การเพ่งโทษผู้อื่น มีวิธีแก้อย่างไร

 
oom
วันที่  20 มิ.ย. 2550
หมายเลข  4053
อ่าน  6,069

ในสังคมปัจจุบัน จะพบแต่ความวุ่นวาย ที่ส่วนใหญ่ชอบเพ่งโทษคนอื่น โดยไม่เคยมาพิจารณาตัวเองเลย ว่ามีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง ที่ต้องแก้ไข ผู้ที่จะแก้ไขได้ต้องศึกษาธรรมะ จึงจะแก้ไขได้ใช่หรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 21 มิ.ย. 2550

ถูกต้องครับ ผู้ที่จะแก้ไขหรือลดละการเพ่งโทษผู้อื่นได้ ต้องอาศัยการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อรู้ตามเป็นจริงว่า กิจที่สำคัญที่ควรกระทำสำหรับทุกคนคือ การอบรมเจริญปัญญาเพื่อละอกุศลของตนเอง ไม่ใช่ของผู้อื่น เพราะขณะที่เพ่งโทษอกุศลของผู้อื่น ขณะนั้นอกุศลของเราเจริญ

ดังข้อความในธรรมบทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔

ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส นิจฺจํ อุชฺฌานสญฺญิโน

อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อารา โส อาสวกฺขยา. " อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ผู้คอยดูโทษของบุคคลอื่น ผู้มีความมุ่งหมายในอันยกโทษเป็นนิตย์, บุคคลนั้น เป็นผู้ไกลจากความสิ้นไปแห่งอาสวะ."

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 21 มิ.ย. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 21 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ควรเริ่มจากตัวเรา ขัดกลากิเลสของตนเองเป็นสำคัญ ถ้าเรายังไม่ดี ถ้าไปเตือนเขาก็บอกว่าตัวเองดีหรือยังได้ และสังเกตง่ายๆ คนที่เราจะเพ่งโทษด้วยอกุศลก็ต้องเป็นคนที่เราไม่ชอบคนนั้น คนที่เราชอบ ทำผิดก็ไม่ว่ากัน แสดงให้เห็นว่าการเพ่งโทษนั้น เมื่อมีเหตุปัจจัยเกิดก็ต้องเกิด เพราะยังเป็นปุถุชน แต่ถามว่าขัดเกลาได้ไหม ก็ได้ด้วยการฟังพระธรรมเห็นโทษของความโกรธ เพราะไม่ชอบคนนั้นนั่นแหละจึงเพ่งโทษคนนั้น ถ้าชอบคนนั้น เราก็จะไม่เพ่งโทษด้วยอกุศลเลยครับ อบรมที่จะมีเมตตามากขึ้น โดยขอแนะนำว่าให้อ่านเรื่องเมตตาและลองฟังเรื่อง บารมีในชีวิตประจำวันดูครับ ฟังดีมาก เมื่อเข้าใจจะช่วยขัดเกลากิเลสในชีวิตประจำวัน ควบคู่ไปกับความเข้าใจในเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน จะเป็นคนดีขึ้นก็เพราะเข้าใจพระธรรมขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 21 มิ.ย. 2550

เรื่อง การชี้โทษหรือเพ่งโทษ มีทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 290

วินิจฉัยในบทว่า วชฺชทสฺสิน ภิกษุผู้ชี้โทษมี ๒ จำพวก คือ

ภิกษุคอยแส่หาโทษ ด้วยคิดว่า "เราจักข่มภิกษุนั้นด้วยมารยาทอันไม่สมควร หรือด้วยความพลั้งพลาดอันนี้ในท่ามกลางสงฆ์" ดังนี้ จำพวก ๑,

ภิกษุผู้ดำรงอยู่แล้วตามสภาพ ด้วยสามารถแห่งการอุ้มชูด้วยการแลดูโทษนั้นๆ เพื่อประโยชน์จะให้รู้สิ่งที่ยังไม่รู้ เพื่อต้องการจะได้ตามถือเอาสิ่งที่รู้แล้ว เพราะความเป็นผู้ปรารถนาความเจริญแห่งคุณมีศีล เป็นต้น แก่นั้น จำพวก ๑

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 21 มิ.ย. 2550

เรื่อง การจะเพ่งโทษใคร ควรประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 145

ข้อความบางตอนจาก กุสินาราสูตร

ธรรม ๕ ประการ อันภิกษุผู้เป็นโจทก์พึงให้เข้าไปตั้งไว้ในตนเป็นไฉน คือ

จักกล่าวโดยกาลอันควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร ๑

จักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำไม่จริง ๑

จักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ ๑

จักกล่าวด้วยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑

จักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เพ่งโทษกล่าว ๑

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 22 มิ.ย. 2550

เจตสิกดวงใดบ้างที่เป็นอาสวะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
study
วันที่ 22 มิ.ย. 2550

อกุศลเจตสิก คือ โลภะ ทิฏฐิ โมหะ ทรงแสดงว่าเป็นอาสวะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 22 มิ.ย. 2550

อาสวะเป็นกิเลสเป็นเครื่องหมักดองให้เราอยู่ในสังสารวัฏฏ์ อบรมสติปัฏฐานเพื่อสิ้นอาสวะกิเลสค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
oom
วันที่ 24 มิ.ย. 2550

การที่คนอื่นมาเพ่งโทษเรา เพราะเราไม่ทำตามใจเขา จึงทำให้เขาโกรธ

และไม่พอใจ เราควรทำอย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
แวะเข้ามา
วันที่ 25 มิ.ย. 2550

ไม่ว่าท่านจะประสบกับบุคคลเช่นไร หรืออยู่ในสถานการณ์ใด ให้ยึดหลักธรรมเป็นใหญ่เพราะ " ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม "

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
oom
วันที่ 27 มิ.ย. 2550

ขอบคุณค่ะที่เตือนสติ จะนำไปปฏิบัติ เพราะอยู่ในชีวิตประจำวันถูกกระทบอยู่บ่อยๆ ทั้งเพ่งโทษคนอื่นและถูกผู้อื่นเพ่งโทษ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 23 ม.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ