พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. อิสิทัตตเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระอิสิทัตตเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 พ.ย. 2564
หมายเลข  40521
อ่าน  409

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 539

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๑๒

๑๐. อิสิทัตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอิสิทัตตเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 539

๑๐. อิสิทัตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระอิสิทัตตเถระ

[๒๕๗] ได้ยินว่า พระอิสิทัตตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

เบญจขันธ์ ข้าพระองค์กำหนดรู้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ตั้งอยู่ ข้าพระองค์บรรลุถึงความสิ้นทุกข์แล้ว บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว.

จบวรรคที่ ๑๒

จบเอกนิบาต

อรรถกถาอิสิทัตตเถรคาถา

คาถาของท่านพระอิสิทัตตเถระ เริ่มต้นว่า ปญฺจกฺขนฺธา ปริญฺาตา. เรื่องราวของท่านเป็นอย่าง?

แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี ถึงความ เป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่งเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปในถนน มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผลไม้มีกลิ่นหอม มีรสอร่อย.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวโลก กระทำบุญ แล้วท่อง เที่ยวไปๆ มาๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของนาย เกวียนคนหนึ่ง ในวัฑฒคาม แคว้นอวันตี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า อิสิทัตตะ. เขาเจริญวัยแล้ว เป็นอทิฏฐสหายของจิตตคฤหบดี ในมัจฉิกาสัณฑชนบท

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 540

ได้รับข่าวสาสน์ที่จิตตคฤหบดี เขียนพรรณนาพระพุทธคุณส่งไปให้ เกิดความเลื่อมใสในพระศาสดา บวชในสำนักของพระมหากัจจายนเถระ ปรารภวิปัสสนาแล้ว ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถา ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

เราได้ถวายผลไม้ มีกลิ่นหอม แด่พระสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณปานดังทองคำ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา กำลังเสด็จดำเนินอยู่ในถนน ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็ท่านเป็นผู้มีอภิญญา ๖ คิดว่า จักไปสู่ที่บำรุงของพระพุทธเจ้า อำลาพระเถระ แล้วเดินทางไปสู่มัชฌิมประเทศโดยลำดับ เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง อันพระศาสดาทรงทำปฏิสันถาร ด้วยพระดำรัสมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุ ยนต์คือสรีระ มีจักร ๔ มีทวาร ๙ อันเธอพอทนได้ พอให้เป็นไปได้หรือ ดังนี้ เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตตผล ด้วย มุขคือการทูลตอบพระดำรัส โดยประกาศให้ทรงรู้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จำเดิมแต่เวลาที่ข้าพระองค์ได้รับข่าวของพระองค์ ทุกข์ทั้งปวงของข้าพระองค์ ก็ปราศไปสิ้น อันตรายทั้งปวงก็สงบระงับไปหมด ดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาว่า

เบญจขันธ์ ข้าพระองค์กำหนดรู้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ตั้งอยู่ ข้าพระองค์บรรลุถึงความสิ้นทุกข์แล้ว บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจกฺขนฺธา ปริญฺาตา ความว่า อุปาทานขันธ์แม้ทั้ง ๕ อันเรากำหนดรู้แล้ว โดยประการทั้งปวง ด้วยมรรคปัญญา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 541

อันประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญาว่า นี้ทุกข์ ทุกข์มีเท่านี้ ทุกข์ยิ่งกว่านี้ไม่มี ดังนี้ มีอธิบายว่า ไม่มีทุกข์ไรๆ ในเบญจขันธ์เหล่านั้น ที่จะต้อง กำหนดรู้ (อีก).

บทว่า ติฏฺนฺติ ฉินฺนมูลกา ความว่า ทุกข์เหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ จนกว่าจิตดวงหลังจะดับ เพราะทุกข์เหล่านั้นอันเรากำหนดรู้แล้วโดยประการทั้งปวง คือ เพราะมูลแห่งกิเลส มีอวิชชาและตัณหาเป็นต้น อันเราตัดขาดแล้ว ได้แก่ เพราะเหตุแห่งทุกข์อันเราละได้แล้ว ด้วยอริยมรรค.

บทว่า ทุกฺขกฺขโย อนุปฺปตฺโต ความว่า ก็ความสิ้นไป คือ ความหมดไปแห่งวัฎทุกข์ ชื่อว่าอันเราถึงแล้วโดยลำดับ เพราะความที่แห่ง ทุกข์เหล่านั้น มีรากอันเราตัดแล้ว ได้แก่ พระนิพพาน อันเราบรรลุแล้ว. บทว่า ปตฺโต เม อาสวกฺขโย ความว่า พระอรหัตที่ชื่อว่า มีนามอันได้แล้วว่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะเป็นผล อันพระอริยบุคคล พึงได้เฉพาะ ในที่สุดแห่งความสิ้นไปของอาสวะทั้งหลายทั้งปวง มีกามาสวะ เป็นต้น อันเราบรรลุแล้ว. อธิบายว่า ได้เฉพาะแล้ว. ส่วนอาจารย์บางพวก กล่าวว่า อนฺติมายํ สมุสฺสโย (ร่างกายนี้มีเป็นครั้งสุดท้าย). อธิบายว่า ร่างกาย คือ อัตภาพของเรานี้ ชื่อว่า มีในที่สุด คือ เป็นภพสุดท้ายของภพ ทั้งปวง เพราะความที่พระนิพพานอันเราบรรลุแล้วนั่นเอง.

ก็คำใด ที่ข้าพเจ้าไม่ได้กล่าวไว้ ในบทนั้นๆ คำนั้นง่ายทั้งนั้นแล เพราะมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง.

จบอรรถกถาอิสิทัตตเถรคาถา

จบวรรควรรณนาที่ ๑๒

ในอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี

จบอรรถกถาเอกนิบาต

อันประดับประดาไปด้วยเถรคาถา ๑๒๐ คาถา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 542

ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ รูป คือ

    ๑. พระเชนตเถระ

๒. พระวัจฉโคตตเถระ

๓. พระวนวัจฉเถระ

๔. พระอธิมุตตเถระ

๕. พระมหานามเถระ

๖. พระปาราปริยเถระ

๗. พระยสเถระ

๘. พระกิมพิลเถระ

๙. พระวัชชีบุตรเถระ

๑๐. พระอิสิทัตตเถระ และอรรถกถา.

รวมหัวข้อที่มีในเอกนิบาต

    พระสังคีติกาจารย์ ผู้หวังประโยชน์ส่วนใหญ่ ได้รวบรวมพระเถระผู้ทำกิจเสร็จแล้ว หาอาสวะมิได้ มีจำนวน ๑๒๐ รูป ไว้ในเอกนิบาต.