พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ฉันนเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระฉันนเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 พ.ย. 2564
หมายเลข  40470
อ่าน  378

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 345

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๗

๙. ฉันนเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระฉันนเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 345

๙. ฉันนเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระฉันนเถระ

[๒๐๖] ได้ยินว่า พระฉันนเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เราฟังธรรมมีรสอันประเสริฐของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นมหาสมณะ ได้ดำเนินไปสู่ทางอันพระพุทธเจ้าผู้มีญาณอันประเสริฐ กล่าวคือ ความเป็นผู้รู้ธรรมทั้งปวงทรงแสดงไว้แล้วเพื่อบรรลุอมตธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเป็นผู้ฉลาดในทางอันเกษมจากโยคะ.

อรรถกถาฉันนเถรคาถา

คาถาของท่านพระฉันนเถระ เริ่มต้นว่า สุตฺวาน ธมฺมํ มหโต มหารสํ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?

แม้พระเถระนี้ ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้นๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว ในวันหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าสิทธัตถะ เข้าไปสู่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง มีจิตเลื่อมใส ได้ปูอาสนะที่ลาดด้วยใบไม้ มีสัมผัสอันอ่อนนุ่มถวาย และโรยด้วยดอกไม้รอบๆ ทำการบูชา ด้วยบุญกรรมนั้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 346

เขาบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแม้อื่นอีกเป็นอันมาก ท่องเที่ยวอยู่ในสุคติภพนั่นแหละ เกิดในท้องของนางทาสี ในพระราชวังของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ได้มีนามว่า ฉันนะ เป็นสหชาตกับพระโพธิสัตว์.

นายฉันนะได้มีศรัทธาจิต ในสมาคมแห่งพระญาติของพระบรมศาสดา บวชแล้วด้วยความจงรักในพระผู้มีพระภาคเจ้า เกิดการถือตัว (มมังการ) ขึ้นว่า พระพุทธเจ้าของเรา พระธรรมของเรา ไม่สามารถจะตัดสิเนหาได้ ไม่บำเพ็ญสมณธรรม เมื่อพระศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว ถูกคุกคามด้วยพรหมทัณฑ์ อันพระศาสดาทรงกระทำ โดยวิธีนัดหมาย ถึงความสลดใจ ตัดสิเนหาออกได้ พิจารณาเห็นแจ้ง บรรลุพระอรหัตโดยกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

เราได้ถวายอาสนะที่ลาดด้วยใบไม้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่าสิทธัตถะ และได้เอาดอกโกสุมที่นำมา โปรยลงโดยรอบ เราได้เสวยห้องอันน่ารื่นรมย์ มีค่ามาในปราสาท ดอกไม้มีค่ามากตกลงบนที่นอนของเรา เรานอนบนที่นอนอันงดงาม ลาดด้วยดอกไม้ และฝนดอกไม้ ตกลงบนที่นอนของเราในกาลนั้น ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราถวายอาสนะที่ลาดด้วยใบไม้ใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งถวายเครื่องลาด เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ พระองค์ พระนามว่า ติณสันถรกะ เป็นจอมคนอุบัติแล้ว ในกัปที่ ๕ แต่ภัทรกัปนี้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 347

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เป็นผู้เอิบอิ่มไปด้วยวิมุตติสุข เมื่อจะเปล่งอุทาน อันเปล่งออกด้วยกำลังแห่งปีติ ได้กล่าวคาถาว่า

เราฟังธรรมมีรสอันประเสริฐ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นมหาสมณะ ได้ดำเนินไปสู่ทางอันพระพุทธเจ้าผู้มีพระญาณอันประเสริฐ ด้วยพระสัพพัญญุตญาณทรงแสดงไว้แล้ว เพื่อบรรลุอมตธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้ฉลาดใน ทางอันเกษมจากโยคะ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุตฺวาน แปลว่า ฟังแล้ว ได้แก่ เงี่ยโสตลงสดับ ตามคลื่นเสียงเข้าไปทรงไว้โดยสมควรแก่โสตทวาร.

บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ อริยสัจจธรรมทั้ง ๔. บทว่า มหโต ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้า แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ชาวโลกขนานพระนามว่า มหา ผู้ยิ่งใหญ่ เพราะประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น อันยิ่งใหญ่คือโอฬารที่สุด และ เพราะเป็นผู้อันชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลกควรบูชา เป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เกิดสมัญญาพระนามว่า พระมหาสมณะ. ก็บทว่า มหโต ธมฺมํ สุตฺวาน นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ.

บทว่า มหารสํ ความว่า ชื่อว่ามีรสโอฬาร เพราะเป็นธรรมที่ให้ วิมุตติรส.

บทว่า สพฺพญฺญุตาณวเรน เทสิตํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สัพพัญญู เพราะทรงรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง ความมีแห่งพระ สัพพัญญูนั้น ชื่อว่า สัพพัญญุตา พระญาณนั่นแหละประเสริฐ หรือประเสริฐในพระญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ญาณวร พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 348

พระนามว่า สัพพัญญุตญาณวระ เพราะพระองค์ทรงมีพระญาณอันประเสริฐ ประกอบความว่า ฟังธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระญาณอันเลิศ กล่าว คือ พระสัพพัญญุตญาณนั้นทรงแสดงแล้ว คือ ตรัสแล้ว หรือทรงแสดง เพราะมีเหตุ. ก็คำใดที่ควรกล่าวในอธิการนี้ คำนั้นพึงทราบ โดยนัยดังกล่าว แล้ว ในอรรถกถาอิติวุตตกะ ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี.

บทว่า มคฺคํ ได้แก่ อริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘.

บทว่า ปปชฺชึ แปลว่า ดำเนินไปแล้ว.

บทว่า อมตสฺส ปตฺติยา ประกอบความว่า ดำเนินไปสู่ทางอันเป็น อุบาย แห่งการบรรลุพระนิพพาน.

บทว่า โส แก้เป็น โส ภควา แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.

บทว่า โยคกฺเขมสฺส ปถสฺส โกวิโท ความว่า เป็นผู้ฉลาด ในทางแห่งพระนิพพาน อันโยคะทั้ง ๔ ไม่ประทุษร้ายแล้วนั้น คือเป็นผู้ฉลาดด้วยดี ในทางแห่งพระนิพพานนั้น. ก็ในบาทคาถาว่า โยคกฺเขมสฺส ปถสฺส โกวิโท นี้ มีอธิบายว่า เราฟังการแสดงอริยสัจ ๔ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วดำเนินไปสู่ทางอันเป็นอุบายเครื่องบรรลุอมตธรรม คือ เราทำแนวทางแห่งข้อปฏิบัติ ได้แก่ แม้เราเองก็อาศัยวิธีการของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแหละ ผู้ฉลาดในทางอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ โดยประการทั้งปวง คือ ฉลาดในสันดานของผู้อื่น หรือฉลาดในการฝึกใจผู้อื่น ดำเนินไปตรงทาง. ก็คาถานี้แหละ ได้เป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตตผลของพระเถระ.

จบอรรถกถาฉันนเถรคาถา