๗. เอกธัมมสวนียเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระเอกธัมมสวนียเถระ
[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 335
เถรคาถา เอกนิบาต
วรรคที่ ๗
๗. เอกธัมมสวนียเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระเอกธัมมสวนียเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 335
๗. เอกธัมมสวนียเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระเอกธัมมสวนียเถระ
[๒๐๔] ได้ยินว่า พระเอกธัมมสวนียเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
กิเลสทั้งหลาย เราเผาแล้ว ภพทั้งปวงเราถอนขึ้นแล้ว ชาติสงสารของเราสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่ มิได้มีต่อไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 336
อรรถกถาเอกธัมมสวนียเถรคาถา
คาถาของท่านพระเอกธัมมสวนียเถระ เริ่มต้นว่า กิเลสา ฌาปิตา มยฺหํ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?
ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านเกิดเป็นรุกขเทวดา เห็นภิกษุ ๒ - ๓ รูป หลงทางเดินเที่ยวไปในป่าใหญ่ เมื่อจะอนุเคราะห์ จึงลงจากภพของตน ปลอบโยนภิกษุเหล่านั้น ให้ฉัน แล้วพาไปส่งจนถึงที่ตามที่ประสงค์ ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปใน เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่ากัสสปะ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก บำเพ็ญพุทธกิจเสร็จแล้ว ปรินิพพาน ได้ (เกิด) เป็นพระเจ้ากรุงพาราณสี ทรงพระนามว่า กิกี ในกาลนั้น.
เมื่อท้าวเธอสวรรคตแล้ว พระราชโอรสของพระองค์ ทรงพระนามว่า ปุถุวินทราช ได้เสวยราชย์ต่อมา. พระราชโอรสของพระเจ้าปุถุวินทราช ทรงพระนามว่า สุยามะ (เสวยราชย์ต่อมา) พระราชโอรสของพระเจ้าสุยามะ ทรงพระนามว่า พระเจ้ากิกีพรหมทัต เสวยราชย์ เมื่อพระศาสนาอันตรธานแล้ว ไม่ได้ฟังพระธรรมเทศนา จึงรับสั่งให้ประกาศว่า ผู้ใดแสดงธรรมได้ เราจักให้ทรัพย์แสนกหาปณะแก่ผู้นั้น เมื่อหาผู้แสดงธรรมไม่ได้แม้แต่คนเดียว จึงทรงพระดำริว่า ในรัชสมัยแห่งพระเจ้าปู่เป็นต้นของเรา ธรรมยังเป็นไปอยู่ ผู้แสดงธรรมก็หาได้ง่าย แต่ในกาลบัดนี้ ผู้ที่จะกล่าวคาถาแม้เพียง ๔ บาท ก็หาได้ยาก ตราบใดที่ธรรมสัญญายังไม่พินาศ ตราบนั้นเราจักบวช ดังนี้. ท้าวสักกเทวราช เสด็จลงมาแล้วแสดงธรรมโดยคาถาว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ ดังนี้ กะพระเจ้ากิกีพรหมทัต ผู้เดินทางมุ่งหน้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 337
ไปยังหิมวันตประเทศ แล้วให้ท้าวเธอเสด็จกลับ. พระเจ้ากิกีพรหมทัตเสด็จกลับ บำเพ็ญบุญ ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลเศรษฐี ในเสตัพยนครในพุทธุปบาทกาลนี้ เจริญวัยแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในสีสปาวัน ณ เสตัพยนคร เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
พระศาสดาทรงตรวจดูอัธยาศัยของเขาแล้ว ทรงแสดงธรรมด้วยคาถา นี้ว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ ดังนี้ เมื่ออนิจจสัญญาปรากฏชัด ท่านจึงได้ความสลดใจ เพราะท่านมีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในภพนั้นๆ เริ่มพิจารณา การทำทุกขสัญญา และอนัตตสัญญาไว้ในใจ ขวนขวายวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าว ไว้ในอปทานว่า
สาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ เที่ยวไปในป่า เป็นผู้หลงทาง เหมือนคนตาบอดเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ บุตรของพระมุนีเหล่านั้น ระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เป็นนายกของโลก หลงทางอยู่ในป่าใหญ่ ข้าพระองค์ (เป็นเทพบุตร) ลงจากภพมาในสำนักของภิกษุ บอกทางให้แก่พระสาวกเหล่านั้น และได้ถวายโภชนาหาร ข้าแต่พระองค์ผู้จอมประชา เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ได้บรรลุ พระอรหัตแต่อายุ ๗ ขวบเท่านั้น โดยกำเนิด ในกัปที่ ๕๐๐ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๒ พระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 338
มีพระนามว่า สจักขุ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ ข้าพระองค์เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของ พระพุทธเจ้า ข้าพระองค์กระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
เพราะเหตุที่ท่าน สำเร็จกิจ (บรรลุพระอรหัต) ด้วยการฟังธรรม ครั้งเดียวเท่านั้น จึงได้นามว่า เอกธัมมสวนียเถระ ดังนี้แล. ท่านได้ เป็นพระอรหันต์แล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตตผล ได้กล่าวคาถาว่า
กิเลสทั้งหลายเราเผาแล้ว ภพทั้งปวง เราถอนขึ้นแล้ว ชาติสงสารของเราสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มีต่อไป ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิเลสา ความว่า อกุศลธรรม ชื่อว่า กิเลส เพราะเหตุว่า บังเกิดแล้วในสันดานใด ย่อมยังสันดานนั้นให้เศร้าหมอง หรือเบียดเบียน เข้าไปทำให้เดือดร้อน ได้แก่ กิเลสมีราคะเป็นต้น.
บทว่า ณาปิตา ความว่า กิเลสทั้งหลาย อันเราเผาแล้วพร้อมทั้งราก ด้วยไฟคืออริยมรรคญาณ ดุจกอไม้เป็นต้น ถูกเผาด้วยสายอสุนิบาต.
บทว่า มยฺหํ แปลว่าอันเรา หรือในสันดานของเรา.
บทว่า ภวา สพฺเพ สมูหตา ความว่า ภพทั้งปวงมีกามภพและกรรมภพเป็นต้น ชื่อว่าอันเราถอนขึ้นแล้ว เพราะกิเลสทั้งหลายอันเราเผาแล้ว เพราะเหตุที่ถอนกรรมภพได้แล้วนั่นแล แม้อุปปัตติภพก็ชื่อว่าเป็นอันถอนขึ้นแล้วด้วย เพราะให้ถึงความไม่ต้องเกิดขึ้นอีกเป็นธรรมดา.
บทว่า วิกฺขีโณ ชาติสํสาโร ความว่า สงสารมีชาติเป็นต้น มีลักษณะอันท่านกล่าวแล้วว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 339
ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุ และอายตนะทั้งหลาย ที่ยังตัดไม่ขาด หมุนเวียนไปอยู่ ท่านเรียกว่า สงสาร ดังนี้
สิ้นไปแล้ว โดยไม่เหลือ เพราะฉะนั้น ภพใหม่จึงไม่มีในบัดนี้. พึงย้อนกล่าวอีกว่า เพราะเหตุที่ภพใหม่ไม่มีต่อไป ฉะนั้น สงสาร คือ ชาติจึงสิ้นไป และ ภพใหม่ไม่มี เพราะภพทั้งปวงถูกถอนขึ้นแล้ว ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ประกอบความว่า สงสารคือชาติสิ้นไปแล้ว เพราะเหตุนั่นแล ภพใหม่จึงไม่มีในบัดนี้.
จบอรรถกถาเอกธัมมสวนียเถรคาถา