๑. เพลัฏฐกานิเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระเพลัฏฐกานิเถระ
[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 464
เถรคาถา เอกนิบาต
วรรคที่ ๑๑
๑. เพลัฏฐกานิเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระเพลัฏฐกานิเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 464
เถรคาถา เอกนิบาต วรรคที่ ๑๑
๑. เพลัฏฐกานิเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระเพลัฏฐกานิเถระ
[๒๓๘] ได้ยินว่า พระเพลัฏฐกานิเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ท่านละความเป็นคฤหัสถ์มาแล้ว ยังไม่ทันสำเร็จกิจ เป็นผู้มีปากดังไถ เห็นแก่ท้อง เป็นคนเกียจคร้าน เป็นคนโง่เขลา เข้าห้องบ่อยๆ เหมือนสุกรตัวใหญ่ ที่เขาปรนปรือด้วยเหยื่อ ฉะนั้น.
วรรควรรณนาที่ ๑๑
อรรถกถาเพลัฏฐกานิเถรคาถา
คาถาของท่านพระเพลัฏฐกานิเถระ เริ่มต้นว่า หิตฺวา คิหิตฺตํ อนโวสิตตฺโต. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า เวสสภู เจริญวัยแล้ว ถึงความสำเร็จ ในศิลปวิทยาของพราหมณ์ทั้งหลาย ละฆราวาสวิสัยแล้ว บวชเป็นดาบส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 465
อันหมู่ฤาษีแวดล้อมแล้วท่องเที่ยวไป วันหนึ่งเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า เวสสภู เกิดปีติโสมนัส อาศัยพระญาณสมบัติของพระศาสดา จึงเป็นผู้มีใจเลื่อมใส ได้ทำการบูชาด้วยดอกไม้ทั้งหลาย อุทิศพระญาณ.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า เพลัฏฐานิกะ ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ได้เป็นผู้มีศรัทธาจิต บวชแล้วเรียนกรรมฐานอยู่ในป่าแคว้นโกศล เป็นผู้เกียจคร้าน มีร่างกายกำยำ มีวาจาหยาบคาย ไม่ยังจิตให้เกิดขึ้นในสมณธรรมได้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรวจดูความแก่กล้าของญาณแล้ว ยังเพลัฏฐานิกภิกษุให้สลดใจ ด้วยพระคาถาชี้โทษนี้ว่า
เธอละความเป็นคฤหัสถ์มาแล้ว ยังไม่ทันสำเร็จกิจ เป็นผู้มีปากดังไถ เห็นแก่ท้อง เป็นคนเกียจคร้าน เป็นคนโง่เขลา เข้าห้องบ่อยๆ เหมือน สุกรตัวใหญ่ที่เขาปรนปรือด้วยเหยื่อ ฉะนั้น ดังนี้.
เธอเห็นพระศาสดา เหมือนหนึ่งประทับนั่งอยู่ตรงหน้า และฟังคาถานั้นแล้ว เกิดความสลดใจ แล้วเจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก เพราะเหตุที่ญาณถึงความแก่กล้าแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า "เวสสภู" ผู้โชติช่วงดังดอกกรรณิการ์ ประทับนั่งอยู่ ณ ที่ระหว่างภูเขา ทรงยังทิศทั้งปวงให้สว่าง ดังดาว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 466
ประกายพฤกษ์ มีมาณพ ๓ คนเป็นผู้ศึกษาดี ในศิลปะของตน หาบสิ่งของเต็มหาบ ไปตั้งข้างหลังเรา เราผู้มีตบะใส่ดอกจำปา ๗ ดอกไว้ในห่อ ถือดอกจำปาเหล่านั้น บูชาในพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า "เวสสภู" ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราบูชาพระพุทธญาณด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระญาณ ในกัปที่ ๒๙ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีนามว่า "วิปุลาภา" สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อปฏิบัติพระโอวาทของพระศาสดาก็ดี เมื่อพยากรณ์พระอรหัตตผล ด้วยมุขที่แปลกออกไปก็ดี ก็ได้กล่าวซ้ำพระคาถานั้นแหละ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิตฺวา คิหิตฺตํ ความว่า สละความเป็นคฤหัสถ์ อธิบายว่า บวชแล้ว.
บทว่า อนโวสิตตฺโต ความว่า ยังไม่สำเร็จกิจตามสมควร. อธิบายว่า ชื่อว่ายังไม่สำเร็จกิจ คือ มีกรณียกิจยังทำไม่สำเร็จ เพราะยังไม่สำเร็จปริญญา ตามสมควร แก่ผู้บวชในพระศาสนามุ่งหมายไว้.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อนโวสิตตฺโต ความว่า ยังไม่สำเร็จกิจโดยลำดับ และยังไม่ได้กระทำการอยู่จบพรหมจรรย์ ตามลำดับแห่งมรรคอันบริสุทธิ์ทั้งหลาย อธิบายว่า ยังไม่อยู่จบในอริยวาสครบทั้ง ๑๐. ภิกษุชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 467
มุขนังคลี เพราะมีไถกล่าวคือปาก อธิบายว่า ขุดตนอยู่ด้วยประโยคคือการกล่าวคำหยาบในผู้อื่นทั้งหลาย ดุจขุดดินอยู่ด้วยไถ ฉะนั้น.
บทว่า โอทริโก ความว่า ขวนขวายในเรื่องท้อง คือ เอาใจใส่แต่เรื่องกินเป็นใหญ่.
บทว่า กุสีโต แปลว่า เกียจคร้าน คือไม่หมั่นประกอบภาวนา. พระเถระเมื่อจะแสดงถึงความสำเร็จ ของภิกษุผู้เป็นอย่างนี้ จึงกล่าวว่า เป็นคนโง่เขลา เข้าห้องบ่อยๆ เหมือนสุกรตัวใหญ่ ที่เขาปรนปรือด้วยเหยื่อ ฉะนั้น ดังนี้.
อรรถาธิบายของคาถานั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังแล้วทั้งนั้น ก็ในคาถานี้ พึงเข้าใจว่า ภิกษุบวชแล้ว เป็นคนโง่ ชื่อว่าย่อมเข้าห้องบ่อยๆ เพราะความเป็นผู้ยังไม่ได้อยู่จบพรหมจรรย์เป็นต้น เป็นสภาพ ฉันใด ภิกษุเช่นเราเป็นบัณฑิต ย่อมไม่เป็นฉันนั้น ก็พระเถระพยากรณ์พระอรหัตตผล ด้วยมุขที่แปลกออกไปว่า ปรินิพพาน เพราะถึงที่สุดแห่งสัมมาปฏิบัติ อันมีสภาพตรงข้ามจากปฏิบัติดังกล่าวแล้ว ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาเพลัฏฐกานิเถรคาถา