พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. อุตติยเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระอุตติยเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 พ.ย. 2564
หมายเลข  40428
อ่าน  470

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 190

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๓

๑๐. อุตติยเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอุตติยเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 190

๑๐. อุตติยเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอุตติยเถระ

[๑๖๗] ได้ยินว่า พระอุตติยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เมื่ออาพาธบังเกิดขึ้นแก่เรา สติก็เกิดขึ้นแก่เราว่า อาพาธเกิดขึ้นแก่เราแล้ว เวลานี้ เป็นเวลาที่เราไม่ควรประมาท.

จบวรรคที่ ๓

อรรถกถาอุตติยเถรคาถา

คาถาของท่านพระอุตติยเถระเริ่มต้นว่า อาพาเธ เม สมุปฺปนฺเน. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?

ได้ยินว่า ท่านเป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้นๆ เป็นอันมาก เกิดเป็นจระเข้มีรูปร่างใหญ่โต ณ แม่น้ำจันทภาคา ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง พระนามว่า สิทธัตถะ ในกัปที่ ๙๔ นับแต่ภัทรกัปนี้ถอยหลังไป.

มันเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปสู่ฝั่งแม่น้ำ เพื่อจะข้ามฟาก มีจิตเลื่อมใส ประสงค์จะนำเสด็จข้ามฟาก จึงนอนในที่ใกล้ฝั่งน้ำ พระผู้มี พระภาคเจ้า ประทับยืนบนหลัง เพื่อจะทรงอนุเคราะห์มัน. มันร่าเริงชื่นชมโสมนัส ด้วยกำลังแห่งปีติ ทำให้มีอุตสาหะเป็นทวีคูณ ว่ายตัดกระแสน้ำ นำพระผู้มีพระภาคเจ้าไปสู่ฝั่งโน้น ด้วยกำลังอันรวดเร็ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรวจดูความเลื่อมใสแห่งจิตของเขาแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า จระเข้นี้ จุติจากภพนี้แล้ว ไปบังเกิดในเทวโลก จำเดิมแต่นั้น ก็ท่องเที่ยวไปในสุคติภพ อย่างเดียว จักบรรลุอมตธรรม ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ ดังนี้แล้ว เสด็จหลีกไป. เขาวนไปวนมาอยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น ด้วยอาการอย่างนั้น เกิดเป็น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 191

บุตรของพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า อุตติยะ.

เขาเจริญวัยแล้ว คิดว่า เราจักแสวงหาอมตธรรม จึงบวชเป็นปริพาชก เที่ยวไป วันหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฟังธรรมแล้ว ถึงแม้จะบวชในพระศาสนา ก็ไม่อาจจะยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้ เห็นภิกษุเหล่าอื่น ยังคุณวิเศษให้เกิดแล้วพยากรณ์พระอรหัตตผล จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลขอโอวาท โดยสังเขปเท่านั้น.

แม้พระบรมศาสดา ก็ได้ทรงประทานโอวาทแก่ท่าน โดยย่อๆ เท่านั้น มีอาทิว่า ดูก่อนอุตติยะ เพราะฉะนั้น เธอในธรรมวินัยนี้ จงชำระศีลให้บริสุทธิ์ เป็นเบื้องต้นทีเดียว. ท่านตั้งอยู่ในโอวาทของพระศาสดาแล้ว ปรารภวิปัสสนา. อาพาธเกิดแก่ท่านผู้เริ่มวิปัสสนาแล้ว ก็เมื่ออาพาธเกิดขึ้นแล้ว ท่านเกิดความสังเวช เริ่มตั้งความเพียร ทำกรรมในวิปัสสนา ขวนขวายวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหัต. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

เวลานั้นเราเป็นจระเข้อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา เราขวนขวายหาเหยื่อของตน ได้ไปยังท่าน้ำ สมัยนั้น พระสยัมภูผู้อรรคบุคคล พระนามว่า สิทธัตถะ พระองค์ประสงค์จะเสด็จข้ามแม่น้ำ จึงเสด็จเข้ามาสู่ท่าน้ำ ก็เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาถึง แม้เราก็มาถึงที่ท่าน้ำนั้น เราได้เข้าไปใกล้พระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ว่า ขอเชิญเสด็จขึ้น (หลังข้าพระองค์) เถิดพระมหาวีรเจ้า ข้าพระองค์จักส่งพระองค์ให้ข้ามไป ขอพระองค์ทรงอนุเคราะห์วิสัยอันเป็นส่วนของบิดาของข้าพระองค์เถิด พระมหามุนี ทรงสดับคำทูล

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 192

เชิญของเราแล้ว เสด็จขึ้น (หลัง) เราร่าเริง มีจิตยินดี ได้ข้ามส่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายกของโลกที่ ฝั่งแม่น้ำโน้น พระผู้มีพระภาคเจ้าสิทธัตถะ นายกของโลก ทรงยังเราให้พอใจ ณ ที่นั้นว่า ท่านจะได้บรรลุอมตธรรม เราเคลื่อนจากกายนั้นแล้ว ได้ไปสู่เทวโลก แวดล้อมไปด้วยนางอัปสร เสวยสุขอันเป็นทิพย์อยู่ เราได้เป็นจอมเทวดา เสวยเทวรัชสมบัติอยู่ ๗ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นใหญ่ในแผ่น ดิน ๓ ครั้ง เราขวนขวายในวิเวก มีปัญญาและสำรวมดีแล้ว ทรงกายอันเป็นที่สุดอยู่ ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ส่งพระนราสภให้ข้ามไป ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จัก ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการส่งพระนราสภให้ข้ามไป คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว กิเลสทั้งหลายเราเผาหมดแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตตผล โดยมุขคือการประกาศอาการที่บริบูรณ์ ด้วยสัมมาปฏิบัติของตน จึงได้ภาษิต คาถาว่า

เมื่ออาพาธบังเกิดแก่เรา สติก็เกิดขึ้นแก่เราว่า อาพาธเกิดขึ้นแก่เราแล้ว เวลานี้เป็นเวลาที่เราไม่ควร ประมาท ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 193

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาพาเธ สมุปฺปนฺเน ความว่า เมื่อโรคอันเป็นเหตุแห่งความกำเริบของธาตุ อันมีส่วนที่ไม่เสมอกัน อันได้นามว่า อาพาธ เพราะยังสรีระให้ถูกเบียดเบียนยิ่ง เกิดแล้วแก่เรา.

บทว่า สติ เม อุปปชฺชถ ความว่า อาพาธเกิดแล้วแก่เราแล ข้อที่อาพาธพึงกำเริบขึ้นนี้ มีทางเป็นไปได้ เอาเถิดเราจะปรารภความเพียรตราบเท่าที่อาพาธนี้ยังไม่กำเริบ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ได้ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อการทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้กระทำให้แจ้ง ด้วยประการฉะนี้ สติอันเป็นที่ตั้งแห่งการปรารภความเพียร จึงเกิดขึ้นแก่เรา ผู้อันทุกขเวทนาเบียดเบียนอยู่ ด้วยสามารถแห่งอาพาธนั้นแหละ ด้วยเหตุนั้นพระเถระจึงกล่าวว่า อาพาธเกิดขึ้นแล้วแก่เรา เวลานี้เป็นเวลาที่เราไม่ควรประมาท ดังนี้. ก็พระเถระนี้ การทำสติอันบังเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ให้เป็นดังขอสับแล้วบรรลุพระอรหัต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาอุตติยเถรคาถา

จบวรรควรรณนาที่ ๓ ในอรรถกถาเถรคาถา

ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี

ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ รูป คือ

๑. พระนิโครธเถระ

๒. พระจิตตกเถระ

๓. พระโคสาลเถระ

๔. พระสุคันธเถระ

๕. พระนันทิยเถระ

๖. พระอภัยเถระ

๗. พระโลมสกังคิยเถระ

๘. พระชัมพุคามิกบุตรเถระ

๙. พระมหาริตเถระ

๑๐. พระอุตติยเถระ และอรรถกถา.