พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ขทิรวนิยเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระขทิรวนิยเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 พ.ย. 2564
หมายเลข  40443
อ่าน  355

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 237

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๕

๒. ขทิรวนิยเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระขทิรวนิยเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 237

๒. ขทิรวนิยเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระขทิรวนิยเถระ

[๑๗๙] ได้ยินว่า พระขทิรวนิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ดูก่อนสามเณรหลา * อุปหลา สีลุปหลา เธอทั้งสามเป็นผู้มีสติเฉพาะหน้าอยู่หรือ พระสารีบุตรผู้เป็นลุงของพวกท่าน มีปัญญาว่องไว หยั่งรู้เหตุผลได้โดยถูกต้อง แม่นยำ เปรียบดังนายขมังธนูผู้ชำนาญ ยิงปลายขนทรายมาแล้ว.


* พม่า และอังกฤษว่า สามเณรชื่อ จาลา อุปจาลาและสีสูปวาจา.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 238

อรรถกถาขทิรวนิยเรตเถรคาถา

คาถาของท่านพระขทิรวนิยเรวตเถระ * เริ่มต้นว่า จาเล อุปจาเล. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?

ได้ยินว่า ในกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ พระเถระนี้เกิดในตระกูลของนายเรือประจำท่า ณ เมืองหงสาวดี ทำงานอยู่ในเรือประจำท่า ณ ท่าน้ำชื่อว่า ปยาคะ วันหนึ่งเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยหมู่สาวก เสด็จไปสู่ฝั่งแม่น้ำคงคา เป็นผู้มีใจเลื่อมใสแล้ว ประกอบเรือขนาน ส่งเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยสาวกให้ถึงฝั่งโน้น แล้วเห็นภิกษุรูปหนึ่ง อันพระศาสดาทรงแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้อยู่ในป่า ตั้งความปรารถนาเพื่อได้ตำแหน่งนั้น บำเพ็ญมหาทาน ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพยากรณ์ความปรารถนาของเขาว่าไม่เป็นหมัน. จำเดิมแต่นั้น เขาบำเพ็ญกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้นๆ ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในพุทธุปบาทกาลนี้ เกิดในท้องของนางพราหมณี ชื่อว่า รูปสารี ในนาลกคาม แคว้นมคธ. มารดา บิดาของเขามีความประสงค์จะผูกพันเขาผู้เจริญวัยแล้ว ด้วยเครื่องผูกคือเรือน เขาสดับความที่พระสารีบุตรเถระบวชแล้ว คิดว่าพระคุณเจ้าอุปติสสะ ผู้เป็นพี่ใหญ่ของเรา ทิ้งสมบัตินี้ไว้บวชแล้ว เราจักกลืนกินก้อนเขฬะ ที่พระคุณเจ้าอุปติสสะนั้นบ้วนทิ้งไว้ในภายหลังอย่างไรได้ ดังนี้แล้ว เกิดความสลดใจ ทำเป็นเหมือนเนื้อที่กำลังเข้าไปติดบ่วง ลวงหมู่ญาติอันเหตุสมบัติเตือนอยู่ ไปสู่สำนักของภิกษุทั้งหลาย แจ้งความที่ตนเป็นน้องชายของพระธรรมเสนาบดี


* พระสูตรเรียกว่า พระขทิรวนิยเถระ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 239

บอกความพอใจในบรรพชาของตน. ภิกษุทั้งหลายให้บรรพชาแล้ว พอเขา อายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ก็ให้อุปสมบท แนะนำกรรมฐาน. ท่านเรียนกรรมฐานแล้วเข้าไปสู่ป่าไม้ตะเคียน คิดว่า เราบรรลุพระอรหัตแล้ว จึงจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า และพบพระธรรมเสนาบดี ดังนี้แล้ว เพียรพยายามอยู่ ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก เพราะมีญาณถึงความแก่รอบ. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

แม่น้ำคงคา ชื่อภาคีรถี เกิดแต่ประเทศหิมวันต์ เราเป็นนายเรืออยู่ที่ท่าอันขรุขระ ข้ามส่งคนจากฝั่งนี้ ไปฝั่งโน้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เป็นนายกของโลก สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ กับพระขีณาสพหนึ่งแสน จักข้ามกระแสแม่น้ำคงคา เรานำเรือมารวมไว้เป็นอันมาก แล้วทำประทุนเรือที่นายช่างตกแต่งเป็นอันดี ไว้ต้อนรับพระนราสภ ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาแล้วเสด็จขึ้นเรือ พระศาสดาประทับยืนอยู่ท่ามกลางวารี ได้ตรัสพระคาถา เหล่านี้ว่า ผู้ใดข้ามส่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระสงฆ์ผู้ไม่มีอาสวะ ผู้นั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น วิมานอันบุญกรรมทำไว้อย่างสวยงาม มีสัณฐานดังเรือจักเกิดแต่ท่าน หลังคาดอกไม้ จักกั้นอยู่บนอากาศทุกเมื่อ ในกัปที่ ๕๘ ผู้นี้จักได้เป็นกษัตริย์ พระนามว่า ตารกะ จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงครอบครองแผ่นดิน มีสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ใน กัปที่ ๕๗ จักได้เป็นกษัตริย์ พระนามว่า จัมมกะ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 240

ทรงพระกำลังมาก จักรุ่งเรือง ดังพระอาทิตย์อุทัย ฉะนั้นในกัปที่แสน พระศาสดาทรงพระนามว่า โคดม โดยพระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นี้เคลื่อนจากไตรทศแล้ว จักถึงความเป็นมนุษย์ จักเป็นบุตรแห่งพราหมณ์ มีนามชื่อว่าเรวตะ อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักออกจากเรือน บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า โคดม ภายหลังเขาบวชแล้ว จักประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะ นิพพาน เรามีความเพียรอันนำไปซึ่งธุระ อันนำมาซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ เราทรงกายอันมีในที่สุด ในศาสนาแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กรรมที่เราทำไว้ในแสนแห่งกัป แสดงผลแก่เราในชาตินี้ ช่วยเผากิเลสของเราให้ไหม้ ดุจลูกศรที่พ้นจากแล่งไปอย่างรวดเร็ว ลำดับนั้น พระมุนีผู้เป็นมหาปราชญ์ รู้ที่สุดแห่งโลก เห็นเรายินดีแล้วในป่า จึงทรงแต่งตั้งเราเป็นยอดแห่งภิกษุผู้อยู่ป่า เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระได้อภิญญา ๖ แล้ว จัดเก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวรไปเพื่อจะเฝ้าพระศาสดาและพบพระธรรมเสนาบดี ถึงพระนครสาวัตถี โดยลำดับ เข้าไปสู่พระเชตวันวิหารแล้ว ถวายบังคมพระบรมศาสดา และไหว้พระธรรมเสนาบดีแล้ว อยู่ในพระเชตวันวิหาร สิ้นวันเล็กน้อย.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 241

ลำดับนั้น พระศาสดาประทับอยู่กลางหมู่พระอริยสงฆ์ ทรงแต่งตั้งท่านไว้ในฐานะที่เป็นยอดของภิกษุผู้อยู่ป่าทั้งหลาย ด้วยพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเรวตะ ขทิรวนิยะ เลิศกว่าพวกภิกษุผู้สาวกของเราผู้อยู่ป่า ดังนี้. ต่อมาท่านกลับไปยังบ้านเกิดของตน นำหลาน ๓ คน คือ เด็กชื่อจาลา ชื่ออุปจาลา ชื่อสีสูปจาลา ผู้เป็นบุตรของพี่สาวทั้ง ๓ คือ นาง จาลา นางอุปจาลา และนางสีสูปจาลา มาแล้วให้บวช แนะนำกรรมฐาน ทารกทั้ง ๓ ก็ประกอบเนืองๆ ซึ่งกรรมฐานอยู่.

ก็ในสมัยนั้น อาพาธบางอย่างเกิดแก่พระเถระ. พระสารีบุตรเถระ ฟังข่าวนั้นแล้ว เข้าไปหาพระเรวตะ ด้วยคิดว่า เราจักถามอาการไข้และถามมรรคผลที่พระเรวตะได้บรรลุ. พระเรวตเถระเห็นพระธรรมเสนาบดีเดินมาแต่ไกล เมื่อจะกล่าวสอนสามเณรเหล่านั้น โดยจะให้เกิดสติ จึงกล่าวคาถาว่า

ดูก่อนสามเณร จาลา อุปจาลา สีสูปจาลา เธอทั้ง ๓ เป็นผู้มีสติเฉพาะหน้าอยู่หรือ พระสารีบุตร ผู้เป็นลุงของพวกเธอ มีปัญญาว่องไว หยั่งรู้เหตุผลได้ โดยถูกต้องแม่นยำ เปรียบดัง นายขมังธนู ผู้ชำนาญ ยิงปลายขนทรายมาแล้ว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จาเล อุปจาเล สีสูปจาเล เป็นคำเรียกสามเณรเหล่านั้น อธิบายว่า ทารกทั้ง ๓ เหล่านั้น ได้ชื่อด้วยสามารถแห่งเพศหญิงว่า จาลา อุปจาลา สีสูปจาลา แม้บวชแล้ว ก็เรียกกันอย่างนั้น. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ชื่อของสามเณรเหล่านั้นว่า จาลี อุปจาลี สีสูปจาลี การเรียกชื่อด้วยคำเป็นต้นว่า จาเล ดังนี้ เพื่อประโยชน์อันใด พระเถระ เมื่อจะแสดงประโยชน์อันนั้น จึงกล่าวว่า เธอทั้ง ๓ เป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 242

อยู่หรือ ดังนี้แล้ว แสดงเหตุในการเรียกนั้นว่า พระสารีบุตรผู้เป็นลุงของพวกเธอ มีปัญญาว่องไว หยั่งรู้เหตุผลได้โดยถูกต้องแม่นยำ เปรียบดังนายขมังธนู ผู้ชำนาญยิงปลายขนทรายมาแล้ว ดังนี้. บทว่า ปติสฺสตา แปลว่า มีสติเฉพาะหน้า. ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาต ลงในอวธารณะ.

บทว่า อาคโต แปลว่า มาแล้ว. บทว่า โว แปลว่า ของท่านทั้งหลาย.

บทว่า วาลํ วิย เวธิ ความว่า ดุจนายขมังธนูยิงปลายขนทราย. ในบาทแห่งคาถานี้ มีความย่อดังนี้ พระเถระผู้เป็นลุงของเธอทั้งหลาย ผู้ชื่อว่า เหมือนนายขมังธนูผู้ยิงปลายขนทราย เพราะมีปัญญากล้า มีปัญญาไว มีปัญญาแทงตลอด ผู้เป็นที่สองรองพระศาสดามาแล้ว เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลาย จงเข้าไปตั้งสมณสัญญา เป็นผู้ประกอบไปด้วยสติสัมปชัญญะอยู่เถิด คือจงเป็นผู้ไม่ประมาทในวิหารธรรม ที่ตนได้บรรลุแล้วอย่างไร.

สามเณรเหล่านั้น ฟังดังนั้นแล้ว กระทำวัตร มีการลุกขึ้นต้อนรับพระธรรมเสนาบดีเป็นต้น แล้วนั่งเข้าสมาธิ ในที่ไม่ไกล ในเวลาปฏิสัณฐาร ของพระเถระผู้เป็นลุงทั้งสอง พระธรรมเสนาบดีกระทำปฏิสัณฐารอยู่กับพระเรวตเถระ ลุกจากอาสนะแล้ว เข้าไปหาสามเณรเหล่านั้น. สามเณรเหล่านั้น ลุกขึ้นไหว้พระเถระผู้กำลังเดินเข้าไปหาอยู่ทีเดียว ยืนอยู่แล้ว เพราะทำการกำหนดเวลาไว้อย่างนั้น. พระเถระถามว่า พวกเธออยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ อย่างไหนๆ เมื่อสามเณรเหล่านั้นตอบว่า ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ ชื่อนี้ ชื่อนี้ สรรเสริญพระเถระว่า พระเถรผู้เป็นน้องชายของเรา แนะนำอย่างนี้ แม้กับสามเณรผู้ยังเล็ก ชื่อว่า ถึงเฉพาะแล้วซึ่งธรรมสมควรแก่ธรรมหนอ ดังนี้แล้ว หลีกไป.

จบอรรถกถาขทิรวนิยเรวตเถรคาถา