๒. ปิณโฑลภารทวาชเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระปิณโฑลภารทวาชเถระ
[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 10
เถรคาถา ทุกนิบาต
วรรคที่ ๑
๒. ปิณโฑลภารทวาชเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปิณโฑลภารทวาชเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 51]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 10
๒. ปิณโฑลภารทวาชเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปิณโฑลภารทวาชเถระ
[๒๕๙] ได้ยินว่า พระปิณโฑลภารทวาชเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่าง นี้ว่า
ชีวิตของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปโดยไม่สมควร อาหารไม่ได้ทำจิตให้สงบ เราเห็นว่า ร่างกายจะดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร จึงได้เที่ยวแสวงหาอาหารโดยทางที่ชอบ.
นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้กล่าวการไหว้ และการบูชาในตระกูลทั้งหลายว่า เป็นเปลือกตม เป็นลูกศรอันละเอียด ถอนขึ้นได้ยาก สักการะอันบุรุษชั่วละได้ยาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 11
อรรถกถาปิณโฑลภารทวาชเถรคาถา
คาถาของท่านพระปิณโฑลภารทวาชเถระ เริ่มต้นว่า นยิทํ อนเยน. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?
ได้ยินมาว่า พระเถระนี้ เกิดในกำเนิดราชสีห์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ อยู่ในถ้ำแห่งภูเขา. พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปสู่ถ้ำเป็นที่นอน ในเวลาที่ราชสีห์หลีกออกไปหากิน เพื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา ประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติแล้ว ราชสีห์คาบเอาเหยื่อกลับมา เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ประตูถ้ำ เป็นผู้ร่าเริงยินดี กระทำการบูชาด้วยดอกไม้ ที่เกิดในน้ำและดอกไม้ที่เกิดบนบก ทำใจให้เลื่อมใส บันลือสีหนาทในเวลาทั้ง ๓ เพื่อให้สัตว์ร้ายในป่าหนีไป เพื่อถวายอารักขาพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยืนเฝ้าอยู่โดยมีพุทธานุสติเป็นอารมณ์ มันบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอด ๗ วัน เหมือนอย่างที่บูชาในวันแรก.
โดยล่วงไปได้ ๗ วัน พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากนิโรธสมาบัติ ทรงพระดำริว่า เท่านี้ก็จะพอเป็นอุปนิสัยเป็นไปแก่ราชสีห์ เมื่อมันเห็นอยู่นั่นแล เสด็จเหาะขึ้นสู่อากาศ เสด็จไปยังพระวิหารแล้ว. ราชสีห์ไม่อาจอดกลั้นความทุกข์ อันเกิดจากความพลัดพรากจากพระพุทธเจ้า กระทำกาละแล้วดุจช้างปาลิเลยยกะ เกิดในตระกูลของคฤหบดีผู้มีโภคะมาก ในพระนครหงสาวดี เจริญวัยแล้ว ไปสู่พระวิหารพร้อมกับชาวเมือง ฟังพระธรรมเทศนา บำเพ็ญมหาทานตลอด ๗ วัน แล้วกระทำบุญจนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปๆ มาๆ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 12
อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรปุโรหิตของพระเจ้าอุเทน ในพระนครโกสัมพี ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย โดยนาม ชื่อว่า ภารทวาชะ.
เขาเจริญวัยแล้ว เรียนจบไตรเพท สอนมนต์กะมาณพ ๕๐๐ ถูก มาณพเหล่านั้นทอดทิ้ง เพราะเป็นผู้มีอาจาระไม่เหมาะสม เพราะเป็นคนจะกละ (กินจุ) ไปสู่พระนครราชคฤห์ เห็นลาภสักการะของพระผู้มีพระภาคเจ้า และของภิกษุสงฆ์ จึงบวชในพระศาสนา เป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ เที่ยวไป อันพระศาสดาทรงทำให้ตั้งอยู่ในความเป็นผู้รู้ประมาณได้ด้วยอุบายวิธี เริ่มตั้งวิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า
เมื่อก่อนเราเป็นพรานเนื้อ ครั้งนั้นเราเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลสธุลี ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง เราเลื่อมใส ได้เอาผลมะหาด มาถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เป็นเขตแห่งบุญ ผู้แกล้วกล้า ด้วยมือทั้งสองของตน ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระเป็นผู้ได้อภิญญา ๖ แล้ว คิดว่า มรรคผลใด อันสาวกทั้งหลายพึงบรรลุ เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า มรรคผลนั้นเราก็บรรลุแล้ว และบันลือสีหนาทในหมู่ภิกษุว่า ผู้ใดมีความสงสัยในมรรคหรือผล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 13
ผู้นั้นจงถามเรา ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงตั้งท่านไว้ในเอตทัคคะ ด้วยพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระปิณโฑลภารทวาชะ เป็นยอดแห่งภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา ผู้บันลือสีหนาท.
วันหนึ่ง ท่านเมื่อจะอนุเคราะห์พราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความตระหนี่ เคยเป็นสหายกันในสมัยเมื่อเป็นคฤหัสถ์ ผู้เข้าไปหาถึงสำนักจึงกล่าว กถาพรรณนาอานิสงส์ของทานแก่พราหมณ์นั้น แม้เมื่อพราหมณ์ จะทำการขมวดคิ้วสยิวหน้าว่า พระเถระนี้ ประสงค์จะยังทรัพย์ของเราให้พินาศ แล้วกล่าวว่า เราจะถวายภัตรมื้อหนึ่งแก่ท่าน ดังนี้ จึงกล่าวว่า ท่านจงถวายภัตรมื้อหนึ่งนั้นแก่พระสงฆ์ อย่าถวายเราเลย แล้วให้พราหมณ์น้อมนำภัตรนั้น ไปถวายสงฆ์ เมื่อพราหมณ์แสดงความไม่พอใจอีกด้วยคิดว่า พระเถระนี้ประสงค์ จะให้เราถวายทานแก่ภิกษุจำนวนมาก ดังนี้ พระเถระจึงยังพราหมณ์ให้เลื่อมใส ด้วยการประกาศถึงความที่แห่งทักษิณาทานที่ถวายในสงฆ์ โดยพระธรรมเสนาบดีในวันที่สองว่ามีผลมาก คิดว่าพราหมณ์นี้ สำคัญว่า พระเถระนี้ชักชวนให้เราถวายทาน ด้วยควานอยากในอาหาร เขาไม่รู้ความที่เราควบคุม (กำหนดรู้) อาหารได้แล้วโดยประการทั้งปวง เอาเถิด เราจะทำให้เขารู้ ดังนี้ จึงได้กล่าว คาถา ๒ คาถา ความว่า
ชีวิตของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปโดยไม่สมควร อาหารไม่ได้ทำจิตให้สงบ เราเห็นว่า ร่างกายจะดำรง อยู่ได้เพราะอาหาร จึงได้เที่ยวแสวงหาโดยทางที่ชอบ.
นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้กล่าวการ ไหว้ การบูชา ในตระกูลทั้งหลายว่า เป็นเปลือกตม เป็นลูกศรอันละเอียด ถอนขึ้นได้ยาก สักการะอันบุรุษชั่วละได้ยาก ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 14
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นยิทํ อนเยน ชีวิตํ ความว่า ชีวิตของเรานี้ ชื่อว่า ย่อมไม่เป็นไปโดยไม่สมควรคือ โดยการแสวงหาที่ไม่สมควร มีการให้ไม้ไผ่ และการให้ดอกไม้เป็นต้น เพราะไม่มีความใคร่ในชีวิต.
บทว่า นาหาโร หทยสฺส สนฺติโก ความว่า ก็อาหารที่เรานำมา ย่อมไม่กระทำหทัย คือ จิต ให้สงบระงับ ดุจมรรคญาณและผลญาณ อธิบายว่า แต่จะกระทำเพียงระงับความหิวได้โดยทันทีอย่างเดียว.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า นาหาโร หทยสฺส สนฺติโก ความว่า อาหาร คือ วัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความอยากในรส ไม่ได้ทำจิตของเราให้สงบ คือไม่ทำจิตของเราให้ข้อง เพราะไม่มีความอยากในรสนั่นเอง อาจารย์บางพวก กล่าวว่า สนฺติเก ก็มี.
อธิบายว่า ผู้ที่มีความจะกละในอาหารนั้น ย่อมต้องขวนขวายหาลาภ สักการะเที่ยวไป อาหารจึง ชื่อว่า มีอยู่ในใจของผู้นั้น เพราะต้องใส่ใจถึงอยู่เนืองๆ ส่วนผู้ใดรู้เท่าทัน (ควบคุม) อาหารได้ ผู้นั้น ชื่อว่าละฉันทราคะ ในอาหารนั้นได้แล้ว อาหารชื่อว่าไม่มีอยู่ในใจของผู้นั้น เพราะไม่มีการกระทำไว้ในใจ มีอาทิว่า ทำอย่างไรหนอ ถึงจะได้อาหารดังนี้โดยแท้ เพราะใส่ใจ ถึงปัญหายอกย้อน อันจะมีขึ้นว่า ก็ถ้าท่านไม่มีความใคร่ในชีวิต และความอยากในรสอาหารไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไร ท่านจึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต ดังนี้ พระเถระจึงกล่าวว่า ร่างกายจะดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร จึงได้เที่ยวแสวงหาอาหารโดยทางที่ชอบ.
อาหาร คือ โภชนะเป็นที่ตั้ง คือ เป็นฐานได้แก่เป็นปัจจัยของร่างกาย นั้น เพราะเหตุนั้น ร่างกายจึงชื่อว่า อาหารัฏฐิติกะมีอาหารเป็นที่ตั้ง อธิบายว่า การสั่งสม คือร่างกาย มีความเป็นไปเนื่องด้วยอาการ เพราะเราเห็นอย่างนี้ รู้อย่างนี้ จึงยกเอาความข้อนี้ไว้ในสมอง ต้องเที่ยวแสวงหา คือ ทำการแสวงหาอาหาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 15
พระเถระเมื่อจะแสดงว่า ท่านไม่ควรคิดในคนเช่นเราอย่างนี้ว่าเข้าไป สู่สกุลเพราะปัจจัยเป็นเหตุ และถูกลาภสักการะ คือการกราบไหว้บูชาในสกุล นั้น ผูกมัดไว้ จึงได้กล่าวคาถาว่า ปงฺโก (การไหว้การบูชาในตระกูลเป็น เปลือกตม).
คาถานั้นมีอธิบายว่า เพราะเหตุที่บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้รู้ คือ รู้แจ้ง หรือได้แก่ประกาศการสรรเสริญคุณและการบูชา ของเหล่าบรรพชิตผู้เข้าไปสู่สกุล เพราะมีปัจจัยเป็นเหตุที่จักเป็นไปในตระกูลทั้งหลาย คือ ในหมู่ชาวบ้านนี้นั้นว่าเป็นเปลือกตม คือเป็นหล่ม เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้บรรพชิตผู้มีตนอันไม่ได้อบรมแล้วจมลง และเพราะกระทำความเศร้าหมองให้แก่บรรพชิตผู้มีตนอันไม่ได้อบรมแล้ว ฉะนั้นการสรรเสริญคุณ และการบูชานั้น จึงไม่เป็นไปเพื่อผูกมัดสัตบุรุษทั้งหลาย จักป่วยกล่าวไปใย ถึงการหวังสักการะเล่า เพราะท่านละได้แล้ว แต่สำหรับอสัตบุรุษ ความหวังในสักการะ ย่อมชื่อว่าเป็นลูกศรอันละเอียด รู้ได้ยาก เพราะก่อให้เกิดความ บีบคั้นโดยเป็นสภาพที่รู้ได้โดยยาก และเพราะไม่สามารถจะถอนออกได้เพราะเจาะลึกเข้าไปในภายใน เพราะเหตุนั้นแล สักการะจึงเป็นของอันบุรุษชั่วนั้นละได้ยาก คือดึงออกไปได้โดยยาก เพราะไม่ดำเนินปฏิปทา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงการละสักการะนั้น ชื่อว่า เป็นคนเลว เพราะไม่ละความหวังในลาภสักการะ. พราหมณ์ฟังคำเป็นคาถานั้นแล้ว ได้เป็นผู้มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง ในพระเถระ.
จบอรรถกถาปิณโฑลภารทวาชเถรคาถา