พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. วิมลโกณฑัญญเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระวิมลโกณฑัญญเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 พ.ย. 2564
หมายเลข  40465
อ่าน  407

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 323

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๗

๔. วิมลโกณฑัญญเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระวิมลโกณฑัญญเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 323

๔. วิมลโกณฑัญญเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระวิมลโกณฑัญญเถระ

[๒๐๑] ได้ยินว่า พระวิมลโกณฑัญญเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า

ภิกษุผู้เป็นบุตรของนางอัมพปาลี ที่หมู่ชนเรียกกันว่า ทุมะ เกิดเพราะพระเจ้าพิมพิสาร ท่านเป็น บุตรของท่านผู้ทรงไว้ซึ่งธงคือพระเจ้าแผ่นดิน ทำลายธงใหญ่ คือกิเลสได้ด้วยปัญญาแล้ว.

อรรถกถาวิมลโกณฑัญญเถรคาถา

คาถาของท่านพระวิมลโกณฑัญญเถระ เริ่มต้นว่า ทุมวฺหยาย อุปปนฺโน. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?

แม้พระเถระนี้ ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ เกิดในตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยสมบัติ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี อันบริษัทใหญ่ห้อมล้อมแล้ว ทรงแสดงธรรมอยู่ มีใจเลื่อมใส แล้วบูชาด้วยดอกไม้ทอง ๔ ดอก. เพื่อจะเจริญศรัทธาปสาทะของเขา พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขารให้มีรูปอย่างรัศมีทองคำ ปกคลุมทั่วประเทศนั้นทั้งสิ้น. เขาเห็นพุทธลักษณะอันสำเร็จด้วย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 324

อิทธาภิสังขารนั้นแล้ว มีใจเลื่อมใสเกินประมาณ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กระทำพุทธลักษณะนั้นให้เป็นนิมิต แล้วไปสู่เรือนของตน ไม่ละปีติที่มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ กระทำกาละด้วยโรคลมบางอย่าง บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต แล้วกระทำบุญอื่นๆ อีก ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิในท้องของนางอัมพปาลี อาศัยพระเจ้าพิมพิสาร.

พระเจ้าพิมพิสาร ในคราวยังเป็นหนุ่ม ฟัง (ข่าว) รูปสมบัติของนางอัมพปาลี เกิดความกำหนัดยินดี มีคนติดตาม ๒ - ๓ คน ไปสู่พระนครไพศาลี โดยเพศที่คนจำไม่ได้ สำเร็จการอยู่ร่วมกับนางในคืนวันหนึ่ง ครั้งนั้น พระเถระนี้ถือปฏิสนธิในท้องของนาง และนางอัมพปาลี ได้กราบทูลข้อที่นางตั้งครรภ์ ต่อพระเจ้าพิมพิสาร.

แม้พระราชาก็แสดงพระองค์ พระราชทานสิ่งของที่ควรพระราชทาน แล้วเสด็จหลีกไป นางอาศัยความแก่รอบของครรภ์คลอดบุตรแล้ว. ทารกนั้น ได้นามว่า วิมละ ต่อมาภายหลังจึงปรากฏนามว่า วิมลโกณฑัญญะ. เขาเจริญวัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพ ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปพระนครไพศาลี มีใจเลื่อมใส บรรพชาแล้ว กระทำบุรพกิจแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ ประทับนั่ง แสดงอมตบทแก่หมู่ชนอยู่ เราฟังธรรมของพระองค์ ผู้เป็นจอมประชาผู้คงที่แล้ว ได้โปรยดอกไม้ทอง ๔ ดอก บูชาแด่พระพุทธเจ้า ดอกไม้ทองนั้นกลายเป็นหลังคาทอง บังร่มตลอดทั้งบริษัท ในกาลนั้น รัศมีของพระพุทธเจ้า และรัศมีทอง รวมเป็นแสงสว่างโชติช่วง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 325

ไพบูลย์ เรามีจิตเบิกบาน ดีใจ เกิดโสมนัส ประนมอัญชลี เกิดปีติ เป็นผู้นำความสุขปัจจุบันมาให้แก่คนเหล่านั้น เราทูลวิงวอนพระสัมพุทธเจ้า และถวายบังคมพระองค์ผู้มีวัตรอันงาม ยังความปราโมทย์ให้เกิดแล้ว กลับเข้าสู่ที่อยู่ของตน ครั้นกลับเข้าสู่ที่อยู่แล้ว ยังระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐอยู่ ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น เราได้เข้าถึงสวรรค์ชั้นดุสิต ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ทองใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่ ๔๓ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑๖ พระองค์ ทรงพระนามว่าเนมิสมมตะ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระครั้น บรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตตผล โดยอ้างถึงพระอรหัตตผล ได้กล่าวคาถาว่า

ภิกษุเป็นบุตรของนางอัมพปาลี ที่หมู่ชนเรียกกันว่า ทุมะ เกิดเพราะพระเจ้าพิมพิสาร ท่านผู้เป็นบุตรของท่านผู้ทรงไว้ซึ่งธงคือพระเจ้าแผ่นดิน ทำลายธงใหญ่ คือกิเลส ได้ด้วยปัญญาแล้ว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุมวฺหยาย ได้แก่ หญิงที่เขาเรียกว่า ทุมะ คืออัมพะ อธิบายว่า ของหญิงชื่อว่าอัมพปาลี. ก็บทว่า ทุมวฺหยาย นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอาธาระ. บทว่า อุปปนฺโน ความว่า เกิดแล้ว และ เข้าถึงในท้องของนางอัมพปาลีนั้น.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 326

บทว่า ชาโต ปณฺฑรเกตุนา ได้แก่ เกิดเพราะท่านผู้ทรงไว้ซึ่งเศวตฉัตร คือเกิด เพราะพระเจ้าพิมพิสาร ผู้ปรากฏว่าเป็นราชันย์ผู้มีเศวตฉัตรเป็นเหตุ อธิบายว่า อาศัยพระเจ้าพิมพิสารนั้นเกิดแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อุปปนฺโน เป็นบทแสดงถึงการบังเกิดครั้งแรก. เพราะต่อจากนั้น บทว่า ชาโต แสดงถึงอภิชาติ (เกิดโดยชาติของพระอริยเจ้า). อธิบายว่า จำเดิมแต่เวลาตลอด เรียกว่าเกิดแล้วในโลก. ก็ในคาถานี้ ท่าน หลีกเลี่ยงการยกย่องตน ด้วยบทว่า ทุมวฺหยาย อุปปนฺโน นี้ และแสดงถึง สภาพที่ได้บรรลุคุณพิเศษ แม้ของบุตรของผู้ที่เป็นใหญ่เป็นอเนก. หลีกเลี่ยงการข่มท่าน ด้วยการแสดงถึงปีติที่รู้กันแล้วด้วยบทว่า ชาโต ปณฺฑุรเกตุนา นี้.

บทว่า เกตุหา แปลว่า ละเสียซึ่งมานะ. อธิบายว่า ชื่อว่า เกตุ ด้วยอรรถว่า เป็นดุจธง เพราะมีการถือตัว (จองหอง) เป็นลักษณะ. จริงอย่างนั้น มานะนั้นท่านกล่าวว่า มีความประสงค์จะยกตนให้สูงเป็นเครื่องปรากฏ.

บทว่า เกตุนาเยว ได้แก่ ด้วยปัญญานั่นเอง. อธิบายว่า ปัญญา ชื่อว่า เป็นธงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะอรรถว่าสูงยิ่งในบรรดาธรรม อันหาโทษมิได้ทั้งหลาย และเพราะอรรถว่าถึงก่อน ด้วยการย่ำยีเสนามาร ด้วยเหตุนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า ธมฺโม หิ อิสินํ ธโช ก็ธรรมเป็นธงชัย ของฤาษีทั้งหลาย.

บทว่า มหาเกตุํ ปธํสยิ ความว่า กิเลสธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าใหญ่ เพราะมีอารมณ์มาก และชื่อว่ามีมานะมากมายหลายประการ เพราะต่างโดย มานะ มีมานะว่า เราประเสริฐกว่า และมาฆะเพราะชาติเป็นต้น และกิเลส ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า มหาเกตุ ด้วยอรรถว่า เป็นดุจธง เพราะอรรถว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 327

ยังมานะนั้นให้ยกขึ้น ได้แก่ มารผู้ลามก ท่านได้ครอบงำมารนั้น ทำให้หมดพยศ ด้วยการกำจัดพลแห่งมาร และก้าวล่วงวิสัยแห่งมารเสียได้. พระเถระ เมื่อจะแสดงตน เป็นเหมือนคนอื่น พยากรณ์พระอรหัตตผล โดยการอ้างพระอรหัตตผลว่า ทำลายธงใหญ่ คือ กิเลสได้ด้วยปัญญา ดังนี้.

จบอรรกถาวิมลโกณฑัญญเถรคาถา