พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. เมฆิยเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระเมฆิยเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 พ.ย. 2564
หมายเลข  40467
อ่าน  434

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 331

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๗

๖. เมฆิยเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระเมฆิยเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 331

๖. เมฆิยเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระเมฆิยเถระ

[๒๐๓] ได้ยินว่า พระเมฆิยะได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

พระมหาวีรเจ้า ผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ได้สั่งสอนเรา เราฟังธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ในสำนักของพระองค์ เราได้บรรลุวิชชา ๓ คำสอนของ พระพุทธเจ้า เรากระทำเสร็จแล้ว.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 332

อรรถกถาเมฆิยเถรคาถา

คาถาของท่านพระเมฆิยเถระ เริ่มต้นว่า อนุสาสิ มหาวีโร. เรื่องราวเป็นอย่างไร?

แม้พระเถระนี้ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ หว่านพืชคือกุศลไว้ในภพนั้นๆ เกิดในเรือนมีตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้บรรลุถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว. ก็ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี ทรงบรรลุถึงความสิ้นสุดแห่งพุทธกิจแล้ว ทรงปลงอายุสังขาร. เมื่อเกิดแผ่นดินไหวเป็นต้น เพราะเหตุที่ทรงปลงอายุสังขารนั้น มหาชนได้สะดุ้งตกใจกลัวแล้ว.

ลำดับนั้น ท้าวเวสวัณมหาราช ทรงเข้าใจเหตุการณ์นั้นอย่างแจ้งชัด จึงทรงยังมหาชนให้เบาใจ. มหาชนฟังเหตุการณ์นั้น ได้ถึงความสังเวชแล้ว. กุลบุตรนี้ สดับพุทธานุภาพ ในที่นั้นแล้ว เกิดความเคารพนับถืออย่างมากในพระศาสดา เสวยปีติโสมนัสอย่างโอฬาร. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยว ไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลแห่งเจ้าศากยะ ในพระนครกบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้. เขาได้นามว่า เมฆิยะ.

เมฆิยมาณพนั้น เจริญวัยแล้ว บวชในสำนักของพระบรมศาสดา อุปัฏฐากพระพุทธเจ้าอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ชาลิกาวัน เห็นป่ามะม่วงน่ารื่นรมย์ ริมฝั่งน้ำกิมิกาลา ประสงค์จะอยู่ที่ป่ามะม่วงนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามไว้ถึง ๒ ครั้ง แล้วปล่อยให้ไปในครั้งที่ ๓ จึงไปที่ป่ามะม่วงนั้น อันแมลงคือมิจฉาวิตก รุมเกาะกิน ไม่ได้จิตสมาธิ ไปยังสำนักของพระศาสดา กราบทูลความนั้นแล้ว.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 333

ลำดับนั้น พระบรมศาสดา ได้ทรงประทานพระโอวาทแก่เธอ โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนเมฆิยะ ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติยังไม่แก่กล้า ดังนี้. ท่านตั้งอยู่ในโอวาทนั้นแล้ว เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ใน อปทานว่า

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี ผู้เลิศในโลก ทรงปลงอายุสังขารนั้น พื้นแผ่นดิน และน้ำก็หวั่นไหว ฟ้าก็คะนอง แม้ภพอันสวยงาม น่าปลื้มใจ สะอาดวิจิตรของเรา ก็หวั่นไหว ในขณะที่พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร เมื่อภพหวั่นไหวแล้ว ความสะดุ้งเกิดขึ้นแก่เราว่า ความหวั่นเกิดขึ้นเพื่ออะไรหนอ แสงสว่างอันไพบูลย์ได้มีแล้ว ท้าวเวสวัณมา ณ ที่นี้ แล้วยังมหาชนให้หาย ความเศร้าโศกว่า ภัยไม่มีในหมู่สัตว์ ท่านทั้งหลายจงมีอารมณ์ตั้งมั่น ทำใจให้สงบเถิด เราประกาศพระพุทธานุภาพว่า โอพระพุทธเจ้า โอพระธรรม โอความถึงพร้อมแห่งสัตถุศาสน์หนอ เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติ แผ่นดินก็หวั่นไหว ดังนี้แล้ว บันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัปในกัปทั้งหลายที่เหลือ เราได้ทำกุศล ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้สัญญาใดในกาลนั้น ด้วยสัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระพุทธเจ้า ในกัปที่ ๑๔ แต่

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 334

ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชผู้ประเสริฐ มีนามว่า สมิตะ มีพลมาก เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้รับโอวาทเฉพาะพระพักตร์ พระบรมศาสดา เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตตผลว่า เราบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้กล่าวคาถาว่า

พระมหาวีรเจ้า ผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ได้สั่งสอนเรา เราฟังธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ในสำนักของพระองค์ เราได้บรรลุวิชชา ๓ คำสอนของ พระพุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุสาสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงโอวาท คือ ได้ประทานอนุสาสนี ด้วยคำมีอาทิว่า ดูก่อนเมฆิยะ ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า ดังนี้.

บทว่า มหาวีโร ได้แก่ผู้มีความกล้าหาญมาก. อธิบายว่า ผู้มีความเพียรใหญ่ ด้วยองค์ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเพียร อันประกอบด้วยองค์ ๔ ซึ่งเป็นเครื่องเสริมสร้างวิริยบารมี และด้วยความถึงพร้อมแห่งสัมมัปปธาน ๔ อย่าง อันไม่ทั่วไปแก่ธรรมประเภทอื่น.

บทว่า สพฺพธมฺมาน ปารคู ความว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า เป็นผู้ถึงซึ่งฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง เพราะทรงถึง คือ บรรลุถึงซึ่งฝั่ง คือ ที่สุดแห่ง ไญยธรรมทั้งปวง ด้วยการถึงแห่งพระญาณ อธิบายว่า เป็นพระสัพพัญญู. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทรงถึงซึ่งฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง เพราะทรงถึง คือ บรรลุถึง พระนิพพาน อันเป็นฝั่งแห่งสังขตธรรมทั้งหลายทั้งปวง.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 335

บทว่า ตสฺสาหํ ธมฺมํ สุตฺวาน ความว่า เราฟังสัจธรรม ๔ นั้น อันพระองค์ทรงยกขึ้นแสดงเอง (ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น) ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้พุทธเจ้าพระองค์นั้น.

บทว่า วิหาสึ สนฺติเก ความว่า เราถูกมิจฉาวิตกรบกวนแล้วใน ป่าอัมพวัน (กลับ) ไปยังจาลิกาวิหาร พักอยู่ในที่ใกล้พระบรมศาสดานั่นแล.

บทว่า สโต แปลว่า มีสติ. อธิบายว่า ไม่ประมาทแล้วด้วยการ เจริญสมถะและวิปัสสนา.

บทว่า อหํ นี้ พึงเปลี่ยนเป็น มยา เพิ่มเข้าในบทว่า วิชฺชา อนุปฺปตฺตา กตํ พุทฺธสฺส สาสนํ วิชชา ๓ อันเราบรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าอันเรากระทำแล้วดังนี้ เหมือนบทว่า มํ ที่ต้องเพิ่มเข้าใน บทว่า อนุสาสิ นี้. พระเถระประกาศการบรรลุวิชชา ๓ ตามที่กล่าวแล้ว ด้วยบทว่า กตํ พุทฺธสฺส สาสนํ โดยแสดงถึงความที่พระศาสดาทรงให้นยโอวาท ด้วยปุริยายอื่น. อธิบายว่า การบำเพ็ญให้บริบูรณ์ในกองศีลเป็นต้น นั่นแล ข้าพเจ้ากระทำแล้วตามคำสอนของพระศาสดา.

จบอรรถกถาเมฆิยเถรคาถา