๖. ปาราปริยเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระปาราปริยเถระ
[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 520
เถรคาถา เอกนิบาต
วรรคที่ ๑๒
๖. ปาราปริยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปาราปริยเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 520
๖. ปาราปริยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปาราปริยเถระ
[๒๕๓] ได้ยินว่า พระปาราปริยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราละผัสสายตนะ ๖ ประการได้แล้ว เป็นผู้คุ้มครองทวารสำรวมด้วยดี กำจัดเสียได้ซึ่งสรรพกิเลส อันเป็นมูลรากแห่งวัฏทุกข์ บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 521
อรรถกถาปาราปริยเถรคาถา
คาถาของท่านพระปาราปริยเถระ เริ่มต้นว่า ฉผสฺสายตเน หิตฺวา. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ บังเกิดในกำเนิดนายพราน ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปิยทัสสี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปิยทัสสี ประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ ที่ชัฏป่าแห่งหนึ่ง ในที่เป็นที่ท่องเที่ยวของเขาผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว เพื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา.
และเขาก็กำลังแสวงหาเนื้อ ไปสู่ที่นั้น พบพระศาสดา เป็นผู้มีใจเลื่อมใส ใช้ดอกปทุม มุงบังมณฑปที่ทำด้วยกิ่งไม้ ซึ่งสร้างไว้สำหรับให้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับโดยอาการแห่งเรือนยอด แล้วเสวยปีติและโสมนัสอย่างโอฬาร ยืนนมัสการอยู่ตลอด ๗ วัน และเขาจะนำเอาดอกไม้ที่เหี่ยวๆ ออก มุงบังด้วยดอกไม้ที่ใหม่ๆ สดๆ ทุกๆ วัน. พอครบ ๗ วัน พระศาสดาก็เสด็จออกจากนิโรธสมาบัติ ทรงระลึกถึงภิกษุสงฆ์ ในทันใดนั้นเอง ภิกษุทั้งหลายประมาณ ๘๐,๐๐๐ รูป ก็พากันมาแวดล้อมพระศาสดา เทวดาทั้งหลาย มาประชุมกันด้วยคิดว่า พวกเราจักฟังพระธรรมกถา อันไพเราะ ได้เป็นมหาสมาคมแล้ว. พระศาสดาทรงกระทำอนุโมทนา ทรงพยากรณ์สมบัติ อันจะบังเกิดในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย และสาวกโพธิญาณในพุทธุปบาทกาลนี้ แก่เขาแล้ว เสด็จหลีกไป.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวอยู่ ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บรรลุนิติภาวะแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 522
เป็นผู้เรียนจบไตรเพท ได้สมัญญานามว่า ปาราปริยะ เพราะเป็น เผ่าพันธุ์แห่งปราปรโคตร สอนมนต์กะพราหมณ์ทั้งหลาย จำนวนมาก เห็นพุทธานุภาพ คราวเมื่อพระศาสดาเสด็จมาพระนครราชคฤห์ ได้ศรัทธาจิต แล้วบวช เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว ต่อกาลไม่นานนัก. สมดัง คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า "วิปัสสี" ผู้สยัมภู เป็นนายกของโลก ตรัสรู้แล้วเอง ทรงใคร่ในวิเวก ฉลาดในสมาธิ เป็นมุนี พระมหามุนี พระนามว่า ปิยทัสสี ผู้อุดมบุรุษ เสด็จไปสู่ไพรสณฑ์ ทรงลาดผ้าบังสุกุล แล้วประทับนั่งอยู่ ในกาลก่อน เราเป็นพรานเนื้ออยู่ในป่าใหญ่ ในกาลนั้น เราเที่ยวแสวงหาเนื้อฟาน (อีเก้ง) อยู่ในป่านั้น เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะแล้ว ไม่มีอาสวะ เปรียบเหมือนพระยารัง มีดอกบาน เหมือนพระอาทิตย์อุทัย ครั้นเห็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า ปิยทัสสี ผู้มียศมากแล้ว เราจึงลงไปสู่สระบัว นำเอาดอกปทุมมาในขณะนั้น ครั้นนำเอาดอกปทุมอันเป็นที่รื่นรมย์ใจมาแล้ว จึงสร้างเรือนมียอด (ปราสาท) แล้วมุงบังด้วยดอกปทุม พระพุทธชินเจ้า พระนามว่า ปิยทัสสี เป็นมหามุนี ผู้ทรงอนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา ประทับ อยู่ในกูฏาคาร ๗ คืน ๗ วัน เราเอาดอกปทุมที่เก่าๆ ทิ้งเสียแล้ว มุงบังด้วยดอกปทุมใหม่ๆ ขณะนั้นเราได้ยืนประนมกรอัญชลีอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 523
พระมหามุนี พระนามว่า ปิยทัสสี ผู้เป็นนายกของโลก เสด็จออกจากสมาธิแล้ว ประทับนั่งเหลียวแลดูทิศอยู่ ในกาลนั้น พระเถระผู้ อุปัฏฐาก นามว่าสุทัสสนะ มีฤทธิ์มาก รู้พระดำริของพระพุทธเจ้า พระนามว่า ปิยทัสสี ผู้ศาสดา อันภิกษุ ๘๐,๐๐๐ แวดล้อมแล้ว เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้เป็นนายกของโลก ซึ่งประทับนั่ง ทรงพระสำราญอยู่ที่ชายป่า และในกาลนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในไพรสณฑ์ ประมาณเท่าใด เทวดาเหล่านั้น ทราบพระพุทธดำริแล้ว พากันมาประชุมทั้งหมด เมื่อพวกยักษ์กุมภัณฑ์ พร้อมทั้งผีเสื้อน้ำมาพร้อมกัน และเมื่อภิกษุสงฆ์มาถึงพร้อมแล้ว พระชินเจ้าได้ตรัสพระคาถาว่า ผู้ใดบูชาเราตถาคตตลอด ๗ วัน และได้สร้างอาวาสถวายเรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว เราจักพยากรณ์สิ่งที่เห็นได้ยากนัก ละเอียดนัก ลึกซึ้ง ปรากฏดีด้วยญาณ ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ผู้นั้น จะได้เสวยสมบัติในเทวโลก ตลอด ๑๔ กัป เทวดา ทั้งหลายจักทรงกูฏาคารอันประเสริฐ ที่มุงบังด้วยดอกปทุมไว้แก่ผู้นั้นในอากาศ นี้เป็นผลแห่งกรรมคือการบูชาด้วยดอกไม้ เขาจักเที่ยวอยู่ตลอด ๑,๔๐๐ กัปเต็ม แล้วใน ๑,๔๐๐ กัปนั้น วิมานดอกไม้จักทรงอยู่ในอากาศ น้ำย่อมไม่ติดใบบัวฉันใด กิเลสก็ไม่ติดอยู่ในญาณของผู้นั้น ฉันนั้น ผู้นี้หมุนกลับนิวรณ์ทั้ง ๕ ออกไปด้วยใจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 524
ยังจิตให้เกิดในเนกขัมมะแล้ว จักออกบวช ในกาลนั้น วิมานดอกไม้อันทรงอยู่ ก็จักออกไปด้วย เมื่อผู้นั้นมีปัญญา มีสติ อยู่ที่โคนต้นไม้ ที่โคนต้นไม้นั้น วิมานดอกไม้จักทรงอยู่เหนือศีรษะของผู้นั้น จักถวายจีวร บิณฑบาต คิลานปัจจัย ที่นอนและที่นั่งแก่ภิกษุสงฆ์แล้ว จักไม่มีอาสวะนิพพาน เมื่อผู้นั้นเที่ยวไป พร้อมด้วยกูฏาคารออกบวชแล้ว กูฎาคารย่อมทรงผู้นั้นแม้อยู่ที่โคนไม้ เจตนาในจีวรและบิณฑบาตย่อมไม่มีแก่เรา เราประกอบด้วยบุญกรรมจึงได้จีวรและบิณฑบาตที่สำเร็จแล้ว พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ล่วงเราไปเปล่าๆ พ้นไปแล้วด้วยดี ตลอดโกฏิกัปป์เป็นอันมาก โดยจะนับประมาณมิได้ ในกัปที่ ๑,๘๐๐ แต่ภัทรกัปนี้ เราจึงได้เฝ้าพระพุทธเจ้า พระนามว่า ปิยทัสสี ผู้แนะนำอย่างวิเศษ แล้วจึงเข้าถึงกำเนิดนี้ เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า อโนมะ ผู้มีจักษุ ได้เข้าเฝ้าพระองค์แล้ว บวชเป็นบรรพชิต พระพุทธชินเจ้าผู้กระทำที่สุดทุกข์ได้ทรงแสดงพระสัทธรรม เราได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว ได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว เรายังพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า โคดมศากยบุตร ให้ทรงโปรด กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ในกัปที่ ๑,๘๐๐ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 525
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาดูข้อปฏิบัติของตน เกิดความโสมนัสแล้ว ได้กล่าวคาถาด้วยสามารถแห่งอุทานว่า
เราละผัสสายตนะ ๖ ประการได้แล้ว เป็นผู้คุ้มครองทวาร สำรวมด้วยดี กำจัดเสียได้ซึ่งสรรพกิเลสอันเป็นมูลรากแห่งวัฏทุกข์ บรรลุความสิ้นอาสวะ แล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉผสฺสายตเน หิตฺวา ความว่า ละซึ่งอายตนะอันเป็นไปในภายใน ๖ มีจักษุเป็นต้น อันได้นามว่า ผัสสายตนะ เพราะเป็นที่บังเกิดขึ้นแห่งสัมผัสทั้งหลาย ๖ มีจักษุสัมผัสเป็นต้น ได้ด้วยสามารถแห่งการละความเศร้าหมองอันเนื่องด้วยอายตนะที่เป็นไปในภายในนั้น.
บทว่า คุตฺตทฺวาโร สุสํวุโต ความว่า เพราะเหตุนั้นแลจึงชื่อว่า เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว สำรวมแล้วด้วยดี เพราะคุ้มครองทวารทั้งหลาย มีจักษุทวารเป็นต้น (และ) เพราะปกปิดไว้แล้วด้วยดี ซึ่งการกระทำอันเป็นไปในจักษุทวารเป็นต้นนั้น ด้วยประตูคือสติอันห้ามเสียซึ่งการเข้าไป แห่งบาปธรรมทั้งหลาย มีอภิชฌาเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า คุตฺตทฺวาโร สุสํวุโต นี้ พึงทราบความอย่างนี้ว่า ชื่อว่า มีทวารอันคุ้มครองแล้ว เพราะรักษาทวารทั้ง ๖ อันเป็นอิฏฐารมณ์ คือ ใจไว้ได้โดยนัยดังกล่าวแล้ว ชื่อว่า สำรวมดีแล้ว เพราะสำรวมแล้วด้วยดี ด้วยทวารทั้งหลายมีกายทวารเป็นต้น.
บทว่า อฆมูลํ วมิตฺวาน ความว่า กำจัดเสียได้ซึ่งโทษกล่าวคือ อวิชชาและภวตัณหา อันเป็นรากเหง้าของทุกข์ คือ วัฏทุกข์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 526
หรือคายกิเลสโทษทั้งปวง คือ กระทำให้ออกไปนอกสันดานด้วยน้ำสำหรับสำรอก กล่าวคือพระอริยมรรค หรือเพราะเหตุ คือ การกระทำให้มีในภายนอก.
บทว่า ปตฺโต เม อาสวกฺขโย ความว่า ชื่อว่า อาสวักขัย เพราะเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย มีกามาสวะเป็นต้น หรือเพราะพึงบรรลุ ด้วยการสิ้นไปแห่งอาสวะเหล่านั้น ได้แก่ พระนิพพาน และพระอรหัตตผล. พระเถระนั้น พยากรณ์พระอรหัตตผลด้วยสามารถแห่งอุทานว่า เราบรรลุ คือ ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว ดังนี้.
จบอรรถกถาปาราปริยเถรคา