พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ขิตกเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระขิตกเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 พ.ย. 2564
หมายเลข  40505
อ่าน  345

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 474

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๑๑

๔. ขิตกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระขิตกเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 474

๔. ขิตกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระขิตกเถระ

[๒๔๑] ได้ยินว่า พระขิตกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

กายของเราเป็นกายเบาหนอ อันปีติและสุขอย่างไพบูลย์ถูกต้องแล้ว ย่อมเลื่อนลอยได้เหมือนนุ่น ที่ถูกลมพัดไป ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 475

อรรถกถาชิตกเถรคาถา

คาถาของท่านพระขิตกเถระ เริ่มต้นว่า ลหุโก วต เม กาโย. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ทั้งหลาย สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ เกิดเป็นยักษ์ผู้เสนาบดี ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ วันหนึ่ง นั่งอยู่ในสมาคมยักษ์ เห็นพระศาสดาประทับนั่งอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง จึงเข้าไปเฝ้า ถวายบังคมพระศาสดา แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่เขา. เขาฟังธรรมแล้ว แสดงความปีติและโสมนัสอันโอฬาร ปรบมือ ลุกขึ้นถวายบังคมพระศาสดา การทำประทักษิณ แล้วหลีกไป.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า ขิตกะ. เขาถึงความเป็นผู้รู้แล้ว สดับความที่พระมหาโมคคัลลานะ เป็นผู้มีฤทธิ์มาก คิดว่า เราจักเป็นเช่นพระเถระนี้ อันบุรพเหตุตักเตือนอยู่ บวชแล้ว เรียนกรรมฐาน ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำกรรมในสมถะและวิปัสสนาทั้งหลาย ได้สำเร็จอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นจอมประชา ประเสริฐกว่านระ ทรงพระนามว่า ปทุม ผู้มีพระจักษุ เสด็จออกจากป่าใหญ่แล้วแสดงธรรมอยู่ ในขณะนั้นได้มีการชุมนุมเทวดาในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 476

เทวดาทั้งหลายได้มาประชุมกันด้วยกิจบางอย่าง เราได้เห็นอย่างชัดเจน เราได้ยินพระสุรเสียง ที่ทรงแสดงอมตธรรมของพระพุทธเจ้า มีจิตเลื่อมใส มีใจ โสมนัส ปรบมือแล้ว เข้าไปบำรุง เราเห็นผลแห่งการบำรุงพระศาสดาที่เราประพฤติดีแล้ว ใน ๓๐,๐๐๐ กัปที่ผ่านมา เราไม่รู้จักทุคติเลย ในกัปที่ ๑๒๙ ได้ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีนามว่า สมลังกตะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อเสวยเฉพาะอิทธิวิธี อันมีความพิเศษ มีอย่างมิใช่น้อย เพราะความเป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ทั้งหลาย กระทำการอนุเคราะห์พระศาสดา ด้วยอิทธิปาฎิหาริย์ และด้วยอนุสาสนีปาฏิหาริย์อยู่. ท่านอันภิกษุทั้งหลายถามว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านใช้อิทธิฤทธิ์ได้ อย่างไร? เมื่อจะบอกความนั้น ได้กล่าวคาถาว่า

กายของเราเป็นกายเบาหนอ อันปีติและสุขอย่างไพบูลย์ถูกต้องแล้ว ย่อมเลื่อนลอยได้เหมือนนุ่น ที่ถูกลมพัดไป ฉะนั้น ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลหุโก วต เม กาโย มีอธิบายว่า รูปกายของเรา ชื่อว่าเบาพร้อมหนอ เพราะการฝึกจิตมีอย่าง ๑๔ ได้ ด้วยการ ข่มกิเลสมีนิวรณ์เป็นต้น และเพราะความชำนาญ อันเราอบรมมาดีแล้ว ด้วยการเจริญอิทธิบาท ๔ โดยที่เราน้อมกรชกายนี้ ที่ชื่อว่า มีมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยได้ด้วยอำนาจจิต.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 477

บทว่า ผุฏฺโ จ ปีติสุเขน วิปุเลน ประกอบความนี้ ก็ร่างกายของเรา อันความสุขที่ประกอบด้วยปีติ อันโอฬารใหญ่ยิ่งแผ่ไปทั่วทั้งร่าง ถูกต้องแล้ว ก็คำนี้ ท่านกล่าวไว้เพื่อจะแสดงเหตุที่ทำให้กายเบาพร้อม. อธิบายว่า การก้าวลงสู่ความหมายว่า กายและจิตเบาย่อมมีพร้อมกับการก้าวลงสู่ความหมายว่า เป็นสุข ก็ในอธิการนี้ พึงทราบการแผ่ไปของความสุข ด้วยสามารถแห่งรูปอันเป็นสมุฏฐานของการก้าวลงความหมายว่ากายและจิตเบา.

ถ้าจะมีคำถามขึ้นว่า ก็ผู้ที่เพียบพร้อมด้วยจตุตถฌาน จะมีการแผ่ปีติสุขไปได้อย่างไร เพราะว่าจตุตถฌานนั้น มีปีติสุขสงบระงับแล้ว. ตอบว่า ข้อนั้นเป็นความจริง แต่การแผ่ไปแห่งปีติสุขนี้ ท่านมิได้กล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งลักษณะของจตุตถฌาน โดยที่แท้ ก็คือกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งข้อความที่เป็นบุรพภาคนั่นเอง. ก็บทว่า ปีติสุเขน ได้แก่ ความสุขที่คล้ายกับสุขประกอบด้วยปีติ. อธิบายว่า ในอธิการนี้ อุเบกขาท่านประสงค์เอาว่าเป็นสุข เพราะความเป็นสภาพที่สงบระงับและเพราะประกอบไปด้วยญาณวิเศษ. สมดังที่ ท่านกล่าวไว้ว่า พระอริยบุคคลก้าวลงสู่สุขสัญญา และลหุสัญญา. ในบทนั้น มีอรรถาธิบายดังนี้ว่า พระอริยบุคคลย่อมก้าวลง คือ ย่อมเข้าไปสัมผัส ได้แก่ ถึงพร้อมซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา ที่เกิดพร้อมกับอิทธิจิต อันมีฌานเป็นเบื้องบาทเป็นอารมณ์ หรือมีรูปกายเป็นอารมณ์.

และสมดังที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า สัญญาอันสัมปยุตด้วยอุเบกขา ชื่อว่า สุขสัญญา เพราะว่าอุเบกขาท่านกล่าวว่า เป็นสุขอันสงบแล้ว สัญญานั้นแหละ พึงทราบว่า ชื่อว่า ลหุสัญญา เพราะพ้นแล้วจากนิวรณ์ทั้งหลาย และจากธรรมอันเป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้น. ก็แม้กรชกายของพระอริยบุคคล ผู้ก้าวลงสู่สัญญานั้น ย่อมเป็นกรชกายเบาพร้อมเหมือนปุยนุ่น พระอริยบุคคลย่อมไปสู่พรหมโลก ด้วยกายที่ปรากฏว่าเบาพร้อมเหมือนปุยนุ่นที่ฟุ้งไปแล้ว

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 478

ตามแรงลมอย่างนี้. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า กายของเราย่อมเลื่อนลอย ได้เหมือนปุยนุ่น ที่ถูกลมพัดไปฉะนั้น ดังนี้. คาถานั้นมีใจความว่า ในเวลาใด เรามีความประสงค์ จะไปสู่พรหมโลก หรือโลกอื่นด้วยฤทธิ์ ในเวลานั้น กายของเราก็จะโลดไปสู่อากาศทันที เหมือนปุยนุ่น ที่วิจิตร อันลม คือ พายุพัดไป ฉะนั้น.

จบอรรถกถาขิตกเถรคาถา