นิมิต,อนุพยัญชนะ,วาจาคำเดียวที่อาศัยประโยชน์

 
WS202398
วันที่  20 มิ.ย. 2550
หมายเลข  4048
อ่าน  2,868

เมื่อนามธรรมรูปธรรมปรากฎแล้ว ไม่ยึดมั่นถือมั่น ด้วยนิมิต ด้วยอนุพยัญชนะ

นิมิตและอนุพยัญชนะ คืออะไรหนอ?

พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าถือประมาณแห่งธรรมที่เราแสดงแล้วว่า 'น้อยหรือมาก' เพราะว่า แม้วาจาคำเดียวที่อาศัยประโยชน์ ประเสริฐโดยแท้"

วาจาคำเดียว ที่อาศัยประโยชน์ หมายถึง เล็งเห็นถึงประโยชน์ แล้วจึงกล่าววาจาหรือหนอ?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 20 มิ.ย. 2550

คำว่า นิมิตอนุพยัญชนะ ในบทว่า ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะความว่า ถือนิมิตคือ ถือโดยความเป็นหญิง เป็นชายหรืองาม คำว่า อนุพยัญชนะ หมายถึงส่วนละเอียด เช่น ตา แขน ขา

ขอเชิญคลิหอ่านได้ที่ ...

นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส

ส่วนที่ว่า แม้วาจาคำเดียวที่อาศัยประโยชน์ ประเสริฐโดยแท้"

หมายถึง วาจาที่ประกอบด้วยประโยชน์ วาจาที่มีประโยชน์ วาจาที่ทำให้เข้าถึงประโยชน์สูงสุด

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 20 มิ.ย. 2550

วาจาแม้ตั้งร้อยตั้งพ้นคำ ฟังแล้วไม่ถึงความสงบแห่งจิต สู้วาจาคำเดียว หรือบทเดียว ที่ฟังแล้วให้จิตสงบจากอกุศลไม่ได้ นิมิต หมายถึง เครื่องหมาย รูปร่าง สันฐาน (ไม่ติดในรูปร่างสวยงาม ฯลฯ )

อนุพยัญชนะ หมายถึง ส่วนละเอียด เช่น ตางาม คิ้วงาม ผมงาม จมูกงาม ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 21 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เมื่อนามธรรมรูปธรรมปรากฎแล้ว ไม่ยึดมั่นถือมั่น ด้วยนิมิต ด้วยอนุพยัญชนะ

นิมิตและอนุพยัญชนะ คืออะไรหนอ?

นิมิตคือการที่เห็นเป็น สัตว์ บุคคล เป็นคนนั้น คนนี้เป็น ชาย หญิง เป็นส่วนหยาบ อนุพยัญชนะ เป็นส่วนละเอียดจากส่วนหยาบอีกที เช่น คิ้ว ปาก เป็นต้นจริงๆ แล้ว นิมิต อนุพยัญชนะ ก็คือ บัญญัติธรรม คือเรื่องราวนั่นเอง ไม่ใช่ปรมัตถธรรม (จิต เจตสิก รูป) เช่น ขณะที่เห็น ก็ต้องเห็นเพียงสิ่งที่ปรากฎทางตา (สี) เท่านั้น แต่เมื่อคิดนึกต่อก็เห็นเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นนิมิต อนุพยัญชนะ ถามว่า คนที่มีปัญญา (พระอริย) กับปุถุชนเห็นเป็นคนสัตว์เหมือนกันไหม ก็เหมือนกันแต่ต่างกันที่ปัญญาคือ มีคำว่า ยึดถือโดยนิมิต อนุพยัญชนะคือ ยึดถือว่าเป็น คน สัตว์จริงๆ หรือยึดถือในสิ่งนั้นด้วยอำนาจกิเลส แต่พระอริยเจ้าย่อมไม่ยึดถือโดยนิมิต อนุพยัญชนะ ขณะที่เห็น ได้ยิน ไม่ยึดถือว่าเป็น คน สัตว์จริงๆ หรือไม่ยึดถือด้วยอำนาจกิเลส จึงชื่อว่า ไม่ยึดถือโดยนิมิต อนุพยัญชนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 21 มิ.ย. 2550

พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าถือประมาณแห่งธรรมที่เราแสดงแล้วว่า 'น้อยหรือมาก' เพราะว่า แม้วาจาคำเดียวที่อาศัยประโยชน์ ประเสริฐโดยแท้"

ในเรื่องนี้พระสารีบุตรแสดงธรรมกับบุคคลหนึ่งที่ฆ่าคนมาตลอด แต่เมื่อแสดงธรรมเสร็จแล้วก็บรรลุเมื่อเขาตายก็ไปเกิดในสวรรค์ พวกภิกษุก็เลยสงสัยว่า ฆ่าคนตั้งเยอะทำไมได้ไปสวรรค์ และบรรลุเพียงแค่ฟังธรรมจากพระสารีบุตรพระพุทธเจ้าจึงตรัสคาถานี้ เพื่อให้เห็นว่า ธรรมที่พระองค์แสดงเป็นธรรมที่ทำให้สัตว์ระงับกิเลส สงบจากกิเลสได้ แม้ถ้อยคำนั้นจะไม่มาก เช่น สติปัฏฐาน ๔ ถ้าคนที่อบรมมานาน (อบรมความเข้าใจมานาน) ก็ย่อมเข้าใจและบรรลุได้ แม้เพียงคำสั้นๆ ครับ อันให้เกิดประโยชน์คือ สงบจากกิเลสนั่นเอง

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 24 ม.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ