พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. รามเณยยกเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระรามเณยยกเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 พ.ย. 2564
หมายเลข  40450
อ่าน  413

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 266

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๕

๙. รามเณยยกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระรามเณยยกเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 266

๙. รามเณยยกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระรามเณยยกเถระ

[๑๘๖] ได้ยินว่า พระรามเณยยกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ดูก่อนมาร บุคคลบางจำพวก ย่อมสะดุ้งกลัว พราะเสียงคำรามของท่าน และเสียงร้องคำรามแห่งเทวดา แต่จิตของเราไม่หวั่นไหว เพราะเสียงเหล่านั้น เพราะจิตของเรายินดีความเป็นผู้เดียว.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 267

อรรถกถารามเณยยกเถรคาถา

คาถาของท่านพระรามเณยยกเถระ เริ่มต้นว่า จิหจิหาภินทิเต. เรื่องราวของท่านเป็นมาอย่างไร?

แม้พระเถระนี้ ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ เป็นอันมาก เกิดในเรือนแห่งตระกูลในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิขี. บรรลุถึงความเป็นผู้รู้แล้ว เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้เลื่อมใสแล้ว ได้ทำการบูชาด้วยดอกไม้ทั้งหลาย.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านบังเกิดแล้วในเทวโลก กระทำบุญแล้ว เกิดหมุนเวียนไปๆ มาๆ อยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ เกิดใน ตระกูลอันมั่งคั่งในพระนครสาวัตถี เจริญวัยแล้ว เป็นผู้มีความเลื่อมใสเกิดแล้ว บรรพชาในกาลที่ทรงรับมอบพระวิหารชื่อว่าเชตวัน เรียนกรรมฐานอันสมควรแก่จริตแล้วอยู่ในป่า. ท่านได้มีชื่อว่า รามเณยยกะ เพราะสมบัติของตน และข้อปฏิบัติอันสมควรแก่บรรพชิตของท่านเป็นเหตุนำมาซึ่งความเลื่อมใส. วันหนึ่ง มารประสงค์จะหลอกให้พระเถระสะดุ้ง จึงได้ส่งเสียงร้องน่ากลัว.

พระเถระฟังเสียงนั้นแล้วไม่สะดุ้งกลัวเพราะเสียงนั้น รู้ทันว่านี้เป็นมาร เมื่อจะแสดงความไม่อาทรในเสียงนั้น ได้กล่าวคาถาว่า

ดูก่อนมารผู้ลามก จิตของเรานั้นย่อมไม่หวั่นไหวดิ้นรน เพราะเสียงร้องของนกกระจาบ และเพราะเสียงร้องของลิงทั้งหลาย เพราะจิตของเรายินดียิ่งแล้วในพระนิพพาน ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 268

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิหจิหาภินทิเต ความว่า เพราะเหตุแห่งการส่งเสียงร้องของนกกระจาบ ที่ได้นามว่า จิหะ จิหะ เพราะส่งเสียงร้องอยู่เนืองๆ ว่า จิหะ จิหะ อธิบายว่า มีเสียงร้องเป็นเหตุ. บทว่า สิปฺปิกาภิรุเต จ ความว่า ลิงที่มีอาการเหมือนเด็กผอมโซอมโรค มีชื่อ อย่างอื่น คือขี้เล่น ท่านเรียกว่า สิปปิกะ. บางอาจารย์เรียกว่า มหากลันทกร เพราะลิงทั้งหลาย อ้าปากกว้าง ร้องตัวสั่น ก็บทนี้เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งเหตุ อธิบายว่า การร้องของลิงนั่นเป็นเหตุ. บทว่า น เม ตํ ผนฺทติ จิตฺตํ ความว่า จิตของเราย่อมไม่ดิ้นรน คือไม่หวั่นไหว.

ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ดูก่อนมารผู้ลามก จิตของเราย่อมไม่ตกไป จากกรรมฐาน เพราะเหตุแห่งการส่งเสียงร้องของท่าน ดุจเพราะเหตุแห่งการร้อง คือเพราะเหตุแห่งการส่งเสียงร้องของลิงในป่า. พระเถระกล่าวถึงเหตุในการที่จิตไม่ตกไปจากกรรมฐานว่า เอกตฺตํ นิรตํ หิ เม เพราะจิตของเรายินดียิ่งแล้วในพระนิพพาน. หิ ศัพท์ มีเหตุเป็นอรรถ ได้แก่ เพราะเหตุที่จิตของเรา ละการคลุกคลีด้วยหมู่ อยู่ในความเป็นผู้ๆ เดียว คือ ในเอกีภาพ หรือเพราะเหตุที่จิตของเรา ละความฟุ้งซ่านในภายนอก แล้วถึงความเป็นหนึ่งในเอกัคคตารมณ์ หรือเพราะเหตุที่จิตของเรายินดียิ่งแล้ว คือ อภิรมย์แล้วในเอคัคตารมณ์ คือในเอกีภาพ ได้แก่ ในพระนิพพาน ฉะนั้น จิตของเราจึงไม่ดิ้นรน คือไม่ขาดจากกรรมฐาน ได้ยินว่า พระเถระเมื่อกล่าวคาถานี้อยู่นั่นแล เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิขี มีพระฉวีวรรณดังทอง มีพระรัศมีอันประเสริฐดังพระอาทิตย์

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 269

มีพระหฤทัยเมตตา มีพระสติ เสด็จขึ้นที่จงกรม เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ชมเชยพระญาณอันอุดมแล้ว ถือดอกเทียนขาวไปบูชาแด่พระพุทธเจ้า ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่ ๒๙ แต่ภัทรกัปนี้ ได้ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ นามว่า สุเมฆฆนะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็แลคาถานี้นั่นแหละ ได้เป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตตผลของพระเถระ.

จบอรรถกถารามเณยยเถรคาถา