๓. วัลลิยเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระวัลลิยเถระ
[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 16
เถรคาถา ทุกนิบาต
วรรคที่ ๑
๓. วัลลิยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวัลลิยเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 51]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 16
๓. วัลลิยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวัลลิยเถระ
[๒๖๐] ได้ยินว่า พระวัลลิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
วานรเข้าไปอยู่ในกระท่อม มีประตู ๕ ประตู พยายามเวียนเข้าออกทางประตูนั้นเนืองๆ จงหยุดนิ่งนะเจ้าลิง อย่าวิ่งไปดังกาลก่อนเลย เราจับเจ้าไว้ได้ด้วยปัญญาแล้ว เจ้าจักไปไกลไม่ได้ละ.
อรรถกถาวัลลิยเถรคาถา
คาถาของท่านพระวัลลิยเถระ เริ่มต้นว่า มกฺกโฏ ปญฺจทฺวารายํ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ ก่อนๆ สั่งสมบุญมากหลายไว้ในภพนั้นๆ บังเกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกัป ที่ ๓๑ นับแต่ภัทรกัปนี้ บรรลุความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่งเข้าไปสู่ป่าด้วยกรณียกิจบางอย่าง เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า นารทะ อยู่ที่โคนต้นไม้ในป่านั้น เป็นผู้มีใจเลื่อมใส ทำศาลาด้วยไม้อ้อ มุงบังด้วยหญ้าถวาย และแผ้วถางที่สำหรับเดินจงกรมของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เกลี่ยทรายลง (จนเรียบ) ถวาย.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาล ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 17
ได้มีนามว่า วัลลิยะ. เขาเจริญวัยแล้ว ถึงความเป็นหนุ่มโดยลำดับ เป็นผู้ตกอยู่ใต้อำนาจของอินทรีย์ ท่องเที่ยวไป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยการแนะนำของกัลยาณมิตร ฟังธรรมแล้ว ได้เป็นผู้มีจิตศรัทธาบวชแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาลูกหนึ่ง ชื่อ หารินะ ครั้งนั้นพระสยัมภูพุทธเจ้า นามว่า " นารทะ " อยู่ใกล้ต้นไม้ เราทำเรือนไม้อ้อ มุงด้วยหญ้า เราได้แผ้วถางทางจงกรม ถวายพระสยัมภู ด้วยกรรมที่เราทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้วได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น วิมานของเราสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์ อันบุญกรรมเนรมิตขึ้นอย่างสวยงาม เพราะผลแห่งการสร้างกุฎีไม้อ้อ เรารื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ๑๔ กัป ได้เสวยสมบัติในเทวโลก ๗๑ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๔ ครั้ง และได้เป็นเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับไม่ถ้วน เราขึ้นสู่ปราสาทคือ ธรรมแล้ว เข้าถึงซึ่งอมตธรรมอันประเสริฐ ด้วยอาการทั้งปวง อยู่ในศาสนาของพระศากยบุตรตามปรารถนา ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ทำกรรมใดไว้ในกาลนั้น ด้วยธรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งกุฏิไม้อ้อ. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 18
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เพราะเหตุที่จิตของตนในเวลาที่เป็นปุถุชน เป็นไปตามความใคร่ในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปารมณ์เป็นต้น บัดนี้ เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตตผล โดยประกาศถึงความที่แห่งอารมณ์มีรูป เป็นต้น อันตนข่มไว้ได้แล้ว ด้วยพระอริยมรรค จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
วานรเข้าไปในกระท่อม มีประตู ๕ ประตู พยายามเวียนเข้าออก ทางประตูนั้นเนืองๆ จงหยุดนิ่งนะเจ้าลิง อย่าวิ่งไปดังกาลก่อนเลย เราจับเจ้าไว้ได้ด้วยปัญญาแล้ว เจ้าจักไปไกลไม่ได้ละ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฆฏฺฏยนฺโต ความว่า พระโยคาวจร ละอารมณ์อย่างหนึ่ง แล้วไปยึดอารมณ์อีกอย่างหนึ่ง ในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น ด้วยจักษุทวารเป็นต้นนั้นๆ ไม่พอใจเพื่อจะอยู่นิ่งๆ ด้วย สามารถแห่งการยึดมั่นของจิตสันดาน จึงพยายาม คือ ทำอารมณ์ให้ไหวอยู่เนืองๆ ย่อมไหวไปตาม คือเที่ยวไปตามความใคร่ ในอารมณ์มีรูปารมณ์ เป็นต้นนั้นแล ดุจลิงเข้าไปหาผลไม้กิน ยังต้นไม้ให้ไหวในที่นั้นหลายครั้ง เพราะละกิ่งไม้กิ่งหนึ่งแล้ว ไปเกาะกิ่งไม้อีกกิ่งหนึ่ง เพราะความหลุกหลิกของตน ฉะนั้น. ก็ในคาถานี้ ท่านกล่าวความเป็นปัจจุบัน เพราะเป็นเรื่องที่ใกล้กับสิ่งที่ดำเนินไปอยู่ ก็เมื่อลิง (คือจิต) วิ่งวนไปมาอยู่อย่างนี้ พระเถระจึงปรามว่า จงหยุดนะเจ้าลิง อย่าวิ่งไป หมายความว่า ดูก่อนลิงคือจิต บัดนี้ เจ้าจงหยุด อย่าวิ่งไป คือจำเดิมแต่นี้ไป เจ้าไม่สามรถจะวิ่งต่อไปได้ เพราะเหตุที่เรือนคืออัตภาพนั้น เจ้าจะเข้าไปคบหาไม่ได้ดังกาลก่อน เพราะปิดประตูเรือนแล้ว ฉะนั้น เจ้าอย่าวิ่งไปดังกาลก่อนเลย เพราะเหตุไร? เพราะเราจับเจ้าได้แล้วด้วยปัญญา คือ เจ้าถูกข่มไว้เรียบร้อยแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 19
ด้วยการตัดอุปาทาน ๕ กล่าวคือกิเลสมาร และอภิสังขารมาร ด้วยมรรคปัญญา ในบัดนี้ เพราะ เหตุนั้น พระเถระจึงแสดงว่า เจ้าจักไปไกลไม่ได้ คือเจ้าจะไปสู่อัตภาพที่สองเป็นต้น ซึ่งไกลกว่าอัตภาพนี้ไม่ได้ ได้แก่การไปของเจ้าจะมีได้เพียงแต่จริมกจิตเท่านั้น. ปาฐะว่า เนโต ทูรํ ดังนี้ก็มี. ความหมายก็อันนั้น.
จบอรรถกถาวัลลิยเถรคาถา