พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. เมตตชิเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระเมตตชิเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 พ.ย. 2564
หมายเลข  40495
อ่าน  373

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 439

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๑๐

๔. เมตตชิเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระเมตตชิเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 439

๔. เมตตชิเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระเมตตชิเถระ

[๒๓๑] ได้ยินว่า พระเมตตชิเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นศากยบุตร ผู้มีพระสิริพระองค์นั้น พระองค์ผู้ถึงแล้วซึ่งธรรมอันสูงสุด ได้ทรงแสดงอัครธรรมนี้ ด้วยดี.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 440

อรรถกถาเมตตชิเถรคาถา

คาถาของท่านพระเมตตชิเถระ เริ่มต้นว่า นโม หิ ตสฺส ภควโต. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?

ได้ยินว่า ท่านเกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี เป็นผู้มีความเลื่อมใสยิ่งในพระศาสดา ก่อแท่นบูชาของโพธิพฤกษ์ ด้วยอิฐทั้งหลาย แล้วให้ทาด้วยปูนขาว. พระ ศาสดาได้ทรงกระทำอนุโมทนาแก่เขาแล้ว.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้วท่องเที่ยว ไปๆ มาๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์คน หนึ่ง ในแคว้นมคธ ในพุทธุปบาทกาลนี้ได้มีนามว่า เมตตชิ.

เมตตชิพราหมณ์เจริญวัยแล้ว เห็นโทษในกามทั้งหลาย บวชเป็นดาบสอยู่ในป่า สดับข่าวการบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าแล้ว อันบุพเหตุตักเตือนอยู่ ไปสู่สำนักของพระศาสดา ทูลถามปัญหาปรารภความเป็นไป และ การกลับมา เมื่อพระศาสดาทรงวิสัชนาปัญหาแล้ว ได้มีศรัทธาจิต บวชแล้วเริ่มตั้งวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าว ไว้ในอปทานว่า

เราได้ทำไพที (แท่นบูชา) ที่โพธิพฤกษ์แห่งพระมหามุนี พระนามว่า อโนมทัสสี เราใส่ก้อนปูน ขาวแล้ว ได้กระทำกิจด้วยมือของตนเอง พระศาสดาทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ผู้อุดมกว่านระ ทอดพระเนตรเห็นกุศลกรรมที่เราทำแล้วนั้น ประทับอยู่ใน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 441

ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า ด้วยสุธากรรมนี้ และด้วยการตั้งเจตนาไว้ ผู้นี้เสวยสมบัติแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เราได้เป็นผู้มีสีหน้า ผ่องใส มีอารมณ์เดียว มีจิตมั่นคง ทรงกายที่สุดไว้ ในพระศาสนาแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในกัปที่ ๑๐๐ แต่ภัทรกัปนี้ เต็มบริบูรณ์ไม่บกพร่อง เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช นามว่า สัพพฆนะ มีพล มาก. เราฆ่ากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะชื่นชมพระบรมศาสดา ได้กล่าวคาถาว่า

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคศากยบุตร ผู้มีพระสิริพระองค์นั้น พระองค์ผู้ถึงแล้วซึ่งธรรมอันสูงสุด ได้ทรงแสดงอัครธรรมนี้ไว้ด้วยดี ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นโม ได้แก่ ทำการนอบน้อม. บทว่า หิ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ตสฺส ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ นั้นใด ทรงบำเพ็ญบารมีมาครบ ๓๐ ทัศ. ทรงหักกิเลสทั้งปวง แล้วตรัสรู้ พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ชื่อว่าเป็นศากยบุตร เพราะเป็นบุตรของพระ เจ้าศากยะ ทรงเจริญแล้วด้วยบุญสมบัติ อันไม่สาธารณ์ทั่วไปแก่สัตว์อื่น และชื่อว่า ผู้มีพระสิริ เพราะประกอบไปด้วยสิริ คือรูปกาย และสิริคือธรรมกายอันสูงสุด ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีศากยบุตร ผู้มีพระสิริพระองค์นั้น ความว่า ข้าพเจ้าขอน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 442

บทว่า เตน แก้เป็น เตน ภควตา แปลว่า อันพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น. พระเถระกล่าวว่า อยํ เพราะความที่ธรรมนั้นประจักษ์แก่ตน. บทว่า อคฺคปฺปตฺเตน ได้แก่ เลิศ คือ ทรงรู้สรรพธรรม อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ผู้ถึงซึ่งความเป็นผู้เลิศ คือความเป็นผู้ประเสริฐ ด้วยพระคุณทั้งหลาย ทั้งปวง. บทว่า อคฺคธมฺโม ได้แก่ นวโลกุตรธรรม ๙ อันเลิศ คือ สูงสุด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว คือทรงประกาศแล้วด้วยดี คือ ไม่ผิดพลาด ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาเมตตชิเถรคาถา