พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. วัจฉโคตตเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระวัจฉโคตตเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 พ.ย. 2564
หมายเลข  40513
อ่าน  375

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 503

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๑๒

๒. วัจฉโคตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระวัจฉโคตตเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 503

๒. วัจฉโคตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระวัจฉโคตตเถระ

[๒๔๙] ได้ยินว่า พระวัจฉโคตตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เราเป็นผู้ได้ไตรวิชชา มักเพ่งธรรมอันประณีต ฉลาดในอุบาย สงบใจ ได้บรรลุประโยชน์ของตน เสร็จกิจพระพุทธศาสนาแล้ว.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 504

อรรถกถาวัจฉโคตตเถรคาถา

คาถาของพระวัจฉโคตตเถระ เริ่มต้นว่า เตวิชฺโชหํ มหาฌายี. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ปลูกพืช คือ กุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ บังเกิดในเรือนแห่งตระกูล ในพระนครพันธุมดี ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา ในวันหนึ่ง กระทำพุทธบูชา ร่วมกับพระราชา และชาวเมืองทั้งหลาย ต่อแต่นั้น ก็ท่องเที่ยวไปในเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์ ผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติในพระนครราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า วัจฉโคตตะ เพราะความที่เขาเป็นเหล่าวัจฉโคตร.

เขาบรรลุนิติภาวะแล้ว ประสบความสำเร็จในวิชชาของพวกพราหมณ์ ไม่เห็นสาระในวิชชาเหล่านั้น จึงบวชเป็นปริพาชก เที่ยวไป เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว ทูลถามปัญหา เมื่อพระศาสดาทรงวิสัชนาปัญหานั้นแล้ว เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส บวชในสำนักของพระศาสดา เจริญวิปัสสนา ได้สำเร็จอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

ภิกษุสงฆ์ ๖๘,๐๐๐ ล้วนเป็นพระขีณาสพแวดล้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นผู้นำของโลก เป็นจอมประชา ประเสริฐกว่านระ มีพระรัศมีตั้งร้อย ดังอาทิตย์อุทัยเหลืองอร่าม เสด็จดำเนินไปเหมือน พระจันทร์ในวันเพ็ญ เมื่อพระองค์ผู้เป็นผู้นำของโลก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 505

เสด็จดำเนินไป เราปัดกวาดถนนนั้น ได้ยกธงขึ้นที่ถนนนั้น ด้วยใจอันเสื่อมใส ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ยกธงใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายธง ในกัปที่ ๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระราชา มีพลมาก สมบูรณ์ ด้วยอาการทั้งปวง ปรากฏนามว่า สุธชะ. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระเป็นผู้มีอภิญญา ๖ พิจารณาข้อปฏิบัติของตนแล้ว เกิดความโสมนัส ได้กล่าวคาถา ด้วยสามารถแห่งอุทานว่า

เราเป็นผู้ได้ไตรวิชชา มักเพ่งธรรมอันประณีต ฉลาดในอุบายสงบใจ ได้บรรลุประโยชน์ของตน เสร็จกิจพระพุทธศาสนาแล้ว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตวิชฺโชหํ ความว่า แม้ถ้าคนทั้งหลาย จะรู้จักเราว่า เป็นพราหมณ์ผู้มีวิชชา ๓ เพราะถึงฝั่งแห่งไตรเพทในครั้งก่อน แต่วิชชาทั้ง ๓ นั้นเป็นเพียงชื่อ เพราะเป็นสภาพแห่งกิจของวิชชาในพระเวททั้งหลาย.

แต่บัดนี้ เราชื่อว่าเป็นผู้มีวิชชา ๓ โดยปรมัตถ์ เพราะได้บรรลุวิชชา ๓ มีบุพเพนิวาสญาณเป็นต้น ชื่อว่าเป็นผู้มีปกติเพ่งธรรมอันประณีต เพราะเพ่งหมู่กิเลส อันเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งสมุทัยเป็นจำนวนมาก คือไม่มีส่วนเหลือ และเพราะเพ่งพระนิพพาน อันใหญ่หลวง คือ โอฬาร ได้แก่ ประณีต.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 506

บทว่า เจโตสมถโกวิโท ความว่า เป็นผู้ฉลาดในอุบายเครื่องทำใจให้สงบ ด้วยการเข้าไปสงบระงับสังกิเลสธรรม อันกระทำความกำเริบ แห่งจิต. พระเถระกล่าวถึงเหตุแห่งความเป็นผู้มีวิชชา ๓ ด้วยบทว่า เจโตสมถโกวิโท นี้. อธิบายว่า ความเป็นผู้มีวิชชา ๓ จะมีได้ก็ด้วยความสิ้นไปแห่งอาสวะ อันประกอบไปด้วยความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ มิใช่ด้วย (อย่างอื่น) โดยสิ้นเชิง.

บทว่า สทตฺโถ แปลว่า ประโยชน์ของตน. บทนี้ท่านทำ อักษร ให้เป็น อักษร ดังในประโยคมีอาทิว่า อนุปฺปตฺตสทตฺโถ (มีประโยชน์ ตนอันบรรลุแล้วโดยลำดับ). ก็พระอรหัต พึงทราบว่า เป็นประโยชน์ของตน. อธิบายว่า พระอรหัตนั้น ท่านเรียกว่า เป็นประโยชน์ของตน เพราะความที่ พระอรหัตนั้นเป็นประโยชน์ของตน ด้วยอรรถว่า เนื่องกับตน ด้วยอรรถว่า ไม่ละซึ่งตน ด้วยอรรถว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งของตน. ประโยชน์ของตนนี้นั้น อันเรา คือ ตัวเรา บรรลุแล้วโดยลำดับ คือ ถึงแล้ว พระเถระแสดงถึง ความเป็นผู้เพ่งธรรมอันประณีต ตามที่กล่าวแล้ว กระทำให้ถึงซึ่งยอด (คือ พระอรหัต) ด้วยบทว่า สทตฺโถ นี้.

จบอรรถกถาวัจฉโคตตเถรคาถา