พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. สามัญญกานิเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของสามัญญกานิเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 พ.ย. 2564
หมายเลข  40436
อ่าน  735

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 212

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๔

๕. สามัญญกานิเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของสามัญญกานิเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 212

๕. สามัญญกานิเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของสามัญญกานิเถระ

[๑๗๒] ได้ยินว่า พระสามัญญกานิเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า

บุคคลผู้ต้องการความสุข เมื่อประพฤติให้สมควร แก่ความสุขนั้น ย่อมได้ความสุข ผู้ใดเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางตรง เพื่อบรรลุอมตธรรม ผู้นั้นย่อมได้ความสรรเสริญและเจริญด้วยยศ.

อรรถกถาสามัญญกานิเถรคาถา

คาถาของท่านพระสามัญญกานิเถระ เริ่มต้นว่า สุขํ สุขตฺโถ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?

ได้ยินว่า ท่านเป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้า องค์ก่อนๆ สั่งสมกุศลไว้ในภพนั้นๆ เกิดในกำเนิดมนุษย์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี แล้วเป็นผู้มีใจเลื่อมใส ได้ถวายเตียงหลังหนึ่ง. ด้วยบุญกรรมนั้นท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของปริพาชกคนใดคนหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านได้มีนามว่าสามัญญกานี เขารู้เดียงสาแล้ว เห็นยมกปาฏิหาริย์ของพระศาสดา เป็นผู้มีใจเลื่อมใสแล้ว บวชในพระศาสนาแล้ว เรียนกรรมฐาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 213

อันเหมาะแก่จริต ยังฌานให้เกิดแล้ว กระทำฌานให้เป็นบาท เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

เราเลื่อมใส ได้ถวายเตียงหลังหนึ่ง แด่พระผู้มี พระภาคเจ้า ผู้เป็นเชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ พระนามว่าวิปัสสี ด้วยมือของตน เราได้ยานช้าง ยานม้า และยานทิพย์ เราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ ก็เพราะการถวายเตียงนั้นในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายเตียงใด ด้วยการถวายเตียงนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายเตียง. เรา เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ส่วนปริพาชก ชื่อว่า กาติยานะ ผู้เป็นสหาย (สมัยเป็น) คฤหัสถ์ ของพระเถระ ไม่ได้แม้เพียงของกินและเครื่องนุ่งห่ม เพราะจำเดิมแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอุบัติขึ้น พวกเดียรถีย์ทั้งหลาย ก็มีลาภและสักการะ เสื่อมหมด เข้าไปหาพระเถระทั้งๆ ที่มีเพศเป็นอาชีวก ถามว่า พวกท่าน ชื่อว่าเป็นศากยบุตร ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ เลิศด้วยยศ อย่างใหญ่หลวง ย่อมเป็นอยู่โดยง่าย ส่วนพวกเราตกยาก มีชีวิตลำเค็ญ ความสุขที่เป็นปัจจุบัน และความสุขที่มีในสัมปรายภพ จะสำเร็จแก่ผู้ปฏิบัติ (ตาม) อย่างไรหนอแล ดังนี้.

ลำดับนั้น พระเถระบอกกับปริพาชกว่า ความสุขอันเป็นโลกุตระ อย่างเดียวเท่านั้น ชื่อว่า เป็นสุขโดยตรง และสุขนั้นจะมีแก่ผู้ปฏิบัติ ปฏิปทา อันสมควรแก่โลกุตรสุขเท่านั้น ดังนี้แล้ว เมื่อจะประกาศความที่โลกุตรสุขนั้น อันตนได้บรรลุแล้ว ได้ภาษิตคาถาว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 214

บุคคลผู้ต้องการความสุข เมื่อประพฤติให้สมควรแก่ความสุขนั้น ย่อมได้ความสุข ผู้ใดเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางตรง เพื่อบรรลุอมตธรรม ผู้นั้นย่อมได้ความสรรเสริญ และเจริญด้วยยศ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขํ ความว่า ในคาถานี้ ท่านประสงค์เอาความสุขที่ปราศจากอามิส. ก็นิรามิสสุขนั้น ก็ได้แก่ผลสมาบัติและพระนิพพาน. สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า สมาธินี้ เป็นทั้งปัจจุบันสุข เป็นทั้งสุขวิบาก ในขั้นต่อไป และว่า พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้.

บทว่า สุขตฺโถ ความว่า มีความสุขเป็นประโยชน์ คือ มีความต้องการ ด้วยความสุข ตามที่กล่าวแล้ว.

บทว่า ลภเต ความว่า ย่อมถึง. ความสุขนี้จะถึงแก่ผู้ที่ต้องการ เท่านั้น ไม่ถึงแก่บุคคลนอกนี้ ท่านกล่าวว่า ตทาจรํ ประพฤติให้สมควร แก่ความสุขนั้น ดังนี้ เพื่อจะแก้คำถามที่ว่า ก็ใครเล่าที่ต้องการ อธิบายว่า ผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัตินั้นด้วยปฏิบัติอันใด ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อเพื่อข้อปฏิบัตินั้น ผู้นั้นจะได้ความสุขที่ประพฤติให้สมควรแก่ข้อปฏิบัตินั้นอย่างเดียวก็หามิได้โดย ที่แท้จะประสบเกียรติอีกด้วย ได้แก่บรรลุถึงชื่อเสียง คือ ความเป็นผู้มียศแผ่ไปในที่ลับหลัง โดยนัยมีอาทิว่า เป็นผู้มีศีล มีกายกรรม วจีกรรม บริสุทธิ์ด้วยดี มีอาชีวะบริสุทธิ์ด้วยดี เป็นผู้มีความเพ่ง เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยฌาน แม้ด้วย ประการฉะนี้.

บทว่า ยสสฺส วฑฺฒติ ความว่า ยศกล่าวคือความยกย่องสรรเสริญคุณในที่ต่อหน้า และยศกล่าวคือความถึงพร้อมด้วยบริวาร ย่อมเพิ่มพูนแก่ผู้นั้น. บัดนี้ พระเถระ เมื่อจะแสดงประโยชน์ที่กล่าวไว้ โดยความเป็นของสามัญว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 215

ตทาจรํ โดยสรุป จึงกล่าวว่า ผู้ใดเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางตรง เพื่อบรรลุอมตธรรม ผู้นั้นย่อมได้ความสรรเสริญและเจริญ ด้วยยศ ดังนี้.

ความของพระคาถานั้น มีดังนี้ บุคคลใด ย่อมเจริญปฏิปทาอันเป็น เหตุให้ถึงความดับทุกข์ อันชื่อว่า อริยะ เพราะอรรถว่าบริสุทธิ์ เพราะไกล จากกิเลสทั้งหลาย และเพราะอรรถว่ากระทำความเป็นพระอริยะแก่ผู้ปฏิบัติอยู่ ชื่อว่าประกอบด้วยองค์ ๘ เพราะเป็นที่ประชุมแห่งมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น ชื่อว่า อัญชสะ ด้วยอรรถว่าไม่คด เพราะเป็นข้อปฏิบัติกลางๆ ที่เว้นจากส่วนสุด ๒ อย่าง ชื่อว่า ตรง เพราะละความคดทางกายเป็นต้นได้ ชื่อว่า มรรค เพราะอรรถว่า ผู้ต้องการพระนิพพานพึงดำเนินไป และเพราะ อรรถว่า ฆ่ากิเลสไปด้วย เดินไปด้วย เพื่อถึง คือ บรรลุอมตธรรม คือ อสังขตธาตุ ได้แก่ ให้เกิดและเจริญขึ้นในสันดานของตน บุคคลนั้น ท่าน เรียกว่า สุขตฺโถ ตทาจรํ (บุคคลผู้ต้องการความสุข เมื่อประพฤติให้ สมควรแก่ความสุขนั้น) ดังนี้. ปริพาชกฟังคาถานั้นแล้ว มีใจเลื่อมใส แล้วบวช ปฏิบัติอยู่โดยชอบ เจริญวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหัตต่อกาล ไม่นานนัก. คาถาทั้งสองนี้แหละได้เป็นการพยากรณ์พระอรหัตตผลของพระเถระ.

จบอรรถกถาสามัญญิกานิเถรคาถา