พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. เสตุจฉเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระเสตุจฉเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 พ.ย. 2564
หมายเลข  40503
อ่าน  499

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 468

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๑๑

๒. เสตุจฉเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระเสตุจฉเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 468

๒. เสตุจฉเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระเสตุจฉเถระ

[๒๓๙] ได้ยินว่า พระเสตุจฉเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ชนทั้งหลายถูกมานะหลอกลวงแล้ว เศร้าหมองอยู่ในสังขารทั้งหลาย ถูกความมีลาภและความเสื่อมลาภย่ำยีแล้ว ย่อมไม่ได้บรรลุสมาธิเลย.

อรรถกถาเสตุจฉเถรคาถา

คาถาของท่านพระเสตุจฉเถระ เริ่มต้นว่า มาเนน วญฺจิตา. เรื่องราว ของท่านเป็นอย่างไร?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ ก่อนๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ เกิดในเรือน แห่งตระกูล ในกาลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ติสสะ ถึง ความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ติสสะ มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผลขนุนที่มีรสหวานสนิท (และ) ของขบเคี้ยวคือผลมะพร้าวที่ตระเตรียมไว้.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไปๆ มาๆ อยู่ ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นโอรสของพระเจ้ามัณฑลิกะพระองค์หนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีพระนามว่า เสตุจฉะ เมื่อพระชนกสวรรคตแล้ว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 469

ท้าวเธอได้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ (สืบแทน) ทำให้ราชกิจล้มเหลว เพราะไม่มีความอุตสาหะ และความสามารถทำให้ราชสมบัติตกอยู่ในเงื้อมมือฝ่ายตรงข้าม เกิดความสลดพระทัย เพราะถึงความทุกข์ระทม ทอดพระเนตรเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกไปตามชนบท ได้เป็นผู้มีศรัทธาจิต ทรงผนวชแล้ว กระทำบริกรรม บรรลุพระอรหัตในวันนั้นเอง. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่าน กล่าวไว้ในอปทานว่า

ในกาลก่อนเราได้ถวายผลไม้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า "ติสสะ" และได้ถวายผลมะพร้าวที่สมมติกันว่าของควรเคี้ยว ครั้นถวายผลมะพร้าวนั้น แด่พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ติสสะ ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวงแล้ว ย่อมบันเทิง มีความประสงค์สิ่งที่ต้องการ ก็เข้าถึงได้ตามปรารถนา ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ ในกัปที่ ๑๓ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช มีนามว่า "อินทสมะ" สมบูรณ์ ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลส ทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะตำหนิกิเลสทั้งหลายได้ กล่าวคาถาว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 470

ชนทั้งหลายถูกมานะหลอกลวงแล้ว เศร้าหมองอยู่ในสังขารทั้งหลาย ถูกความมีลาภและความเสื่อมลาภย่ำยีแล้ว ย่อมไม่ได้บรรลุสมาธิเลย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาเนน วญฺจิตาเส ความว่า อันมานะ ที่เป็นไปแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุด ดังนี้ ทำให้วิปัลลาสไปโดยการเข้าไปตัดภัณฑะคือกุศล ด้วยสามารถแห่งกิเลส มีการยกตนข่มผู้อื่น เป็นต้น.

บทว่า สงฺขาเรสุ สงฺกิลิฏฺมานาเส ความว่า เศร้าหมองอยู่ในอินทรีย์ทั้งหลายมีจักษุเป็นต้น ที่เป็นไปในภายใน และภายนอก และในสังขตธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น คือ ถึงความเศร้าหมอง ด้วยสามารถการถือเอานิมิตนั้น โดยเป็นตัณหาเป็นต้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา ตัวตนของเรา ดังนี้.

บทว่า ลาภาลาเภน มถิตา ความว่า อันลาภคือการได้บริขาร มีบาตรและจีวรเป็นต้น และพัสดุมีผ้าเป็นต้น และอันความเสื่อมลาภ คือไม่ได้ สิ่งเหล่านั้นนั่นแล ย้ำยีแล้ว คือเหยียบย่ำ ได้แก่ครอบงำแล้ว เพราะเป็นปฏิฆะ กับความยินดี อันบังเกิดขึ้นแล้วด้วยสามารถแห่งกิเลสมีตัณหาเป็นต้น. ก็บทว่า ลาภาลาเภน มถิตา นี้เป็นเพียงตัวอย่าง และในอธิการนี้ บัณฑิตพึง สงเคราะห์เอาโลกธรรมแม้ทั้ง ๘ เข้าด้วย.

บทว่า สมาธึ นาธิคจฺฉนฺติ ความว่า บุคคลเห็นปานนี้เหล่านั้น ผู้ไม่มีจิตเป็นสมาธิ ด้วยสามารถแห่งสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน แม้ในกาลไหนๆ ก็ย่อมไม่ประสบ คือไม่ได้ ได้แก่ไม่ถึงซึ่งสมาธิ เพราะไม่มีธรรมอันเป็นไปเพื่อสมาธิ และเพราะมีแก่อกุศลธรรมนอกนี้ แม้ในคาถานี้

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 471

คำว่า ผู้ไม่มีปรีชา ถูกกิเลสมีมานะเป็นต้นครอบงำแล้ว ถึงจะเข้าสมาธิอยู่ นั่นแล ชื่อว่าย่อมไม่ถึงสมาธิ ฉันใด ผู้มีปรีชาทั้งหลาย หาเป็นฉันนั้นไม่ ก็ผู้มีปรีชาเหล่านั้นเป็นเช่นกับเรา ไม่ถูกกิเลสมีมานะเป็นต้นครอบงำแล้ว ย่อมได้บรรลุสมาธิโดยถ่ายเดียว ดังนี้ พึงทราบว่าเป็นคำพยากรณ์พระอรหัตตผล (ของพระเถระ) โดยมุขที่แปลกออกไป.

จบอรรถกถาเสตุจฉเถรคาถา