พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. โปสิยเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระโปสิยเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 พ.ย. 2564
หมายเลข  40435
อ่าน  596

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 207

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๔

๔. โปสิยเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโปสิยเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 207

๔. โปสิยเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระโปสิยเถระ

[๑๗๑] ได้ยินว่า พระโปสิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

หญิงเหล่านี้ ดีแต่เมื่อยังไม่เข้าใกล้ เมื่อเข้าใกล้ นำความฉิบหายมาให้เป็นนิตย์ทีเดียว เราออกจากป่า มาสู่บ้าน เข้าไปสู่เรือนแห่งญาติแล้ว ไม่ได้บอกลา ใครๆ ออกจากเรือนนั้นหนีมาแล้ว.

อรรถกถาโปสิยเถรคาถา

คาถาของท่านพระโปสิยเถระเริ่มต้นว่า อนาสนฺนวรา. เรื่องราว ของท่านเป็นอย่างไร?

ได้ยินว่า ท่านเป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ ก่อนๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้นๆ เป็น อันมาก ท่องเที่ยวอยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น เกิดเป็นนายพรานเนื้ออยู่ในป่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 208

ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ติสสะ ในกัปที่ ๓๖ แต่ ภัทรกัปนี้.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปสู่ป่า เพื่อจะทรงการทำการอนุเคราะห์เขา แสดงพระองค์ให้ปรากฏในคลองแห่งจักษุของเขาแล้ว. เขาเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า มีจิตเลื่อมใสแล้ว วางอาวุธเข้าไปเฝ้า ประคองอัญชลี ยืนอยู่แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระประสงค์จะประทับนั่ง. เขาถือเอากำหญ้ามาปูลาดถวายในภูมิภาคที่ราบเสมอ โดยความเคารพในขณะนั้นทีเดียว. พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ในเขา จึงประทับนั่งแล้ว. ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งแล้ว เขาเสวยปีติและโสมนัสมิใช่น้อย ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ตนเองก็นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า พืชคือกุศลมีประมาณเท่านี้ สมควรแก่พรานผู้นี้. ทรงลุกจากอาสนะเสด็จหลีกไปแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน พญาสีหราชฆ่าเขาแล้ว. เขาตายไปเกิดในเทวโลก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นเหตุการณ์ว่า นัยว่าเมื่อเราไม่เข้าไปหา เขาถูกพญาราชสีห์ฆ่าแล้วจักตกนรก ดังนี้ จึงเสด็จเข้าไปหา เพื่อจะช่วยให้เขาได้บังเกิดในสุคติ และเพื่อจะทรงปลูกพืชคือกุศล.

เขาสถิตอยู่ในเทวโลกจนตลอดอายุ จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว ก็ท่องเที่ยวอยู่ในสุคติภพเท่านั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ เกิดเป็นบุตรของเศรษฐีผู้มีสมบัติมาก คนใดคนหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี เป็นน้องชายคนเล็กของพระสังคามชิตเถระ. เขาได้มีนามว่า "โปสิยะ" เขาเจริญวัยแล้ว ก็มีภรรยา ได้บุตรคนหนึ่ง อันธรรมดาที่กระทำไว้ในภพสุดท้ายตักเตือนอยู่ อาศัยเหตุมีชาติเป็นต้น เกิดความสลดใจ บวชแล้วเข้าป่า เป็นผู้หลีกออกจากหมู่ ประกอบเนืองๆ ซึ่งจตุสัจจกัมมัฏฐานภาวนา ขวนขวายวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นาน นัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 209

ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อลัมพกะ ที่ภูเขาลัมพกะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าติสสะ เสด็จจงกรมอยู่กลางแจ้ง เมื่อก่อนเราเป็นพรานเนื้ออยู่ในอรัญราวป่า ได้พบพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดกว่าทวยเทพ จึงได้ถวายหญ้ากำหนึ่งแด่พระพุทธเจ้าเพื่อเป็นที่ประทับนั่ง ครั้นแล้วยังจิตให้เลื่อมใส ถวายบังคมพระสัมมาสัม พุทธเจ้าแล้ว บ่ายหน้ากลับทางทิศอุดร เราเดินไปไม่นานก็ถูกราชสีห์ฆ่าตาย เราเป็นผู้ถูกราชสีห์ฆ่าตายในที่นั้นนั่นเอง เราได้ทำอาสนกรรม ณ ที่ใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดไม่มีอาสวะ เราได้ไปยังเทวโลกเหมือนลูกศรที่พ้นจากแล่ง ฉะนั้น ปราสาทในเทวโลกนั้นซึ่งบุญกรรมเนรมิตให้เป็นของงดงาม มีแล่งธนูตั้งพัน มีลูกหนังเป็นจำนวนร้อย มีธงประจำปราสาทเป็นสีเขียว รัศมีของปราสาทนั้นแผ่ซ่านไปเหมือนพระอาทิตย์อุทัย เราเป็นผู้เพรียบพร้อม ด้วยเหล่านางเทพกัญญา เพรียบพร้อมด้วยกามคุณารมย์ บันเทิงเริงรมย์อยู่ เราอันกุศลมูลตักเตือนแล้วจุติจากเทวโลกมาเป็นมนุษย์ เป็นผู้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้เราได้ถวายหญ้าสำหรับรองนั่ง ด้วยการถวายหญ้านั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายหญ้ากำหนึ่ง. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 210

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว มาสู่พระนครสาวัตถี เพื่อถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ไปยังเรือนแห่งญาติ เพื่ออนุเคราะห์ญาติ. บรรดาญาติเหล่านั้น ภรรยาเก่าไหว้ท่านแล้ว แสดงวัตรเหมือนคนเข้าใกล้กัน ครั้งแรกด้วยการให้อาสนะเป็นต้น ไม่รู้อัธยาศัยของพระเถระ ได้มีความประสงค์จะประเล้าประโลม ด้วยเล่ห์มายาของหญิงเป็นต้น ในภายหลัง. พระเถระคิดว่า โอ หญิงนี้เป็นอันธพาล ปฏิบัติอย่างนี้แม้กับคนเช่นเรา ดังนี้แล้ว ไม่พูดอะไร ลุกจากอาสนะแล้ว มุ่งไปป่าทีเดียว. ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในป่า ถามท่านว่า อาวุโส ท่านทำไมถึงกลับเร็วนัก ไม่พบญาติหรือ. พระเถระ เมื่อจะบอกความเป็นไปในเรื่องนั้น ได้ภาษิตคาถาความว่า

หญิงเหล่านี้ ดีแต่เมื่อยังไม่เข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ นำความฉิบหายมาให้เป็นนิตย์ทีเดียว เราออกจากป่ามาสู่บ้าน เข้าไปสู่เรือนแห่งญาติแล้ว ไม่ได้ลาใครๆ ลุกจากเตียงนั้น หนีมาแล้ว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนาสนฺนวรา ความว่า หญิงเหล่านี้ ไม่ใกล้ชิด คือไม่เข้าไปหา หรืออยู่ห่างไกลเป็นของดี คือประเสริฐ นำประโยชน์มาให้บุรุษ ก็ข้อนั้นแลเป็นของมีเป็นประจำทีเดียว คือตลอดกาลทั้งปวง ไม่เฉพาะกลางคืน ไม่เฉพาะแม้ในกลางวัน ไม่เฉพาะในที่เร้นลับ.

บทว่า วิชานตา แปลว่า รู้อยู่. บาลีว่า อนาสนฺนปรา ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างเดียวกัน ก็ในคาถานี้มีอธิบายดังนี้ ช้าง ม้า กระบือ ราชสีห์ เสือโคร่ง ยักษ์ รากษส และปีศาจ แม้ที่ดุร้าย มนุษย์ทั้งหลายไม่เข้าใกล้ เป็นดี คือ เป็นสิ่งประเสริฐ ไม่นำความฉิบหายมาให้ แต่สัตว์เหล่านั้น เมื่อเข้าไปใกล้ ก็จะพึงทำความฉิบหายให้เฉพาะในปัจจุบันอย่างเดียวเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 211

ส่วนหญิงทั้งหลาย เข้าไปใกล้แล้ว ยังประโยชน์แม้นับเนื่องแล้วในพระนิพพาน อันเป็นปัจจุบัน และภายหน้าให้ฉิบหาย คือให้ถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง เพราะฉะนั้น หญิงเหล่านี้ ไม่เข้าไปใกล้ได้เป็นดี เมื่อเข้าใกล้นำความฉิบหายมาให้เป็นนิตย์ทีเดียว. บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงความนั้น โดยนำตนเข้าไปเปรียบ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า คามา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คามา เท่ากับ คามํ แปลว่า สู่บ้าน. ก็บทนี้เป็นปัญจมีวิภัตติ ลงใน อรรถแห่งทุติยาวิภัตติ.

บทว่า อรญฺมาคมฺม ความว่า มาจากป่า. ม อักษรทำการเชื่อมบท. ก็บทนี้เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งปัญจมีวิภัตติ.

บทว่า ตโต ความว่า ลุกจากเตียงนั้น. บทว่า อนามนฺเตตฺวา ความว่า ไม่บอกลา คือ ไม่พูดกับภรรยาเก่า แม้เพียงคำเท่านี้ว่า เจ้าจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ดังนี้.

พระเถระพูดกับตนเองว่า โปสิยะ เหมือนพูดกับคนอื่น. ก็อาจารย์ เหล่าใดกล่าวว่า ปกฺกามึ คำประกอบความของอาจารย์เหล่านั้นก็ว่า เราชื่อว่า โปสิยะ หลีกไปแล้ว. ส่วนอาจารย์เหล่าใดกล่าวว่า หญิงนั้นให้พระเถระผู้เข้าไปสู่เรือนฉันแล้ว ประสงค์จะเล้าโลม พระเถระเห็นดังนั้น ก็ออกจากเรือนไปวิหารในทันใดนั้นเอง นั่งบนเตียงในที่เป็นที่อยู่ของตน. แม้หญิงนั้นเล่า ก็ประดับตกแต่ง เข้าไปสู่ที่อยู่ของพระเถระในวิหารภายหลังภัต. พระเถระเห็นหญิงนั้นแล้ว ไม่พูดอะไรเลย ลุกขึ้นแล้วตรงไปยังที่พักกลางวันทันที ดังนี้ เนื้อความแห่งบาทคาถาว่า คามา อรญฺมาคมฺน เราออกจากป่ามาสู่บ้าน ดังนี้ ของพระอาจารย์เหล่านั้น ต้องนำไป (ประกอบ) ด้วย สามารถแห่งความตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ก็ในคาถานี้ วิหารท่านประสงค์ เอาว่า ป่า.

จบอรรถกถาโปสิยเถรคาถา