พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. วัฑฒมานเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของวัฑฒมานเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 พ.ย. 2564
หมายเลข  40441
อ่าน  383

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 231

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๔

๑๐. วัฑฒมานเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของวัฑฒมานเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 231

๑๐. วัฑฒมานเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของวัฑฒมานเถระ

[๑๗๗] ได้ยินว่า พระวัฑฒมานเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

บุรุษที่ถูกแทงด้วยหอก หรือถูกไฟไหม้ที่กระหม่อม แล้วรีบรักษาฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติเว้นรอบ เพื่อละความกำหนัดยินดีในภพ ฉันนั้น.

จบวรรคที่ ๔

อรรถกถาวัฑฒมานเถรคาถา

คาถาของท่านพระวัฑฒมานเถระ. เริ่มต้นว่า สตฺติยา วิย โอมฏฺโ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?

ได้ยินว่า แม้พระเถระนี้ ก็ได้เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ใน พระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ในกัปที่ ๙๒ นับแต่ภัทรกัปนี้ ในกาลของ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ติสสะ บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ติสสะ เสด็จเที่ยวบิณฑบาตอยู่.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 232

เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสแล้ว ถวายผลมะม่วงที่สุกงอมหลุดออกจากขั้ว. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านบังเกิดในเทวโลก สั่งสมบุญกรรมสม่ำเสมอ. ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลเจ้าลิจฉวี ในพระนครไพศาลี. ท่านได้มีนามว่า วัฑฒมานะ.

เขาเจริญวัยแล้ว เป็นผู้มีศรัทธา เลื่อมใส เป็นทายก ยินดีในทาน เป็นการก (ผู้ปฏิบัติตามคำสอน) เป็นสังฆอุปัฏฐาก เมื่อพระศาสดาตรัสสั่งให้กระทำการคว่ำบาตร ในเพราะความผิดเห็นปานนั้น เป็นประดุจว่าเหยียบไฟ ยังพระสงฆ์ให้ยกโทษแล้ว ยังกรรมให้เข้าไปสงบระงับแล้ว เป็นผู้เกิดความสังเวช บวชแล้ว ก็ครั้นท่านบวชแล้ว ได้เป็นผู้ถูกถิ่นมิทธะ ครอบงำอยู่แล้ว. พระศาสดา เมื่อจะให้ท่านสลดใจ จึงตรัสพระคาถาว่า

บุรุษที่ถูกแทงด้วยหอก หรือถูกไฟไหม้ที่กระหม่อม แล้วรีบรักษาฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติเว้นรอบ เพื่อละความกำหนัดยินดีในภพฉันนั้น ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภวราคปฺปหานาย ความว่า เพื่อละเสียซึ่ง ภวราคะ รูปราคะ และอรูปราคะ. แม้ถ้ายังละสังโยชน์ที่เป็นไปในภายในไม่ได้แล้ว ชื่อว่าจะละสังโยชน์ที่เป็นไปในภายนอกได้ ไม่มีก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น แม้การละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ก็ย่อมชื่อว่าอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ด้วยกล่าวถึงการละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ เพราะมีในลำดับต่างๆ กัน. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่อุทธัมภาคิยสังโยชน์ อันพระอริยบุคคลบางพวก แม้จะตัดขาดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว ก็ยังละได้ยาก ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเฉพาะสังโยชน์ที่ละได้ยาก จึงตรัสการละอุทธัมภาคิยสังโยชน์แม้ทั้งหมดไว้ ด้วยการละภวราคะเป็นสำคัญ เพราะเป็นของละได้โดยง่าย.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 233

    อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ด้วยสามารถแห่งอัธยาศัยของพระเถระนั้นเอง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถาวัฑฒมานเถรคาถา

จบวรรควรรณนาที่ ๔

ในอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี

ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ รูป คือ

    ๑. พระคหวรตีริยเถระ

๒. พระสุปปิยเถระ

๓. พระโสปากเถระ

๔. พระโปสิยเถระ

๕. พระสามัญญกานิเถระ

๖. พระกุมาบุตรเถระ

๗. พระกุมาบุตรเถรสหายเถระ

๘. พระควัมปติเถระ

๙. พระติสสเถระ

๑๐. พระวัฑฒมานเถระ และอรรถกถา.