พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. อัชชุนเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระอัชชุนเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 พ.ย. 2564
หมายเลข  40489
อ่าน  397

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 418

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๙

๘. อัชชุนเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอัชชุนเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 418

๘. อัชชุนเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอัชชุนเถระ

[๒๒๕] ได้ยินว่า พระอัชชุนเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เราอาจยกตนจากน้ำ คือ กิเลส ขึ้นบนบก คือ พระนิพพพานได้ เหมือนคนที่ถูกห้วงน้ำใหญ่พัดไปแล้ว ยกตนขึ้นจากน้ำ ฉะนั้น เราแทงตลอดสัจจะ ทั้งหลายแล้ว.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 419

อรรถกถาอัชชุนเถรคาถา

คาถาของท่านพระอัชชุนเถระ เริ่มต้นว่า อสกฺขึ วต อตฺตานํ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ ก่อนๆ สั่งสมกุศล อันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ บังเกิด ในกำเนิดราชสีห์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี วันหนึ่ง เห็นพระศาสดาประทับนั่ง ณ โคนไม้ต้นหนึ่งในป่า คิดว่า พระศาสดาพระองค์นี้แล เป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง เป็นบุรุษผู้สีหะในกาลนี้ ดังนี้แล้ว เป็นผู้มีใจเลื่อมใส หักกิ่งรังที่มีดอกบานสะพรั่ง แล้วบูชาพระศาสดา.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลเศรษฐี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า อัชชุนะ. เขาถึงความ เป็นผู้รู้แล้ว เป็นผู้มีความสนิทสนมกับพวกนิครนถ์ บวชใน (ลัทธิ) นิครนถ์ แต่ในเวลาที่ยังเล็กอยู่นั่นแล ด้วยคิดว่า เราจักบรรลุอมตธรรมด้วยอุบายอย่างนี้ เมื่อไม่ได้สาระในลัทธินั้น เห็นยมกปาฏิหาริย์ ได้มีศรัทธาจิตแล้ว บวชในพระศาสนา ปรารภวิปัสสนา ได้เป็นพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดัง คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

เวลานั้นเราเป็นราชสีห์ พระยาเนื้อมีสกุล เราแสวงหาห้วงน้ำแห่งภูเขา ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายกของโลก จึงดำริว่า พระมหาวีรเจ้าพระองค์นี้ ย่อมยังมหาชนให้ดับเข็ญ อยู่เย็นเป็นสุขได้ ถ้าเช่นนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ ผู้ประเสริฐกว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 420

เทวดา ผู้องอาจกว่านระเถิด เราจึงหักกิ่งรัง แล้วนำเอาดอกมาพร้อมด้วยกระออมน้ำ เข้าไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ถวายดอกรังอันงามในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานี้ เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง การถวายดอกไม้ และในกัปที่ ๙ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ พระองค์ มีนามว่า วิโรจนะ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อเปล่งอุทานด้วยกำลังแห่งปีติ อันเกิดจากการบรรลุความสุขอันยอดเยี่ยม ได้กล่าวคาถาว่า

เราอาจยกตนจากน้ำ คือ กิเลส ขึ้นบนบก คือ พระนิพพานได้ เหมือนคนที่ถูกห้วงน้ำใหญ่พัดไปแล้ว ยกตนขึ้นจากน้ำ ฉะนี้ เราแทงตลอดสัจจะทั้งหลาย แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสกฺขึ แปลว่า เราสามารถ. ศัพท์ว่า วต เป็นนิบาต ใช้ในการแสดงความอัศจรรย์. เพราะว่า การแทงตลอดอริยสัจนี้ พึงเป็นสิ่งน่ามหัศจรรย์. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน? อย่างไหนจะทำได้ ยากกว่ากัน หรือจะทำให้เกิดขึ้นได้ยากกว่ากัน คือ การแทงปลายขนทราย ด้วยปลายขนทราย ที่แบ่งออกแล้วเป็น ๗ ส่วน ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 421

บทว่า อตฺตานํ ท่านกล่าวหมายถึงจิตที่เป็นไปในภายในอันแน่นอน เพราะไม่มีสภาพอื่น ที่จะเป็นอัตตา. บทว่า อุทฺธาตุํ แปลว่า เพื่อยกขึ้น. บางแห่ง ปาฐะ เป็น อุทฺธฏํ. บทว่า อุทกา ได้แก่ จากน้ำ กล่าวคือ ห้วงแห่งสงสาร. บทว่า ถลํ ความว่า สู่บกคือพระนิพพาน.

บทว่า วุยฺหมาโน มโหโฆว ความว่า เหมือนคนที่ลอยไปใน ห้วงน้ำใหญ่. ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ เปรียบเหมือนบุรุษที่ถูกกระแสน้ำพัด ลอยไปโดยเร็ว ในห้วงน้ำใหญ่ ทั้งลึก ทั้งกว้าง ไม่มีเกาะแก่งอันเป็นแหล่งพักพิง ได้เรือที่มั่นคง แข็งแรง สมบูรณ์ด้วยพายและถ่อ ที่ผู้หวังจะช่วยเหลือบางคนนำไปให้ พึงสามารถเพื่อยกตนขึ้นจากน้ำนั้น คือถึงฝั่งโดยง่ายทีเดียวฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ลอยไปด้วยกำลังแห่งอภิสังขาร คือ กิเลส ในห้วงน้ำใหญ่คือสงสาร ได้เรือคืออริยมรรค อันเข้าถึงสมถะ และ วิปัสสนา อันพระบรมศาสดาทรงนำไปมอบให้ สามารถเพื่อจะยกตนขึ้นจาก น้ำคือกิเลสนั้น คือเพื่อบรรลุถึงฝั่ง คือพระนิพพาน เป็นสิ่งน่าอัศจรรย์. พระเถระกล่าวว่า เราแทงตลอดสัจจะทั้งหลาย ดังนี้ เพื่อแสดงถึงความสามารถตามที่ตนได้แสดงแล้ว. ประกอบความว่า เพราะเหตุที่เราแทงตลอด อริยสัจ ๔ มีทุกขสัจเป็นต้น ด้วยการแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ การละ การทำให้แจ้ง และการเจริญ คือได้รู้แล้วด้วยอริยมรรคญาณ ฉะนั้น เราจึง อาจเพื่อยกตนขึ้นจากน้ำ คือ กิเลส สู่บก คือ พระนิพพาน.

จบอรรถกถาอัชชุนเถรคาถา