พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. จักขุปาลเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระจักขุปาลเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 พ.ย. 2564
หมายเลข  40496
อ่าน  398

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 442

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๑๐

๕. จักขุปาลเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระจักขุปาลเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 442

๕. จักขุปาลเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระจักขุปาลเถระ

[๒๓๒] ได้ยินว่า พระจักขุปาลเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เราเป็นคนบอด มีนัยน์ตาอันโรคกำจัดแล้ว เดินทางไกลอยู่ เราย่อมนอน อยู่ ณ ที่นี้ จักไม่ไปกับเพื่อนผู้ลามก.

อรรถกถาจักขุปาลเถรคาถา

คาถาของท่านพระจักขุปาลเถระ เริ่มต้นว่า อนฺโธหํ หตเนตฺโตมฺหิ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?

แม้พระเถระนั้น ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ กระทำบุญไว้ในภพนั้นๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาล ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 443

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว เมื่อมหาชนกำลังทำการฉลองพระสถูปอยู่ ถือเอาดอกไม้ไปบูชาพระสถูปแล้ว.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้ว ท่องเที่ยว ไปๆ มาๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของกุฏุมพี ชื่อว่า มหาสุวัณณะ ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า ปาละ.

ในเวลาที่เขาเที่ยววิ่งเล่นไปมาได้ มารดาก็คลอดบุตรอีกคนหนึ่ง. มารดาบิดา ตั้งชื่อบุตรคนใหม่ว่า จุลปาละ เรียกบุตรคนก่อนว่า มหาปาละ. ครั้นบุตรทั้งสองเจริญวัยแล้ว มารดาบิดา ก็ผูกพันไว้ด้วยเครื่องผูก คือ เรือน. ในสมัยนั้น พระศาสดาประทับอยู่ในพระวิหาร ชื่อว่า เชตวัน ณ กรุงสาวัตถี. ในพี่น้องสองคนนั้น มหาปาลกุฏุมพีผู้พี่ ไปสู่วิหารพร้อมกับอุบาสกทั้งหลาย ผู้ไปสู่พระเชตวันมหาวิหาร ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้มีศรัทธาจิตแล้ว มอบทรัพย์สมบัติให้เป็นภาระของน้องชายคนเล็กแต่ผู้เดียว ตนเองบรรพชาได้อุปสมบทแล้ว อยู่ในสำนักของอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ตลอด ๕ พรรษา ครั้นออกพรรษาปวารณาแล้ว เรียนกรรมฐานในสำนักของพระศาสดา ได้ภิกษุผู้เป็นสหายประมาณ ๖๐ รูป แสวงหาที่อยู่อันเหมาะแก่การเจริญภาวนา พร้อมกับภิกษุเหล่านั้น อาศัยปัจจันตคาม (บ้านชายแดน) แห่งหนึ่ง อยู่ในบรรณศาลา ราวป่า ที่เหล่าอุบาสกผู้มีปกติอยู่ในบ้านสร้างถวาย บำเพ็ญสมณธรรม.

โรคตาเกิดแก่ท่านแล้ว หมอก็จัดยาถวาย ท่านไม่ปฏิบัติตามวิธีที่หมอสั่ง ด้วยเหตุนั้น โรคของท่านจึงกำเริบ ท่านคิดว่า สำหรับเราการเข้าไประงับโรค คือ กิเลสเท่านั้น ประเสริฐกว่าการบำบัดโรคตา ดังนี้แล้ว ไม่สนใจ (การเยียวยารักษา) โรคตา ได้เป็นผู้หมั่นประกอบขวนขวายเฉพาะ ในวิปัสสนาอย่างเดียวเท่านั้น. เมื่อท่านขวนขวายการเจริญภาวนาอยู่ ตาทั้งสองก็แตก และกิเลสทั้งหลายก็ดับ ไม่ก่อนไม่หลังกัน (พร้อมกัน) ท่านได้สำเร็จ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 444

เป็นพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสกแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้เป็นโลกนาถ สมควรรับเครื่องบูชา นิพพานแล้ว ได้มีการฉลองพระสถูปอย่างมโหฬาร เมื่อการฉลองพระสถูปแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ กำลังดำเนินไปอยู่ เรานำเอาดอกผักตบไปบูชาที่พระสถูป ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราบูชาพระสถูปด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระสถูปด้วยดอกไม้ และในกัปที่ ๙ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘๕ พระองค์ ทรงพระนามเหมือนกันว่า โสมเทวะ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของฃ พระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ครั้งนั้น เมื่อพระเถระเข้าอยู่ในวิหารด้วยโรคตา พวกอุบาสกอุบาสิกา เห็นภิกษุทั้งหลายเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาตจึงถามว่า เพราะเหตุไร พระเถระจึงไม่มา ทราบความนั้นแล้ว เป็นผู้อันความเศร้าโศกครอบงำ นำบิณฑบาตไปถวาย พูด (ปลอบใจ) ว่าท่านขอรับ ขอท่านอย่าได้คิดอะไรเลย บัดนี้ พวกกระผมนำบิณฑบาตมาถวายแล้ว จักปรนนิบัติท่านเอง ดังนี้แล้ว ก็กระทำตามนั้น ภิกษุทั้งหลาย (๖๐ รูป) ตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระแล้ว บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก ครั้นออกพรรษาปวารณาแล้ว กล่าวกะพระเถระ ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกกระผมจะไปพระนครสาวัตถี เพื่อถวายบังคมพระศาสดา. พระเถระกล่าวว่า เราเป็นคนทุพพลภาพ ไม่มีจักษุทั้งหนทางก็มีอันตราย

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 445

เมื่อท่านทั้งหลายไปพร้อมกับเราจักมีอันตราย ท่านทั้งหลายจงล่วงหน้าไปเถิด ครั้นถึงแล้วจงถวายบังคมพระศาสดา และไหว้พระมหาเถระทั้งหลายแทนเราด้วย จงบอกเรื่องราวของเราแก่จูลปาลกุฏุมพี (ผู้เป็นน้องชาย) ให้ส่งคนมาให้. ภิกษุเหล่านั้นวิงวอนซ้ำอีก ไม่ได้โอกาสที่จะนำพระเถระไปด้วย (พระเถระไม่ยอมไป) จึงรับคำพระเถระว่า ดีละขอรับ ต่างเก็บงำเสนาสนะแล้ว บอกลาอุบาสก ไปสู่เชตวันมหาวิหารโดยลำดับ ถวายบังคมพระศาสดา และไหว้พระมหาเถระทั้งหลายแทนพระเถระ (ตามคำสั่ง) ในวันที่สองจึงเที่ยว บิณฑบาตในพระนครสาวัตถี บอกข่าวนั้นแก่จูฬปาลกุฏุมพี เมื่อเขาพูดว่า ท่านขอรับ หลานชายของผมคนนี้ ชื่อว่า ปาลิตะ ผมจักส่งหลานชายไป จึงพูดว่า หนทางมีอันตราย ลำพังคฤหัสถ์คนเดียวไม่สามารถจะไปได้ เพราะฉะนั้น ควรให้เขาบรรพชาเสียก่อน แล้วยังนายปาลิตให้บรรพชา ส่งไปแล้ว.

ปาลิตสามเณรเดินทางไปยังสำนักของพระเถระโดยลำดับ แนะนำตนแก่พระเถระ แล้วพาพระเถระเดินทางมา ในระหว่างทางได้ฟังเสียงเพลงที่หญิงเก็บฟืนคนหนึ่งขับอยู่ที่ราวป่าใกล้บ้านหลังหนึ่ง เป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์ (ในนาง) จึงปล่อยปลายไม้เท้า กล่าวว่า ท่านขอรับ ขอท่านจงยืนรอสักครู่ จนกว่าผมจะมา แล้วตรงไปยังสำนักของนาง แล้วถึงศีลวิบัติในที่นั้น. พระเถระก็คิดว่า เราได้ยินเสียงหญิงขับเพลงในบัดนี้นี่เอง และสามเณรก็ช้าอยู่ ชะรอยสามเณรจักถึงศีลวิบัติเป็นแน่.

ฝ่ายสามเณรมาแล้ว กล่าวว่า ท่านขอรับเราไปกันเถิด. พระเถระถามว่า เธอเกิดเป็นคนลามกเสียแล้วหรือ? สามเณรก็นิ่งเสีย แม้พระเถระ จะถามบ่อยๆ ก็ไม่ตอบ. พระเถระจึงกล่าวว่า คนลามกอย่างเธอไม่มีหน้าที่ถือไม้เท้าของเรา เธอจงไปเสียเถิด ดังนี้ เมื่อสามเณรกล่าวว่า หนทางมีอันตรายมาก ทั้งท่านก็ตาบอด ท่านจักเดินไปอย่างไรได้ เมื่อจะแสดงความนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 446

ดูก่อนคนพาล แม้เมื่อเรานอนตายอยู่ในที่นี้ก็ดี นอนดิ้นไปมาอยู่ก็ดี ขึ้นชื่อว่า การเดินทางไปกับคนเช่นเธอไม่มี ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถาว่า

เราเป็นคนบอด มีนัยน์ตาอันโรคกำจัดแล้ว เดินทางไกลอยู่ เรายอมนอนอยู่ ณ ที่นี้ จักไม่ไปกับเพื่อนผู้ลามก ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺโธ ได้แก่ เป็นผู้มีตาพิการ. บทว่า หตเนตฺโต ได้แก่ เป็นผู้มีจักษุพินาศแล้ว. ด้วยบทว่า หตเนตฺโต นั้น ย่อมส่งความให้พิเศษออกไปถึงความเป็นคนบอดตามที่กล่าวแล้วว่า เราเป็น คนบอด เพราะความเป็นผู้มีตาอันลมกำจัดแล้ว ด้วยสามารถแห่งประโยควิบัติ. อีกอย่างหนึ่ง เพื่อจะแสดงว่า บทว่า อนฺโธ นี้ เป็นการแสดงความพิกล พิการของตาเนื้อ ดุจในประโยคมีอาทิว่า เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้ชรา ตาบอด ดังนี้ ไม่ใช่แสดงถึงความวิกลพิการของปัญญาจักษุ ดังในประโยคมีอาทิว่าปริพาชก ทั้งหลายเหล่านี้ แม้ทั้งปวง เป็นคนบอด เป็นผู้ไม่มีดวงตา (เห็นธรรม) และดุจในประโยคมีอาทิว่า เป็นคนบอด มีตาข้างเดียว มีตาสองข้าง ดังนี้ พระเถระจึงกล่าวบทว่า หตเนตฺโตสฺมิ ไว้ด้วย พระเถระแสดงถึงความเป็น คนบอดอย่างสูงยิ่ง (บอดสนิท) ด้วยบทว่า หตเนตฺโตสฺมิ นั้น.

บทว่า กนฺตารทฺธานปกฺขนฺโท ความว่า เข้าไปตามทางไกลในป่าใหญ่อันกันดาร อธิบายว่า ไม่ใช่ดำเนินไปสู่ทางไกลคือสงสาร อันรกชัฏไปด้วยกันดารมีชาติกันดารเป็นต้น เพราะว่า พระเถระนี้ ก้าวล่วงทางไกลอันกันดารเช่นนั้นได้แล้ว ดำรงอยู่. บทว่า สยมาโนปิ ความว่า แม้นอนอยู่ คือว่าเมื่อเท้าทั้งสองข้างไม่นำมา ถึงจะนอนเกลือกกลิ้งไปมาอยู่ที่พื้นดินด้วยอก และสู่ด้วยเข่าทั้งสอง ก็จะไปเอง.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 447

บทว่า น สหาเยน ปาปเกน ประกอบความว่า จักไม่ไปกับ คนลามก ผู้เป็นสหายเช่นท่าน.

ปาลิตสามเณร ฟังดังนั้นแล้ว เกิดความสลดใจ คิดว่า กรรมอันมี โทษสาหัส หนักมากหนอ อันเรากระทำแล้วดังนี้ ประคองแขนทั้งสองร้องไห้ คร่ำครวญ วิ่งเข้าชัฏป่าไปแล้ว.

ครั้งนั้น ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ (ของท้าวสักกะ) แสดงอาการเร่าร้อน ด้วยเดชแห่งศีลของพระเถระ ด้วยเหตุนั้น ท้าวสักกะ ทรงทราบเหตุนั้นแล้ว เสด็จไปยังสำนักของพระเถระ ให้พระเถระรู้จักพระองค์ ดุจคนเดินทางไป กรุงสาวัตถี ถือปลายไม้เท้า ย่นหนทางแล้วนำพระเถระไปในพระนครสาวัตถี ในตอนเย็นวันนั้นเอง แล้วนิมนต์ให้พระเถระนั่งพักบนแผ่นกระดานในบรรณศาลา ที่จูลปาลิตกุฎมพีสร้างไว้ใกล้พระเชตวันนั้นแล้ว (บอก) ให้พระเถระ รู้ความที่ตนมาแล้วโดยเพศแห่งสหาย (ผู้ร่วมทาง) ของท่านแล้วเสด็จหลีกไป. แม้จูลปาลิตกุฏุมพี ก็อุปัฏฐากพระเถระด้วยความเคารพจนตลอดชีวิตฉะนี้แล.

จบอรรถกถาจักขุปาลเถรคาถา