงค์เอาว่า สิขา ในคาถานี้. บทว่า สิขี นี้ ระบุถึงส่วนที่เป็นประธาน แม้ทั้งสองฝ่าย. บทว่า อปฺปกสิเรน ความว่า โดยลำบากน้อย. บทว่า รตฺตินฺทิวา ได้แก่ ทั้งในกลางคืน และกลางวัน. ประกอบความว่า ย่อมผ่านคืนและวันนี้ไป โดยไม่ยากอย่างนี้. ท่านอธิบายความไว้ ดังนี้ เปรียบเหมือนโคผู้อาชาไนย ที่เขาเทียมไถแล้ว ไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก ในรอยไถ ที่มีรากหญ้าเป็นฟ่อนๆ เป็นต้น เดินเปลี่ยนรอยไถไปข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง จนแสดงถึงการปรับเข้าในแนวไถได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 142
ราบเสมอ ฉันใด แม้วันและคืนทั้งหลาย ย่อมละคือผ่านเราไปได้โดยยาก ฉันนั้น. ท่านกล่าวถึงเหตุในข้อนั้นไว้ว่า สุเข ลทฺเธ นิรามิเส เมื่อเรา ได้ความสุขอันไม่เจือด้วยอามิส ดังนี้. อธิบายว่า เพราะเหตุที่ ความสุขคือ ผลสมาบัติ อันไม่เจือด้วยอามิสคือกาม อามิสคือโลก และอามิสคือวัฏฏะ อันสงบระงับ ประณีต เราได้แล้ว. ก็บทนี้เป็นสัตตมีวิภัตติ แต่ลงในอรรถแห่ง ปฐมาวิภัตติ. เหมือนอย่างในประโยคว่า วนปคุมฺเพ (พุ่มไม้) และในประโยค ว่า เตน วต เร วตฺตพฺเพ (เรื่องที่จะพึงกล่าวอื่นยังมีอยู่อีก) ดังนี้ อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า เมื่อเราได้ความสุขอันไม่เจือด้วยอามิส ดังนี้ ก็โดยพิจารณาว่า จำเดิมแต่นั้น วันและคืน ก็ผ่านไปโดยยาก ดังนี้. อธิบายว่า เมื่อสุขที่ปราศจากอามิสอันเราได้แล้ว มีอยู่ จำเดิมแต่เวลาที่เราได้ นิรามิสสุข นั้น ดังนี้.
จบอรรถกถาเพลัฏฐสีสเถรคาถา