พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. สุมังคลเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระสุมังคลเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 พ.ย. 2564
หมายเลข  40444
อ่าน  475

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 243

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๕

๓. สุมังคลเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสุมังคลเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 243

๓. สุมังคลเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสุมังคลเถระ

[๑๘๐] ได้ยินว่า พระสุมังคลเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เราพ้นดีแล้ว เราเป็นผู้พ้นดีแล้ว จากความค่อมทั้ง ๓ คือ เราพ้นแล้วจากการเกี่ยวข้าว จากการ ไถนา จากการถางหญ้า ถึงแม้ว่ากิจมีการเกี่ยวหญ้า เป็นต้น จะอยู่ในที่ใกล้ๆ เรานี่เอง แต่ก็ไม่สมควรแก่เราทั้งนั้น ท่านจงเจริญฌานไปเถิดสุมังคละ จงเจริญฌานไปเถิดสุมังคละ ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่เถิด สุมังคละ.

อรรถกถาสุมังคลเถรคาถา

คาถาของท่านพระสุมังคลเถระเริ่มต้นว่า สุมุตฺติโก. เรื่องราวของท่าน เป็นมาอย่างไร?

แม้พระเถระนั้น ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ เกิดเป็น รุกขเทวดา ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ ในวันหนึ่งเขาเห็นพระศาสดา สรงน้ำแล้วทรงจีวรผืนเดียวยืนอยู่ มีใจโสมนัส ปรบมือแล้ว.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 244

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ในพุทธุปบาทกาลนี้ เกิดในตระกูลเข็ญใจ ด้วยผลแห่งกรรมที่ให้ผลเช่นนั้น ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ไม่ไกลจาก กรุงสาวัตถี เขาได้นามว่า สุมังคละ. สุมังคละเจริญวัยแล้ว เป็นผู้มีเดียว มีไถ มีจอบ อันเป็นสมบัติของคนค่อม เป็นบริขาร เลี้ยงชีพ ด้วยการไถ. วันหนึ่ง เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศล บำเพ็ญมหาทานถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า และพระภิกษุสงฆ์ เขาถือหม้อนมส้มเดินร่วมมากับมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ถือเอาเครื่องทานเดินมา เห็นสักการะและสัมมานะของภิกษุทั้งหลายแล้ว คิดว่า พวกพระสมณศากยบุตรเหล่านี้ นุ่งห่มผ้าเนื้อละเอียด บริโภคโภชนะที่ดี อยู่ในเสนาสนะสงัดลม แม้ไฉนหนอ เราพึงบวช ดังนี้ แล้วเข้าไปหาพระมหาเถระรูปใดรูปหนึ่ง แล้วแจ้งความประสงค์ในการบรรพชาของตน. พระเถระเอ็นดูเขา ให้บวชแล้วบอกกรรมฐาน.

ท่านอยู่ในป่า เบื่อหน่ายในการอยู่ผู้เดียว เป็นผู้กระสันแล้ว ประสงค์จะสึก จึงไปบ้านญาติ เห็นชาวนานุ่งหยักรั้งไถนาอยู่ นุ่งผ้าเศร้าหมอง ร่างกายเต็มไปด้วยฝุ่นละออง ถูกลมและแดด (แผดเผาอยู่) ในระหว่างทาง กลับได้ความสลดใจว่า สัตว์เหล่านี้เสวยทุกข์ มีการเลี้ยงชีพเป็นเหตุ เป็นอันมากหนอ กรรมฐานที่ท่านเรียนมาปรากฏแล้ว เพราะญาณถึงความแก่รอบแล้ว ท่านเข้าไปสู่โคนไม้ต้นหนึ่ง ได้ความสงัดมีโยนิโสมนสิการ เจริญวิปัสสนาแล้ว บรรลุพระอรหัต ตามลำดับมรรค. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ใน อปทานว่า

พระชินวรทรงพระนามว่า อัตถทัสสี เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ เสด็จออกจากพระวิหาร แล้วเสด็จเข้าไปใกล้สระน้ำ พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสรงสนานและดื่มแล้ว ทรงห่ม

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 245

จีวรผืนเดียว เฉวียงพระอังสา ประทับยืนเหลียวดูทิศน้อยทิศใหญ่อยู่ ณ ที่นั้นในกาลนั้น เราเข้าไปในที่อยู่ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นนายกของโลก เรามีจิตร่าเริงโสมนัสได้ปรบมือ เราประกอบการฟ้อน การขับร้อง และดนตรีมีองค์ ๕ ถวายพระองค์ผู้โชติช่วงดังดวงอาทิตย์ ส่องแสงเรืองเหลืองดังทองคำ เราเข้าถึงกำเนิดใดๆ คือเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ในกำเนิดใดๆ ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งปวง ยศอันไพบูลย์ มีแก่เรา ขอนอบน้อมแด่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ขอนอบน้อมแด่พระองค์ผู้อุดมบุรุษ พระองค์ผู้เป็นมุนี ทรงยังพระองค์ให้ยินดีแล้วทรงยังผู้อื่นให้ยินดีอีกด้วย เรากำหนดใจ นั่งลงทำความร่าเริง มีวัตรอันดี บำรุงพระสัมพุทธเจ้าแล้ว เข้าถึงชั้นดุสิต ในกัปที่ ๑,๖๐๐ แต่ภัทรกัปนี้ ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิหลายพระองค์ มีพระนามเหมือนกันว่า ทวินวเอกจินติตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จ แล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะเปล่งอุทาน ด้วยสามารถแห่งการประกาศสมบัติ และการพ้นทุกข์ของตน จึงกล่าวคาถาว่า

เราพ้นดีแล้ว เราเป็นผู้พ้นดีแล้ว จากความค่อม ทั้ง ๓ คือเราพ้นแล้วจากการเกี่ยวข้าว จากการไถนา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 246

จากการถางหญ้า ถึงแม้ว่ากิจมีการเกี่ยวหญ้าเป็นต้น จะอยู่ที่ใกล้ๆ เรานี้เอง แต่ก็ไม่สมควรแก่เราทั้งนั้น ท่านจงเจริญฌานไปเถิด สุมังคละ จงเจริญฌานไปเถิด สุมังคละ ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่เถิด ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุมุตฺติโก ความว่า ชื่อว่า มีความหลุดพ้นด้วยดี เพราะหลุดพ้นดี คือไม่ต้องเกิดอีก เพราะกระทำที่สุดได้แล้ว ก็พระเถระเมื่อจะปรบมือ เพราะความหลุดพ้นของท่านน่าสรรเสริญ และน่าอัศจรรย์ จึงกล่าวว่า สุมุตฺติโก เมื่อจะแสดงความที่ความเลื่อมใสของตน ในวิมุตตินั้น มั่นคงอีก จึงกล่าวว่า สาหุ สุมุตฺติโกมฺหิ อธิบายว่า สาธุ เราพ้นดีแล้วหนอ ดังนี้. ถามว่า ก็พระเถระนี้ กระทำให้พ้นดีแล้วจากอะไร? ตอบว่า ถึงพระเถระนี้ หลุดพ้นดีแล้วจากวัฏทุกข์แม้ทั้งปวงก็จริง แต่เมื่อท่านจะแสดงถึงทุกข์ที่ปรากฏแล้วก่อนของตนอันเป็นทุกข์ที่ไม่น่าปรารถนาอย่างยิ่ง จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตีหิ ขุชฺชเกหิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขุชฺชเกหิ ความว่าจากสภาพความค่อม หรือจากอาการค่อม. คำนั้นเป็นคำเปล่งออกด้วยความเบิกบานแห่งเสียงที่เปล่งออก. ด้วยว่าชาวนาแม้ไม่เป็นคนค่อม ก็แสดงตนเป็นค่อมในฐานะ ๓ คือ ในการเกี่ยว ในการไถ และในการขุด ก็แลชาวนาใดทำการเกี่ยวเป็นต้น อาการมีการเกี่ยวเป็นต้น แม้นั้นของชาวนานั้น ก็ชื่อว่าความค่อมโดยอาการงอ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ตีหิ ขุชฺชเกหิ.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงทุกข์เหล่านั้น โดยสรุปจึงกล่าวว่า เราพ้นแล้วจากการเกี่ยวข้าว จากการไถนา จากการถางหญ้า ดังนี้.

ความของบทว่า อสิตาสุ มยา ในคาถานั้นก็ว่า เราพ้นแล้วจากเคียวทั้งหลาย. บทว่า อสิตาสุ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งปัญจมีวิภัตติ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 247

แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า อสิตาสุ มยา ความว่า อันเราถึงแล้วซึ่งความเป็นคนค่อม เพราะเคียวทั้งหลาย คือมีเคียวเป็นเหตุ. ตามมติของเกจิอาจารย์เหล่านั้น บทว่า อสิตาสุ เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งกรณะหรือในเหตุ.

บทว่า นงฺคลาสุ ท่านกล่าวไว้โดยทำเป็นลิงควิปวาส. อธิบายว่า เพราะไถทั้งหลายอันลำเค็ญ ท่านกล่าวว่า ขฺทฺกกกุทฺทาลาสุ เพราะไถที่ตนใช้สอยกร่อนโดยสภาพ หรือโดยการใช้สอย. บาลีว่า กุณฺกุทฺทาลาสุ ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า มีคมสึกไปโดยการใช้นั่นเอง.

อักษร ในบทว่า อิธเมว นี้ กระทำการต่อบท.

วา ศัพท์ในบทว่า อถ วาปิ เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ถึงแม้ว่า เคียวเป็นต้นเหล่านั้นจะอยู่ในที่นี้แหละ คือในที่ใกล้เรานี่เอง เพราะตั้งอยู่ในบ้าน แม้อย่างนั้น ก็ไม่สมควรแก่เราทั้งนั้น ก็คำนี้เป็นคำกล่าวซ้ำด้วยสามารถ แห่งตุริตศัพท์ (เช่นตุริตตุริตํ ด่วนๆ).

บทว่า ฌาย ความว่า จงเจริญฌาน ด้วยสามารถแห่งฌานอันสัมปยุตด้วยผลสมาบัติ และด้วยสามารถแห่งทิพวิหารฌานเป็นต้น เพื่ออยู่เป็นสุขใน ทิฏฐธรรม.

พระเถระเรียกตนเองว่า สุมังคละ ก็เพื่อจะแสดงความเอื้อเฟื้อในฌาน ท่านจึงกล่าวย้ำไว้.

บทว่า อปฺปมตฺโต วิหร ความว่า ท่านต้องเป็นผู้ไม่ประมาทในที่ทั่วไปทีเดียว ด้วยการถึงความไพบูลย์แห่งสติและปัญญา ดูก่อนสุมังคละ บัดนี้ท่านจงอยู่เป็นสุขเถิด. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระเถระรังเกียจ ความทุกข์ของฆราวาสตามความเป็นจริง โดยเกิดความยินดีในพระศาสนา อันดำเนินไปตามแนวของวิปัสสนา เพราะยังไม่บรรลุพระอรหัตนั่นเอง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 248

ภายหลังเจริญวิปัสสนาแล้ว จึงได้บรรลุพระอรหัต. ตามมติของเกจิอาจารย์เหล่านั้น ความของบททั้งหลายที่ว่า จงเจริญฌานไปเถิดสุมังคละ ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่เถิด ดังนี้ ย่อมถูกต้องโดยแท้ แม้ด้วยสามารถแห่งวิปัสสนามรรค.

จบอรรถกถาสุมังคลเถรคาถา